อุทยานแห่งชาติเขาค้อ (Khao Kho)
พิกัดGPS อุทยานแห่งชาติเขาค้อ N16.66444 E101.12970
อุทยานแห่งชาติเขาค้อ เป็นอุทยานแห่งชาติที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าท้องที่อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีเนื้อที่ 301,698 ไร่
บริเวณพื้นที่ป่าที่ประกาศกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติเขาค้อ เดิมเป็นวนอุทยานน้ำตกธารทิพย์ จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2538 มีเนื้อที่ประมาณ 14 ตารางกิโลเมตร หรือ 8,750 ไร่ อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาโปลกหล่น จากดำริของผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2543 (การประชุมสัมมนาหัวหน้าวนอุทยาน) ให้หัวหน้าวนอุทยาน สำรวจสภาพพื้นที่โดยรอบมีศักยภาพและความเหมาะสมเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีนายชลธร ชำนาญคิด นักวิชาการป่าไม้ 7 ว ส่วนอุทยานแห่งชาติเป็นผู้สำรวจข้อมูลเบื้องต้น
เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2544 ส่วนอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้ (ในขณะนั้น) ได้สั่งนายเผชิญโชค เสนากาญจน์ เจ้าหน้าที่บริหารงานป่าไม้ 7 สำรวจสภาพและควบคุมพื้นที่ป่าบริเวณที่กรมประชาสงเคราะห์ส่งมอบคืน ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาโปลกหล่น และป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาปางก่อ และป่าวังชมภู รวม 3 แห่ง ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารของลุ่มน้ำสำคัญ 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำป่าสัก และลุ่มน้ำยม-น่าน ท้องที่ตำบลบ้านเนิน อำเภอหล่มเก่า ตำบลน้ำก้อ ตำบลน้ำชุน ตำบลบุ่งน้ำเต้า และตำบลบุ่งคล้า อำเภอหล่มสัก ตำบลท่าพลและตำบลป่าเลา อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ ตำบลแค็มป์สน ตำบลทุ่งสมอ ตำบลริมสีม่วง ตำบลเขาค้อ ตำบลสะเดาะพง และตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อประกาศกำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติเขาค้อ
อุทยานแห่งชาติเขาค้อ มีความหลากหลายทางชีวภาพ พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทิวทัศน์ที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ เกาะ แก่ง หน้าผา จุดชมทิวทัศน์ แหล่งประวัติศาสตร์ของสมรภูมิการสู้รบ ระหว่างรัฐบาลกับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์เป็นเวลายาวนานจึงสงบ ปัจจุบันได้มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ผู้เสียสละจารึกชื่อผู้เสียชีวิตจากการสู้รบในสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชื่อหมู่บ้าน/สะพานจะใช้ชื่อ/นามสกุล เป็นอนุสาวรีย์แก่ผู้เสียสละชีวิตหลายท่าน พระตำหนักเขาค้อที่สวยงาม สร้างไว้ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเสด็จที่เขาค้อ เพชรบูรณ์ เป็นที่ประทับแรม ฯลฯ
ปัจจุบันได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเขาค้อแล้ว โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2555 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 125 ของประเทศไทย
ขนาดพื้นที่301698.00 ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ มีลักษณะเป็นภูเขาทอดยาวตามแนวทิศเหนือไปทิศใต้ ตอนบนสุดเป็นภูเขาสูงชัน มีความสูง จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 155 เมตร จนถึง จุดสูงสุด 1,593 เมตร และเนื่องจากภูเขาในแถบนี้เป็นภูเขาที่การจากการยกตัวในอดีตทำให้มีลักษณะเป็นภูเขาหินทรายยอดราบ หรือมีที่ราบอยู่บานยอดเขา เช่น แหล่งท่องเที่ยวของเพชรบูรณ์ “ภูทับเบิก” เป็นภูสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,786 เมตร และบริเวณตอนใต้ของพื้นที่สำรวจในเขตอำเภอเขาค้อ และอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ (บริเวณเขาย่า) จะมีลักษณะเป็นสันเขายาวลาดลงทางทิศเหนือ – ตะวันตก แต่บริเวณเชิงเขาค้อ ในเขตอำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอเขาค้อ (ทางส่วนตะวันตก) จะเป็นหน้าผาสลับซับซ้อน อันเนื่องมาจากการกัดเซาะ เพราะบริเวณขอบเขานั้น เป็นหินทรายที่ยังจับตัวกันไม่แน่น ทำให้ง่ายต่อการกัดเซา
