นั่นไง พอปล่อยให้คันน้ำเงิน (คันนี้ระบบขับ 4x4 นะครับ) ออกหน้าไปก่อนเพื่อทิ้งระยะ
จากนั้นพอเดาว่าไปไกลพอควรผมก็อัดขึ้นเนินตามหลังมา ผลคือผมเห็นความหายนะของผมทันที เพราะคันหน้าดัน
ลากเกียร์ D ขึ้นมาหน่ะสิ และที่สำคัญแกขับขึ้นเขาทริปนี้ใส่ D ออโต้ตลอดคลานต้วมเตี้ยม
ส่วนผมก็ลากเกียร์หนึ่งเสียงฝาดจะจี้ตรูดแกแล้ว เบาเครื่องก็ไม่ได้ ไม่งั้นรถผมไม่ไหว เพราะเครื่องยนต์แค่ 2500 แต่บรรทุกสัมภาระมาเต็มรถเลยเรียกว่าเลี้ยงลูกทริปได้หมด ฉะนั้นรถผมจะหนักกว่าทุกคัน จึงกดคันเร่งลากเกียร์ 1 ขึ้นไปจี้ตรูดแก แต่รถแกยังค่อยๆคลานขึ้นไปด้วยเกียร์ D ไม่นานครับ รถผมไปไม่รอด ต้องเบรคกลางทางที่ชันมาก ใครวิ่งเส้นนี้จะรู้ทุกคัน แล้วกลางทางที่ชันเพราะไปไม่ได้แล้วเกิดอะไรขึ้น ผมก็รอให้คันน้ำเงินลากตัวเองให้ไกลที่สุดเพื่อที่ผมจะได้ลากตัวเองขึ้นไปอีกครั้ง พอคันนั้นไปไกลพอระยะแล้ว ตอนที่ผมอัดคันเร่งกดขึ้นมาจะแซงแกก็ไม่ได้ เพราะทางแคบ แกก็เล่นเต็มถนนเลย เราก็จบข่าวสิครับ
หลังจากนั้นถึงคิวผมต้องออกตัวละ แต่ในสมองมรึนหมดครับว่าจะขึ้นเนินชันนี้ยังไง คิดสารพัดไม่มีอะไรจะเสียแล้ว กรูจะเชนเกียร์หนึ่งขึ้นยังไง มันชันแบบนี้ ถอยไปก็ไม่ได้ ถ้าถอยเบรคก็ไม่น่าเหลือครับ เพราะตอนถอยมันคือปล่อยครัช รถจะถอยอย่างเร็วแต่เราต้องกดเบรคไว้ตลอดไม่ให้ถอยลงเร็ว แต่ถ้าถอยอัยยะเป็นหลายร้อยเมตร ไม่ปลอดภัยแน่ ถ้ามีรถสวนขึ้นมา ชิบหายสิครับ และเส้นนี้มันชันจุดนี้จุดเดียวเองนะ ขนาดผมกดวิทยุสื่อสารเตือนก่อนแล้วนะ ว่าให้อัดไม่ต้องฟังเสียง แต่เพื่อนดันรั้น ผลคือเกือบเจ๊งทั้งขบวน
เอาละผมตัดสินใจแล้ว ไม่มีทางเลือก ผมกดเบรคเท้าคาไว้พร้อมดึงเบรคมือสุดแขนละ เพราะตอนถอนเท้าจากเบรคไปกดคันเร่ง รถมันจะถอยทันทีแม้ดึงเบรคมือไว้สุดแรงก็เอาไม่ไหว งานนี้วัดใจระบบครัชละครับ
ชิบหายคือชิบหายไม่มีทางเลือก (เพื่อนๆ ในเชียงใหม่มีเยอะแยะ จะได้ใช้บริการมันมั่ง)
พอถอนเท้าจากเบรค
รถก็ไหลถอยหลังเบรคมือต้านไม่ไหว ผมรีบกดคันเร่งจนเสียงฝาด แล้วรีบ เรีย/เลีย ครัชลากเกียร์หนึ่งขึ้น ทีแรกมันลื่นครับ หน้าเสียแล้ว แต่มันก็ค่อยๆพุ่งขึ้นเนิน แค่นี้ผมใจชื้นแร๊ะ เพราะระบบครัชมันเกาะแล้ว และลากรถพุ่งขึ้นไปจี้คันน้ำเงินอีกแล้ว กำๆๆๆ เราคิดว่าไปไกลแล้ว แต่โชคดีที่จุดผมคลานขึ้นจอดมีบ้านหนึ่งหลัง และมีทางเบี่ยงเพื่อพักรถได้ ทำให้ผมได้พักรถ
และเจ้าเพื่อนผมคันหน้าเครื่องมันดับอีก ทราบจากรายงานมาทางวิทยุสื่อสารในขบวน แล้วคันหน้ามันก็ถอยหลังลงมา แล้วลากเกียร์ D ขึ้นไปใหม่พอขึ้นถึงจุดเดิม เครื่องก็ดับทุกครั้ง ดับแบบนี้ 3-4 ครั้ง สุดท้ายถอยลงมาแล้วจอดนิ่งๆ สักพักเพื่อให้ระบบเกียร์มันเย็น
