ข้ า พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า    ~    ก ลุ่ ม เ ว็ บ จี พี เ อ ส เ ที่ ย ว ไ ท ย ด อ ท ค อ ม   (กลุ่มเว็บลูกหลานชาวพิจิตร)

fillgoods.co ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ theterraceview-khaokho เว็บทรีโอแมส Welcome to JustUsers.net
วิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย-เยอรมัน สระบุรี แนชเชอรัล รีสอร์ต (Nat's Resort) พิจิตร เม็ดบัวอบกรอบ มาย ฟีเกอ มีจําหน่ายที่ supermarket & 7-Eleven ทุกสาขา (10/12/60) เว็บ justusers.net
ลิ้ ง ค์ ก า ร พ นั น ..!!     แ บ น เ น อ ร์ ก า ร พ นั น ..!!     ไ ม่ ต้ อ ง พ ย า ย า ม ติ ด ต่ อ ม า     ไ ม่ ต้ อ น รั บ ..??

....:::: ::::....         แล้งน้ำ, น้ำท่วม, ลดโลกร้อน เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวในเรื่องดังกล่าว ทางเว็บขอร่วมรณรงค์ให้พี่น้องช่วยกันปลูกป่าทั่วแผ่นดินเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวตามพระราชดำริของพ่อ เช่น ท่านที่อยู่ต้นน้ำตามภูเขาที่ลาดชัน หรือตามท้องไร่ท้องนาหัวคันนา ปลูกเท่าที่ทำได้ ทำตอนนี้ลูกหลานเราจะได้ไม่เดือดร้อน ...             คำกล่าวของลุงตู่......... " ท่าน..ไม่ชอบผมไม่เป็นไร แต่ท่านไม่ชอบประเทศของท่านไม่ควร อันศึกนอกศึกไกลผมไม่ห่วง แต่หวั่นทรวงศึกไกล้ไล่ข่มเหง หากคนไทยหันมาฆ่ากันเอง เราจะร้องเพลงชาติไทย ให้ใครฟัง..??!! "             เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม     "เว็บท่องเที่ยว-ถ่ายภาพ และพิกัดGPS"       ....:::: ::::....

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อจ่ายเบี้ยประกันไม่ไหว มีทางเลือกไหนไม่ให้ขาดผล  (อ่าน 547 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ febru

  • * ฝากประชาสัมพันธ์ *
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 0
  • -จึงได้รับ: 2
  • กระทู้: 18
  • กำลังใจ : +2/-0
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows NT 10.0 Windows NT 10.0
  • เบราเซอร์:
  • Firefox 138.0 Firefox 138.0
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 3839
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...                                 
หากเราวางแผนชีวิตไว้ดีเช่นไร ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตกับสภาพเศรษฐกิจในครอบครัว ปัญหาหนึ่งคือการขาดสภาพคล่องจำนวนเงินและภาระค่าใช้ต่างๆ หากวันหนึ่งประสบปัญหาทางการเงินจนทำให้จ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพไม่ไหว ทางเลือกต่อไปนี้จะช่วยให้เรายังคงได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันชีวิต (ขึ้นอยู่กับประเภทและเงื่อนไขของกรมธรรม์) แม้เงื่อนไขอาจต้องเปลี่ยนแปลงไปบ้างสำหรับบางกรณี

