ตื่นเต้นทะลุมิติ! ‘อุโมงค์เหมือง’ เมืองกาญจน์ ทองผาภูมิ (อุโมงค์เหมืองแร่ ดร.ผล กลีบบัว)
เครดิต -
ข้อความทั้งหมดตั้งแต่ด้านล่างพิกัดgpsลงไป รวมทั้งภาพทั้งหมด เป็นเครดิตของเว็บ www.manager.co.th/travel/ViewNews.aspx?NewsID=9600000087081 - พิกัดGPS เป็นเครดิตของเว็บจีพีเอสเที่ยวไทยแห่งนี้
www.gpsteawthai.com/index.php/board,45จุดชมวิวเนินสวรรค์ อ.ทองผาภูมิ 14.740390, 98.816727
พิกัด gps อุโมงค์เหมืองแร่เก่าของ ดร.ผล กลีบบัว อ.ทองผาภูมิ
(เป็นพิกัดที่ใกล้เคียงที่สุด)
กลุ่มอุโมงค์ที่ 1 ยาวมากประมาณ 2.7 กม. (อยู่ด้านนอก)
ปากอุโมงค์ ฝั่งบ้านพักคนงาน ห่างจุดชมวิวเนินสวรรค์ประมาณ 4 กม. 14.762148, 98.823170
ปากอุโมงค์ ใกล้จุดชมวิวเนินสวรรค์ ห่างประมาณ 800 เมตร 14.747118, 98.814382
ทางแยกเข้าอุโมงค์ฝั่งด้าน จุดชมวิวเนินสวรรค์ 14.741372, 98.815590
กลุ่มอุโมงค์ที่ 2 ยาวประมาณ 300 เมตร (อยู่ด้านใน)
พิกัดทางเข้า/ออก จุด1 14.759736, 98.818970
พิกัดทางเข้า/ออก จุด2 14.757761, 98.817466
กลุ่มอุโมงค์ที่ 3 ยาวประมาณ 100 เมตร (อยู่ด้านใน)
พิกัดทางเข้า/ออก จุด1 14.752840, 98.812930
พิกัดทางเข้า/ออก จุด2
ผู้ที่สนใจอยากท่องเที่ยวในอุโมงค์เหมืองแห่งนี้สามารถติดต่อได้ที่ เทศบาลตำบลสหกรณ์นิคม
1. โดยจะมีรถกระบะพร้อมคนนำทางพาเข้าชม มีค่าใช้จ่ายคนละ 200 บาท นั่งได้ประมาณ 8 คน
2. ถ้ามาไม่ถึง 8 คนต้องเหมาคันละ 1,500 บาท
3. หรือถ้าสภาพรถพร้อม (รถกระบะ) อยากขับรถตัวเองเข้าไป ต้องมีเจ้าหน้าที่นั่งรถไปด้วยเพื่อความปลอดภัยและคอยบรรยายเรื่องราวของเหมือง มีค่าใช้จ่าย 1,000 บาท/คัน
สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี
ติดต่อสอบถามก่อนได้ที่ ชมรมท่องเที่ยวสหกรณ์นิคม โทร.081-362-8857
ตื่นเต้นทะลุมิติ! ‘อุโมงค์เหมือง’ เมืองกาญจน์ ทองผาภูมิ
อุโมงค์เหมืองสองท่อ แหล่งท่องเที่ยวน่าตื่นตาของ จ.กาญจนบุรี
“กาญจนบุรี” ขึ้นชื่อในเรื่องของแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทรัพยากรป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ แต่อีกสิ่งหนึ่งที่เรียกได้ว่าสมบูรณ์ไม่แพ้กันก็คือสินแร่นานาชนิด โดยเฉพาะ “แร่ตะกั่ว” ที่พบได้มากในจังหวัดนี้ โดยเฉพาะในอำเภอทองผาภูมิที่เรียกได้ว่าเป็นแหล่งผลิตแร่ตะกั่วที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย ที่นี่จึงเป็นเมืองเหมืองแร่ที่คึกคักมากเมื่อประมาณ 30-40 ปีก่อน วันนี้เราจึงเดินทางมาชมอดีตเมืองเหมืองแร่ที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี และได้มาท่องเที่ยวในอุโมงค์เหมืองอันน่าตื่นเต้น โดยมีผู้รู้จริงเกี่ยวกับเรื่องราวของแร่อย่าง