เราก็ถามว่าท่านขับเกียร์รัยขึ้น แกบอกผมใส่ D ออโต้ตลอด แกบอกมันได้ยุแล้วแกใช้แบบนี้มาตลอด แกบอกไม่ต้องลากเกียร์แบบรถเกียร์เมนวลหรอก ผมเลยกด วอ บอกไปว่าเลิกใช้ D ได้มั๊ย เพราะรถท่านขับ 4 ได้นิ ก็ขับ 4 ขึ้นไปเลย จะได้ไม่เสียเวลา อย่ามัวมาเล่นอะไรไม่เข้าเรื่อง
ถ้ามันไปไม่ได้จริงๆ ตรงนี้มีจุดกลับรถ ผมจะได้พาอ้อมไปทางดอยสะเก็ด แต่แกก็ขอขึ้นอีกทีโดยเกียร์ D แกรั้นได้ใจ ผมก็มองดูแกคลานขึ้นไป ผลคือผ่านครับ
ผมจึงลากเกียร์หนึ่งค่อยตามขึ้นไป แค่นี้ครับ
เลยอยากแนะนำเพื่อนๆทุกท่านที่มาอ่านข้อความนี้
คุณจะเก่งจะเจ๋งอย่างไร กรุณาอย่านำเทคนิคแบบนี้มาใช้ อย่ามาโชว์แบบนี้ ใช้ระบบเกียร์ที่เค้าออกแบบมาให้ใช้ตามกติกา มันจะได้ไม่เกิดปัญหานี่ครับพิกัดที่จอดหลีกหลบคันที่ดับกลางเนิน และถ่ายภาพนี้ ไม่รุบ้านใคร เค้าเทปูนทำที่จอดเหมาะดี
จุดนี้สามารถกลับรถได้
18.858073, 99.356973ชันแค่ไหน ให้ดูต้นไม้ซ้ายมือ
พอหลุดทางชันตรงนั้นมาแล้ว ก็ไม่มีอะไรแล้วครับ
แล้วขับมาอีกไม่นานก็มาเจอจุดพักรถ เลยได้พักเครื่อง

ข้อมูลจาก
โตโยต้านนทบุรี ผู้จำหน่ายรถยนต์โตโยต้าและศูนย์บริการมาตรฐานโตโยต้า
คงปฎิเสธไม่ได้หรอกว่าในยุคปัจจุบันทั่วโลกเกียร์ออโต้ได้มาเป็นเกียร์ตัวเลือกหลัก ในการซื้อรถยุคใหม่กันแทบทั้งทั่วโลกแล้ว วันนี้เรามาเรียนรู้การขับเกียร์ออโต้อย่างถูกวิธีกันดีกว่าครับ
1. พื้นฐานการขับเกียร์ออโต้ ก็ใช้เพียงเท้าขวาเท้าเดียวเหยียบคันเร่งและเบรกก็พอ ไม่ต้องใช้ทักษะแปลกๆ อะไรแบบ พวกนักแข่ง นักซิ่งหรอกครับ
2. มือใหม่ทั้งหลาย พยายามฝึกฝนเหยียบเบรกด้วยทางขวาเท่านั้น และอย่าลืมเหยียบเบรกทุกครั้งก่อนสตาร์รถ เพื่อกันการเกิดอุบัติเหตุ ถึงแม้ตัวเกียร์จะอยู่ที่ เกียร์ P หรือ N ก็ตาม และต้องเหยียบทุกครั้งเมื่อเปลี่ยนเกียร์จาก P หรือ N ไปเป็นเกียร์ D หรือ R โปรดจำไว้เสมอว่า เมื่อรถหยุดนิ่งเหยียบเบรกไว้ก่อนที่จะเปลี่ยนเกียร์ เสมอ
3. เมื่อจะเลื่อนจาก เกียร์ D ไป R , R ไป D ควรหยุดรถให้สนิทก่อนเสมอที่จะทำการเปลี่ยนเกียร์ ถ้าเปลี่ยนในขณะที่รถกำลังเคลื่อนอยู่ นานวันเข้าจะทำให้เกียร์รถเราเสื่อมก่อนถึงเวลาอันควรครับและรถบางรุ่นนั้นเปลี่ยนเกียร์ราคาแพงมาก