1. ชำระเบี้ยประกันในระยะเวลาผ่อนผัน
   ผู้ซื้อประกันชีวิตหลายคนไม่ทราบข้อกำหนดเรื่องระยะเวลาผ่อนผันการชำระเบี้ย 31 วัน นับตั้งแต่วันที่ครบกำหนดชำระเบี้ย ดังนั้น  หากถึงกำหนดชำระแล้วยังมีเงินไม่เพียงพอ  แต่จะสามารถหาเงินมาได้ครบจำนวนทันเวลาดังกล่าว การเลื่อนชำระตามกำหนดมาเป็นช่วงระยะเวลาผ่อนผันก็นับเป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ดี ซึ่งในระหว่างระยะเวลาผ่อนผันกรมธรรม์ยังคงมีผลบังคับ และถ้าระหว่างนั้นเราเสียชีวิต บริษัทจะหักเบี้ยประกันที่ยังไม่ได้จ่ายออกจากทุนประกันชีวิต สิ่งสำคัญคือ ต้องระวังไม่ปล่อยให้พ้นระยะเวลาผ่อนผันถ้าเลยเวลาแล้ว แต่กรมธรรม์ยังมีมูลค่าเวนคืน (คือ เมื่อชำระเบี้ยประกันตั้งแต่ 2 หรือ 3 ปี ขึ้นไป)  กรมธรรม์จะมี “มูลค่าเวนคืน” เป็นจำนวนเงินตามจำนวนที่กำหนดไว้ในตารางมูลค่ากรมธรรม์ ซึ่งเราสามารถขอยกเลิกกรมธรรม์เพื่อรับเงินค่าเวนคืนจากบริษัทได้ แต่จะทำให้ความคุ้มครองทั้งหมดสิ้นสุดลง) บริษัทจะนำมูลค่าเวนคืนมาใช้ในการแก้ไขปัญหาการไม่ชำระเบี้ยประกันของเรา เช่น เปลี่ยนเป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จหรือเป็นกรมธรรม์แบบขยายเวลาตามข้อ 5 หรือชำระเบี้ยอัตโนมัติตามข้อ 6 ที่จะ กล่าวถึงต่อไป แต่ถ้ากรมธรรม์ไม่มีมูลค่าเวนคืน กรมธรรม์จะขาดอายุและสิ้นผลบังคับ



2. ขอเปลี่ยนงวดการชำระเบี้ยประกัน
   หากประเมินสถานการณ์แล้วว่า จะหาเงินก้อนมาชำระค่าเบี้ยรายปีไม่ทันระยะเวลาผ่อนผันตามข้อ 1 
หรือเก็บเงินก้อนไม่สำเร็จ แต่ยังคงมีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ การเปลี่ยนจากชำระเงินคราวเดียวเป็นก้อนใหญ่รายปี (ราย 12 เดือน) มาเป็นแบ่งชำระ
ทุกเดือน ทุก 3 เดือน หรือ 6 เดือน ก็อาจเป็นทางออกให้เรา แต่วิธีนี้มีข้อเสียคือค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายเมื่อรวมทุกงวดในรอบปีเดียวกันจะสูงกว่า
การชำระ เบี้ยเป็นรายปี ยิ่งแบ่งงวดการชำระมากเท่าไหร่ ค่าเบี้ยประกันโดยรวมจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จึงควรไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจเปลี่ยนงวดการชำระ

3. ลดจำนวนเงินเอาประกันภัยลง
          หากมองไปในอนาคตแล้วเห็นว่าเบี้ยประกันที่จ่ายอยู่จะเป็นภาระที่มากเกินไปในระยะยาวหรือเห็นว่าจะชำระไม่ไหว การลดจำนวนเงินเอาประกันลงก็จะช่วยให้เบี้ยประกันที่ต้องจ่ายลดลง โดยจำนวนเงินเอาประกันที่ขอลดต้องไม่ต่ำกว่าทุนประกันขั้นต่ำที่กำหนด และต้องไม่มีหนี้กับบริษัทประกันชีวิตนั้นขณะขอลดทุนประกัน

4. เปลี่ยนแบบกรมธรรม์
          เราสามารถขอเปลี่ยนแบบประกันภัยเป็นแบบอื่นตามที่บริษัทกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขไว้ หากมีระบุไว้ในกรมธรรม์หรือได้รับความเห็นชอบจากบริษัท และหากมีส่วนต่างของเบี้ยประกันหรือเงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ บริษัทจะคืนเงินให้หลังหักด้วยหนี้สินที่มี หรือเก็บเงินเพิ่มแล้วแต่กรณี แต่ต้องไม่ลืมที่จะพิจารณาก่อนว่าประกันแบบใหม่นั้นตรงตามความต้องการของตัวเองหรือไม่

