สรรพคุณของการะเกด
ชื่อสมุนไพร : การะเกด
ชื่อเรียกอื่นๆ : การะเกดด่าง, ลำเจียกหนู (กรุงเทพมหานคร), เตยด่าง, เตยดง และ เตยหอม (ภาคกลาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pandanus tectorius Blume
ชื่อสามัญ : Screw Pine
วงศ์ : PANDANACEAE
ลักษณะทั่วไปของการะเกดสำหรับต้นการะเกดนั้นเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ต้น มีความสูงของลำต้นประมาณ 3 – 7 เมตร โดยแตกกิ่งก้านมีรากยาวและใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน 3 เกลียวตรงปลายกิ่ง คล้ายรูปรางน้ำ บริเวณขอบใบมีหนามแข็งๆ อยู่ และดอกนั้นจะแยกเพศอยู่ต่างต้นกัน โดยดอกจะออกตามปลายยอดจำนวนมาก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีกาบสีนวลๆ หุ้มอยู่ กลิ่นหอมเฉพาะตัว และผลออกเบียดกันแน่นเป็นก้อนกลม มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 – 20 เซนติเมตร ผลสุกมีกลิ่นหอม มีสีเหลืองตรงโคน ส่วนตรงกลางจะเป็นสีแสด และตรงปลายจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง
ประโยชน์และสรรพคุณของการะเกดดอก – ช่วยในการบำรุงธาตุให้แก่ร่างกาย รวมทั้งบำรุงหัวใจ ขับเสมหะ และแก้โรคในอก หรือเจ็บหน้าอก ให้รสหอมสุขุม (ขมหอม)
ยอด – บำรุงสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ
วิธีการใช้น้ำมันใส่ผม – เคี่ยวดอกกับน้ำมันมะพร้าวหรือมันหมู ปรุงเป็นน้ำมันใส่ผม
บำรุงหัวใจ – ใช้ดอกมาปรุงเป็นยาหอม
บำรุงสตรีหลังคลอดบุตรใหม่ๆ – นำยอดมาต้มในน้ำเดือด ดื่มน้ำรับประทาน
นอกจากสรรพคุณมากมายของต้นการะเกดนี้แล้ว ยังเป็นพืชสมุนไพรที่มีอายุยืน ปลูกง่าย สามารถทนต่อแสงแดด และทนแล้งได้อย่างดีเยี่ยมซึ่งหาพันธุ์ได้ง่าย ตลอดจนสามารถนำต้นการะเกดนี้มาทำเป็นสิ่งของที่มีประโยชน์ได้อีกมากมายอย่างการนำมาใช้จักสานเป็นข้าวของเครื่องใช้ อาทิ หมวก, กระสอบ, เสื่อ, กระเป๋า ฯลฯ จึงเรียกได้ว่าต้นการะเกดนี้สามารถสร้างเสริมรายได้ให้แก่ชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้น จึงเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่ควรสนับสนุนให้มีการปลูกเป็นอย่างยิ่ง
ขอบคุณข้อมูลและภาพจากwww.เกร็ดความรู้.net/การะเกดthaiherbal.org/การะเกด