4. ในขณะที่ตัวรถยังวิ่งอยู่ไม่ควรจะเปลี่ยนมาเกียร์ N ในกรณีตัวอย่างเช่น เห็นข้างหน้าเป็นไฟแดง และเห็นช่วงห่างจากรถท่านยังอีกไกล แล้วเกิดอยากประหยัดน้ำมันขึ้นมาจึง เปลี่ยนมาเป็นเกียร์ N และกะปล่อยให้รถไหลไปถึงไฟแดงแต่ถ้า ท่านใช้รถในยุคปัจจุบันไม่ต้องไปทำตามนั้นหรอกครับ เพราะรถยุคนี้จะใช้ระบบหัวฉีดที่ถูกควบคุมด้วยสมองกล การจ่ายเชื้อเพลิงจ่ายน้ำมันจึงตรงกับลิ้นปีกผีเสื้อ แค่คุณยกเท้าออกเลิกแตะคันเร่งลิ้นปีกผีเสื้อมันก็ปิดแล้ว การจ่ายน้ำมันในช่วงก็จะหยุดไป จึงไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนเกียร์มา N ซ้ำร้ายหารู้ไม่เป็นการทำร้ายเกียร์ของคุณอีกด้วย เพราะ ในขณะที่รถเคลื่อนที่อยู่ ความเร็ว ของที่ตำแหน่งเกียร์ D มีปั้มแรงดันสูง ส่งน้ำมันเกียร์เข้าไปในตัวเกียร์อยู่ตลอด พอคุณไปเปลี่ยนเป็นเกียร์ N ตัวปั้มจะทำงานได้ด้อยลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการจะทำให้ตัวเกียร์นั้นร้อน และที่ตามมาคือความสึกหรอของเกียร์
5. การเปลี่ยนมาเกียร์2 ก็มีข้อควรระวัง เกียร์ 2 นั้นผู้ผลิตทำขึ้นมาเพื่อต้องการให้หากเราต้องการแรงบิดมาก ๆ เช่นทางขึ้นเนินขึ้นเขา หรือต้องการจะหน่วงความเร็ว แต่ถ้าเป็นการขับรถลงเขาหรือเส้นทางคดไปมา ลาดชัน อย่าได้คิดใช้ เพราะถ้าขับด้วยความเร็วสูง จะทำให้เครื่องมีรอบสูงและเสียการทรงตัวและเกิดอุบัติเหตุได้
6. อย่าขับลากเกียร์ โดยปกติแล้วขับเกียร์ออโต้ ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ D อยู่แล้วตัวสมองกลก็จะคอยควบคุมการทำงานของเกียร์ ตามความเร็วของรถอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว บางคนเซียนหน่อยใช้เทคติคการคิกดาวน์ เพื่อหวังผลอัตราเร่ง แต่จะทำให้ผ้าคลัทช์ของเกียร์และระบบ ทอกค์คอนเวอร์เตอร์เกิดการสึกหรอเสียหายเร็วกว่าปกติ อายุใช้งานเกียร์ก็สั้นลง แต่ถ้าจะทำคิกดาวน์ก็เอาแค่แซงพ้นพอและอย่าทำบ่อยครับ
7. ติดสายพ่วงแบตเตอรรี่ติดรถไว้ด้วย เพราะรถเกียร์ออโต้ไม่สามารถเข็นสตาร์ทแบบเกียร์ธรรมดาได้ ถ้าจะทำก็ต้อง 20 กิโลเมตรต่อชม. ขึ้นไปซึ่งถ้าเป็นแรงคนเข็นคงทำไม่ได้ง่ายๆ แน่นอน และอาจเกิดความเสียหายต่อรถอีกด้วย ทางที่ดีควรหมั่นเช็คแบตเตอรี่ให้รู้ว่า มีไฟพอสตาร์ทรถหรือไม่ก่อนออกเดินทางครับ
ข้อมูลจาก
toyotabuzz.com/เทคนิคการขับรถเกียร์ออโต้
ในการขับขี่รถยนต์เกียร์ออโต้นั้น ผู้ขับขี่ควรจดจำตำแหน่ง และใช้เกียร์แต่ละเกียร์ได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ ซึ่งเกียร์ออโต้แต่ละตำแหน่งมีดังนี้