5. เปลี่ยนเป็น “กรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ” หรือเป็น “กรมธรรม์แบบขยายเวลา”
          หากคิดแล้วว่าจากนี้ไปจะต้องตัดรายจ่ายค่าเบี้ยประกันออกอย่างถาวรหรือไม่สามารถชำระได้อีก แต่ได้ชำระเบี้ยประกันจนมีมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์และกรมธรรม์ยังมีผลบังคับ เรามีสิทธิขอเปลี่ยนเป็นกรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จหรือเป็นกรมธรรม์แบบขยายเวลา สำหรับทั้ง 2 วิธีนี้ ผู้เอาประกันจะไม่ต้องชำระเบี้ยประกันอีกต่อไป แต่ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมที่แนบท้ายกรมธรรม์ก็จะสิ้นสุดลง ซึ่งบริษัทจะนำค่าเวนคืนกรมธรรม์มาคำนวณเป็นเบี้ยประกันภัยชำระครั้งเดียวเพื่อซื้อกรมธรรม์ใหม่ ได้ 2 แบบที่เหมาะกับเรา คือ (1) ระยะเวลาเท่าเดิมแต่เงินเอาประกันลด เรียกว่ากรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ หรือ (2) เงินเอาประกันเท่าเดิม ระยะเวลาลด เรียกว่ากรมธรรม์ขยายเวลา (คือขยายเวลาต่อไปจากวันที่ใช้สิทธิ ตามจำนวนปีและวันที่ระบุ)

6. นำมูลค่าเวนคืนมาชำระเบี้ยประกันภัยโดยอัตโนมัติ
          เมื่อถึงกำหนดวันสิ้นสุดระยะเวลาผ่อนผันชำระเบี้ยประกัน แล้วยังไม่ได้จ่ายเบี้ยประกัน และไม่ได้ใช้สิทธิตามข้อ 5 บริษัทจะนำมูลค่าเวนคืนในกรมธรรม์มาชำระเบี้ยประกันโดยอัตโนมัติในลักษณะของการกู้ยืม ซึ่งคิดดอกเบี้ยทบต้นในอัตราดอกเบี้ยที่ระบุในกรมธรรม์และบวกเพิ่มดอกเบี้ยอีกร้อยละ 2 ต่อปี โดยมีเงื่อนไขว่าถ้ามูลค่าเวนคืนเพียงพอจ่ายเบี้ยประกัน บริษัทจะกู้ยืมไปเรื่อย ๆ ทุกปี จนกว่ามูลค่าจะเหลือไม่พอ แต่ถ้ามูลค่าเวนคืนไม่พอจ่ายเบี้ยประกัน บริษัทจะแปลงกรมธรรม์เดิมเป็น “กรมธรรม์ใช้เงินสำเร็จ” หรือ “กรมธรรม์แบบขยายเวลา” (ข้อ 5) โดยอัตโนมัติ ส่วนการชำระคืนเงินกู้นั้น สามารถนำเงินมาจ่ายคืนได้ภายหลังพร้อมดอกเบี้ยตามที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์



 

                             
GPStt.com จะแสดงผลถูกต้อง ฟ้อนต์สวยงาม เข้าเว็บได้เร็ว เมื่อท่านใช้เบราเซอร์ Chrome และ Firefox เท่านั้น ไม่รองรับ Internet Explorer  

กลุ่มท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ. แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ | แหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ (สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว)
การเดินทาง, เครื่องนำทาง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ฟรี.. แผนที่GPS ลาว กัมพูชา พม่า (ทั่วโลก) แบบเทพๆ | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 1 | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 2
ลิ้งค์ที่น่าสนใจทั่วไป.. ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | บอร์ดนักวิทยุสมัครเล่น | ตรวจสอบการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นจากชื่อหรือนามเรียกขาน |ตรวจสอบนามเรียกขานที่ถูกยกเลิก | กสทช.กิจการวิทยุสมัครเล่น (เค้าอัพเดทแล้วนะ 31/1/60) | Checkdomain.com | ดาวน์โหลดวีดีโอจากเฟซบุ๊ค | ร้านซ่อมดอทคอม | แปลงไฟล์ออนไลน์ youtube เป็น mp3 ลิ้งค์1, ลิ้งค์2, ลิ้งค์3 | convert PDF to JPG | ตระกูลแปลงไฟล์ | แปลงไฟล์ ภาพ webp เป็น jpg | หมากรุกออนไลน์ | ทีวีออนไลน์ | แปลงไฟล์เสียงออนไลน์ | ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย | หมากรุกออนไลน์ | เว็บแปลงค่า-1 | เว็บแปลงค่า-2 | ค้นหาและแบ่งปันหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก | แปลงลิ้งค์ URL ให้สั้นลง | โปรแกรม PhotoRoom ลบฉากหลังของภาพออนไลน์ | เช็คคีย์บอร์ดออนไลน์ ก่อนเสียเงินซื้อใหม่ |