"สวนองุ่น พิม-ภารดา บ้านสระบัว"
สวนองุ่นมือใหม่ของครอบครัวกระผม
(เข้าพื้นที่สร้างโรงเรือนแรกได้ประมาณ 20 ตุลาคม 2567)
คำชี้แจง..จ๊า
ปัจจุบัน ทางสวนฯ เพิ่งเริ่มใต่เต้ายังไม่สมบูรณ์ ยังไม่ได้เปิดให้เข้าชม และ ยังไม่ได้ขายกิ่งพันธุ์ จ๊าาาาาา
วันไหนพร้อมจะมาแจ้งให้ท่านที่สนใจทราบครับ... ขอบคุณที่สนใจและติดตาม...ครับ
โรงเรือนแรกในชีวิต กว้าง 5 เมตร ยาว 32 เมตร หลังใช้ชีวิตเกษียณ จากแปลงนี้จะทำต่อยอดไปเรื่อยๆจนเต็มพื้นที่จำนวน 8 โรงเรือน
โรงเรือนนี้ปลูกครบจบกระบวนความ ใช้องุ่นจำนวน 24 ต้น ปลูกแนวแถวเดียวตรงกลางห่างกันต้นละประมาณ 1.5 เมตร บังคับให้กิ่งแตกออกซ้าย/ขวาพอแล้วครับ
โรงเรือนนี้ จะไม่มีเสากลางรับน้ำหนักนะครับ จะมีเฉพาะด้านข้างเท่านั้น แต่ไม่ต้องกลัวครับ ด้านกลางรับน้ำหนักเฉลี่ยห้องละ 300 กก.สะบายครับ (มีทั้งหมด 8 ห้อง) เพราะทดสอบเอา20 กว่าคนไปโหน โรงเรือนนิ่งสนิทรับน้ำหนักสะบายครับ
สเป็คคร่าว ๆ 1. โครงหลังคาทั้งหมด ใช้
เหล็กกลมชุปกัลวาไนซ์ขนาด 4 หุน (เท่านั้น)
2. ชายขอบรอบโรงเรือน ที่ยึดแผ่นผืนพลาสติค ใช้
เหล็กกลมชุปกัลวาไนซ์ ขนาด 6 หุน
3. เหล็กด้านล่างด้านในทั้งหมด ที่จะยึดขึงลวดรับน้ำหนักกิ่งก้านองุ่น เป็น
เหล็กกล่องชุบกัลวาไนซ์ขนาด 1.5 นิ้ว x 6 หุน
4. เสาปูนด้านข้าง ใช้เสารั้วขนาด 3x3 นิ้ว ยาว 2.5 เมตร
5. ทั้งหมดทั้งมวล เชื่อมโลหะแบบถักรูปตัว M หรือ W เพื่อให้การรับน้ำหนักดีมาก โดยไม่ต้องไปใช้เหล็กกลมขนาด1นิ้วเกิน ที่ราคาเหล็กกลมแพงมากเหมือนจ้าวอื่นที่เค้าสร้างกัน เราสร้างโรงเรือนมารับน้ำหนักองุ่นครับ ไม่ใช่สร้างแบบใช้เหล็กเกินตัวเพื่อเอาสิบล้อขึ้นไปจอด เราเป็นช่างทำไมจะต้องทำเหมือนคนอื่น แม่นบ๊อออออออออ....!!??
