:: GPStt.com ::

หมวด บอร์ดทั่วไป
=> สารพันความรู้ - เทคโนโลยี => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 10 กันยายน 2567, เวลา 13:57:53 น.

หัวข้อ: ตู้เชื่อม Co2 แบบฟลักซ์คอร์ ในการแก้ปัญหาแบบเทพๆ กับเรื่องบ้าๆ บอๆ คอแตก ของหัวเชื่อมตัน ลวดไม่ออก เชื่อมติดๆ ขัดๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 10 กันยายน 2567, เวลา 13:57:53 น.
ตู้เชื่อม Co2 แบบฟลักซ์คอร์
ในการแก้ปัญหาแบบเทพๆ กับเรื่อง บ้าๆ บอๆ คอแตก
ของหัวเชื่อมตัน ลวดไม่ออก เชื่อมติดๆ ขัดๆ




     ตามจั่วหัวเลยครับ สำหรับตู้เชื่อม Co2 แบบใช้ลวดเชื่อมฟลักคอร์ (คือลวดเชื่อมที่มีน้ำยาอยู่ใส้ในของลวด) เวลาเชื่อมจะได้ไม่ต้องใช้ก๊าซคาร์บอน (Co2) มาช่วย

     บทความที่ผมจะเขียนต่อไปนี้จากประสบการของผมล้วนๆ ที่ไม่ใช้ก๊าซ Co2 มาช่วยในการเชื่อม มีปัญหามากจริงๆ ถ้าท่านใดที่ใช้ Co2 เชื่อมแล้วไม่มีปัญหาแบบผมก็ช่วยมาบอกกันหน่อย

     กลับมาเข้าเรื่อง ทุกอย่างมันดีงามตามทฤษฎีที่ว่าไว้ทุกอย่างสำหรับงานเชื่อมแบบใช้ลวดฟลักคอร์ แต่ในทางปฏิบัติงานการใช้จริงๆ มันกลับมีปัญหาที่ต้องแก้ไข โดยมีการโมฯ ทดลองสารพัด
     เพราะตลอดเวลาในการเชื่อม ลวดมันชอบติดครับ การส่งลวดเข้าสนามรบเพื่ออาร์คมันไม่สม่ำเสมอ ทำให้การเชื่อมเป็นไปด้วยความหงุดหงิด เมื่อเกิดปัญหาก็มาหาทางแก้ไขไปจนงานเชื่อมเสร็จ (เสร็จแบบคาใจ..หว่ะ..)




     ก็เลยเป็นที่มาของการโมฯ สิครับ


[attach=1]

1. ผมใช้ยี่ห้อนี้ สภาพเดิมๆ ตามภาพนี้
     และของแถมได้ตามภาพ




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a005.jpg)

2. ภาพชัดๆ ชุดสายหัวเชื่อมสำหรับงานเชื่อบแบบ Co2 ที่แถมติดมากับเครื่องจะเป็นแบบนี้
     สายที่แถมมากับเครื่องจะยาวแค่ 3.5 เมตร สั้นครับ เลยสั่งแบบยาว 5 เมตร มาใหม่ มีคนถามว่าทำไมไม่เอายาวๆมาเลย เช่น 10 เมตร ผมก็เลยตอบไปว่า ตู้เชื่อมแบบนี้มันมีระบบส่งลวดมาจากตัวเครื่อง ถ้าสายเชื่อมยาวมากเกินไปวางสายคดเคี้ยวมากไป จะทำให้ระบบส่งลวดไม่มีแรงพอที่จะดันลวดมาโผล่ที่หัวเชื่อมไหว เลยเอาแค่ 5 เมตรพอแล้ว




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a002.jpg)

3. พอใช้งานไประยะนึง บ๊ะ..ปัญหาเยอะหว่ะ เยอะอิ๋บอ๋าย
    3.1 สเก็ดเม็ดเหล็กกระเด็นไปติดปลายหัวเชื่อม ทำให้ลวดเดินไม่สะดวก
    3.2 พอลวดเดินไม่สะดวก ลวดเชื่อมดันไปอาร์คตัวเองติดหัวเชื่อม (ช่วงปลายๆ) อ้าวหนักเข้าไปอีก
    3.2 บางครั้งสายเชื่อมวางคดมากไป (ลืมหันกลับมาส่อง) จะทำให้การส่งลวดมาจะไม่สม่ำเสมอ  แก้แล้วก็ไม่รอด
    3.3 เปลี่ยนลูกกลิ้ง กด/ส่ง เส้นลวดเป็นแบบฟันเฟือง เพื่อให้การส่งลวดดีขึ้น เปลี่ยนแล้วก็ไม่รอด
    3.4 สุดท้าย โมฯ โดยการเพิ่มคาปาซิเตอร์ขนานเข้าไปอีก 8 ตัว ไม่ได้จำว่าเพิ่มได้กี่ไมโครฟารัด แต่สิ่งที่ได้มาชัดๆคือกระแสเชื่อมกรณีปรับไปโหมดเชื่อมลวดธูป เชื่อมได้ดีมาก ลากลวกเชื่อมได้เนียนๆ ไม่ต้องมาเขี่ยๆๆๆๆ ก่อนเชื่อม คือจิ้มได้ก็ลากเลย




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a003.jpg)

4. ภาพการโมฯครับ
     ลูกกลิ้งกดเพื่อส่งลวดเชื่อมที่วางกับพื้นตู้เชื่อมนั้นไม่ได้วางเฉยๆเด้อครับ มีแม่เหล็กติดอยู่ เอาไว้เป็นอะไหล่สับเปลี่ยน




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a004.jpg)

5. ภาพการโมฯครับ  สุดท้าย ตู้เชื่อมตัวนี้ทำเอาไว้ใช้เชื่อม Co2 อย่างเดียว ไม่สลับไปเชื่อมธูป เพราะผมมีตู้เชื่อมแทบทุกประเภท เลยใช้แยกงานกันไปซ๊ะ ฉะนั้นตัวนี้จึงไม่มีสายที่ติดเครื่องมาด้านหน้าเพื่อสลับไปโหมดเชื่อมธูป
     ที่เห็นม้วนลวด เป็นแบบ 5 กก. นะครับ ผมไม่ชอบอะไรที่ใส่ทีละโลฯ (ม้วนเล็ก) เวลาเชื่อมๆไป ลวดหมดม้วน รำคาญครับ และที่สำคัญม้วนเล็กบวกลบคูณหารแล้วแพงกว่าม้วนใหญ่ เลยต้องเลือกตู้เชื่อม ยี่ห้อ/รุ่นนี้
     ถ้ารุ่นที่ใช้ลวดม้วน 1กก. ลวดจะวางอยู่ด้านบนของตู้เชื่อม ทำให้ตู้เชื่อมเล็กลงไปอีกนิด




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a005.jpg)

6. ชุดสายเชื่อมแบบ 200แอมป์ ที่มากับเครื่อง




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a006.jpg)

7. จากนั้นมาเปลี่ยนชุดปลายสาย จากแบบ 200 แอมป์ มาเป็นแบบ พานา 350 แอมป์
     คือ เข้าใจว่าตัวเชื่อมแบบ 200A. จุดกระแสที่ผ่านไปลวดมันอาจส่งผ่านกระแสได้ไม่ดี และของติดระบบมาดูมันก๊องแก๊ง (คิดไปเอง)




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a007.jpg)

8. ชื่อเรียก ส่วนประกอบของหัวเชื่อม พานา 350 แอมป์
    เปลี่ยนเพราะเข้าใจว่ามันน่าจะส่งผ่านกระแสได้ดีกว่า (คิดไปเอง)




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a008.jpg)

9. ส่วนประกอบของหัวเชื่อม พานา 350 แอมป์




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a009.jpg)

10. เวลาลงสนามต้องพกชิ้นส่วนไปแบบที่เห็น
     ปลายหัวเชื่อมในภาพ ผมถอดฝาครอบ (Nozzle) ที่ปลายออกครับ จึงเห็นหัวเชื่อม หรือ คอนแทคทิป เพราะก่อนหน้านั้น สะเก็ดเม็ดเหล็กมันชอบกระเด็นเข้าไปอุดระหว่างปลายหัวเชื่อม กับฝาครอบ ทำให้การอาร์คไม่สม่ำเสมอ จึงต้องเอาชุดปลายหัวเชื่อมมาจุ่มน้ำเป็นระยะ แล้วเอาเหล็กแหลมๆ แหย่เข้าไปแคะเอาเม็ดเหล็กออก
     อย่าทะลึ่งซื้อครีม/น้ำยาล้างหัวเชื่อมที่มีขายมาใช้เชียว เพราะมันจะทำให้เม็ดสเก็ดเหล็กติดและแคะแงะออกยาก ผมซื้อน้ำยาบ้านั้นมาใช้2-3 ยี่ห้อ สรุปไม่ตอบโจทย์ จึงจุ่มน้ำและแคะแงะ จบ ง่ายกว่า




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a010.jpg)

11. ดูเอาอะไหล่ที่ตุน




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a011.jpg)

12. อะไหล่ที่ตุน




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a012.jpg)

13. Contact Tip หรือปลายหัวเชื่อม ที่เสียหายจากการติดๆ ขัดๆ ตัน อาร์คด้านใน




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a013.jpg)

14. Contact Tip หรือปลายหัวเชื่อม กับการแก้ปัญหาขั้นเทพ ที่กล่าวไว้ตอนจั่วหัวมันอยู่ที่ขั้นตอนนี้ครับ
     คือหัวเชื่อมที่เสียหาย ส่วนมากจะมาจาก
     14.1 สะเก็ดโลหะร้อนกระเด็นมาติดปลายเชื่อมทำให้ลวดเดินไม่สะดวก
     14.2 หรือชุดสายเชื่อมอยู่ในตำแหน่ง คดมากไป ไม่มีวงโค้ง ทำให้การส่งลวดมาในสายเดินไม่สะดวก ทำให้เกิดการอาร์คภายในหัวเชื่อม
     14.3 การตันของหัวเชื่อมจากสาเหตุอื่น

     ทำให้ปลายหัวเชื่อหรือคอนแท็กทิปเสีย ต้องถอดทิ้งเป็นกอง (ราคาตัวนึงประมาณ 15-20 บาท) จะทำงานเชื่อมอะไรงานนึงต้องตุนหัวเชื่อมเป็นแพ็ก มันโหดไป
     ผมเลยมานั่งหาทางแก้ไขดัดแปลง และมานั่งผ่าหัวเชื่อมดู ได้ข้อสรุปว่า มันจะชอบมีปัญหาตรงด้านปลายแทบทุกตัว มาระยะหลังเลยทดสอบโดยการเจียร หรือเอาใบขัดกระดาษทรายติดเครื่องเจียร มาเจียรหรือขัดที่ปลายหัวเชื่อม ก็จะได้หัวเชื่อมกลับมาใช้งานโดยไม่ต้องซื้อใหม่
     การเจียร ก็สามารถทำได้จนถึงครึ่งก็โยนทิ้งได้แล้วครับ
     อย่าสับสนว่าเจียรปลายหัวเชื่อมออกจนเหลือน้อยแล้วกระแสจะส่งผ่านไปหาลวดเพื่อไปอาร์ค มันจะพอหรือ ให้อ่านข้อต่อไป ตาท่านจะได้สว่างครับ




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a014.jpg)

15. ให้ดูท่อสปริง เพื่อส่งลวดไปสนามรบ
    ท่านเห็นสปริง (ท่อส่งลวด) ไหมครับ มันยาวตลอดตั้งแต่ตัวเครื่องยันปลายหัวเชื่อม นั่นแหละครับคือตัวนำไฟฟ้าไปหาเส้นลวดเชื่อม เข้าใจแล้วนะจะได้ไม่ต้องมาค้าน มันยาวขนาดนั้นแน่นอนมันต้องส่งต่อกระแสไปหาเส้นลวดได้ดีมาก และที่สำคัญลดการอาร์คด้านในได้ด้วย
https://maps.app.goo.gl/jDgnowMR52N6wCLw7 (https://maps.app.goo.gl/jDgnowMR52N6wCLw7)
     ก็ในเมื่อเราไม่ได้ใช้ก๊าซคาร์บอน (Co2) ในการช่วยเชื่อม เพราะเราใช้ลวดแบบฟลั๊กซ์คอร์ แล้วท่านจะเอามันไว้ให้สร้างปัญหาทำไมครับ ก็ถอดเก็บไว้ซ๊ะ
     เอาไว้ตามภาพที่เห็นนั่นแหละ มันจะทำให้การเชื่อมแจ๋มแจ๋วสะเแด่วเแห้วไม่ติดขัดกวนใจ การเชื่อมสารพัดแนวงามตระการตา การเชื่อมที่ยุ่งยาก เช่น เอาเหล็กกลมมาแป่ะข้างเหล็กกล่องแล้วเชื่อม จะทำให้การเชื่อมเคสนี้หมูไปเลย
     เพราะถ้าไม่มีฝาครอบ เราจะเห็นการอาร์คของเส้นลวดตลอดเวลา ทำให้การบังคับแนวลวดเป็นไปด้วยดี การเสียหายจากหัวคอนแท็กทิปก็แทบจะไม่มี




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a015.jpg)

16. การเชื่อมแบบเทพๆ ก็ด้วยวิธีถอดฝาครอบ (Nozzle) ไปเลยไม่ต้องใช้
     ก็ในเมื่อเราไม่ได้ใช้ก๊าซคาร์บอน (Co2) ในการช่วยเชื่อม เพราะเราใช้ลวดแบบฟลักซ์คอร์ แล้วท่านจะเอามันไว้ให้สร้างปัญหาทำไมครับ ก็ถอดเก็บไว้ซ๊ะ
     เอาไว้ตามภาพที่เห็นนั่นแหละ มันจะทำให้การเชื่อมแจ๋มแจ๋วสะเแด่วเแห้วไม่ติดขัดกวนใจ การเชื่อมสารพัดแนวงามตระการตา การเชื่อมที่ยุ่งยาก เช่น เอาเหล็กกลมมาแป่ะข้างเหล็กกล่องแล้วเชื่อม จะทำให้การเชื่อมเคสนี้หมูไปเลย
     เพราะถ้าไม่มีฝาครอบ เราจะเห็นการอาร์คของเส้นลวดตลอดเวลา ทำให้การบังคับแนวลวดเป็นไปด้วยดี การเสียหายจากหัวคอนแท็กทิปก็แทบจะไม่มี




(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic%2C7839/a016.jpg)

17. การเชื่อมลักษณะนี้ต้องพกแปลงทองเหลือง
     ใช่แล้ว แปลงทองเหลืองมีด้ามตามภาพ ต้องมีคู่กัน เพราะเอาไว้ขัดถูหลังจากเชื่อมเสร็จ เพื่อทำความสะอาด





ชี้ทางสว่างให้ขนาดนี้แล้ว ใครไม่เคยลองไปลองดูครับ ได้ความว่าไงมาบอกกันมั่ง
         
จบข่าว....