1. การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์1.1 การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 และ
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553 ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ดังต่อไปนี้
1.การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. การบริการอินเทอร์เน็ต
3. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
4. การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ที่สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดเฉพาะในท้องที่นอกเขตเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
โดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ถ่ายโอนอำนาจจดทะเบียนพาณิชย์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว
ทั้งนี้ ผู้ประกอบพาณิชยกิจดังกล่าวไม่จดทะเบียนพาณิชย์ แสดงรายการเท็จ หรือไม่มาให้นายทะเบียนพาณิชย์สอบสวน ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมให้ทะเบียนพาณิชย์ตรวจสอบมีความผิด เป็นไปตามกฎหมาย
ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์1. สร้างความน่าเชื่อถือ ความมีตัวตนของผู้ประกอบการ
2. ผู้ประกอบการสามารถขอรับเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียน DBD Registered จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
(ดูรายละเอียดการออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์) และเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified ซึ่งได้รับการตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
(ดูรายละเอียดการออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ)3. ได้รับสิทธิ์ในการเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด
หมายเหตุ-
ข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครืองหมาย DBD Registered-
ข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครืองหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified1.2 สถานที่จดทะเบียน และ เอกสารที่ใช้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สถานที่จดทะเบียนพาณิชย์1. สำนักงานแห่งใหญ่ของสถานประกอบการตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ให้ยื่น ณ สำนักงานเขตที่สำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่
2. สำนักงานแห่งใหญ่ของสถานประกอบการตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค ให้ยื่น ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์เมืองพัทยา เทศบาล หรือองค์การบริการส่วนตำบลที่สำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่
3. ถ้าสำนักงานแห่งใหญ่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจตั้งอยู่ในต่างประเทศ และมาตั้งสำนักงานสาขาเพื่อประกอบพาณิชยกิจในประเทศไทย สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งในเขตท้องที่ใดก็ให้จดทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ในเขตท้องที่นั้น
เอกสารที่ใช้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ 1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
2. แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์
(แบบ ทพ.) (ตัวอย่างการกรอก แบบ ทพ.)3. รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์
(เอกสารแนบ แบบ ทพ.) กรอก 1 ใบ ต่อ 1 เว็บไซต์
(ตัวอย่างการกรอก เอกสารแนบ แบบ ทพ.) 4. เอกสารการจดโดเมนเนม (กรณีที่มีเว็บไซต์ และชื่อผู้จดทะเบียนโดเมนเนม ต้องเป็นชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์)
5. Print หน้าแรกของเว็บไซต์ , สินค้า/บริการที่ประกอบพาณิชยกิจ และวิธีการสั่งซื้อสินค้า/บริการ วิธีการชำระเงิน วิธีการส่งสินค้า
6. แผนที่ตั้งการประกอบพาณิชยกิจ
7. หนังสือรับรองการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (กรณีจดในนามนิติบุคคล)
8. หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
(กรณีมอบอำนาจ)กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจมิได้เจ้าบ้าน (เอกสารเพิ่มเติม)
1.
หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ หรือ สัญญาเช่า
2. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของสถานที่ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน หรือ เอกสารสิทธิ์ที่แสดงว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ เข้ามาตั้งสาขาดำเนินกิจการในประเทศไทย ให้แนบเอกสารเพิ่มเติม
1. สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล
2. หนังสือแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการในประเทศไทย
2.1 ใบอนุญาตทำงาน (กรณีผู้ดำเนินกิจการเป็นคนต่างด้าว)
2.2 ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือหนังสือรับรองการใช้สิทธิ (ถ้ามี)
*** อธิบายรายละเอียดเอกสารประกอบคําขอการจดทะเบียนพาณิชย์ กรณีตั้งใหม่ เปลี่ยนแปลง และยกเลิก (คลิกที่นี่)
แนวปฏิบัติการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์1. การยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ 1 คำขอต่อ 1 เว็บไซต์ หรือ ร้านค้าออนไลน์
2. ต้องมีร้านค้าออนไลน์แล้ว โดยมิใช่มีแต่ชื่อเว็บไซต์ หรือ ชื่อร้านค้า
3. เป็นร้านค้าหรือประกอบพาณิชยกิจพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์ 4 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด
4. ไม่ใช่เว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือให้ข้อมูลเท่านั้น โดยไม่สามารถซื้อขายผ่านทางเว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์นั้น ๆ
5. การซื้อขายสินค้า/บริการผ่านทางเว็บไซต์หรือ Social Media เช่น Facebook ที่เป็นการทำการค้าโดยปกติ ถือเป็นการซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ และนำเลขทะเบียนแสดงบนหน้าร้านค้าออนไลน์
6. กรมฯ จะอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง DBD Registered เฉพาะร้านค้าออนไลน์ที่เป็นเว็บไซต์และมีโดเมนเนมเป็นของตนเอง ไม่รวมสื่อออนไลน์อื่น
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์ ดังนี้- ตั้งใหม่ 50 บาท
- เปลี่ยนแปลงรายการ ครั้งละ 20 บาท
- เลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
หมายเหตุ -
ตัวอย่างใบทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์2. การออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียน
2.1 การออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียน DBD Registeredการออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียน DBD Registered
การออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ DBD Registeredการออกเครื่องหมาย DBD Registered เป็นเครื่องหมายที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่จดทะเบียนพาณิชย์และประสงค์จะได้รับเครื่องหมาย DBD Registered เพื่อรับรองความมีตัวตนและการจดทะเบียนพาณิชย์ ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภคระดับหนึ่ง
เกณฑ์การให้เครื่องหมาย DBD Registered1. ผู้ขอใช้เครื่องหมาย จะต้องเป็นเจ้าของเว็บไซต์และ/หรือมีโดเมนเมนเป็นของตนเอง
2. เว็บไซต์จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ถูกต้องตามกฎหมาย
3. เว็บไซต์จะต้องแสดงข้อมูล รายละเอียดเจ้าของเว็บไซต์ ที่ตั้งสำนักงาน หมายเลขโทรศัพท์และโทรศัพท์มือถือ พร้อมช่องทางร้องเรียนการซื้อขายและส่งมอบสินค้า/บริการ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ หรือเมนู Contact Us
4. สินค้า/บริการที่จะนำขึ้นขายบนช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
5. สินค้าหรือบริการ จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
6. การนำเสนอสินค้าหรือบริการ จะต้องมีความชัดเจน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น ชนิดของสินค้า ราคา วิธีการชำระค่าสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
7. จะต้องมีนโยบายดูแล/บริการลูกค้าหลังการขาย ที่แสดงไว้บนหน้าเว็บไซต์อย่างชัดเจน
สถานที่การขอเครื่องหมาย DBD Registeredกองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 02 547 5960 หรือที่เว็บไซต์
www.trustmarkthai.com หรือส่งเอกสารมาที่อีเมล์
e-commerce@dbd.go.th หรือ โทรสาร 02 547 5973
เอกสารที่ใช้ขอเครื่องหมาย DBD Registered1. สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค. 0403)
2. สำเนารายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (เอกสารแนบแบบ ทพ.)
3. สำเนาเอกสารการจดโดเมนเนม
4. เอกสารอื่น (ถ้ามี)
- ใบแสดงตัวแทนจำหน่าย
- ใบแสดงลิขสิทธิ์
- ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจนั้นๆ
ประโยชน์ของเครื่องหมาย DBD Registered1. สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่เว็บไซต์เพื่อยืนยันการมีตัวตนของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. สร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ เมื่อเห็นเครื่องหมาย DBD Registered
3. การได้รับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เช่น อบรม สัมมนา ออกบูธงานต่าง ๆ และ รับข่าวสารด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
4. สิทธิในการขอรับเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (DBD verified) ให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมฯ กำหนด
หมายเหตุ เมื่อผ่านเกณฑ์การพิจาณา กรมฯ จะจัดส่ง
Source Codeให้ผู้ประกอบการ
ทางอีเมล์ ที่ระบุในการจดทะเบียนพาณิชย์ ทั้งนี้ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง ต้องแสดงเครื่องหมายรับรองไว้บนหน้าแรกของเว็บไซต์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้น
2.2 ขั้นตอนการขอรับเครื่องหมายรับรอง DBD Registeredhttps://drive.google.com/file/d/0B76yJeKddP3QQ3djX0Eza2RwMHc/view
3. การออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ
3.1 การออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verifiedการออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified
การออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ DBD Verifiedการออกเครื่องหมาย DBD Verified เป็นเครื่องหมายที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ประสงค์จะได้รับเครื่องหมาย DBD Verified โดยจดทะเบียนและมีคุณสมบัติ ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และแสดงว่าเว็บไซต์นั้น ๆ มีคุณภาพผ่านเกณฑ์ประเมินตามมาตรฐานคุณภาพธุรกิจ e-Commerce ของกรมฯ
คุณสมบัติของผู้ขอเครื่องหมาย DBD Verified- เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
- จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และได้รับเครื่องหมาย DBD Registered มาไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาไม่น้อยกว่า 2 ปี
- เป็นเจ้าของโดเมนเนม
- ไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้เครื่องหมายรับรอง
- ไม่เคยถูกเพิกถอนการใช้เครื่องหมายรับรอง เว้นแต่ถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์1. ด้านการเปิดเผยข้อมูล
2. ด้านวิธีการยกเลิกหรือคืนสินค้า และวิธีการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า
3. ด้านความปลอดภัย
4. ความเป็นส่วนตัว
5. การแก้ปัญหาข้อร้องเรียนและการระงับข้อพิพาท
*** สามารถดูรายละเอียดการประเมินธุรกิจตามเกณฑ์มาตรฐานได้
(คลิกที่นี่)สถานที่การขอเครื่องหมาย DBD Verified ณ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 02 547 5961 หรือที่เว็บไซต์
www.trustmarkthai.com หรือติดต่อที่อีเมล์
dbd-verified@dbd.go.thเอกสารที่ใช้ขอเครื่องหมาย DBD Verified - สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค. 0403)
ประโยชน์ของเครื่องหมาย DBD Verified- ได้รับความน่าเชื่อถือว่าเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานในการปฏิบัติงานและดำเนินธุรกิจที่ดี
- ส่งเสริมภาพลักษณ์และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ
- สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า/บริการในการขยายโอกาสสู่ตลาดต่างประเทศ
- สร้างโอกาสทางการตลาด/การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ/ช่องทางต่าง ๆ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- มั่นใจได้ว่า ซื้อสินค้า/บริการจากเว็บไซต์ที่มีตัวตนเชื่อถือได้ และผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจ e-Commerce ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด
- หากมีข้อพิพาท หรือประสบปัญหา สามารถติดต่อร้องเรียนมายังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหานั้น
หมายเหตุ1. เมื่อผ่านเกณฑ์การพิจาณา กรมฯ จะจัดส่ง
Source Codeให้ผู้ประกอบการ
ทางอีเมล์ ที่ระบุในการจดทะเบียนพาณิชย์ ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับเครื่องหมาย ต้องแสดงหนังสืออนุญาตไว้ ณ สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ที่เห็นได้ง่าย และแสดงเครื่องหมายรับรองไว้บนหน้าแรกของเว็บไซต์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต
2. เครื่องหมาย DBD Verified มีอายุ 1 ปี ซึ่งผู้ประกอบการที่ต้องการได้รับการรับรองมาตรฐาน จะต้องทำการขอต่ออายุทุกปี
3.2 ขั้นตอนติดตั้งเครื่องหมาย DBD Registered & DBD Verified บนหน้าแรกเว็บไซต์www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form011en.pdf1
2
3
4
5
6
7
8
3.3 สถิติการออกเครื่องหมายรับรอง DBD Registered และ DBD Verified ปี 2558สถิติการออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ DBD Registered และเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified ปี 2558 (รายละเอียดตามเอกสารแนบ) เครื่องหมาย DBD Registered เป็นเครื่องหมายที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่จดทะเบียนพาณิชย์และประสงค์จะได้รับเครื่องหมาย DBD Registered เพื่อรับรองความมีตัวตนและการจดทะเบียนพาณิชย์ ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภคระดับหนึ่ง
เครื่องหมาย DBD Verified เป็นเครื่องหมายที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ประสงค์จะได้รับเครื่องหมาย DBD Verified โดยจดทะเบียนและมีคุณสมบัติ ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และแสดงว่าเว็บไซต์นั้น ๆ มีคุณภาพผ่านเกณฑ์ประเมินตามมาตรฐานคุณภาพธุรกิจ e-Commerce ของกรมฯ
เอกสารแนบ1.April_58.pdf