ทำสายโปรแกรม ICOM (OPC-478) ใช้เองดีกว่า
1. เป็นสายลิงค์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อเครื่องวิทยุสื่อสารของยี่ห้อ Icom เข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่านทาง comพอร์ต เพื่อทำการปรับแต่งหรือแก้ไขโปรแกรมของเครื่องคุณสมบัติตามที่เราต้องการ โดยผ่านโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ของแต่ละรุ่น ซึ่งสายลิงค์นี้จะใช้ได้กับเครื่อง
Icom 3fgx , icom 3Fx , icom 30FX , icom 2100 fx , icom 2100 , ic 2200 หรือรุ่นที่ใช้แจ็คแบบนี้เสียบทำโปรแกรม โดยเสียบสายโปรแกรมที่ช่องเสียบลำโพง จะได้แทบทั้งหมด
สาย OPC-478 เอาให้ชัวร์นะครับ กับการที่เราจะต้องเก็บสายนี้ไว้ใช้นานๆ ผมว่าประกอบเอาดีกว่าครับ เหตุผลนึงที่หลายคนคิดตามไม่ทันถ้าเราไปซื้อสายสำเร็จคือมันหาไดรเวอร์ยาก เพราะระบบวินโดว์มันเปลี่ยนเวอร์ชั่นเร็วมาก ทำให้ไดรเวอร์ไม่อัพเดท
ถ้าพวกโปรคอมพิวเตอร์เค้าจะไม่ค่อยมีปัญหากับการดัดแปลงหรือโมฯไดรเวอร์ แต่ระดับรากหญ้าคุณอย่าลืมว่ามันเป็นเรื่องยากเลยดีกว่า
ประกอบสาย OPC-478 เองดีกว่าครับ ส่วนสายแปลง USB To RS232 คุณไปหาซื้อเอาง่ายกว่าครับ ให้มันเปลี่ยนวินโดว์ไปกี่แบบ ยังไงสายพวกนี้ก็มีคนผลิตรุ่นใหม่ๆมาขายอยู่ดี เราจึงไม่ต้องพะวงครับ
ถูกต้องเลยครับท่าน
เซฟภาพด้านล่างเก็บไว้ได้เลย หรือเอาภาพนี้ไปที่ร้านให้เขาจัดอุปกรณ์ให้ตามนั้นก็ได้
(ไม่อยากทำเอง ก็เอารูปนี้ไปจ้างร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า-อีเล็คทรอนิคส์ ประกอบตามแบบให้เลย..)
2.2ภาพ บน/ล่าง เหมือนกัน ดูตามชอบครับ
(แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2560)3.ทำตามวงจรนี้ ง่ายสุด ผมประกอบแจกเพื่อนมากว่า 10 ชุด ไม่มีปัญหาครับรายการอุปกรณ์ R1 = 150 Ω 1/4 w. 5%
R2 = 33 KΩ 1/4 w. 5%
R3 = 47 KΩ 1/4 w. 5%
R4 = 33 KΩ 1/4 w. 5%
R5 = 15 KΩ 1/4 w. 5%
R6 = 22 Ω 1/4 w. 5%
(ค่าวัตต์เลือกต่ำสุดได้ตามชอบ ค่าคลาดเคลื่อนก็เลือกตามชอบ ส่วนR6 จะใส่หรือต่อตรงก็ได้ครับ)
C1 = 1 µF 16 v
Q1 = 2SA1015
Q2 = 2SC1815
ZD1 = ชีเนอร์ 5.1v 1/2 w
D2 = 1N4002
ซ๊อคเก็ตคอมตัวเมีย (แบบ DB9) 1 ตัว
แจ๊คสเตอริโอ ขนาด 3.5 มิล 1 ตัว
กล่องอเนกประสงค์ขนาดเล็ก 1 อัน
สายชีลด์ แกนใน 2 เส้น ยาว 1 เมตร หรือแล้วแต่ความเหมาะสม
สายชีลด์ แกนใน 4 เส้น หรือมากกว่าก็ได้ ( อาจจะเอาสาย MOUSE เก่าก็ได้ )
ว่ากันตามจริงแล้ว ทรานซิสเตอร์ Q1 ,Q2 มันเป็นแบบ PNP และ NPN เอาเบอร์อะไรใส่ก็ได้ครับถ้าเราเข้าใจ เพราะแรงดันที่ใช้เลี้ยงวงจรต่ำมาก และเป็นวงจรที่ไม่ได้มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจง จึงไม่จำเป็นต้องกำหนดเบอร์ทรานซิสเตอร์ลงตายตัว คนที่เป็นช่างจะใช้มัลติมิเตอร์วัดแป๊บเดียวก็รู้ชนิดแล้ว ปกติถ้าผมขี้เกียจไปซื้อ ก็จะแกะบอร์ดแผงวงจรอะไรก็ได้ที่มีตัวทรานซิสเตอร์ แบบ PNP และ NPN หมายเหตุ วงจรนี้ถ้าต่อถูกต้องไม่มีอะไรผิดพลาดจะสามารถใช้งานได้เลยครับ แต่ถ้ามีปํญหาขอให้เพื่อนๆ ตรวจสอบดูหมายเลข Com Port หลังเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราให้ถูกต้องด้วยนะครับ ว่าเป็นหมายเลขอะไร เพราะคอมพิวเตอร์ส่วนมากจะใช้ตัวแปลงจาก USB มาเป็น Com Port เวลาเราเสียบต่อสาย USB เข้าแล้ว Windows จะทำการแปลงตำแหน่งให้เราโดยอัตโนมัติ แต่สำหรับโปรแกรม CS-3fgx มันสามารถรับได้แค่ COM1 - COM4 เท่านั้นครับ ฉะนั้นเวลาเราตั้งค่าได้แล้วขอให้เราจำตำแหน่งรู USB ที่เราเสียบสายไว้ คราวต่อไปก็ต้องเสียบตรงช่องเดิม
การต่อสายเพื่อไปใช้กับรุ่นอื่น ผมยังไม่มีรุ่นอื่นที่นอกเหนือจากผมมีหรือ มีใครมาวานผมโปรแกรม เลยยังไม่ได้ลองครับว่าจะตัดต่อโยกย้ายสายตรงไหนบ้าง
รอผมลองก่อนนะเดี๋ยวจะมาบอกครับ4.5.หรือลองดูแนวทางการต่อนำไปใช้กับรุ่นอื่นตามภาพล่าง
6._______________________________________________
ที่มาข้อมูล....และขอบคุณwww.108ham.com/viewdoucment.php?pid=213http://ham9bkk.comhttp://www.9bkk.comwww.hamsiam.com/smf/index.php?topic=77428.90