สังคมแห่งการแบ่งปันนี้จะไม่มีสิ่งที่เพื่อนต้องการ เมื่อเพื่อนๆ มาแวะเยี่ยมแล้วไม่ฝากสิ่งใดไว้..!! กลุ่มเว็บนี้.. ดำรงไว้ซึ่ง คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม จรรยาบรรณ ไม่เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ตักตวงผลประโยชน์เข้าตน..
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เสียงดังแค่ไหนถึงผิด รู้กฎหมายเอาผิดสถานที่เสียงดังไม่เกรงใจใคร (29 ม.ค. 2567)เครดิต: https://www.mcot.net/view/sPVnEpEv จากกรณีเมื่อไม่นานมานี้มีสมาคมสโมสรของหน่วยงานราชการแห่งหนึ่ง จัดงานแสงสีเสียง ถึงยามวิกาล จนไปกระทบความสงบของชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง เราเลยขอพาไปดูข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้เสียงกัน ทั้งจากหน่วยงานก็ดี หรือเพื่อนบ้านก็ดี แบบไหนถือเป็นการรบกวนชาวบ้าน และขัดต่อกฎหมายบ้าง หากอ้างอิงตาม ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) เรื่อง กําหนด มาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 32(5) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มีการระบุเกี่ยวกับการใช้เสียงไว้ว่า 1.ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบล 2.ค่าระดับเสียงสูงสุด ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ ส่วนกฎหมายเสียงรบกวนของประเทศไทยในปัจจุบัน สำหรับเสียงรบกวนยามวิกาล (22.00-06.00 น.) จะใช้เกณฑ์ความแตกต่างจากระดับเสียงพื้นฐาน ต้องไม่เกิน 10 เดซิเบลเอ สำหรับโทษกรณีหากเพื่อนบ้าน หรือหน่วยงานใกล้เคียงในชุมชน ส่งเสียงดังรบกวนไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย เปิดเพลง หรือสังสรรค์เสียงดังโดยไม่มีเหตุจำเป็น ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาในมาตราต่าง ๆ ดังนี้ - มาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียงหรือกระทำความอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท - มาตรา 397 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำในที่สาธารณสถานหรือต่อหน้าธารกำนัลหรือเป็นการกระทำอันมีลักษณะส่อไปในทางที่จะล่วงเกินทางเพศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ - มาตรา 90 เมื่อการกระทำใดอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด สรุป หากเพื่อนบ้านหรือสถานที่ใกล้เคียงทำเสียงดังจนทำให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ก็สามารถแจ้งฟ้องได้ และเพื่อนบ้านอาจโดนปรับไม่เกิน 5 พันบาท หากเสียงดังต่อหน้าคนจำนวนมาก ก็อาจโดนโทษสูงสุดจำคุก 1 เดือน และปรับ 1 หมื่นบาท
กฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางเสียงกฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางเสียงเครดิต: www.geonoise.co.th/กฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางเสียงกฎหมายเกี่ยวกับคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในประเทศไทย1. กฎหมายเกี่ยวกับคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในประเทศไทย กฎหมายเกี่ยวกับมลพิษทางเสียงและสั่นสะเทือน 1.1 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535เป็นกฎหมายแม่บท ซึ่งเป็นพื้นฐานรองรับการใช้อํานาจหน้าที่ของหน่วยงานในการกําหนดนโยบาย มาตรการ และแผนงาน เพื่อเป็นการจัดการสิ่งแวดล้อมมาตรา 32 เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม แห่งชาติมีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่อง(5) มาตรฐานระดับเสียงและสั่นสะเทือนโดยทั่วไป(6) มาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมในเรื่องอื่นๆ ทั้งนี้ การกําหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะต้องอาศัยหลักวิชาการ กฎเกณฑ์และหลักฐานทาง วิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน และจะต้องคํานึงถึงความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 1.1.1 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) เรื่อง กําหนด มาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 32(5) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535ข้อ 2 ให้กําหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ไว้ดังต่อไปนี้(1) ค่าระดับเสียงสูงสุด ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ(2) ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ1.1.2 ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2543) เรื่อง ค่าระดับ เสียงรบกวน ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 32(6) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ สิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535ข้อ 2 ให้กําหนดค่าระดับเสียงรบกวนไว้ที่ 10 เดซิเบลเอ หากระดับการรบกวนที่คํานวณได้มีค่า มากกว่าค่าระดับเสียงรบกวนตามวรรคแรก ใหถือว่าเป็นเสียงรบกวนข้อ 3 วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐานและระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคํานวณค่าระดับเสียง ขณะมีการรบกวนและค่าระดับการรบกวน เป็นไปตามประกาศกรมควบคุมมลพิษ 1.2 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535พระราชบัญญัติการสาธารณสุข มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการ ป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ ที่เกี่ยวกับเหตุรําคาญด้านพิษทางเสียง ดังนี้มาตรา 25 ในกรณีที่มีเหตุอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อน แก่ผู้ที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียง หรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุนั้น ดังต่อไปนี้ให้ถือว่าเป็นเหตุรําคาญ(4) การกระทําใดๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น แสง รังสีเสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ สั่นสะเทือน ฝุ่น ละออง เขม่า เถ่า หรือกรณีอื่นใด จนเป็นเหตุให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนมลพิษทางเสียงและสั่นสะเทือน สํานักจัดการคุณภาพอากาศและเสียงมาตรา 26 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจห้ามผู้ใดผู้หนึ่งมิให้ก่อเหตุรําคาญ ในที่ หรือทางสาธารณะ หรือสถานที่เอกชนรวมทั้งการระงับเหตุรําคาญด้วย ตลอดทั้งการดูแล ปรับปรุง บํารุงรักษา บรรดาถนน ทางบก ทางน้ำ รางระบายน้ำ คูคลอง และสถานที่ต่างๆ ในเขตของตนให้ปราศจากเหตุรําคาญในการนี้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจ ออกคําสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กําจัด และควบคุมเหตุรําคาญต่างๆ ได้มาตรา 27 ในกรณีที่มีเหตุรําคาญเกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นในที่หรือทางสาธารณะ ให้เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีอํานาจ ออกคําสั่งเป็นหนังสือให้บุคคล ซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อ หรืออาจก่อให้เกิดเหตุรําคาญนั้น ระงับหรือป้องกันเหตุรําคาญภายในเวลาอันสมควร ตามที่ระบุไว้ในคําสั่ง และถ้าเห็นสมควรจะให้กระทําโดยวิธีใด เพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรําคาญนั้น หรือสมควรกําหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้เกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งในกรณีที่ปรากฎแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าไม่มีการปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเหตุรําคาญที่เกิดขึ้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นระงับเหตุนั้นและอาจจัดการตามความ จําเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรําคาญนั้นขึ้นอีก โดยบุคคลซึ่งเป็นต้นเหตุหรือเกี่ยวข้องกับการก่อหรืออาจก่อให้เกิดเหตุ รําคาญต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสําหรับการจัดการนั้นมาตรา 74 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 28 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก่ตัวอันสมควร หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 27 วรรคสอง หรือมาตรา 28 วรรคสอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับ 1.3 พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา มีบทบัญญัติเกี่ยวกับกกําหนดโทษผู้ก่อให้เกิดเสียง ดังนี้มาตรา 370 ผู้ใดส่งเสียงหรือทําให้เกิดเสียงหรือกระทําความอื้ออึงโดยไม่มีเหตุอันควรจนทําให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาทมาตรา 372 การทะเลาะกันอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานก็อาจทําให้ผู้ทะเลาะเบาะแว้งส่ง เสียงดังอื้ออึง มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาทมาตรา 376 ผู้ใดยิงปืนหรือใช้ดินระเบิดโดยใช้เหตุในเมือง หมู่บ้านหรือที่ชุมนุมชน ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกิน 10 วัน หรือปรับไม่เกิน 500 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ2. กฎหมายเกี่ยวกับโรงงาน สถานประกอบการ 2.1 พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ. 2535มาตรา 46 เพื่อประโยชน์ในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดประเภทและขนาดของโครงการ หรือ กิจกรรมของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องจัดทํารายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เสนอขอความเห็นชอบตามมาตรา 47 มาตรา 48 และมาตรา 49ในการประกาศตามวรรคหนึ่ง ให้กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ ระเบียบปฏิบัติแนวทางการจัดทํารายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องเสนอพร้อมกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมสําหรับโครงการหรือกิจกรรมแต่ละประเภทแต่ละขนาดด้วยในกรณีที่โครงการหรือกิจกรรมประเภท หรือขนาดใด หรือที่จะจัดตั้งขึ้นในพื้นที่ที่จัดทํารายงานการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมไว้แล้ว และเป็นมาตรฐานที่สามารถใช้กับโครงการหรือกิจการประเภทหรือขนาดเดียวกัน หรือในพื้นที่ลักษณะเดียวกันได้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดให้โครงการหรือกิจการในทํานองเดียวกันได้รับการยกเว้นไม่ต้องทํารายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็ได้แต่ทั้งนี้โครงการหรือกิจการนั้นจะต้องแสดงความยินยิมปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ที่กําหนด ไว้ในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสําหรับโครงการหรือกิจการนั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกําหนดมาตรา 55 ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ และโดยความเห็นชอบของ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดมาตรฐานควบคุมมลพิษจาก แหล่งกําเนิดสําหรับควบคุมมลพิษจากแหล่งกําเนิด สู่สิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ได้มาตรฐาน คุณภาพสิ่งแวดล้อมมาตรา 68 ให้รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการควบคุมมลพิษมีอํานาจประกาศในราชกิจจา นุเบกษากําหนดประเภทของแหล่งกําเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยมลพิษออกสู่บรรยากาศไม่เกินมาตรฐาน ควบคุมมลพิษจากแหล่งกําเนิดตามมาตรา 55 หรือมาตรฐานที่ส่วนราชการใดกําหนดโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายอื่น และมาตรฐานนั้นยังมีผลใช้บังคับตามมาตรา 56 หรือมาตรฐานที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกําหนดเป็นพิเศษสําหรับเขต ควบคุมมลพิษตามมาตรา 58เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกําเนิดมลพิษทางเสียงเกินกว่าระดับมาตรฐานควบคุมมลพิษจาก แหล่งกําเนิดที่กําหนดตามมาตรา 55 หรือมาตรฐานที่ส่วนราชการใดกําหนดโดยอาศัยอํานาจตามกฎหมายอื่นและ มาตรฐานนั้นยังมีผลใช้บังคับตามมาตรา 56 หรือมาตรฐานที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกําหนดเป็นพิเศษสําหรับเขตควบคุม มลพิษตามมาตรา 58 มีหน้าที่ต้องติดตั้ง หรือ จัดให้มีระบบควบคุม กําจัด ลด หรือขจัดมลพิษมาตรา 92 เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกําเนิดมลพิษตามมาตรา 68 ผู้ใดละเว้นไม่ใช่อุปกรณ์และ เครื่องมือของตนที่มีอยู่สําหรับการควบคุมเสียง จะต้องเสียค่าปรับรายวันในอัตรา 4 เท่าของจํานวนเงินค่าใช้จ่าย ประจําวันสําหรับการเปิดเดินเครื่องทํางานของอุปกรณ์เครื่องมือของตนตลอดเวลาที่ดําเนินการเช่นว่านั้นกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.1.1 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดมาตรฐาน ควบคุมระดับเสียงและสั่นสะเทือนจากการทําเหมืองหิน ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 55 แห่ง พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535 ส่วนมลพิษทางเสียงและสั่นสะเทือน สํานักจัดการคุณภาพอากาศและเสียงข้อ 2 ให้กําหนดมาตรฐานควบคุมระดับเสียงจากการทําเหมืองหิน ไว้ดังต่อไปนี้(1) ค่าระดับเสียงสูงสุด ไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ ตรวจวัดฝนขณะระเบิดหิน(2) ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 8 ชั่วโมง ไมเกิน 75 เดซิเบลเอ ตรวจวัดอย่างต่อเนื่อง 8 ชั่วโมงที่มีการโม่ บด และย่อยหิน(3) ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ ตรวจวดอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมงข้อ 5 ให้กําหนดค่ามาตรฐานสั่นสะเทือนจากการทําเหมืองหินไว้ดังต่อไปนี้ความถี่ (เฮริตซ์) / ความเร็วอนุภาค ไม่เกิน (มม./วิ.) / การขจัดไม่เกิน (มม.)1 – 4.7 – 0.752 – 9.4 – 0.753 – 12.7 – 0.674 – 12.7 – 0.515 – 12.7 – 0.406 – 12.7 – 0.347 – 12.7 – 0.298 – 12.7 – 0.259 – 12.7 – 0.2310 – 12.7 – 0.2011 – 13.8 – 0.2012 – 15.1 – 0.2013 – 16.3 – 0.2014 – 17.6 – 0.2015 – 18.8 – 0.2016 – 20.1 – 0.2017 – 21.4 – 0.2018 – 22.6 – 0.2019 – 23.9 – 0.2021 – 26.4 – 0.2022 – 27.6 – 0.2023 – 28.9 – 0.2024 – 30.2 – 0.2025 – 31.4 – 0.2026 – 32.7 – 0.2027 – 33.9 – 0.2028 – 35.2 – 0.2029 – 36.4 – 0.2030 – 37.7 – 0.2031 – 39.0 – 0.2032 – 40.2 – 0.2033 – 41.5 – 0.2034 – 42.7 – 0.2035 – 44.0 – 0.2036 – 45.2 – 0.2037 – 46.5 – 0.2038 – 47.8 – 0.2039 – 49.0 – 0.2040 – 50.8 – 0.20 2.1.2 ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กําหนดให้เหมืองหิน เป็นแหล่งกําเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมระดับเสียงและสั่นสะเทือน ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพ.ศ.2535ข้อ 1 ในประกาศนี้ “เหมืองหิน” หมายความว่า กิจการระเบิดหินตามกฎหมายที่ดิน หรือ กิจการ โรงงานเกี่ยวกับการโม่บด หรือย่อยหินตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานข้อ 2 ให้เหมืองหินเป็นแหล่งกําเนิดมลพิษที่ต้องถูกควบคุมระดับเสียงและสั่นสะเทือน ส่วนมลพิษทางเสียงและสั่นสะเทือน สํานักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง . 5ข้อ 3 ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองเหมืองหินก่อให้เกิดระดับเสียงและสั่นสะเทือนเกิดกว่า มาตรฐานที่กําหนดในประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เรื่องกําหนดมาตรฐานควบคุมระดับ เสียงและสั่นสะเทือนจากการทําเหมืองหิน 2.2 พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535เป็นกฎหมายแม่บทสําหรับการควบคุมการประกอบกิจการโรงงาน ซึ่งหมายถึง อาคาร สถานที่ หรือ ยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกําลังรวมตั้งแต่ห้าแรงม้า หรือกําลังเทียบเท่าตั้งแต่ห้าแรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่เจ็ด คนขึ้นไป โดยใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม สําหรับทํา ผลิต ประกอบ บรรจุซ่อม ซ่อมบํารุง ทดสอบ ปรับปรุงแปรสภาพ ลําเลียง เก็บรักษา หรือทําลายสิ่งใดๆ ตามที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวง โดยพระราชบัญญัตินี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับมลพิษ ทางเสียง ดังนี้มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมีอํานาจกําหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตาม พระราชบัญญัตินี้มาตรา 8 เพื่อประโยชน์ในการควบคุมการประกอบกิจการโรงงาน (โดยเฉพาะที่สามารถนํามาใช้ ป้องกัน แก้ไข ควบคุมมลพิษทางเสียง) ให้รัฐมนตรีมีอํานาจออกกฎกระทรวงเพื่อให้โรงงานจําพวกใดจําพวกหนึ่งหรือ ทุกจําพวก ต้องปฏิบัติตามในเรื่อง(1) กําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ตั้งของโรงงาน สภาพแวดล้อมของโรงงาน ลักษณะอาคารของ โรงงาน หรือลักษณะภายในของโรงงาน(2) กําหนดลักษณะ ประเภทหรือชนิดของเครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์หรือสิ่งที่ต้องนํามาใช้ในการ ประกอบกิจการโรงงาน(3) กําหนดให้มีคนงานซึ่งมีความรู้เฉพาะตามประเภท ชนิดหรือขนาดของโรงงานเพื่อปฏิบัติหน้าที่ หนึ่งหน้าที่ใดประจําโรงงาน(4) กําหนดหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติกรรมวิธีการผลิต และการจัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นใด เพื่อป้องกัน หรือระงับ หรือบรรเทาอันตราย ความเสียหาย หรือความเดือดร้อน ที่อาจเกิดแก่บุคคล หรือทรัพย์สินที่อยู่ ในโรงงาน หรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน(5) กําหนดมาตรฐานและวิธีการควบคุมการปล่อยของเสีย มลพิษหรือสิ่งไดๆที่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดขึ้นจากการประกอบกิจการโรงงาน(6) กําหนดการจัดให้มีเอกสารที่จําเป็นประจําโรงงานเพื่อประโยชน์ในการควบคุมหรือตรวจสอบ การปฏิบัติตามกฎหมาย(7) กําหนดข้อมูลที่จําเป็นเกี่ยวกับการประกอบกิจการโรงงานที่ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้ ทราบเป็นครั้งคราวหรือตามระยะเวลาที่กําหนดไว้(8) กําหนดการอื่นใดเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยในการดําเนินงาน เพื่อป้องกัน หรือระงับ หรือ บรรเทาอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน กฎกระทรวงดังกล่าวจะกําหนดให้ยกเว้นโรงงานประเภท ชนิด หรือขนาดใด จากการต้องปฏิบัติเรื่อง หนึ่งเรื่องใดก็ได้และจะสมควรกําหนดให้เรื่องที่เป็นรายละเอียดทางด้านเทคนิค หรือเป็นเรื่องที่ต้องเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ตามสภาพสังคม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็ได้มาตรา 35 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจเข้าในอาคาร สถานที่เพื่อตรวจสภาพอาคาร สถานที่ เครื่องจักร หรือการกระทําที่อาจเป็นการฝ่าฝืน ส่วนมลพิษทางเสียงและสั่นสะเทือน สํานักจัดการคุณภาพอากาศและเสียงมาตรา 36 เมื่อปรากฏว่าผู้ใดกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือมีเหตุสงสัยว่ากระทํา ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่แต่งตั้งข้าราชการไม่ต่ํากว่าระดับ 4 มีอํานาจจับกุมผู้นั้นส่งพนักงานสอบสวนดําเนินการตามกฎหมายต่อไปมาตรา 37 ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ประกอบกิจการโรงงานผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตาม พระราชบัญญัตินี้ หรือการประกอบกิจการโรงงานมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหาย หรือความเดือดร้อน แก่บุคคลหรือทรัพย์สินที่อยู่ในโรงงานหรือที่อยู่ใกล้เคียงกับโรงงาน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งให้ผู้นั้นระงับการ กระทําที่ฝ่าฝืนหรือแก้ไข หรือปรับปรุงหรือปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสม ภายในระยะเวลาที่กําหนดได้ในกรณีที่ เห็นสมควรเมื่อได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวง หรือผู้ที่ปลัดกระทรวงมอบหมาย ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจ ผูกมัด ประทับตราเครื่องจักร เพื่อมิให้เครื่องจักรทํางานได้ในระหว่างการปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม วรรคหนึ่งมาตรา 45 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงตามมาตรา 8 (1) (2) (3) (4) (5) หรือ (8) หรือ ประกาศของรัฐมนตรีที่ออกตามกฎกระทรวงดังกล่าว ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาทมาตรา 57 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งสั่งตามมาตรา 37 วรรคหนึ่ง ต้องระวาง โทษจําคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน หรือยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องมาตรา 58 ผู้ใดกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้เครื่องจักรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ผูกมัดประทับตรา ไว้ตามมาตรา 37 วรรคสอง กลับทํางานได้อีก ต้องระวางโทษ จําคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้ง จําทั้งปรับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.2.1 กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 6 และมาตรา 8 (1) (2) (3) (4) (5) (6) และ (8) แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535ข้อ 1 ห้ามตั้งโรงงานจําพวกที่ 1 และโรงงานจําพวกที่ 2 ในบริเวณต่อไปนี้(1) บ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัย อาคารชุดพักอาศัย และบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย(2) ภายในระยะ 5 เมตร จากเขตติดต่อสาธารณสถาน ได้แก่ โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา วัด หรือศาสนสถาน โรงพยาบาล โบราณสถาน และสถานที่ทําการของหน่วยงานของรัฐ และให้หมายรวมถึงแหล่งอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่รัฐมนตรีกําหนดข้อ 2 ห้ามตั้งโรงงานจําพวกที่ 3 ในบริเวณต่อไปนี้(1) บ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัย อาคารชุดพักอาศัย และบ้านแถวเพื่อการพักอาศัย การศึกษา วัด หรือศาสนสถาน โรงพยาบาล โบราณสถาน และสถานที่ทําการของหน่วยงานรัฐและให้หมายรวมถึงแหล่งอนุรักษ์ ทรัพยากนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่คณะรัฐมนตรีกําหนดข้อ 3 สถานที่ทําการของหน่วยงานรัฐไม่หมายรวมถึงสถานที่ทําการงานโดยเฉพาะเพื่อการควบคุม กํากับ ดูแล อํานวยการสะดวก หรือให้บริการแก่กิจการของโรงงานแห่งนั้นๆในกรณีมีเหตุอันสมควร รัฐมนตรีจะกําหนดในราชกิจจานุเบกษาให้ร้อนหรือขยายระยะทางที่กําหนด ในข้อ 1(2) หรือข้อ 2(2) หรือมิให้ใช้บังคับข้อ 1(2) แก่โรงงานประเภทใดตามเงื่อนไขที่กําหนดก็ได้ข้อ 4 โรงงานจําพวกที่ 3 นอกจากห้ามตั้งในบริเวณตามข้อ 2 แล้ว ต้องตั้งอยู่ในทําเลและ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ใบริเวณเพียงพอที่จะประกอบกิจการอุตสาหกรรมตามขนาดหรือประเภทหรือชนิดของ โรงงาน โดยไม่อาจก่อให้เกิดอันตราย เหตุรําคาญ หรือความเสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นด้วย ส่วนมลพิษทางเสียงและสั่นสะเทือน สํานักจัดการคุณภาพอากาศและเสียงข้อ 6 กําหนดเครื่องจักร อุปกรณ์และสิ่งอื่นที่นํามาใช้ในโรงงาน (2) ใช้เครื่องจักรที่มีความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดสั่นสะเทือน เสียง หรือคลื่นวิทยุรบกวนผู้ อยู้อาศัยใกล้เคียงข้อ 17 เสียงดังที่เกิดจากการประกอบกิจการต้องไม่เกินมาตรฐานที่รัฐมนตรีกําหนด โดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาข้อ 18 โรงงานประเภทใดต้องมีมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการดําเนินงานอย่างที่เป็นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีกําหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา 2.2.2 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยในการประกอบ กิจการโรงงานเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2546 ออกโดยอาศัยอํานาจตามความในข้อ 18 แห่ง กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535ข้อ 8 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องควบคุมมิให้บริเวณปฏิบัติงานในโรงงานมีระดับเสียงเกินกว า มาตรฐานที่ได้กําหนดไว้ในตารางท้ายหมวดนี้ข้อ 9 ห้ามมิให้บุคคลเข้าไปในบริเวณที่มีเสียงดังเกินกว่า 140 เดซิเบลเอข้อ 10 บริเวณปฏิบัติงานที่มีระดับเสียงเกินกว่ามาตรฐานตามข้อ 8 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องปิด ประกาศเตือนให้ทราบถึงบริเวณที่มีเสียงดังเกินมาตรฐานที่กําหนดตารางแสดงมาตรฐานเปรียบเทียบระดับเสียงเฉลี่ยที่ยอมรับได้กับเวลาการทํางานในแต่ละเวลาการทํางานที่ได้รับเสียงใน 1 วัน (ชม.) : ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทํางาน ไม่เกิน (เดซิเบลเอ)12 – 878 – 906 – 924 – 953 – 972 – 1001 ½ – 1021 – 105½ – 110¼ – 115หมายเหตุหากเวลาการปฏิบัติงานไม่มีค่ามาตรฐานที่กําหนดตรงตามตารางข้างต้น ให้คํานวณ โดยใช้สูตรT = 8 2 (L-90)/5เมื่อ T หมายถึง เวลาการทํางานที่ยอมให้ได้รับเสียง (ชั่วโมง)L หมายถึง ระดับเสียง (เดซิเบลเอ)ในกรณีค่าระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทํางาน ที่ได้จากการคํานวณมีเศษทศนิยมให้ตัดเศษ ทศนิยมออกข้อ 11 ผู้ประกอบกิจการโรงงาน ต้องจัดให้มีการตรวจวัด วิเคราะห์ และจัดทํารายงาน สภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่างและเสียงอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยมีเจ้าหน้าที่ความ ปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพหรือผู้สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์เป็นผู้รับรอง รายงานและให้เก็บรายงานดังกล่าวไว้ ณ ที่ตั้งโรงงานให้พร้อมสําหรับการตรวจสอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ข้อ 14 การตรวจวัดระดับเสียง บริเวณที่ทําการตรวจวัดต้องเป็นบริเวณที่มีการปฏิบัติงานในสภาพ การทํางานปกติ การตรวจวัดต้องเป็นบริเวณที่มีระดับเสียงสูง ประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ต้องดําเนินการตรวจวัด เสียงตามที่กําหนดไว้ในบัญชีที่ 2 ท้ายประกาศนี้ข้อ 15 วิธีการตรวจวัดและวิเคราะห์ให้เป็นไปตามหลักมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐานของ Occupational Safety & Health Administration (OSHA) มาตรฐานของ National Institute Occupational Safety and Health (NIOSH) เป็นต้น หรือวิธีอื่นใดที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ 2.3 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535พระราชบัญญัติการสาธารณสุข มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการ ควบคุมและป้องกันมลพิษจากการ ประกอบกิจการซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประจําวันของประชาชนในชุมชน และมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ของคนงานและประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง ดังนี้มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีอํานาจออกกฎกระทรวงกําหนดกิจการอื่นเพื่อ ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้มาตรา 6 รัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจออกกฎกระทรวงดังนี้(1) กําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และมาตรการในการควบคุมหรือกํากับดูแลสําหรับกิจการหรือการ ดําเนินการในเรื่องต่างๆ ตามพระราชบัญญัตินี้มาตรา 28 ในกรณีที่มีเหตุรําคาญเกิดขึ้นในสถานที่เอกชน ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจ ออกคําสั่ง เป็นหนังสือให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น ระงับเหตุรําคาญภายในเวลาอันสมควร ตามที่ระบุไว้ในคําสั่ง และ ถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทําโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรําคาญนั้น หรือสมควรกําหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรําคาญ เกิดขึ้นในอนาคต ให้ระบุไว้ในคําสั่งได้ในกรณีที่ไม่มีการปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจระงับเหตุ รําคาญนั้น และอาจจัดการตามความจําเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุรําคาญเกิดขึ้นอีก และถ้าเหตุรําคาญเกิดขึ้นจากการ กระทํา การละเลย หรือการยินยอมของเจ้าของ หรือผู้ครอบครองสถานที่นั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ดังกล่าว ต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสําหรับการนั้น ในกรณีที่ปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าเหตุรําคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่เอกชนอาจเกิดอันตรายอย่าง ร้ายแรงต่อสุขภาพ หรือมีผลกระทําต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดํารงชีพของประชาชน เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นจะออกคําสั่งเป็นหนังสือห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองใช้หรือยินยอมให้บุคคลใดใช้สถานที่นั้นทั้งหมดหรือ บางส่วน จนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าได้มีการระงับเหตุรําคาญนั้นแล้วก็ได้มาตรา 31 ใหรัฐมนตรีโดยคําแนะนําของคณะกรรมการมีอํานาจประกาศในราชกิจจานุเบกษา กําหนดให้กิจการใดเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมาตรา 32 เพื่อประโยชน์ในการดูแลการประกอบกิจการที่ประกาศตามมาตรา 31 ให้ราชการส่วน ท่องถิ่นมีอํานาจออกข้อกําหนดของท้องถิ่นดังต่อไปนี้(1) กําหนดประเภทของกิจการตามมาตรา 31 บางกิจการหรือทุกกิจการให้เป็นให้เป็นกิจการที่ต้อง มีการควบคุมภายในท้องถิ่นนั้น ส่วนมลพิษทางเสียงและสั่นสะเทือน สํานักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง . 9(2) กําหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขทั่วไปสําหรับให้ผู้ดําเนินกิจการตาม (1) ปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแล สภาพหรือสุขลักษณะของสถานที่ที่ใช้ดําเนินกิจการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพมาตรา 33 เมื่อพ้นกําหนด 90 วัน ที่ข้อกําหนดของท้องถิ่นตามมาตรา 32(1) ใช้บังคับ ห้ามมิให้ผู้ใด ดำเนินกิจการที่มีการควบคุมตามมาตรา 32 (1) ในลักษณะที่เป็นการค้า เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 56ในการออกใบอนุญาตตามวรรคหนึ่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจกําหนดเงื่อนไขโดยเฉพาะให้ผู้รับ ใบอนุญาตปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของสาธารณชนเพิ่มเติมจากที่กําหนดไว้โดยทั่วไปในข้อกําหนดของ ท้องถิ่นตามมาตรา 32(2) ก็ได้มาตรา 45 ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ดําเนินกิจการใดๆ ตามที่ระบุในพระราชบัญญัตินี้ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวง ข้อกําหนดของท้องถิ่นหรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือคําสั่งของเจ้า พนักงานท้องถิ่นที่กําหนดไว้เกี่ยวกับการดําเนินกิจการนั้น ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอํานาจสั่งให้ผู้ดําเนินกิจการนั้น แก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้องได้และถ้าผู้ดําเนินการไม่แก้ไข หรือถ้าการดําเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดหรือมีเหตุอันควร สงสัยว่าจะเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดําเนินกิจการนั้นไว้ ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้คําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามวรรคหนึ่ง ให้กําหนดระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติตามคําสั่งไว้ตามสมควรแต่ ต้องไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่เป็นกรณีที่สั่งให้หยุดดําเนินกิจการทันทีและต้องทําเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดําเนินกิจการซึ่ง จะต้องปฏิบัติตามคําสั่งทราบ ในกรณีที่ไม่พบผู้ดําเนินกิจการหรือผู้ดําเนินกิจการไม่ยอมรับคําสั่ง ให้สางคําสั่งโดยทาง ไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือปัดคําสั่งนั้นไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้งาาย ณ ภูมิลําเนาหรือสํานักทําการงานของผู้ดําเนิน กิจการ และให้ถือว่าผู้นั้นได้ทราบคําสั่งแล้วมาตรา 46 ในกรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจพบเหตุที่ไม่ถูกต้องหรือมีการกระทําใดๆ ที่ฝ่าฝืนต่อ บทแห่งพระราชบัญญัติหรือข้อกําหนดท้องถิ่น ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขแจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อดําเนินการตาม อํานาจหน้าที่ต่อไปโดยไม่ชักช้าในกรณีที่เจ้าพนักงานสาธารณสุขตรวจพบเหตุตามวรรคหนึ่งจะมีผลต่อสภาวะความเป็นอยู่ที่เหมาะสม กับการดํารงชีพของประชาชนเป็นส่วนรวมซึ่งสมควรจะดําเนินการแก้ไขโดยเร่งด่วน ให้เจ้าพนักงานสาธารณสุขมีอ อํานาจออกคําส่งให้ ผู้กระทําการมาถูกต้องหรือฝ่าฝืนดังกล่าวแก้ไขหรือระงับเหตุนั้น หรือดําเนินการใด ๆ เพื่อแก้ไขหรือ ระงับเหตุนั้นได้ตามสมควร แล้วให้แจ้งเจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบมาตรา 71 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 19 มาตรา 33 วรรค 1 หรือมาตรา 34 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับมาตรา 74 ผู้ใดไมปฏิบัติตามคําสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 28 วรรคหนึ่งหรือวรรคสาม โดยไม่มีเหตุหรือข้อแก้ตัวอันสมควร หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 27 วรรคสอง หรือมาตรา 28 วรรคสอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือ ทั้งจําทั้งปรับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.3.1 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2544 ออกโดย อาศัยอํานาจตามมาตรา 32 มาตรา 33 มาตรา 54 มาตรา 55 และมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ประกอบกับมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ส่วนมลพิษทางเสียงและสั่นสะเทือน สํานักจัดการคุณภาพอากาศและเสียงข้อ 5 ให้กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อไปนี้ เป็นกิจการซึ่งกําหนดให้ควบคุมตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 (ซึ่งตาละกิจการตามที่ปรากฏ ประกอบด้วยกิจการย่อยประเภทต่างๆ)5.1 กิจการเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์5.2 กิจการเกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์5.3 กิจการที่เกี่ยวกับอาหาร5.4 กิจการที่เกี่ยวกับยา เวชภัณฑ์อุปกรณ์การแพทย์เครื่องสําอาง ผลิตภัณฑ์ ชะระล้าง5.5 กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร5.6 กิจการเกี่ยวกับโลหะหรือแร่5.7 กิจการเกี่ยวกับยานยนต์เครื่องจักรหรือเครื่องกล5.8 กิจการเกี่ยวกับไม่5.9 กิจการเกี่ยวกับการบริการ5.10 กิจการเกี่ยวกับสิ่งทอ5.11 กิจการเกี่ยวกับหิน ดิน ทราย ซีเมนต์หรือวัตถุที่คล้ายคลึง5.12 กิจการเกี่ยวกับปิโตรเลียม ถ่านหินสารเคมี5.13 กิจการอื่นๆข้อ 7 ผู้ที่ประสงค์ประกอบกิจการตามข้อ 5 ให้ยื่นคําขอรับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และ ต้องปฏิบัติและจัดสถานที่สําหรับกิจการนั้นให้ถูกต้องด้วยลักษณะ ดังนี้7.5 จัดให้มีการป้องกันเสียงที่อาจเป็นเหตุรําคาญหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน ในสถานประกอบการหรือผู้อยู่อาศัยใกล้เคียงหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ที่กรุงเทพมหานครกําหนดข้อ 9 ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการตามข้อ 5 ต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลสภาพหรือสุขลักษณะ ของสถานที่ที่ใช้ดําเนินกิจการและมาตรการป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ ดังนี้9.1 ต้องปฏิบัติและจัดสถานที่สําหรับประกอบกิจการนั้นให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะเช่นเดียวกับ ข้อ 79.5 ปฏิบัติการทุกอย่างเพื่อรักษาความสะอาดและป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ รวมทั้งการ ป้องกันมิให้เกิดเหตุรําคาญหรือโรคติดต่อข้อ 16 ผู้ใดฝ่าฝืนข้อบัญญัตินี้มโทษตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 2.3.2 กฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และมาตรการควบคุมสถานประกอบกิจการที่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พ.ศ. 2545 ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 5 และมาตรา 6(1) แห่งพระราชบัญญัติการ สาธารณสุข พ.ศ. 2535ข้อ 2 ผู้ประกอบกิจการในสถานประกอบกิจการประเภทที่ราชการส่วนท้องถิ่นได้ออกข้อกําหนดของ ท้องถิ่นกําหนดให้เป็นกิจการที่ต้องควบคุม ต้องดําเนินการให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้สถานประกอบกิจการที่ตั้งอยู่ในเขตที่กฎหมายว่าด้วยการผังเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการควบคุม อาคารมีผลบังคับใช้ หรือสถานประกอบกิจการใดที่เข้าข่ายโรงงาน จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณีข้อ 3 สถานประกอบกิจการต้องตั้งอยู่ห่างจากชุมชน วัด ศาสนสถาน โบราณสถาน โรงเรียน สถาบันการศึกษา โรงพยาบาล หรือสถานที่อื่นๆ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ในกรณี ที่สถานประกอบกิจการไม่เข้าข่ายเป็นโรงงาน ให้ราชการส่วนท้องถิ่นสามารถกําหนดในข้อกาหนดท้องถิ่น โดยคํานึงถึง ส่วนมลพิษทางเสียงและสั่นสะเทือน สํานักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง . 11 ลักษณะและประเภทของการประกอบกิจการของสถานประกอบกิจการนั้นๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย ของประชาชนหรือก่อเหตุรําคาญด้วยข้อ 14 สถานประกอบกิจการใดที่การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิดมลพิษทางเสียง หรือความ สั่นสะเทือน ต้องดําเนินการควบคุมและป้องกันมิให้เกิดผลกระทบจนเป็นเหตุรําคาญหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ คนงานและผู้อยู่อาศัยบริเวณใกล้เคียงข้อ 15 ในระหว่างที่ยังไม่มีกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานมลพิษด้านต่างๆ สําหรับกิจการที่เป็น อันตรายต่อสุขภาพ ให้ราชการสวนท้องถิ่นนําค่ามาตรฐานด้านมลพิษตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องมาปรับใช้ตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นๆ ทั้งนี้โดยการออกเป็นข้อกําหนดท้องถิ่น 2.3.3 ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพประเภทการจัดให้มีการแสดงดนตรีเต้นรํา รําวง รองเง็ง ดิสโก้เทค คาราโอเกะ หรือการแสดงอื่นๆ ใน ทํานองเดียวกัน พ.