Band Plan ใหม่คืออะไร (FRIDAY, 20 JULY 2018)เครดิต: ข้อความทั้งหมด ภาพทั้งหมด เป็นของเว็บ
https://www.tccom.co.th/newbandplanBand Plan ใหม่คืออะไรBand Plan คือแผนการใช้งานคลื่นความถี่วิทยุ ซึ่ง องค์กรITU (International Telecommunication Union) เป็นผู้กำหนดว่าความถี่ทั้งหมดในโลก แบ่งออกเป็นกี่ย่านความถี่ และแต่ละย่านความถี่จะใช้ในกิจกรรมอะไร และในกิจการนั้นที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ความถี่ จะสามารถใช้งาน ติดต่อรูปแบบใด โดยผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ในประเทศไทยของเรา คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
หลายปีที่ผ่านมานักวิทยุสมัครเล่นจะได้รับอนุญาตให้ใช้งานความถี่ช่วง144.000 Mhz-146.000 Mhz เท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน (กสทช.) ได้อนุมัติที่จะเพิ่มคลื่นความถี่เป็น146.000Mhz -147.000 Mhzให้ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่นตาม ระเบียบวาระที่ ๔.๒๕ ( การกำหนดช่วงความถี่ ) 146-147Mhz ให้ใช้ในกิจการวิทยุสมัครเล่น( สำนักการอนุญาตและกำกับวิทยุสมาคม )
ในอดีตความถี่ช่วง146-147 MHz ได้กำหนดให้หน่วยงานอื่น ๆ ได้ใช้งานมาเป็นเวลานานแล้ว และ (กสทช.). เองก็มีนโยบายจัดสรรความถี่ให้เป็นไปตามข้อกำหนดสากลให้มากที่สุด จึงได้ทำแผนบริหารจัดการคลื่นความถี่ (Reframing) โดยโยกย้ายหน่วยงานต่างๆ ที่ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ไปก่อนหน้า ได้มีความถี่ใหม่ใช้งาน แต่ด้วยการปรับเปลี่ยนคลื่นความถี่ติดขัดปัญหาใหญ่อยู่ 2 ประการคือ
1.การเปลี่ยนความถี่ของหน่วยงานอื่นนั้น จำเป็นต้องใช้งบประมาณในการจัดซื้อ จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือสื่อสารให้สามารถใช้งานได้กับความถี่ใหม่
2.ไม่มีคลื่นความถี่ใหม่เหลือเพียงพอที่จะจัดสรรให้กับหน่วยงานเหล่านั้น เพราะคลื่นความถี่ได้จัดสรรให้กับหน่วยงานต่างๆ ไปหมดแล้ว
ดังนั้นการปรับเปลี่ยนคลื่นความถี่จึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ในการขยับและปรับย้ายทีละหน่วยงาน ประกอบกับต้องนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้ โดยลดขนาดความกว้างของแถบความถี่ลง เพื่อให้มีจำนวนช่องมากขึ้น ให้เพียงพอรองรับหน่วยงานทั้งหมด เช่น เปลี่ยนจาก FM Analog ที่ใช้แถบความถี่ 11kHz เป็นDigital Voice ที่ใช้แถบความถี่ 6.25 kHz ซึ่งจะทำให้ได้จำนวนช่องสื่อสารเพิ่มขึ้นเท่าตัว หรือ ยกเลิกการอนุมัติ ให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอณุรักษ์พลังงาน และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ใช้คลื่นความถี่146.525Mhz และ146.625Mhzตามลำดับและให้ใช้งานความถี่ 161.075Mhz ทดแทนให้แก่สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เป็นต้น
จากนี้ไปตามแผนของ (กสทช.). นั้นหมายความว่าหน่วยงานต่างๆ ที่ใช้งานอยู่ในช่วง 146.000 MHz -147.000 MHz จะเปลี่ยนไปใช้ความถี่ใหม่แล้ว สรุปสถานะความถี่144.000 MHz -147.000MHz จากนี้ไปจะเป็นของกิจการวิทยุสมัครเล่นเท่านั้น
หลักเกณฑ์การใช้คลื่นความถี่ในกิจการวิทยุสมัครเล่น สำหรับพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นต้นช่วงความถี่ย่าน2 Meters 144.000-147.000 MHz (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 20 กรกฏาคม 2560 เป็นต้นไป)
ช่วงความถี่ย่าน10 Meters 28.000-29.700 MHz (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 20 กรกฏาคม 2560 เป็นต้นไป)
https://en.wikipedia.org/wiki/2-meter_band ในขณะเดียวกันช่วงความถี่ภาคประชาชน ( Citizen Band )ในช่วงความถี่ภาคประชาชน ( Citizen Band ) ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากซึ่งมีลักษณะเด่นชัดคือเครื่องจะเป็นสีแดงโดยทั่วไปจะเรียกกันสั้นๆ ว่า วอแดง หรือ วิทยุ 245 โดยก่อนหน้านี้ได้รับอนุญาตจากกรมไปรษณีย์โทรเลขเพียง 245.0000-245.9875 MHz (80 ช่องสัญญาณ) ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช่งานโดยเฉพาะในหัวเมืองใหญ่ มีความหนาแน่นจากการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน(กสทช.) จึงได้อนุมัติเพิ่มเติมจาก 245.0000-245.9875 MHz เป็น 245.0000-246.9875 MHz (160 ช่องสัญญาณ)
โดยได้กำหนดคลื่นความถี่เพื่อสนับสนุนภารกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และในกรณีที่ เกิดเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติดังนี้
- คลื่นความถี่หลัก 245.5000 MHz (ช่องความถี่หมายเลข 41)
- คลื่นความถี่สำรอง 245.0000 MHz (ช่องความถี่หมายเลข 1) ในกรณีที่คลื่นความถี่ ตามหัวข้อด้านบน ไม่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- กำหนดระยะห่างของช่องความถี่ที่อยู่ติดกัน (channel spacing) เท่ากับ 12.5 kHz
- กำหนดช่องความถี่ ตั้งแต่ช่อง CH 1คือ ช่องความถี่ 245.0 000 MHz ละช่องสุดท้าย CH 160 คือช่องความถี่ 246.9875 MHz ดังตารางด้านล่างนี้
โดยมีเงื่อนไขการใช้ความถี่ในลักษณะ การใช้คลื่นความถี่ร่วมกัน (Shared use) มิได้เป็นการจัดสรรคลื่นความถี่สำหรับผู้ใช้เฉพาะรายและใช้สำหรับติดต่อสื่อสารประเภทเสียงพูด (voice) เท่านั้น
เอกสารอ้างอิง :
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/43.PDF:
https://en.wikipedia.org/wiki/2-meter_band