ผิวงานเชื่อมอาร์กอนเป็นสีดำเกิดจาก...
ผิวงานเชื่อมอาร์กอนเป็นสีดำเกิดจาก...สำหรับงานเชื่อมสแตนเลส
มักพบปัญหาเชื่อมดำในบทความนี้ผมจะขออนุญาตเล่าถึงปัญหาเชื่อมดำ และวิธีแก้ไขปัญหาด้วยตนเองเบื้องต้นก่อนนะครับ
1.การเชื่อมสแตนเลสหน้างาน และการเชื่อมในโรงงานผลิตจะมีความแตกต่างกัน
ในด้านการควบคุมบรรยากาศโดยรอบบริเวณจุดเชื่อม
การเชื่อมงานสแตนเลสในทุกพื้นที่จะต้องทำการควบคุมบริเวณการทำงาน
เพื่อป้องกันไม่ให้ก๊าซปกคลุม(ก๊าซอาร์กอน)บริเวณบ่อหลอมละลายถูกพัดพาไป
หรือก๊าซออกซิเจนในอากาศแทรกเข้ามารวมตัวในก๊าซปกคลุมและบ่อหลอม
ซึ่งจะมีผลจะทำให้แนวเชื่อมดำ ไม่สะอาด มีฟองอากาศ หรือรูพรุน เกิดเป็นโพรงที่จุดหยุดเชื่อม
วิธีแก้ไข คือการเชื่อมในโรงงานห้ามเปิดพัดลมเป่าไปที่บริเวณทำงานเชื่อม
หรือการเชื่อมหน้างานให้ใช้ม่านบังกระแสลมที่พัดบริเวณทำการเชื่อม
2.ที่บริเวณจุดหยุดเชื่อม
ไม่ควรยกหัวเชื่อมออกเร็วเกินไปวิธีแก้ไข ควรแช่หัวเชื่อมให้มีก๊าซอาร์กอนไหลปกคลุมจนแนวเชื่อมเย็นตัวแล้วค่อยยกหัวเชื่อมออก
3.หากยังพบปัญหาอาร์กอนเชื่อมดำอีก ให้แจ้งปัญหาไปยังผู้จำหน่ายก๊าซเพื่อให้เข้ามาดำเนินการแก้ไข
บางครั้งเมื่อปรับความดันใช้งานตามเบอร์ของ Nozzle แล้ว หลังจากการเชื่อมแล้วแนวเชื่อมดำไม่มันวาว ในกรณีเชื่อมสแตนเลสให้เพิ่มความดันแก๊สใช้งานอีกประมาณ 1 –2 ลิตร/นาที เมื่อเพิ่มแล้วแนวเชื่อมยังดำหรือไม่มันวาว ให้พิจารณามุมของหัวเชื่อมว่าถูกหรือไม่ มีลมพัดจากการภายนอกหรือไม่ เช่น เปิดพัดลมระบายอากาศ หรือจากเครื่องดูดควัน
เบอร์ที่ติดอยู่ Nozzle ลบหาย ก็สามารถเดาและปรับความดันใช้งานเบื้องต้นได้ถึงที่ 6 ลิตร/นาที และหลังจากการเชื่อมแล้วให้พิจารณาดูที่เนื้อแนวเชื่อมว่าดำหรือไม่ เป็นมันวาวหรือไม่ ถ้าไม่ก็ให้ปรับเพิ่มขึ้น ประมาณ 1-2 ลิตร/นาที แล้วเชื่อมดูอีกที ถ้าแนวเชื่อมยังดำอยู่อีกก็ปรับความดันแก๊สปกคลุมเพิ่ม ประมาณ 1 ลิตร/นาที หรือ
การเลือกใช้ขนาด Nozzle บางครั้งสามารถใช้ค่า 1.5 คูณ ความกว้างของแนวเชื่อม จะได้ค่าประมาณขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของ Nozzle (Nozzle คือถ้วยกระเบื้องสีชมพู)