ศ. 2548 ออกโดยอาศัยอํานาจประกอบข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องกจการที่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพ พ.ศ. 2544 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 และข้อ 17ข้อ 10 สถานประกอบการต้องจัดให้มีการป้องกันเสียงและสั่นสะเทือนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพหรือเป็นเหตุรําคาญแก่ผู้อาศัยใกล้เคียงข้อ 11 ระดับเสียงภายในสถานประกอบการตลอดระยะเวลาการทําการ ต้องมีค่าเฉลี่ยของระดับ เสียงไม่เกิน 90 เดซิเบลเอ มีค่าสูงสุด ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่เกิน 110 เดซิเบลเอ และระดับเสียงที่ออกนอกอาคาร สถานประกอบการต้องไม่ก่อเหตุรําคาญ รบกวนประชาชนที่อยู่อาศัยใกล้เคียงข้อ 12 ในระหว่างเวลาทําการ ต้องมีการหยุดหรือลดระดับเสียงจากการแสดงดนตรีหรือการเปิด เพลง หรือจากเครื่องกําเนิดเสียง หรือกิจกรรมอื่นที่ก่อให้เกิดเสียงดังมากเป็นระยะๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้พักจากการ สัมผัสเสียงข้อ 13 ต้องจัดให้มีบริการอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่ได้มาตรฐานและสะอาดสําหรับผู้ใช้บริการเสมอเมื่อ ได้รับการร้องขอ และผู้ดําเนินกิจการต้องติดประกาศ หรือให้ข้อมูลด้านวิธีการอื่นใดเพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ทราบถึงการ ป้องกัน แก้ไข และการบรรเทาอันตรายที่อาจเกิดจากการได้ยินเสียงดังข้อ 14 สถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 100 ตารางเมตร หรือสถานประกอบการที่เคยก่อเหตุรําคาญ เรื่องเสียง ต้องจัดให้มีเครื่องวัดระดับเสียงและแสดงผลการวัดผ่านทางจอแสดงผล เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้ทราบถึงระดับ เสียงในขณะนั้น และสามารถพิจารณาการป้องกันตัวเองได้ 2.3.4 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งพนักงานสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติ การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ออกโดยอาศัยอํานาจตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้งพนักงานสาธารณสุขให้มีอํานาจหน้าที่ตรวจตรา ดูแล ให้ ข้อเสนอแนะ และรับผิดชอบในกาดําเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ได้แก่ข้อ 2 ให้บุคคลสังกัดกรมอนามัย เป็นเจ้าพนักงานสาธารณสุข พ.ศ.2535 เช่น รองอธิบดีกรม อนามัยที่อธิบดีกรมอนามัยมอบหมาย นักวิชาการสุขาภิบาล 10 ชช (ด้านสุขาภิบาล) นักวิชาการสาธารณสุข 10 ชช (ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม) ผู้อํานายการสํานักอนามัย ผู้อํานวยการกองสุขาภิบาลชุมชนและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ นักวิชาการสาธารณสุขระดับ 5 ขึ้นไป ประจํากลุ่มเหตุรําคาญและกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ กลุ่มประเมินผล กระทบต่อสุขภาพ กองสุขาภิบาลชุมชนและประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ ผู้อํานายการศูนย์อนามัยที่ 1-12 ส่วนมลพิษทางเสียงและสั่นสะเทือน สํานักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง . 12ข้อ 3 ให้บุคคลในสังกัดราชการส่วนภูมิภาค สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้า พนักงานสาธารณสุข พ.ศ.2535 เช่น สาธารณสุขอําเภอ นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชนระดับ 5 ขึ้นไป หัวหน้าสถานีอนามัย และนักวิชาการสาธารณสุขระดับ 5 ขึ้นไปข้อ 4 ให้บุคคลสังกัดราชการส่วนท้องถิ่น เป็นเป็นเจ้าพนักงานสาธารณสุข พ.ศ.2535 เช่น ผู้อานวยการสำนักอนามัย ผู้อํานวยการกองอนามัยสิ่งแวดล้อมกรุงเทพมหานคร หัวหน้าฝ่ายสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาล สํานักงานเขตกรุงเทพมหานคร ผู้อํานวยการสํานักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ผู้อํานวยการหรือหัวหน้าส่วน ส่งเสริมสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ผู้อำนวยการหรือหัวหน้ากองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม หัวหน้าฝ่าย สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาล หัวหน้าส่วนสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตําบล 2.4 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ถูกตราขึ้นเพื่อคุ้มครองแก่ผู้ใช้แรงงานในหลายเรื่อง ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการ ป้องกัน แก้ไข ควบคุมมลพิษทางเสียง มีดังนี้ มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน*รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจแต่งตั้ง พนักงานตรวจแรงงาน กับออกกฎกระทรวงและประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา 103 ให้รัฐมนตรีมีอํานาจออกกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานให้นายจ้างดําเนินการในการบริหาร และจัดการดานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน มาตรา 148 นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 31 หรือมาตรา 44 หรือไม่ปฏิบัตตามกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา 103 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ มาตรา 166 บรรดาประกาศหรือคําสั่งที่ออกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ.2515 ใหยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.4.1 กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชี วอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 ออกโดยอาศัย อํานาจตามมาตรา 6 และ 103 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 8 นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทํางานในแต่ละวัน (Time Weighted Average-TWA) มิใหเกินมาตรฐานตามตารางที่ 6 ท้ายประกาศนี้ ข้อ 9 ในบริเวณสถานประกอบกิจการที่มีระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก (Impact or Impulse Noise) เกิน 140 เดซิเบลเอ หรือมีปริมาณเสียงสะสมของเสียงกระทบหรือเสียงกระแทกเกินมาตรฐานที่กําหนดไว้ใน ตารางที่ 6 ท้ายกฎกระทรวงนี้นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดทํางานจนกว่าจะไดปรับปรุงหรือแก้ไขระดับเสียง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจวัดระดับเสียงกระทบหรือเสียงกระแทก ให้เป็นไปตามที่อธิบดีประกาศ กําหนด ข้อ 10 ภายในสถานประกอบกิจการที่สภาวะการทํางานมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเกินมาตรฐานที่ กําหนดในข้อ 8 หรือข้อ 9 ให้นายจ้างดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขสิ่งที่เป็นต้นกําเนิดของเสียงหรือทางผ่านของเสียง หรือการบริหารจัดการเพื่อให่มีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับอยู่ไม่เกินมาตรฐานที่กําหนดในกรณียังดําเนินการปรับปรุงหรือแก้ไขตามวรรคหนึ่งไม่ได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กําหนดไว้ในหมวด 4 ตลอดเวลาที่ทํางาน เพื่อลดเสียงให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิน มาตรฐานที่กําหนดไว้ในข้อ 8 หรือข้อ 9 ข้อ 11 ในบริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กําหนดในข้อ 8 หรือข้อ 9 นายจ้างต้องจัดให้มี เครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลติดไว้ให้ลูกจ้างเห็นได้โดยชัดเจน ข้อ 12 ในกรณีที่สภาวะการทํางานในสถานประกอบกิจการมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอด ระยะเวลาการทํางาน 8 ชั่วโมงตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป ให้นายจ้างจัดทําโครงการอนุรักษาการได้ยินในสถานประกอบ กิจการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด ข้อ 13 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลต้องมีมาตรฐาน ดังต่อไปนี้(5) ปลั๊กลดเสียง (Ear Plugs) ต้องทําด้วยพลาสติก ยาง หรือวัสดุอ่อนนุ่มและไม่ระคายเคือง ใช้ใส่ช่องหูทั้งสองข้าง และสามารถลดเสียงได้ไม่น้อยกว่า 15 เดซิเบลเอ(6) ครอบหูลดเสียง (Ear Muffs) ต้องทําด้วยพลาสติก ยาง หรือวัสดุอื่นที่อ่อนนุ่มและไม่ระคาย เคือง ใช้ครอบหูทั้งสองข้าง และสามารถลดระดับเสียงลงไดไม่น้อยกว่า 25 เดซิเบลเอ ข้อ 15 นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสง สว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการหลักเกณฑ์และวิธีดําเนินการตามวรรคหนึ่ง ระยะเวลา และประเภทกิจการที่ต้องดําเนินการให้เป็นไป ตามที่อธิบดีประกาศกําหนด ข้อ 16 นายจ้างต้องจัดทํารายงานการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางานตามข้อ 15 โดยให้ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพหรือให้ผู้สําเร็จการศึกษาไม่ต่ํากว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่าตามที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นผู้รับรองรายงาน และให้นายจ้างเก็บรายงานดังกล่าวไว้ ณ สถานประกอบ กิจการเพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลาทําการพร้อมทั้งส่งรายงานคู่ฉบับต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดี มอบหมาย ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทําการตรวจวัด ข้อ 20 ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทํางานในสภาวะการทํางานที่อาจได้รับ อันตรายจากความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด ข้อ 22 ในกรณีที่ทราบความผิดปกติของร่างกายหรือความเจ็บป่วยของลูกจ้าง เนื่องจากการทํางาน ในสภาวะการทํางานที่อาจได้รับอันตรายจากความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างได้รับการ รักษาพยาบาลในทันทีและทําการตรวจสอบหรือหาสาเหตุของความผิดปกติหรือเจ็บป่วย พร้อมทั้งส่งผลการตรวจ สุขภาพของลูกจ้างที่ผิดปกติหรือเจ็บป่วย การให้การรักษาพยาบาลและการป้องกันแก้ไขต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม แบบที่อธิบดีประกาศกําหนดภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบความผิดปกติหรือการเจ็บป่วยถ้าลูกจ้างผู้ใดมีหลักฐานทางการแพทย์จากสถานพยาบาลของทางราชการหรือที่ราชการยอมรับ แสดงว่าไม่อาจทํางานในหน้าที่เดิมได้ ให้นายจ้างเปลี่ยนงานให้แก่ลูกจ้างผู้นั้นตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้ ต้องคํานึงถึง สุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างเป็นสําคัญตารางที่ 6 มาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับตลอดเวลาการทํางานในแต่ละวัน*เวลาการทํางานที่ได้รับเสียง (ชม.)เวลาการทํางานที่ไดรับเสียง (ชม.) : ระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลา การทํางาน (TWA) ไมเกิน (เดซิเบลเอ)12: 878 : 907 : 916 : 925 : 934 : 953 : 972 : 1001 ½ : 1021 : 105½ : 110¼ หรือน้อยกว่า : 115ขอบคุณข้อมูลจากเวป InfoFile
เสียงดังยามวิกาล กฎหมายห้ามเสียงดังเกินกี่โมง แจ้งที่ไหนได้บ้างเสียงดังยามวิกาล กฎหมายห้ามเสียงดังเกินกี่โมง แจ้งที่ไหนได้บ้างเครดิต: https://www.apthai.com/th/blog/know-how/loud-noise-law - จัดการปัญหาเสียงดังยามวิกาล เพื่อรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานของเราให้ได้พักผ่อนอย่างสบายใจ ต้องรู้จักข้อบัญญัติและกฎหมายที่จำเป็น เผื่อไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เมื่อต้องเผชิญเสียงรบกวนต่าง ๆ เช่น ก่อสร้างและต่อเติมเสียงดัง หรือ เพื่อนบ้านส่งเสียงดังยามวิกาล เพื่อป้องกันดูแลสุขภาพจิตให้ดี - การทำเสียงดังยามวิกาลรบกวนผู้อื่น มีบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา:มาตรา 370, 397, 90 ซึ่งมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท และในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420, 421 ให้รับผิดชอบในการชดใช้ค่าเสียหาย และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 25, 26 สั่งห้ามหรือแก้ไขเหตุรำคาญต่าง ๆ ดังนั้น หากเสียงที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ จนส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้อื่น ก็จะต้องได้รับโทษตามที่กฎหมายระบุไว้ - เสียงดังยามวิกาล ปัญหาที่พบเจอได้บ่อยในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเสียงรบกวนจากเพื่อนบ้าน การก่อสร้าง หรือกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยความสำคัญของการพักผ่อนที่มีคุณภาพ ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับในแต่ละวัน AP Thai จึงอยากชวนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหา "เสียงดังยามวิกาล" พร้อมเจาะลึกเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับเสียงรบกวน และหากพบปัญหานี้ เราสามารถแจ้งเรื่องได้ที่ไหนบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปตามอ่านสาระดี ๆ กันเสียงดังขนาดไหนถึงผิดกฎหมาย? เสียงดังรอบตัว เป็นเรื่องที่ปกติสำหรับใครหลายคน แต่การใช้เสียงดังยามวิกาล ก็อาจกลายเป็นเรื่องที่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นได้เช่นกัน ดังนั้น ประเทศไทยจึงได้มีกฎหมายที่ควบคุมเรื่องระดับเสียง เพื่อให้ประชาชนได้อยู่อาศัยอย่างมีความสุข ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต โดยกฎหมายจะกำหนดค่าระดับเสียงเป็น เดซิเบล (Decibel หรือ dB) ซึ่งเป็นหน่วยวัดความดังของเสียง และอนุญาตให้ใช้เสียงในแต่ละพื้นที่ แต่ละช่วงเวลาแตกต่างกัน โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน (22.00 น. - 06.00 น.) ที่จะมีการควบคุมเสียงอย่างเข้มงวด โดยมีรายละเอียด ดังนี้กรณีที่ 1: ก่อสร้างและต่อเติมเสียงดังยามวิกาลข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 25441. ห้ามก่อสร้างที่ทำให้เสียงดังเกินกว่า 75 เดซิเบล(เอ) ที่ระยะห่าง 30 เมตร จากอาคารที่ก่อสร้าง หมายความว่า การก่อสร้างใด ๆ ที่ทำให้เกิดเสียงดังเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ 75 เดซิเบล(เอ) เมื่อวัดที่ระยะห่าง 30 เมตรจากอาคารที่กำลังก่อสร้าง ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะหากระดับเสียงเกินกว่าค่านี้ แสดงว่าเสียงดังเกินไป และส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ใกล้เคียง2. ห้ามก่อสร้างซึ่งก่อให้เกิดเสียงและแสงระหว่าง 22.00 น. ถึง 06.00 น.ห้ามก่อสร้างซึ่งก่อให้เกิดเสียงและแสง ไม่ว่าจะเป็นเสียงเครื่องจักร เสียงคนทำงาน เสียงการตอกเสา หรือแม้แต่แสงไฟที่ส่องเข้าไปในบ้านของผู้อื่นในเวลากลางคืน ซึ่งอาจทำให้เกิดความรำคาญ และส่งผลต่อการพักผ่อน โดยห้ามก่อสร้างระหว่าง 22.00 น. ถึง 06.00 น. ** หากมีการดำเนินการก่อสร้างในเวลานั้น ถือว่าผิดกฎหมาย เว้นแต่จะได้มีการป้องกันและได้รับอนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในบางกรณีที่จำเป็นต้องดำเนินการก่อสร้างในช่วงเวลากลางคืน อาจทำการขออนุญาตจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้ แต่ต้องมีมาตรการป้องกันเพื่อลดผลกระทบต่อผู้อาศัยข้างเคียง เช่น การใช้เครื่องจักรที่ลดเสียงดัง การติดตั้งแผงกั้นเสียง เป็นต้น*อ้างอิงจาก https://download.asa.or.th/03media/04law/cba/bb/bb44-03.pdfกรณีที่ 2: เพื่อนบ้านส่งเสียงดังยามวิกาลประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) เรื่อง กำหนด มาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 32(5) แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 25351. ค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ต้องไม่เกิน 70 เดซิเบล ค่าเฉลี่ยของระดับเสียงในหนึ่งวัน (24 ชั่วโมง) ซึ่งวัดจากช่วงเวลา 00:00 น. ถึง 23:59 น. ซึ่งตามกฎหมายไทย กำหนดไว้ว่าค่าเฉลี่ยการใช้เสียงในช่วงนี้ ต้องไม่เกิน 70 เดซิเบล เป็นระดับเสียงที่เทียบเท่ากับเสียงการจราจรหนาแน่น หรือเสียงเครื่องดูดฝุ่น เพื่อควบคุมระดับเสียงไม่ให้กระทบต่อสุขภาพ และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ 2. ค่าระดับเสียงสูงสุด ต้องไม่เกิน 115 เดซิเบลเอ ระดับเสียงที่ดังที่สุดที่อนุญาตให้เกิดขึ้นในพื้นที่หนึ่ง ๆ สำหรับระดับเสียง 115 เดซิเบล เทียบเท่ากับ เสียงเครื่องบินไอพ่นที่กำลังขึ้น เสียงคอนเสิร์ต เสียงเครื่องยนต์รถแข่ง หรือเสียงระเบิดพลุ โดยทั่วไปแล้วหากเสียงดังเกินกว่าค่านี้ จะถือว่าเป็นเสียงดังเกินไป และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งความเสียหายต่อประสาทหูอย่างถาวร ความเครียด ความกังวล ปวดหัว เวียนหัว หรือ นอนไม่หลับ เป็นต้น ซึ่งการกำหนดค่าระดับเสียงสูงสุด 115 เดซิเบล ถือเป็นมาตรการสำคัญในการปกป้องสุขภาพของประชาชน และรักษาสภาพแวดล้อมที่ดี3. ค่าระดับเสียงรบกวน ต้องไม่เกิน 10 เดซิเบลเอ กฎหมายเสียงรบกวนของประเทศไทยในปัจจุบัน สำหรับเสียงรบกวนยามวิกาล ในช่วง 22.00-06.00 น. จะใช้เกณฑ์ความแตกต่างจากระดับเสียงพื้นฐาน ที่ต้องไม่เกิน 10 เดซิเบลเอ โดยความแตกต่างระหว่างระดับเสียงพื้นฐาน ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ กับระดับเสียงที่เกิดจากแหล่งกำเนิดเสียงรบกวน เช่น เสียงจากโรงงาน เสียงรถยนต์ หรือเสียงจากกิจกรรมต่าง ๆ เมื่อทำการหักลบค่าเสียงพื้นฐานออกไปแล้ว ค่าที่เหลือต้องไม่เกิน 10 เดซิเบลเอ ที่เป็นเสียงในระดับที่ไม่รบกวนผู้อื่น และไม่กระทบต่อสุขภาพระยะยาว *อ้างอิงจาก https://www.mcot.net/view/sPVnEpEvเสียงดังรบกวนยามวิกาล สามารถแจ้งที่ไหนได้บ้าง1. แจ้งผู้ที่ทำเสียงดังหรือผู้ที่เกี่ยวข้องขั้นแรกให้ลองแจ้งกับผู้ที่ทำเสียงดังหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าของบ้าน สถาปนิก หรือวิศวกรควบคุมงาน โดยการพูดคุยอย่างสุภาพ และตรงไปตรงมา ซึ่งอาจเป็นวิธีแก้ไขปัญหาเบื้องต้นที่ได้ผล และช่วยสร้างความเข้าใจร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ2. แจ้งนิติบุคคลหรือผู้ดูแลหมู่บ้านหรือคอนโดหากอาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมหรือหมู่บ้านจัดสรร ให้แจ้งนิติบุคคลหรือผู้ดูแลอาคาร เพื่อให้ช่วยดำเนินการจัดการเตือนเรื่องเสียงดังได้ทันที3. แจ้งสำนักงานเขตหรือเทศบาลในพื้นที่กรณีที่เสียงดังรบกวนเกิดจากการก่อสร้าง หรือมีผลกระทบต่อชุมชนหรือประชาชน สามารถแจ้งสำนักงานเขต (กรณีอยู่ในกรุงเทพฯ) หรือเทศบาล (กรณีอยู่นอกเขตกรุงเทพฯ) โดยให้นำหลักฐาน เช่น บันทึกเสียง วิดีโอ หรือภาพถ่าย ไปยื่นที่สำนักงานเขต หรือโทรติดต่อสอบถาม แจ้งรายละเอียดของปัญหา เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบ และดำเนินการแก้ไขปัญหา4. แจ้งกรมควบคุมมลพิษทางเสียง (สายด่วน โทร 1650)กรณีที่เสียงดังรบกวนเกิดจากการก่อสร้าง หรือมีผลกระทบต่อวงกว้าง สามารถแจ้งผ่านกรมควบคุมมลพิษทางเสียงที่เบอร์ 1650 หรือผ่านเว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบควบคุมมลพิษทางเสียงทั่วประเทศ ที่มีอำนาจในการดำเนินการกับผู้กระทำผิดได้โดยตรง5. แจ้งผ่านแอปพลิเคชัน Traffy Fondueสามารถแจ้งผ่านแอปพลิเคชัน Traffy Fondue และรอให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่รับเรื่องและดำเนินการตรวจสอบ เหมาะสำหรับปัญหาเสียงดังที่ไม่เร่งด่วน6. แจ้งตำรวจ (โทร 191)ให้โทรแจ้งตำรวจที่เบอร์ 191 หรือโทรแจ้งโดยตรงที่สถานีตำรวจในพื้นที่ เพื่อให้ตำรวจสายตรวจเข้ามาตักเตือนได้ทันที หากยังคงส่งเสียงดังรบกวนอยู่ สามารถแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่ เพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป บทลงโทษสำหรับผู้ที่ส่งเสียงดัง จนทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน1. ประมวลกฎหมายอาญามาตรา มาตรา 370: ผู้ใดส่งเสียง ทำให้เกิดเสียง หรือกระทำความอื้ออึง โดยไม่มีเหตุอันสมควร จนทำให้ประชาชนตกใจหรือเดือดร้อน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยครอบคลุมถึงพฤติกรรมการส่งเสียงดังทุกชนิด เช่น การเปิดเพลงเสียงดัง การตะโกน การส่งเสียงร้อง หรือการกระทำใด ๆ ที่ทำให้เกิดเสียงรบกวน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และส่งผลให้ผู้อื่นเดือดร้อน มาตรา 397: ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท และถ้าเป็นการกระทำในที่สาธารณะ หรือต่อหน้าคนจำนวนมาก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยครอบคลุมถึงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการส่งเสียงดังรบกวนซ้ำ ๆ หรือเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเข้าข่ายการรังแก หรือคุกคามได้ มาตรา 90: ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการส่งเสียงดังรบกวน แต่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดหลายครั้งในลักษณะเดียวกัน ซึ่งเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท สามารถใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด เพื่อลงโทษแก่ผู้กระทำความผิด 2.ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420: บุคคลใดกระทำการโดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกาย จิตใจ หรือทรัพย์สิน ผู้กระทำนั้นต้องรับผิดชอบในการชดใช้ค่าเสียหายมาตรา 421: เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินย่อมรับผิดในความเสียหาย อันเกิดจากการกระทำของทรัพย์สินนั้น แม้ตนจะมิได้กระทำด้วยตนเองก็ตาม เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นโดยเหตุ ซึ่งตนมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องและมิอาจป้องกันได้ 3.พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535มาตรา 25 และ 26 ของพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 เครื่องมือทางกฎหมายที่สำคัญในการจัดการกับปัญหาเสียงดังรบกวน ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยมุ่งเน้นไปที่การป้องกันและแก้ไขปัญหาในระดับชุมชนและสังคมมาตรา 25 มาตรานี้กำหนดให้เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุการณ์นั้น ถือเป็น "เหตุรำคาญ" ซึ่งรวมถึงเสียงดังรบกวนด้วย เช่น เสียงดังจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนใกล้เคียง ถือเป็นเหตุรำคาญมาตรา 26 มาตรานี้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่น (เช่น นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด) ในการสั่งห้ามหรือแก้ไขเหตุที่ก่อให้เกิดความรำคาญต่าง ๆ *อ้างอิงจาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/31/iid/226427http://odpc9.ddc.moph.go.th/DPC5/(1)law-health35.pdf