“กรมทรัพยากรธรณี” กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดทริปธรณีสัญจร
“ตามรอยสายแร่และวิถีแห่งเหมือง” นำโดยวิทยากรมากความรู้อย่าง
คุณมนตรี เหลืองอิงคสุต ผอ.สำนักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี และ
คุณไวพจน์ วรกนก นักธรณีวิทยา ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสายแร่ตะกั่ว มาเล่าเรื่องราวของเหมืองแร่เมืองกาญจน์ให้ฟังกัน
ก้อนแร่ตะกั่ว มีน้ำหนักมากกว่าหินปกติ
เราจึงทราบว่า ลักษณะธรณีวิทยาของแหล่งแร่ตะกั่ว-สังกะสี บริเวณ จ.กาญจนบุรี ประกอบด้วยหินปูนซึ่งมักพบแร่ตะกั่วแทรกอยู่ และมีอายุประมาณยุคออร์โดวิเชียน อีกทั้งประวัติการทำเหมืองแร่ที่ทองผาภูมินั้นมีมายาวนานมาก โดยมีการทำเหมืองแร่ในบริเวณนี้มากว่า 1,000 ปีมาแล้ว โดยชาวละว้าและมอญ เริ่มแรกนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้แร่เงิน ส่วนตะกั่วถูกทิ้งในป่าในรูปแบบของตะกั่วนม หรือแม้แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาก็มีการทำเหมืองตะกั่วเพื่อส่งออกไปยังเกาะฟอร์โมซา แต่การทำเหมืองแร่แบบสมัยใหม่นั้นเริ่มต้นเมื่อประมาณปี 2455 ที่ชาวเยอรมันเริ่มเข้ามาทำกิจการเหมืองในไทย และหลังจากนั้นก็มีบริษัททั้งของไทยและต่างชาติเข้ามาทำสัมปทานเหมืองแร่ด้วยเช่นกัน
จุดชมวิวเนินสวรรค์
และในปี 2498 เป็นต้นมา แหล่งแร่ตะกั่ว-สังกะสี ในบริเวณนี้ถูกครอบครองโดยตระกูลกลีบบัว เริ่มจากบริษัทพริ้ง แอนด์ บราเดอร์ จำกัด และต่อมาเปลี่ยนเป็นบริษัทผล แอนด์ ซัน มีการสำรวจหาแหล่งแร่ใหม่ๆ จนพบแหล่งแร่สองท่อ บ่องาม บ่อน้อย และหนานยะ และจากนั้นในปี 2521 ก็ได้ร่วมทุนกับบริษัทของเยอรมัน จัดตั้งบริษัทกาญจนบุรี เอ็กซ์โพลเรชั่น แอนด์ ไมนิ่ง จำกัด (KEMCO) ขึ้น เพื่อผลิตแร่ที่แหล่งแร่สองท่อ บ่อใหญ่ และบ่อน้อย โดยใช้เทคโนโลยีการทำเหมืองแร่และแต่งแร่ที่ทันสมัย มีการทำเหมืองอุโมงค์ใต้ดินขนาดใหญ่ที่ลึกถึง 180 เมตร จากผิวดิน รวมความยาวของอุโมงค์ใต้ดินทั้งหมดยาวกว่า 50 กิโลเมตร!
ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าการทำอุโมงค์เหมืองขนาดใหญ่เช่นนี้ต้องใช้แรงงานจำนวนมากเพียงใด เหมืองสองท่อและอีกหลายๆ เหมืองจึงเป็นเหมือนชุมชนเล็กๆ ที่มีคนงานคึกคักแทบตลอดทั้งวัน ทั้งนายเหมืองชาวไทยและฝรั่ง พนักงานชาวไทย และแรงงานต่างด้าวที่เป็นส่วนสำคัญให้กิจการเหมืองดำเนินไปได้
ต้นไม้ปกคลุมปากอุโมงค์เขียวชอุ่ม
แต่เมื่อสิบกว่าปีก่อนหลังจากหมดสัมปทาน เหมืองสองท่อถูกทิ้งร้าง อุโมงค์เหมืองหลงเหลือแต่ความมืดมิดและว่างเปล่า และภายหลังเหมืองบางส่วนได้อยู่ในความดูแลของเทศบาลสหกรณ์นิคม ซึ่งต่อมาได้มี ความพยายามที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ดังนั้น ในวันนี้เราจึงได้มามุดอุโมงค์เหมืองสองท่อ หรือที่เขาให้ฉายาว่า
“อุโมงค์สามมิติ” ย้อนอดีตไปสู่ยุคเหมืองแร่รุ่งเรือง รับรองว่าจะได้ความตื่นเต้นที่จะหาสัมผัสไม่ได้จากที่ไหน
เรารอขึ้นรถอยู่ที่
“เนินสวรรค์” ซึ่งเป็นจุดสกัดและจุดชมวิวของอุทยานแห่งชาติเขื่อนศรีนครินทร์ เบื้องหน้าที่มองเห็นความเขียวขจีจากต้นไม้นี้แต่เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของเหมืองสองท่อ เป็นที่รวบรวมแร่ แต่เมื่อหมดสัมปทานต้นไม้ใบหญ้าก็เข้ามายึดพื้นที่คืน
แวะถ่ายรูปบริเวณปากอุโมงค์ ไม่นานรถกระบะของชมรมท่องเที่ยวสหกรณ์นิคมก็มารับเราเพื่อเข้าไปยังอุโมงค์สามมิติ หรืออุโมงค์ ดร.ผล กลีบบัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเหมืองสองท่อ ซึ่งส่วนที่เราจะเข้าไปชมนี้มีความยาว 2.2 กิโลเมตร ปากทางเข้าอุโมงค์สูงใหญ่ มองเข้าไปแล้วดูมืดมิด แม้แสงไฟหน้ารถกระบะก็สาดเข้าไปไม่ถึง
รถกระบะเคลื่อนตัวเข้าสู่อุโมงค์เหมือง
ความตื่นเต้นเริ่มขึ้นเมื่อความมืดมิดอยู่รอบตัว จากปากถ้ำยังพอมีแสงลอดเข้ามาบ้าง แต่เมื่อรถยิ่งขับลึกเข้ามา รอบตัวก็ยิ่งมืดมิด ถ้าไม่มีแสงไฟหน้ารถคงจะมองไม่เห็นแม้แต่มือตัวเอง เสียงคนนำทางชี้ชวนให้มองมาทางขวามือที่เป็นคล้ายห้องในผนังอุโมงค์มีลูกกรงเหล็ก ซึ่งเดิมเป็นร้านค้าของชาวเหมือง แต่บัดนี้ปิดนิ่งร้างผู้คน
น้ำตกภายในอุโมงค์
เส้นทางถนนในถ้ำขรุขระแต่ไม่ถึงกับวิบาก ในอุโมงค์จะมีน้ำไหลเหมือนลำธารตลอดปีเพราะขุดผ่านตาน้ำ ขับไประยะหนึ่งมีน้ำตกไหลในถ้ำอย่างน่าตื่นตา มีหินงอกหินย้อยงดงามที่ก่อตัวขึ้นบนผนังอุโมงค์ ตลอดทางซ้ายขวามีอุโมงค์แยกไปเป็นระยะ เป็นทางแยกที่ขุดไปตามสายแร่ ดังนั้นหากใครอาจหาญเข้ามาโดยไม่มีผู้นำทางเห็นทีจะหลงทางอยู่ในอุโมงค์มืดมิดเป็นแน่
หินงอกหินย้อยเริ่มเติบโตในอุโมงค์
ท่อลมที่ดูคล้ายอนาคอนด้ายักษ์