P หมายถึง PARKING เป็นตำแหน่งที่ ใช้สำหรับจอดรถ และไม่ต้องการให้รถเคลื่อน โดยล้อรถจะถูกล็อคไว้ ไม่สามารถเข็นได้ เช่น ในการจอดบนทางลาดชัน เมื่อต้องการจอดรถทิ้งไว้ หลังจากเหยียบเบรคจนรถหยุดสนิทแล้ว อย่าเพิ่งปล่อยเบรค จับคันเกียร์กดปุ่มปลดล็อค แล้วโยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง P จากนั้นปล่อยเบรค แล้วดับ เครื่องยนต์
R หมายถึง REVERSE เป็นเกียร์ สำหรับการถอยหลัง เมื่อต้องการเข้าเกียร์ R จะต้องเหยียบเบรค ให้รถหยุดสนิท จากนั้นจับคันเกียร์กดปุ่มปลดล็อคแล้วโยกคันเกียร์ไปที่ตำแหน่ง R แล้วจึงปล่อยเบรค กดคันเร่ง ให้รถเคลื่อนตัวถอยหลัง
N หมายถึง NEUTRAL เป็นตำแหน่ง เกียร์ว่างใช้เมื่อสตาร์ทเครื่องยนต์หรือต้องการจอดรถทิ้งไว้โดยที่ยังสามารถเข็นได้ หรือเมื่อจอดรถ อยู่กับที่ ในขณะเครื่องยนต์ยังคงทำงานอยู่ เช่น การจอดรถในสภาพการจราจรติดขัด หรือเมื่อติดไฟแดง
D4 หมายถึง เกียร์ออโต้ 4 สปีด ใช้ใน การขับรถเดินหน้าในสภาพการขับขี่ทั่วไป เช่น การขับรถ ในตัวเมือง รวมทั้งการขับรถด้วยความเร็วสูง ซึ่งการทำงานของเกียร์ D4 จะเป็นไปในลักษณะ 4 สปีด คือ เกียร์ จะเปลี่ยน ขึ้นตามลำดับ จากเกียร์ 1 ไปเกียร์ 2 หรือจากเกียร์ 2 ไปเกียร์ 3 หรือจากเกียร์ 3 ไปเกียร์ 4 โดยออโต้ ตามสภาพการทำ งานของเครื่องยนต์และความเร็วของรถ ยิ่งผู้ขับเหยียบคันเร่งมาก เกียร์ก็จะเปลี่ยนที่ความสูงขึ้น ตามไปด้วย
ในทางกลับกัน เมื่อลดความเร็ว เกียร์จะเปลี่ยนจากเกียร์ 4 ไปเกียร์ 3 หรือจากเกียร์ 3 ไปเกียร์ 2 หรือจากเกียร์ 2ไปเกียร์ 1
D3 หมายถึง เกียร์ออโต้ 3 สปีด ใช้ สำหรับขับรถขึ้นหรือลงเนิน เพื่อป้องกันมิให้เกียร์เปลี่ยนกลับไป กลับมาบ่อยๆ ระหว่างเกียร์ 3 และเกียร์ 4 นอกจากนี้ยังใช้สำหรับกรณีที่ต้องการ ให้ เครื่องยนต์ช่วยเพิ่มกำลัง เบรคมากขึ้น
ในตำแหน่ง D4 และ D3 หากต้องการเร่งความเร็วอย่างทันทีทันใด เช่น ในเวลาที่ต้องเร่งแซงรถที่อยู่ข้างหน้า ผู้ขับขี่ สามารถใช้การ KICK DOWN เหยียบคันเร่งจมติดพื้น เกียร์จะเปลี่ยนโดยออโต้ และทำให้รถพุ่ง ไปข้างหน้าเร็วขึ้น
D2 หมายถึง เกียร์ 2 ใช้สำหรับการขับ รถลงเขาเพื่อให้เครื่องยนต์ช่วยเพิ่มกำลังเบรคมากขึ้น หรือการขับรถขึ้นเขา เพื่อเพิ่มกำลังขับเคลื่อน รวมทั้งการขับบนถนนลื่น และการขับขึ้นจาก หล่มโคลนหรือทราย
D1 หมายถึง เกียร์ 1 ใช้สำหรับการขับ รถขึ้น-ลงเขาที่สูงชันมากๆ
การเลือกใช้งานของเกียร์ออ โต้แต่ละเกียร์ได้อย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย หรือ ความเสียหาย ต่อระบบขับเคลื่อนแล้ว ยังให้การขับขี่ที่นุ่มนวลอีก ด้วย
ข้อมูลจาก
PHITHAN-TOYOTA / เกียร์ออโต้ ใช้อย่างไรให้ถูกวิธี