6. หลังคาพลาสติกหนา 150 ไมครอน หน้ากว้าง 7.5 เมตร ยาว 36 เมตร7. ตาข่ายกันนก หน้ากว้าง 3 เมตร ยาว 90 เมตร8. ติดหลอดไฟ LED แบบแสงเดย์ไลท์ หรือ วอล์มไวท์ หรือแสงใกล้เคียงดวงอาทิตย์ จำนวน 8 ดวง ด้านบนใกล้ดั้งหลัง เพื่อเอาไว้ทำงานกลางคืนได้สะดวก ในอนาคตจะทดสอบการจำลองเลียนแบบดวงอาทิตย์ไม่ตกดิน คือ จะทดสอบบังคับให้องุ่นโตเร็ว ให้ผลผลิตเร็ว ว่า..องุ่นจะทำได้คล้ายพืชผลเมืองงหนาวทางภาคเหนือของไทยได้ไหม
9. โรงเรือนแรกนี้ปลูกองุ่นหลากหลายสายพันธุ์ เช่น
1. สายพันธุ์ แบล็คโอปอล (Black Opal) ผลสีม่วงดำ ไร้เมล็ด กรอบ
2. สายพันธุ์ เออรี่ อะดอร่า หรือ S48 (AarlyAdora) ผลสีดำ มาจากอิสราเอล
3. สายพันธุ์ สกาล็อตต้า (Scarlotta) องุ่นไร้เมล็ด ผลสีม่วง มาจากอิสราเอล
4. สายพันธุ์ ซุปเปอร์สวีท (หวานสมชื่อ) องุ่นไร้เมล็ด ผลสีม่วงดำ มาจากอิสราเอล
5. สายพันธุ์ ไวกิ้ง จากยูเครน รสชาติคล้ายๆ ไชน์มัสแคท (Shine Muscat) ราชินีแห่งองุ่นญี่ปุ่น
6. สายพันธุ์ วีเลส (Veles) ผลสีชมพู มาจากยูเครน
7. สายพันธุ์ ใบคานัวร์ (Baikonur) มาจากยูเครน
8. สายพันธุ์ นิ้วแม่มดปีโป้ รสคล้ายปีโป้ ผลสีเขียว/แดง มาจากโปรตุเกส
9. สายพันธุ์องุ่นป่า สายพันธุ์ 1613 (ไม่ใช่อีโก้ยตามบ้านเราน๊ะจ๊ะ) เอาไว้ทำต้นพันธุ์เพื่อติดตา/ต่อยอด
- และ จะทะยอยเอาต้นสายพันธุ์อื่นๆ มาปลูกอีกเยอะครับ
ที่เอามาปลูกหลายสายพันธุ์ เพราะอนาคตจะทำการติดตาขยายพันธุ์ไปโรงเรือนอื่นเอง หรือติดตาแบ่งขายต้นพันธุ์ครับ10. โรงเรือนแรกขนาดตามที่บอก งบทั้งหมด รวมต้นองุ่น รวมระบบน้ำ ไม่เกิน 5 หมื่นครับ งบเท่านี้หมายถึงท่านต้องทำเองทั้งหมดนะครับ
11. จากนั้นพอโรงเรือนองุ่น และพืชผลอื่นๆ เริ่มปลูกเต็มพื้นที่ ผมจะนำระบบสมาร์ทฟาร์มที่ผมคิดค้นขึ้นเองมาสั่งการให้น้ำให้อาหารและระบบอื่นๆมาใช้ เพื่อลดการใช้คน ชุดควบคุมทั้งหมดผมผลิตเองทั้งหมด มาใช้ที่แปลงนี้ทั้งระบบเป็นที่แรก อาคารควบคุมคือบ้านพักผมเอง อนาคตจะเปิดให้ชมอาคารควบคุมครับ 12. เราอยู่จุดนี้ เผื่อใครอยากมาดูเป็นแนวทาง
GPS : 13.85179, 101.66192ลิ้งค์แผนที่กูเกิ้ล : https://maps.app.goo.gl/map_ 13.85179, 101.66192
13. ภาพแผนที่กูเกิ้ล