ยิ่งขับลึกเข้าไปอากาศก็ยิ่งเย็นโดยไม่ต้องติดแอร์ เมื่อฝ่าความมืดไปสักพักข้างหน้าเหมือนมีงูอนาคอนด้ายักษ์เลื้อยอยู่บนผนังอุโมงค์ เกือบจะตกใจแต่ได้ยินเสียงคนนำทางบอกว่านั่นคือท่อลมที่คอยเป่าลมให้อุโมงค์มีอากาศเพียงพอ แม้วันนี้จะไม่ได้ใช้งานแล้วแต่ยังหลงเหลือร่องรอยไว้ รวมไปถึงแร่ตะกั่วที่ยังคงหลงเหลืออยู่อีกในปริมาณมากที่ยังไม่ได้ขุดขึ้นมา แต่ไม่ต้องกลัวว่าเข้ามาชมเหมืองตะกั่วแล้วจะได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกาย เพราะพิษจากสารตะกั่วนั้นจะอยู่ในกระบวนการแต่งแร่แยกแร่ ที่จะต้องใช้สารเคมีในการแยกแร่
ใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมงในการถ่ายรูปและชื่นชมบรรยากาศที่แปลกใหม่ จากนั้นก็ได้เวลาออกสู่ปากอุโมงค์ เสียงผู้นำชมเตือนให้เราสังเกตไอหมอกที่ลอยฟุ้งอยู่ด้านหน้ารถ เป็นหมอกที่เกิดจากการปะทะของอากาศเย็นภายในถ้ำและอากาศที่ร้อนกว่าบริเวณปากถ้ำ ก่อให้เกิดเป็นสายหมอกฟุ้งในแสงไฟหน้ารถดูราวกับเรากำลังผ่านจากมิติหนึ่งออกไปสู่อีกมิติหนึ่ง จึงเป็นที่มาของชื่อ
“อุโมงค์สามมิติ” ด้วยเหตุนี้นี่เอง
แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์
รถกระบะนำพาออกสู่ปากอุโมงค์
และนอกจากอุโมงค์ ดร.ผล แห่งนี้แล้ว เรายังได้เข้าไปลอดอุโมงค์สั้นๆ อีกสองแห่ง และยังได้ชมทิวทัศน์ของ
“เอเวอเรสต์แห่งสหกรณ์นิคม” ภูเขาที่ตั้งโดดเด่นอยู่กลางป่า เมื่อมองดูดีๆ จะเห็นรูพรุนจากการเจาะหาสินแร่อยู่เต็มภูเขา
นับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมท่องเที่ยวที่แปลกใหม่และอาจยังเป็นที่รู้จักไม่มากนัก แต่รับรองความตื่นเต้นประทับใจ และยังได้ความรู้เกี่ยวกับเหมืองแร่ในอดีตกลับไปอีกเพียบบบ
อุโมงค์ ดร.ผล กลีบบัว ส่วนหนึ่งของเหมืองสองท่อ
เอเวอเรสต์แห่งสหกรณ์นิคม
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
ผู้ที่สนใจอยากท่องเที่ยวในอุโมงค์เหมืองแห่งนี้สามารถติดต่อได้ที่ เทศบาลตำบลสหกรณ์นิคม
1. โดยจะมีรถกระบะพร้อมคนนำทางพาเข้าชม มีค่าใช้จ่ายคนละ 200 บาท นั่งได้ประมาณ 8 คน
2. ถ้ามาไม่ถึง 8 คนต้องเหมาคันละ 1,500 บาท
3. หรือถ้าสภาพรถพร้อม (รถกระบะ) อยากขับรถตัวเองเข้าไป ต้องมีเจ้าหน้าที่นั่งรถไปด้วยเพื่อความปลอดภัยและคอยบรรยายเรื่องราวของเหมือง มีค่าใช้จ่าย 1,000 บาท/คัน
สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดปี ติดต่อสอบถามก่อนได้ที่ ชมรมท่องเที่ยวสหกรณ์นิคม โทร.081-362-8857 * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *