ข้ า พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า    ~    ก ลุ่ ม เ ว็ บ จี พี เ อ ส เ ที่ ย ว ไ ท ย ด อ ท ค อ ม   (กลุ่มเว็บลูกหลานชาวพิจิตร)

fillgoods.co ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ theterraceview-khaokho เว็บทรีโอแมส Welcome to JustUsers.net
วิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย-เยอรมัน สระบุรี แนชเชอรัล รีสอร์ต (Nat's Resort) พิจิตร เม็ดบัวอบกรอบ มาย ฟีเกอ มีจําหน่ายที่ supermarket & 7-Eleven ทุกสาขา (10/12/60) เว็บ justusers.net
ลิ้ ง ค์ ก า ร พ นั น ..!!     แ บ น เ น อ ร์ ก า ร พ นั น ..!!     ไ ม่ ต้ อ ง พ ย า ย า ม ติ ด ต่ อ ม า     ไ ม่ ต้ อ น รั บ ..??

....:::: ::::....         แล้งน้ำ, น้ำท่วม, ลดโลกร้อน เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวในเรื่องดังกล่าว ทางเว็บขอร่วมรณรงค์ให้พี่น้องช่วยกันปลูกป่าทั่วแผ่นดินเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวตามพระราชดำริของพ่อ เช่น ท่านที่อยู่ต้นน้ำตามภูเขาที่ลาดชัน หรือตามท้องไร่ท้องนาหัวคันนา ปลูกเท่าที่ทำได้ ทำตอนนี้ลูกหลานเราจะได้ไม่เดือดร้อน ...             คำกล่าวของลุงตู่......... " ท่าน..ไม่ชอบผมไม่เป็นไร แต่ท่านไม่ชอบประเทศของท่านไม่ควร อันศึกนอกศึกไกลผมไม่ห่วง แต่หวั่นทรวงศึกไกล้ไล่ข่มเหง หากคนไทยหันมาฆ่ากันเอง เราจะร้องเพลงชาติไทย ให้ใครฟัง..??!! "             เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม     "เว็บท่องเที่ยว-ถ่ายภาพ และพิกัดGPS"       ....:::: ::::....

  สังคมแห่งการแบ่งปันนี้จะไม่มีสิ่งที่เพื่อนต้องการ    เมื่อเพื่อนๆ มาแวะเยี่ยมแล้วไม่ฝากสิ่งใดไว้..!!     กลุ่มเว็บนี้..   ดำรงไว้ซึ่ง คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม จรรยาบรรณ ไม่เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ตักตวงผลประโยชน์เข้าตน..  


ผู้เขียน หัวข้อ: อุทยานแห่งชาติดอยภูคา (Doi Phu Kha)  (อ่าน 11585 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ pim

  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 0
  • -จึงได้รับ: 15
  • กระทู้: 510
  • กำลังใจ : +8/-0
  • กลุ่มพิเศษ.. กลุ่มผู้ดูแลเว็บ
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 23
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา (Doi Phu Kha)
« เมื่อ: 30 เมษายน 2557, เวลา 15:35:19 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...                                 

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา (Doi Phu Kha)
พิกัดGPS อุทยานแห่งชาติดอยภูคา   N19.200498 E101.080592

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้รับการประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 94 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2542 มีเนื้อที่ประมาณ 1,065,000 ไร่ (1,074 ตร.กม) ครอบคลุมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอท่าวังผา อำเภอสันติสุข อำเภอแม่จริม อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
ทิศเหนือ ติดต่อกับท้องที่ ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน
ทิศใต้ ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติแม่จริมท้องที่ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอุทยานแห่งชาติขุนน่านท้องที่ ตำบลบ่อเกลือเหนือ – บ่อ   เกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
ทิศตะวันตก    ติดต่อกับ ต.ศิลาเพชร ต.อวน อ.ปัว จ.น่าน

ขนาดพื้นที่
1065000.00 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 1 (ห้วยโก๋น)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ ภค 2 (น้ำตกแม่จริม)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 3 (น้ำปูน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 4 (ขุนน้ำแนะ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 5 (ห้วยโป่ง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 6 (นากอก)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 7 (น้ำอวน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 8 (ภูแว)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 9 (บ้านด่าน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 10 (ดอยผาผึ้ง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ที่ 11 (น้ำยาว)
อุทยานแห่งชาติดอยภูคา

ลักษณะภูมิประเทศ
เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มียอดดอยดงหญ้าหวายเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด โดยมีความสูง 1,980 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาหินชั้น และหินอัคนี โดยในพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น 1A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำทีอุดมสมบูรณ์
1. ลักษณะทางธรรมชาติ
1.1 ทรัพยากรธรรมชาติ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อน พื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มียอดดอยภูคาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดใน จังหวัดน่าน โดยมีความสูง 1,980 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (กรมแผนที่ทหาร,2531) แต่ปัจจุบันยอดดอยภูคา มีความสูง 1,910 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (กรมแผนที่ทหาร,2542) ลักษณะทั่วไปเป็นภูเขาหิน และหินปนทราย โดยในพื้นที่ป่าแห่งนี้ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์เป็นพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้น1A อันเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่านและแม่น้ำลำธารสาขาหลายสาย
1.1.1 ธรณีวิทยา
จากรายงานการสำรวจทางธรณีวิทยา (A.Hess and K.E. Kock 1975) พบว่าพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคาประกอบไปด้วย หิน 2 ประเภท คือ หินชั้น หรือ หินตะกอน (Sedimentary) เป็นส่วนใหญ่ และมี หินอัคนี (Igneous Rock) บ้างเล็กน้อย
หินชั้นที่พบในบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จำแนกตามอายุของหิน จากมากไปหาน้อยได้ดังนี้
1) หินที่มีอายุในมหายุคพาลีโอโซอิค (Pareozoic Era) ซึ่งประกอบด้วยหินยุคต่างๆ ดังนี้
- หินยุคคาร์บอนิเฟอรัส ตอนบนถึงยุคเปอร์เมียนตอนล่าง (Upper Carboniferous – Lower Permain Period) มีอายุระหว่าง 345 - 230 ล้านปี ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) หินปูน (Lime Stone) หินกรวดมน (Conglomelate) หินแกรแวด (Greywaeke) และหินเชิร์ท (Chert) จะพบหินดังกล่าวนี้ทางด้านทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคาฝั่งตะวันตกของลำน้ำว้าเป็นแนวแคบ ๆ ช่วงอำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม
- หินยุคเปอร์เมียน (Permian Period) มีอายุระหว่าง 280–230 ล้านปี ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินปูน (Lime Stone) บริเวณดังกล่าวนี้จะพบอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของอุทยานแห่งชาติ ช่วงอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ
- หินยุคเปอร์เมียน-ไทรแอสสิค (Permian-Triassic Period) มีอายุระหว่าง 250 – 195 ปี ประกอบด้วยหินเช่นเดียวกับหินที่เกิดในยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนบนถึงยุคเปอร์เมียนตอนล่าง แต่มีอายุน้อยกว่า พบหินยุคนี้เป็นบริเวณกว้างทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ ทั้งตอนบนและตอนล่างจะพบหินในยุคนี้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะอยู่ในช่วงอำเภอทุ่งช้าง อำเภอเชียงกลาง อำเภอปัว อำเภอสันติสุข และอำเภอแม่จริม
- หินที่มีอายุในยุคไทรแอสสิคตอนบนถึงยุคจูแรสสิค และครีเตเซียส (Upper Triassic-Jurassic and Cretaceous Period) จะพบหินในยุคนี้ประมาณ 195 – 18 ล้านปีประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินคองโกลเมอเรท (Conglomerlate) หินดังกล่าวนี้จะพบเป็นบริเวณกว้างทางด้านตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ ตามแนวเหนือ-ใต้ คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ช่วงอำเภอบ่อเกลือ และอำเภอสันติสุข