ผู้ผลิตรถแทบทุกค่าย ต่างพากันใส่เกียร์อัตโนมัติไว้ให้เป็นทางเลือกของลูกค้า ที่ใช้งานส่วนใหญ่ในเมืองที่มีสภาพการจราจรหนาแน่น ทำให้การขับขี่มีความสะดวกสบายมากขึ้นกว่าเมื่อก่อนมาก เนื่องจากเท้าซ้ายไม่ต้องคอยเหยียบครัชให้วุ่นวายอีกต่อไป เรามาดูวิธีการขับขี่เกียร์อัตโนมัติที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อเกียร์และกระเป๋าของท่านกันดีกว่าครับ
1)การขับรถเกียร์ออโต้โดยทั่วๆไป ที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้เทคนิคพิเศษแบบนักแข่งรถ ควรใช้เท้าขวาเพียงเท้าเดียวในการเหยียบคันเร่งเบรค ไม่ควรใช้เท้าซ้ายเหยียบเบรค
2) สำหรับท่านที่เพิ่งจะเริ่มขับรถ พยายามเบรคด้วยเท้าขวาเท่านั้น และเหยียบเบรคทุกครั้งก่อนสตารท์รถ เพื่อป้องกันอันตรายถึงแม้ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ตำแหน่ง(P)หรือ(N)ก็ตาม และเหยียบเบรคทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ว่าง( N ) หรือเกียร์จอด (P) ไปเป็นเกียร์เดินหน้า (D) หรือเกียร์ถอยหลัง (R) จำไว้ให้ขึ้นใจครับ รถหยุดนิ่ง เหยียบเบรคก่อนทุกครั้งก่อนขยับเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ครับ
3) ถ้าท่านเลื่อนคันเกียร์ออกจากตำแหน่งเดินหน้า (D) ไปเป็นตำแหน่งถอยหลัง (R) หรือเปลี่ยนจากตำแหน่งถอยหลัง (R) ไปเป็นตำแหน่งเดินหน้า (D) ควรให้รถหยุดสนิทให้เรียบร้อยก่อน หลายท่านขับแบบใจร้อนและผิดวิธี รถยังคงเคลื่อนที่อยู่ก็รีบเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ จะทำให้เกียร์มีอายุการใช้งานสั้น อย่าลืมว่า ค่าซ่อมหรือเปลี่ยนเกียร์ใหม่ในรถยนต์บางรุ่นมีราคาสูงมาก
4) ขณะที่รถวิ่งอยู่ไม่ควรเข้าเกียร์ตำแหน่ง (N) เช่นเห็นไฟแดงข้างหน้าแต่ยังอีกไกล กลัวว่าจะไม่ประหยัดน้ำมัน ท่านจึงเข้าเกียร์ในตำแหน่ง (N) และปล่อยให้รถไหลไปจนถึงไฟแดง รถแทบทุกรุ่นในยุคปัจจุบันใช้ระบบหัวฉีดควบคุมด้วยสมองกลที่ทันสมัย การจ่ายเชื้อเพลิงขึ้นตรงกับลิ้นปีกผีเสื้อ ถ้าท่านยกเท้าออกจากคันเร่งลิ้นปีกผีเสื้อก็จะปิดทันที เซนเซอร์ลิ้นปีกผีเสื้อจะรายงานกล่องสมองกลที่ควบคุมระบบการจ่ายเชื้อเพลิง ให้หยุดทำการจ่ายน้ำมันทันที ไม่มีความจำเป็นที่ต้องปลดเกียร์ว่าง (N) แต่อย่างใด และยังเป็นผลเสียอย่างร้ายแรงต่อเกียรของท่านอีกด้วย เนื่องจากรถยนต์ในขณะเคลื่อนที่ด้วยความเร็ว เกียร์ที่อยู่ในตำแหน่ง(D) จะมีปั้มแรงดันสูง ส่งน้ำมันเกียร์เข้าไปหล่อลื่นอยู่ตลอดเวลา
แต่ปั้มน้ำมันของเกียร์อัตโนมัติจะทำงานน้อยลงเมื่อเกียร์ อยู่ในตำแหน่ง (N) เมื่อไม่มีแรงดันที่พอเพียงจะดันน้ำมันไปหล่อลื่นเกียร์อย่างเพียงพอ จะทำให้เกียร์ออโต้ของท่านร้อน และเกิดการสึกหรอเสียหายตามมา และด้วยสาเหตุนี้เองเวลารถที่ใช้เกียร์ออโต้เสียและจำเป็นต้องลากไปอู่จึงจำ เป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเติมน้ำมันเกียร์เพิ่มเข้าไปอีก เพื่อช่วยลดความร้อนของเกียร์ขณะที่ทำการลากจูง หรือถ้าหาน้ำมันเกียร์มาเติมไม่ได้ ควรยกให้ล้อที่ใช้ขับเคลื่อนให้ลอยพ้นพื้นถนนเนื่องจากระบบปั้มน้ำมัน เพาว์เวอร์ของระบบเกียร์อัตโนมัติหยุดทำงาน ไม่แนะนำให้ถอดเพลาสำหรับรถขับเคลื่อนล้อหลังเพระยุ่งยากและเสียเวลามากครับ ปัจจุบันนี้มีรถยก 6 ล้อ แบบสไลด์ออนสามารถนำรถทั้งคันขึ้นไปไว้บนกระบะหลัง สะดวกสบายและปลอดภัยต่อเกียร์อัตโนมัติและรถยนต์ราคาแพงของท่านครับ
5) การเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ 2 ต้องระมัดระวังเนื่องจากตำแหน่ง 2 จะมีอัตตราทดเฉพาะเกียร์ 1 และ 2 ซึ่งบริษัทผู้ผลิตต้องการทำให้ท่านเจ้าของรถใช้งานในกรณีที่ต้องการแรงบิด มากๆเช่นทางขึ้นเนินที่ค่อนข้างชัน หรือต้องการการหน่วงความเร็วของรถเอาไว้เช่นในขณะที่ขับรถลงเนินเขา(ENGINE BRAKE) หรือวิ่งบนเส้นทางที่คดเคี้ยว ลาดชันมากๆ ห้ามใช้ตำแหน่งเกียร์ 2 ในขณะที่ท่านขับรถด้วยความเร็วสูง เพราะจะทำให้เครื่องยนต์ใช้รอบเครื่องสูงตามไปด้วย จนเกินขีดจำกัดและก่อให้เกิดความเสียหาย และอาจลื่นไถลเนื่องจากเกิดแรงบิดมหาศาลมากระทำที่ล้อ ทำให้รถเสียการทรงตัวได้ครับ
6) ไม่ควรขับลากเกียร์ โดยทั่วไปการขับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ตำแหน่งเกียร์จะอยู่ที่ (D) ระบบสมองกลที่ควบคุมเกียร์จะทำการสั่งงานให้ปรับเปลี่ยนเกียรให้ขึ้นลงตาม ความเหมาะสมและความเร็วของรถอยู่ตลอดเวลา บางท่านรู้มากใช้วิธีเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์โดยการเลื่อนคันเกียร์ขึ้นลงเองใน ขณะที่รอบเครื่องทำงานสูงสุดเพียงเพื่อหวังผลทางด้านอัตราเร่งแต่จะมีผลทำ ให้ผ้าคลัทช์ และระบบทอกค์คอนเวอร์เตอร์เกิดการสึกหรอเสียหาย และทำให้มีอายุการใช้งานของเกียร์อัตโนมัติสั้นลง
7) ไม่ขับแบบเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำเอง(คิกดาวน์)บ่อยๆ การขับในตำแหน่ง (D)ระบบสมองกลควบคุมเกียร์จะทำการคำนวนค่าของแรงต่างๆและปรับเปลี่ยนตำแหน่ง เกียร์ตามความเร็วของรถในขณะนั้นตลอดเวลาอยู่แล้ว การกดคันเร่งเพื่อเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำหรือที่เรียกว่าคิกดาวน์ ไม่ควรทำบ่อยครั้ง หรือทำเท่าที่จำเป็นในการเร่งแซงให้พ้นเท่านั้น ถ้าท่านทำบ่อยๆ ผ้าคลัทช์ของเกียร์จะทำงานหนักและสึกหรอเร็วมากขึ้นครับ