ลักษณะภูมิอากาศลักษณะภูมิอากาศที่ทำการศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน จากการรวบรวมข้อมูลจากสถานีตรวจวัดอากาศ ตั้งอยู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาค้อ ที่ 33 หมู่ 11 ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ UTM 276434 ซึ่งเริ่มเก็บสถิติ เมื่อเดือนมิถุนายน 2542 ซึ่งจะเห็นได้ว่า จากการที่พื้นที่อยู่ในที่สูง จึงมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ อีกทั้งปริมาณน้ำฝนและความชื้นสัมพัทธ์ค่อนข้าง โดยแบ่งให้เห็นชัดเจนดังนี้
ฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิค่อนข้างหนาวเย็น
ฤดูร้อน ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 21.93 องศาเซลเซียส อากาศค่อนข้างร้อนช่วงกลางวัน
ฤดูฝน ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง ถึงประมาณ 1,425.75 มิลิเมตรต่อปี มีฝนตกปีละ 126 วัน จะมีฝนตกชุก 70% ของทั้งปี
พืชพันธุ์และสัตว์ป่าป่าไม้ของอุทยานแห่งชาติเขาค้อ มีทั้งป่าธรรมชาติและป่าปลูก (ส่วนใหญ่เป็นป่าปลูกกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ของเนื้อที่) ประกอบด้วยป่าเบญจพรรณ (ประเภทที่ไม่มีไม้สัก) ป่าเต็งรังหรือป่าแดง ป่าดงดิบ ทุ่งหญ้า พันธุ์ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด เช่น ยาง สัก ประดู่ แดง มะค่าโมง เต็ง รัง ตะเคียนทอง สนเขา ก่อ สมุนไพร กล้วยไม้ป่าต่างๆ ฯลฯ
สภาพป่าดังกล่าวเป็นที่อยู่อาศัย/แหล่งอาหาร/ที่หลบภัยของสัตว์ป่า เช่น ช้างป่า เสือไฟ หมูป่า กระจง เม่น กระต่ายป่า ค่าง อีเห็น ตะกวด ไก่ป่า ลิงลมหรือนางอาย งูชนิดต่างๆ นอกจากนี้ยังมีนกชนิดต่างๆ อีกกว่า 100 ชนิด และความหลากหลายของผีเสื้อ
สถานที่ท่องเที่ยวน้ำตกธารทิพย์ข้อมูลทั่วไป...
"น้ำตกธารทิพย์" หรือชื่อเรียกอีกนัยหนึ่งว่า "น้ำตกหมูบูด" เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป และชาวเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะสภาพตัวน้ำตก เป็นน้ำตกชั้นเดียว สูงประมาณ 26 เมตร กว้างราว 30 เมตร มีน้ำไหลตลอดทั้งปี สวยงามตระการตา และยังเป็น ต้นน้ำของห้วยน้ำคล้าอีกด้วย นอกจากนี้ยังทำให้เกิดธารน้ำไหล จนกลายเป็นน้ำตก ชั้นเล็กๆ ลดหลั่นไป ตลอดสาย ขณะเดียวกันตามลำธารดังกล่าว ยังเต็มไปด้วย ตาดน้ำ แก่งหิน ลดหลั่นกันไปเป็นระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร จนแลดูสวยงาม และเต็มไปด้วยบรรยากาศ ของกลิ่นไอธรรมชาติ ที่ร่มรื่น โดยชื่อ "น้ำตกธารทิพย์" นั้น ถูกตั้งขึ้นตามชื่อ หมู่บ้านธารทิพย์ โดยแต่ก่อนนั้น หมู่บ้านแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า บ้านหมูบูด ส่วนสาเหตุที่มีชื่อเรียกเช่นนี้ก็ จากที่มีเรื่องเล่าว่า มีหญิงสาวของ หมู่บ้านนี้ แต่งงานกับ หนุ่มบ้านอื่น โดยมีการเตรียม จัดงานเลี้ยงรื่นเริงกัน และมีการฆ่าหมูฆ่าไก่มา เตรียมทำอาหารรับประทานกัน แต่ปรากฎว่าสาวบ้านนี้ รอเท่าไหร่ หนุ่มก็ไม่มากระทั่งเวลา ผ่านเลยไปจนหมูที่เตรียมไว้ทำอาหารเกิด อาการบูดเสียขึ้น จนกลายเป็นที่มาของชื่อ หมู่บ้านและน้ำตกแห่งนี้
ต่อมาภายหลังได้มีการ เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ ทำให้ชื่อน้ำตกพลอยได้รับการเปลี่ยนตามไปด้วย กระทั่งปี 2537 นายปัญญา บุญสมบูรณ์ ป่าไม้จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการ สำรวจเบื้องต้น และรายงานให้ ทางกรมป่าไม้ทราบ จนเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2538 กรมป่าไม้ อนุมัติให้จัดตั้งเป็น "วนอุทยานน้ำตกธารทิพย์" โดยมีพื้นที่ ครอบคลุม ประมาณ 8,750 ไร่ หรือ 12 ตารางกิโลเมตร