2) หินที่มีอายุอยู่ในมหายุคนีโอโซอิค (Neozoic Era) ประกอบด้วยหินยุคต่างๆ ดังนี้
- หินยุคเทอเทียรี่ (Tertiary Period) มีอายุระหว่าง 65 ล้านปี ถึง 1 แสนปี หินที่พบในยุคนี้ประกอบด้วย หินดินดาน (Shale) หินทราย (Sand Stone) และหินคองโกลเมอเรท (Conglomerlate) จะพบหิน ดังกล่าวนี้เล็กน้อย ทางด้านทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ
- หินยุคควอเตอร์นารี (Quaternary Period) ประกอบไปด้วยตะกอนที่ยังไม่แข็งตัวมีตั้งแต่ขนาดกรวดจนถึงดินเหนียว เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนร่องน้ำต่าง ๆ
- หินอัคนี (Igneous Rocks) ที่พบในบริเวณอุทยานแห่งชาติ มีอยู่ไม่มากนักเมื่อเทียบกับหินชั้นหรือหินตะกอน หินที่มีอายุมากที่สุดได้แก่หินยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนบนถึงยุคเปอร์เมียนตอนล่างประกอบด้วยหินทัฟ ( Tuff ) ที่มีเนื้อหินสีเข้ม นอกจากนี้ยังพบหินอัคนี ที่มีอายุอยู่ในยุคไตรแอสสิค ประกอบด้วยหินแกรนิต (Granite) หินแกรโนไดโอไรท์ (granodiorite) พบบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติดอยภูคา
1.1.2 ทรัพยากรดิน
พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชุดดินที่ 62 ชุดดินนี้จะพบบริเวณพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 %ในบริเวณดังกล่าวนี้มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดินและความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่าง ๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือป่าดิบชื้นหลายแห่ง มีการทำไร่เลื่อนลอยโดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดินจนบางแห่งเหลือแต่หินพื้นโผล่ ได้แก่ชุดดินที่ลาดชันเชิงซ้อน (Sc) กลุ่มดินนี้ไม่ควรนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรเนื่องจากมีปัญหาหลายประการที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศควรสงวนไว้เป็นป่าตามธรรมชาติเพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร
1.1.3 ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มีลำน้ำซึ่งต้นกำเนิดจากเทือกเขาสูงที่สำคัญ มีดังนี้
1) ลำน้ำว้า เกิดจากลำน้ำในเทือกเขาจอมในเขตอำเภอบ่อเกลือ ไหลผ่านอำเภอ แม่จริม แล้วไปบรรจบแม่น้ำน่าน ในเขตตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา
2) ลำน้ำกอน มีต้นน้ำเกิดจากดอยภูคา ไหลไปบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบกอน อำเภอเชียงกลาง
3) ลำน้ำปัว เกิดจากธารน้ำในเทือกเขาดอยภูคา ทางด้านทิศตะวันออกของอำเภอปัว แล้วไหลไปบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบปัว อำเภอปัว
4) ลำน้ำยาว มีต้นกำเนิดจากประเทศลาว ไหลผ่านอุทยานแห่งชาติดอยภูคา มาบรรจบแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าวังผา
5) ลำน้ำย่าง มีต้นกำเนิดจากดอยภูคา ไหลผ่านอำเภอปัว มาบรรจบแม่น้ำน่านในเขตอำเภอท่าวังผา
6) ลำน้ำอวน มีต้นกำเนิดจากดอยภูคา ไหลมาบรรจบแม่น้ำน่านที่บ้านสบยาว กิ่งอำเภอภูเพียง
7) แม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาขุนน้ำน่าน มีลำน้ำสาขาไหลมาบรรจบ ในเขตจังหวัดน่าน เป็นจำนวนมาก จากอำเภอทุ่งช้าง อำเภอปัว อำเภอเมือง อำเภอเวียงสา อำเภอนาน้อย อำเภอนาหมื่น แล้วไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนสิริกิติ์ ในเขตอำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์   

ลักษณะภูมิอากาศ
ฤดูฝน : ระหว่างเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม จะมีฝนตกชุก
ฤดูหนาว : ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ในเดือนธันวาคม – มกราคม
จะมีอากาศหนาวจัด และมีอุณหภูมิต่ำสุด 2.0 องศาเซลเซียส
ฤดูร้อน : ระหว่างเดือน มีนาคม - เมษายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเซลเซียส   
อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 8-10 °C ฤดูร้อนเป็นช่วงสั้นๆ คือ เดือนมีนาคม - เมษายน อากาศจะเย็นสบาย

พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
ทรัพยากรป่าไม้
1. ป่าไม้/การใช้ที่ดิน
ประเภท ป่าไม้และการใช้ที่ดิน
ป่าดิบเขา    เนื้อที่   315,000 ไร่   คิดเป็น    29.6 %
ป่าดิบแล้ง    เนื้อที่   262,500 ไร่   คิดเป็น    24.6 %
ป่าเบญจพรรณ   เนื้อที่   262,500 ไร่   คิดเป็น    24.6 %
ป่าเต็งรัง    เนื้อที่   92,400 ไร่   คิดเป็น    8.6 %
ป่าเสื่อมโทรม (ไร่ร้าง) เนื้อที่   12,000 ไร่   คิดเป็น    1.2 %
พื้นที่ทำกินของราษฎร    เนื้อที่   108,100 ไร่   คิดเป็น    10.2 %
อื่นๆ    เนื้อที่   12,5001.3 ไร่ คิดเป็น 1.2 %
ที่มา : อุทยานแห่งชาติดอยภูคา,2546

2. ลักษณะของป่าและพืชพันธุ์ไม้ป่า
ป่าดอยภูคาแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามสภาพป่า   
2.1. ป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest) เป็นป่าที่มีความอุสมบูรณ์ มีอยู่ตามหุบเขา ริมน้ำลำธาร ส่วนใหญ่อยู่ตอนใต้ตอนกลาง และตอนเหนือของพื้นที่บางส่วน มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 25 ของพื้นที่พรรณไม้ที่สำคัญ คือ ก่อยาง ตะเคียน มะค่าโมง มณฑาป่า จำปีป่า กำลังเสือโคร่ง ไม้พื้นล่าง ประกอบด้วย หวาย ผักกูด มอส เฟริ์น กล้วยไม้ ฯลฯ
2.2. ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest) เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ อยู่ตามหุบเขา มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 30 ของพื้นที่พันธ์ไม้ที่สำคัญ คือ ยาง ตะเคียน มะค่าโมง จำปีป่า ประดู่ ก่อ ต้นชมพูภูคา เป็นต้น พันธุ์ไม้พื้นล่างประกอบด้วย ไม้ไผ่ชนิดต่างๆ เฟริ์น หวาย เถาวัลย์ชนิดต่างๆ
2.3. ป่าเบญจพรรณ (Deciduous forest) มีอยู่กระจัดกระจายในพื้นที่ส่วนใหญ่ของป่าดอยภูคา บริเวณที่ราบตามรอบพื้นที่ และบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันน้อย มีเนื้อที่ประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ ยาง มะค่าโมง ประดู่ แดง ตะแบก ไม้พื้นล่างประกอบด้วยไม้ไผ่ชนิดต่างๆ
2.4. ป่าเต็งรัง (Dry dipterocarp forest) เป็นป่าที่มีอยู่บริเวณโดยรอบของพื้นที่ตามลาดเขา และบนภูเขาในพื้นที่บางจุดป่าประเภทนี้มีอยู่น้อยมาก เนื้อที่ประมาณร้อยละ 10 ของพื้นที่ พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง มะค่า พะยอม รกฟ้า ไม้พื้นล่างประกอบด้วย มะพร้าวเต่า ปุ่มแป้ง หญ้าเเพ็ก
2.5. ป่าสนธรรมชาติ ( Pine forest) มีขึ้นอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ ในพื้นที่ตอนใต้ของอุทยานฯใกล้ๆกับดอยภูหวดส่วนใหญ่จะขึ้นผสมกับป่าเต็งรังลักษณะเป็นสน 3 ใบ

3. พันธุ์ไม้ป่าหายากและพรรณไม้เฉพาะถิ่น
เนื่องจากอุทยานฯ มีลักษณะพื้นที่เป็นภูเขาสูง บางพื้นที่มีลักษณะจำเพาะ พรรณพืชบางชนิดที่พบในพื้นที่อุทยานเป็นพรรณไม้หายาก หรือพรรณไม้เฉพาะถิ่น เนื่องจากมีการกระจายในวงจำกัด ประกอบกับสภาพป่าที่ได้ถูกแปรสภาพหรือถูกรบกวนโดยปัจจัยต่างๆ

4. พืชไม้ล้มลุก
เช่น ประดับหินดาว หญ้าแพรกหิน พืชเฉพาะถิ่น ขาวละมุน เทียนดอย พืชหายาก ฯลฯ

5.พืชชนิดไม้เลื้อย
เช่น เสี้ยวเครือ (Bauhinia variegata) มะลิภูหลวง พืชหายาก นมตำเลีย พืชเฉพาะถิ่น ฯลฯ
(นายปรัชญา ศรีสว่าง.ความหลากหลายทางชีวภาพของพืชที่มีท่อลำเลียงในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,2548 )

ทรัพยากรสัตว์ป่า
สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest) ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest) ป่าเบญจพรรณ (Evergreen forest, Deciduous forest) ป่าเต็งรัง (Dry diterocarp forest) สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่อย่างชุกชุม ได้แก่ เก้ง (Muntiacus muntjak Zimmermann.) กวางป่า (Cervus unicolor Kerr.) หมูป่า (Sus sorofa Linnaeus.) เลียงผา (Capricornis sumatraensis Bechstein.) ชะนีธรรมดา (Hylobates lar Linnaeus.) อีเห็นธรรมดา (Paradoxurus hormaphroditus Pallas.) หมีควาย (Selenatos thibetanus G. Cuvier.) ซาลาเมนเดอร์หรือจิ้งจกน้ำ เป็นต้น

สถานที่ท่องเที่ยว

น้ำตกตาดหลวง

ข้อมูลทั่วไป...
ลักษณะเป็นแอ่งน้ำตกที่สวยงามนักท่องเที่ยวนิยมมาเล่นน้ำและเป็นแหล่งอนุรักษ์ปลาพลวง อยู่ห่างจากบ้านทุ่งเฮ้า อ.ปัว จ.น่าน ประมาณ 1 กิโลเมตร

พิชิตยอดดอยภูแว

ข้อมูลทั่วไป..
เป็นยอดดอยที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,837 เมตร มีลักษณะโดดเด่นเป็นทุ่งหญ้าบนดอย อีกทั้งยังมีลานหินและหน้าผาสูงชันอีกด้วย และมีพันธุ์ไม้เฉพาะถิ่นและพันธุ์ไม้หายาก เช่น ค้อ กุหลาบพันปี ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาวนั้นจะมีความสวยงามมาก การเดินทางโดยรถยนต์ จากที่ทำการอุทยานฯไปถึงหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดยภูคาที่ 9 (บ้านด่าน) ระยะทางประมาณ 63 กม. และมีลุกหาบไว้บริการ

ล่องแก่งน้ำว้า

ข้อมูลทั่วไป...
แก่งน้ำว้าตอนกลางเส้นทางระดับ 3 - 5 ประมาณกว่า 100กว่าแก่งสุดยอดความตื่นเต้นและสนุกสนาน เริ่มจากลำน้ำว้าตอนกลาง บ้านสบมาง อ.บ่อเกลือ สิ้นสุดที่ อ.แม่จริม เส้นทางยาวที่สุดในประเทศไทย ถึง 80 กิโลเมตร

เดินป่าศึกษาธรรมชาติ

ข้อมูลทั่วไป...
การเดินป่าศึกษาธรรมชาติ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคามีเส้นทางเดินป่า 2 เส้นทาง คือ เส้นทางศึกษาธรรมชาติดอกชมพูภูคามีทั้งเส้นทางรอบใหญ่ มีระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตรใช้เวลาเดิน ประมาณ 3 ชั่วโมง และเส้นทางรอบเล็ก มีระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 1.5 ชั่วโมง ซึ่งจะพบพันธุ์ไม้ที่หายากและพันธุ์ไม้ เฉพาะถิ่น สมุนไพรเป็นต้น และเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าดึกดำบรรพ์(ดอยดงหญ้าหวาย) มีระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินประมาณ 5 ชั่วโมง ซึ่งสามารถพบนกชนิดต่างๆ เช่น นกไต่ไม้สีสวย พบเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และชมผีเสื้อนานาพันธุ์

น้ำตกภูฟ้า

ข้อมูลทั่วไป...
มีความสูงไม่ต่ำกว่า 150 เมตร ใช้เวลาในการเดินทาง 2 วัน พักค้างแรม 1 คืน อยู่ในพื้นที่ตำบลหนองแดง อำเภอแม่จริม

ถ้ำผาฆ้อง

ข้อมูลทั่วไป...
อยู่บริเวณบ้านป่าไร่ ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 7 กม.และเดินเท้าไปอีก อีก 2 กม.ซึ่ง เป็นถ้ำขนาดกลางบริเวณปากถ้ำจะมีขาดเล็ก ภายในถ้ำจะมีหินงอกหินย้อยและลำธารไหลผ่าน แต่ช่วงฤดูฝนไม่สามารถเข้าชมได้เนื่องจากมีน้ำท่วมในถ้ำ