8 ) ควรมีสายพ่วงแบตตารี่ติดท้ายรถไว้ตลอดเวลา เนื่องจากรถยนต์เกียร์อัตโนมัติไม่สามารถเข็นด้วยความเร็วต่ำแล้วกระตุกสตารท์ให้ติดเครื่องยนต์ได้เหมือนรถยนต์เกียร์ธรรมดา การเข็นรถเกียร์อัตโนมัติแล้วใช้วิธีกระตุกสตารท์ ต้องใช้ความเร็วอย่างน้อย 20กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเข็นด้วยแรงคนเป็นไปได้ยาก และยังเสี่ยงกับความเสียหายต่อเกียร์ในขณะที่ทำการเข็นหรือลากอีกด้วย ควรตรวจสอบแบตตารี่ให้มีไฟพอเพียงต่อการสตารท์ทุกครั้งครับ
9) น้ำมันเกียร์อัตโนมัติหัวใจของการหล่อลื่นและยืดอายุการใช้งานของเกียร์รถ ท่านให้ยาวนาน จึงควรเอาใจใส่ตรวจสอบบ่อยๆ การตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในระดับที่ไม่ต่ำกว่าขีดที่ก้านวัด กำหนดหมั่นเปลี่ยนน้ำมันเกียร์ตามระยะทางทีแนะนำ ไม่มีเกียร์อัตโนมัติใดไม่ต้องการการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตลอดอายุการใช้ งานของรถตามที่มีหลายๆบริษัทผู้ผลิตรถยนต์โฆษณาชวนเชื่อให้รถยนต์ของตนดูทน ทานและแข็งแรงตามความเป็นจริงจากสภาพการจราจร อุณภูมิ และสภาพการขับขี่ เกียร์อัตโนมัติทุกยี่ห้อยังต้องการการดูแลแปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ตามระยะ ทางที่ใช้ครับ
10) ตำแหน่งในเกียร์อัตโมติ
P)PARKING-เป็นตำแหน่งเกียร์ที่ใช้จอดในลักษณะเป็นที่เป็นทางไม่จอดขวางทางรถคันอื่นแล้วใส่ตำแหน่งเกียร์นี้ไว้
หรือจอดในทางที่มีลักษณะลาดชัน และใช้ในตำแหน่งสตารท์เครื่องยนต์
R) REVERSE-เป็นตำแหน่งเกียร์ถอยหลัง เหยียบเบรคทุกครั้งที่จะเข้าเกียร์ในตำแหน่งนี้
N) NEUTRAL-เป็นตำแหน่งเกียร์ว่าง ใช้ในการตัดกำลังของเครื่องยนต์ที่ส่งลงมาสู่เกียร์ และใช้เป็นตำแหน่งสตารท์เครื่องยนต์
D) DRIVE-เป็นตำแหน่งเกียร์เดินหน้าและใช้ในการขับขี่ตามปกติ
โดยตำแหน่งเกียร์จะปรับเปลี่ยนเองตามคำสั่งของสมองกลที่ควบคุม
ยกเว้นรถยนต์บางรุ่นที่มีสวิทช์ปรับเปลี่ยนระบบเกียร์และผู้ใช้เปิดสวิทช์เพื่อใช้งานในการปรับตำแหน่งเกียร์ด้วยตัวเอง
2) เป็นตำแหน่งเกียร์เดินหน้า แต่จะมีอยู่แค่ 1 และเกียร์ 2 อยู่ในตำแหน่งนี้
ใช้เพื่อขับขึ้นลงทางที่มีเนินสูงชัน ทางที่คดเคี้ยวไปมา ที่ไม่สามารถใช้ความเร็วสูงได้
1) LOW-เกียร์ในตำแหน่งนี้ มีเพียงเกียร์ 1 เท่านั้น ใช้สำหรับงานหนักที่ต้องการกำลัง หรือรถติดหล่ม หรือทางขึ้น ลงเขาที่ชันมาก