ความโดดเด่นของ น้ำตกธารทิพย์นั้น นอกจากจะเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ แล้วสภาพโดยรอบ น้ำตกยังเต็มไปด้วย ป่าไม้นานาพรรณทั้ง ป่าเต็งรังและป่าดิบแล้ง ขณะเดียวกันสภาพป่า ยังมีความอุดมสมบูรณ์ ค่อนข้างมาก สำหรับเส้นทางเดินเท้าเข้าไปยังน้ำตกธารทิพย์นั้น จากป้อมเจ้าหน้าที่ วนอุทยานฯไปถึงตัวน้ำตกมีระยะทางยาว 1.2 กิโลเมตร และตลอดเส้นทางจะมีจุด ให้ศึกษาธรรมชาติ และระบบนิเวศน์โดยตลอด ส่วนสายน้ำที่ไหลตกจากหน้าผา จนทำให้กลายเป็นน้ำตกนั้น เนื่องจากเป็นน้ำที่เกิดจากน้ำผุด จึงทำให้มีน้ำไหล ต่อเนื่องกันตลอดทั้งปี โดยเฉพาะแอ่งน้ำใต้ น้ำตกนั้นมีสภาพไม่ลึกจัด ทั้งที่เป็นแอ่งใหญ่ มีหาดทราย ทำให้ผู้ที่เดินทางไปเยือนมัก จะอดไม่ได้ที่ต้องลงไปสัมผัส กับสายน้ำที่เยือกเย็นของน้ำตกแห่งนี้
นอกจากนี้มีน้ำตกอื่นเป็นองค์ประกอบ สำคัญประกอบน้ำตกขั้นบันได ซึ่งเป็นน้ำตกที่สวยงามไม่แพ้กัน เนื่องจากสายน้ำที่ไหล ตกกระทบกับแก่งหิน ในลักษณะที่เป็นขั้นบันได จำนวนกว่า 10 ขั้น ทำให้น้ำตกขั้นบันไดเป็นน้ำตก ที่ได้รับความสนใจ จากนักท่องเที่ยวไม่แพ้กัน โดยเส้นทางไปน้ำตกขั้นบันได จะมีเส้นทางเดินเท้าแยกจากเส้นทางไปน้ำตกธารทิพย์ ระยะทางราว 400 เมตร แต่ทางขึ้นจะค่อนข้างลำบาก เพราะทางลาดชัน แต่ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายบรรดานักท่องเที่ยว ห่างจากที่ทำการวนอุทยานราว 5 กิโลเมตร
สภาพภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศที่ทำการศึกษา ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน จากการรวบรวมข้อมูลจากสถานีตรวจวัดอากาศ ตั้งอยู่ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาค้อ ที่ 33 หมู่ 11 ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ UTM 276434 ซึ่งเริ่มเก็บสถิติ เมื่อเดือนมิถุนายน 2542 ซึ่งจะเห็นได้ว่า จากการที่พื้นที่อยู่ในที่สูง จึงมีอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ อีกทั้งปริมาณน้ำฝนและความชื้นสัมพัทธ์ค่อนข้าง โดยแบ่งให้เห็นชัดเจนดังนี้
ฤดูหนาว ประมาณเดือนพฤศจิกายน-กลางเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิค่อนข้างหนาวเย็น
ฤดูร้อน ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 21.93 องศาเซลเซียส อากาศค่อนข้างร้อนช่วงกลางวัน
ฤดูฝน ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม ปริมาณน้ำฝนค่อนข้างสูง ถึงประมาณ 1,425.75 มิลิเมตรต่อปี มีฝนตกปีละ 126 วัน จะมีฝนตกชุก 70% ของทั้งปี
ที่ตั้งและแผนที่อุทยานแห่งชาติเขาค้อ
67 ม.1 ต.สะเดาะพง อ.เขาค้อ จ. เพชรบูรณ์ 67270
โทรศัพท์ : 08 1284 5223
อีเมล:
khaokhonew_2012@hotmail.co.th หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายสุกฤดิ กระต่ายจันทร์ สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และสถานที่กางเต็นท์ที่พัก - บ้านพัก/ค่ายพัก
ที่พัก - บ้านพัก/ค่ายพัก
ที่พัก - เต็นท์
การเดินทางรถยนต์ จากกรุงเทพมหานคร ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 ถึงจังหวัดสระบุรีไปจนถึงสวนพฤกษศาสตร์พุแค ตรงกิโลเมตร 125 แยกขวามือเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 21 (สระบุรี–หล่มสัก) ต่อไปอีก 221 กิโลเมตร ถึงจังหวัดเพชรบูรณ์รวมระยะทางทั้งสิ้น ประมาณ 346 กิโลเมตร และจากตัวเมืองเพชรบูรณ์ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 21 ( สระบุรี - หล่มสัก) สายเพชรบูรณ์ – หล่มสัก ประมาณ 14 กิโลเมตร บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 236 ถึงสามแยกนางั่ว จากนั้นแยกซ้ายตามทางหลวงหมายเลข 2258 (นางั่ว–หนองแม่นา) ระยะทางประมาณ 25.5 กิโลเมตร เลยแยกทางขึ้นพระตำหนักเขาต้อประมาณ 500 เมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาค้อ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาค้อ อยู่ห่างจากอำเภอเขาค้อ 12 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ 40 กิโลเมตร
พิกัดGPS อุทยานแห่งชาติเขาค้อ N16.66444 E101.12970ที่มาข้อมูล...ขอบคุณwww.park.dnp.go.th/9125-อุทยานแห่งชาติเขาค้อ