น้ำตกต้นตอง

ข้อมูลทั่วไป...
เป็นน้ำตกหินปูนอยู่บริเวณใกล้ ๆ ที่ทำการอุทยานฯ เป็นน้ำตกหินปูนขนาดกลางมี 3 ชั้น สูงประมาณ 60 เมตร ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 3 กิโลเมตร และต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 500 เมตร

จุดชมวิว

ข้อมูลทั่วไป...
จุดชมพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก สามารถชมทะเลหมอก ดูนกได้ ระยะทางห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยภูคา 8 กิโลเมตร สายปัว - บ่อเกลือ

ที่ตั้งและแผนที่
สถานที่ติดต่อ : ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน 55120
โทรศัพท์/ แฟกซ์ ( สำนักงาน ) 054-701000 , 054-731-362
( มือถือ ) 089-554-1231
อีเมล : phukha_np@hotmail.com
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายชยันต์ คำป้อ

สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และสถานที่กางเต็นท์
ห้องน้ำ - ห้องสุขา หญิง
ร้านอาหาร - ร้านอาหาร
ที่พัก - บ้านพักภูคา 108 - 123
ที่พัก - บ้านพักภูคา 106/1 - 106/4
ที่พัก - บ้านพักภูคา 105/1 - 105/4
ที่พัก - บ้านพักภูคา 104/1 - 104/4
ที่พัก - บ้านพักภูคา 103/1 - 103/4
ที่พัก - บ้านพักภูคา 102
ที่พัก - บ้านพักภูคา 101
อื่นๆ - อาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ร้านค้า - ร้านสวัสดิการ
ห้องน้ำ - ห้องน้ำ - ห้องสุขา ชาย

การเดินทาง
การคมนาคมและการติดต่อสื่อสาร
เส้นทางคมนาคม
- ระยะทางจากกรุงเทพมหานคร ถึง อุทยานแห่งชาติ 753 กิโลเมตร
- ระยะทางจากจังหวัดน่าน โดยรถยนต์ไปตามทางหลวง 1080 ถึง อำเภอปัว ระยะทาง 60 กิโลเมตร แยกไปตามทางหลวงหมายเลข 1256 (ปัว – บ่อเกลือ) ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ - ดอยภูคา ระยะทาง 25 กิโลเมตร




พิกัดGPS อุทยานแห่งชาติดอยภูคา   N19.200498 E101.080592








ที่มาข้อมูล...ขอบคุณ
www.park.dnp.go.th/1096-อุทยานแห่งชาติดอยภูคา



 

                             
GPStt.com จะแสดงผลถูกต้อง ฟ้อนต์สวยงาม เข้าเว็บได้เร็ว เมื่อท่านใช้เบราเซอร์ Chrome และ Firefox เท่านั้น ไม่รองรับ Internet Explorer  

กลุ่มท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ. แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ | แหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ (สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว)
การเดินทาง, เครื่องนำทาง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ฟรี.. แผนที่GPS ลาว กัมพูชา พม่า (ทั่วโลก) แบบเทพๆ | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 1 | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 2
ลิ้งค์ที่น่าสนใจทั่วไป.. ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | บอร์ดนักวิทยุสมัครเล่น | ตรวจสอบการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นจากชื่อหรือนามเรียกขาน |ตรวจสอบนามเรียกขานที่ถูกยกเลิก | กสทช.กิจการวิทยุสมัครเล่น (เค้าอัพเดทแล้วนะ 31/1/60) | Checkdomain.com | ดาวน์โหลดวีดีโอจากเฟซบุ๊ค | ร้านซ่อมดอทคอม | แปลงไฟล์ออนไลน์ youtube เป็น mp3 ลิ้งค์1, ลิ้งค์2, ลิ้งค์3 | convert PDF to JPG | ตระกูลแปลงไฟล์ | แปลงไฟล์ ภาพ webp เป็น jpg | หมากรุกออนไลน์ | ทีวีออนไลน์ | แปลงไฟล์เสียงออนไลน์ | ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย | หมากรุกออนไลน์ | เว็บแปลงค่า-1 | เว็บแปลงค่า-2 | ค้นหาและแบ่งปันหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก | แปลงลิ้งค์ URL ให้สั้นลง | โปรแกรม PhotoRoom ลบฉากหลังของภาพออนไลน์ | เช็คคีย์บอร์ดออนไลน์ ก่อนเสียเงินซื้อใหม่ |