14. ภาพขยาย

15. แผนผัง คำอธิบาย การใช้ประโยชน์ในที่ดิน
ตอนนี้วาดแผนไว้ตามภาพ และค่อยๆสานฝันยามแกร่ๆๆๆๆๆ ไปจนเต็มพื้นที่ 


16. ลักษณะโครงหลังคาทำเอง งบไม่บานปลาย แถมแข็งแรงรองรับหนักรวมของผลองุ่นสบายๆ
- ใช้เหล็กตามที่บอกในภาพ
- ขนาดหลังคา กว้าง 5 เมตร บวกด้วยเหล็กไปเชื่อมแปะหัวท้ายอีก 11 ซม. จะได้ 511 ซม. โดยประมาณ
เพราะทะลึ่งตัดเหล็กกล่อง 5 เมตรพอดี ลืมว่ามันจะต้องมีเหล็กไปเชื่อมแปะหัวอีกด้านละ2ชิ้น แฮะๆ - งานเชื่อมเหล็กกลมจุดที่ชนกัน ผมใช้วิธีทุบหัวให้แบน แล้วเอาไปชนกันแล้วเชื่อมด้วยตู้เชื่อมแบบ Co2 จะเชื่อมง่ายๆ หมูๆ
- ความแข็งแรง ของจริงผมแขวนเปลนอนกลางวันสบายๆ มาดูได้เลย เพราะอากาศดี ลมพัดดีทั้งวัน...อิอิ หรือ...ในภาพ ผมน้ำหนัก 105 กก. ขึ้นไปยืนขย่มๆ นิ่ง สบายๆ แข็งแรงเหลือพอรองรับผลองุ่นครับ

17. โรงเรือนที่ประกอบเสร็จพร้อมปลูกองุ่นแล้ว

18. โรงเรือนที่ประกอบเสร็จพร้อมปลูกองุ่นแล้ว
19. คำแนะนำการทำโรงเรือนด้วยตนเองไม่ต้องจ้างใคร
การเชื่อมโครงสร้างทั้งหมด แนะนำให้ใช้ตู้เชื่อมแบบใหม่ คือ
ตู้เชื่อมแบบ Co2 ที่ใช้ลวดเชื่อมแบบฟลักซ์คอร์ หมายถึงลวดเชื่อมที่ไม่ต้องใช้ก้าสคาร์บอน (Co2) มาช่วย ตู้เชื่อมแบบนี้ข้อดีมาก คือ เชื่อมเหล็กชุบกัลวาไนซ์ได้สุดยอด ได้ดีกว่าตู้เชื่อมแบบลวดธูป
สำหรับมือใหม่กับตู้เชื่อม Co2 แบบฟลักซ์คอร์ แนะนำให้ถอดฝาครอบที่ปลายหัวเชื่อมเก็บไปเลย ไม่ต้องใส่ครับ จะทำให้การเชื่อมราบเรียบไม่สะดุดติดขัด ถ้าหัวติดๆขัดๆ ก็เอาตรงปลายที่ลวดเชื่อมไหลออกไปถูๆกับเสาปูนหรือพื้นปูน (แทนกระดาษทรายหรือตะไบ ) เพื่อให้ปลายหัวเชื่อมเดินสะดวก โดยที่เราไม่ต้องเอาอะไรไปขัด (เทคนิคเล็กๆน้อยๆที่ผมใช้ตลอด ) ข้อดีตู้เชื่อมแบบนี้อีกหลายข้อ เช่น
- เชื่อมโลหะบางๆที่ชอบทะลุได้ดีมาก พอทะลุเราก็แต้มไปเรื่อยๆจนแผลหายสนิท
- หรือ เวลาเชื่อมเราจะเห็นลวดเชื่อมละลายยึดโลหะให้ติดกันมองด้วยสายตาชัดเจน
- ข้อดีอีกข้อคือ เอาเหล็กกลมมาแนบกันแล้วเชื่อม ทำให้การเชื่อม หมูๆไปเลย คือเราเอาลวดเชื่อมจี้ลงร่องเหล็กแล้วเชื่อมพอกขึ้นมาจนแผลเชื่อมเสมอกัน งามมาก ถ้าเชื่อมแบบธูปจะเชื่อมไม่ลงลึกถึงในร่องครับ
- ใครใช้ตู้เชื่อมแบบนี้จะติดใจจนไม่อยากกลับไปใช้ตู้เชื่อมแบบธูป
ตู้เชื่อม Co2 แบบฟลักซ์คอร์ ในการแก้ปัญหาแบบเทพๆ กับเรื่องบ้าๆ บอๆ คอแตก ของหัวเชื่อมตัน ลวดไม่ออก เชื่อมติดๆ ขัดๆ
www.gpsteawthai.com/index.php/topic,7839