:: GPStt.com ::

หมวด บอร์ดทั่วไป
=> สารพันความรู้ - เทคโนโลยี => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 01 ตุลาคม 2566, เวลา 19:59:28 น.

หัวข้อ: การเลือกใช้สวิทช์แสงแดด หรือ สวิทช์ปิด/เปิดแสงสว่างตามดวงอาทิตย์ (Photo Electric Switch)
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 01 ตุลาคม 2566, เวลา 19:59:28 น.
[attach=1] (http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_001-2.JPG)

การเลือกใช้สวิทช์แสงแดด หรือ สวิทช์ปิด/เปิดแสงสว่างตามดวงอาทิตย์  (Photo Electric Switch)


การเลือกใช้สวิทช์แสงแดด หรือ สวิทช์ปิด/เปิดแสงสว่างตามดวงอาทิตย์
   เชื่อว่าหลายคน รู้จักหรือเคยใช้สวิทช์แสงแดดเพื่อปิดเปิดแสงไฟตามแสงแดดกันแทบทุกคน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า สวิทช์แสงแดดมันมี 2 ประเภท ที่รูปร่างภายนอกเหมือนกัน





(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_002.JPG)

1. แบบไบเมทัล
     คือสวิทช์ปิดเปิดแสงสว่างแบบเก่าแบบยุคแรก ที่ใช้อุปกรณ์วงจรประมาณ 3 ชิ้น คือ
     1.1  LDR คือตัวต้านทานปรับค่าได้เมื่อตัวมันโดนแสง ค่าที่วัดได้โดยประมาณเมื่อได้รับแสงหรือไม่มีแสง 80 Ω - 1.3 MΩ
     1.2  รีซีสเตอร์ 42 KΩ 1Watt  เมื่อรับแรงดันไฟฟ้ามาตกคร่อม จะทำให้ตัวมันเอง อุ่น+ร้อน
     1.3  ชุดแผ่นไบเมทัล ทำหน้าที่ตัด/ต่อไฟฟ้า

(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_002.JPG)

(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_003.JPG)

(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_004.JPG)

(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_006.JPG)

   เมื่อเอา 3 ชิ้นมารวมกันทำงาน ก็คือ LDR เมื่อได้รับแสงจ้าหรือมืด จะปล่อยแรงดันไฟฟ้ามากหรือน้อย ไปหารีซีสเตอร์ที่พันบนเหล็กไบเมทัลเพื่อให้อุ่น/ร้อน ทำให้แผ่นไบเมทัลแอ่นตัวไปดันกระเดื่องเพื่อปิด/เปิดไฟฟ้า
   ชุดปิดเปิดแสว่างชุดลักษณ์นี้ทนทายาท เพราะมันไม่มีอะไรซับซ้อน เสียก็ซ่อมได้ เปลี่ยนอะไหล่เอง ที่เสียตามกาลเวลาคือ LDR และ R ที่พันบนแผ่นไบเมทัล มีแค่นี้ เห็นปร่ะว่ามันซ่อมง่ายๆ


(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_007.JPG)

(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_008.JPG)

ข้อสังเกตุในเบื้องต้นถ้าสั่งซื้อทางออนไล์ และโอกาสได้สินค้าผิดพลาดน้อย ก็ยี่ห้อด้านบนครับ





(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_009.JPG)

2. แบบอีเล็คทรอนิคส์
    รูปร่างด้านนอกเหมือนกัน แต่ภายในเป็นระบบอีเล็คทรอนิคส์ ในวงจรมี ไอซี  รีซีสเตอร์ ทรานซิสเตอร์ คอนเดนเซอร์ ไดโอด และรีเลย์ ชุดปิดเปิดแสงสว่างแบบที่สองนี้ไม่ทน อย่าหาซื้อเข้าบ้านนะครับ บอกไว้ก่อน เพราะอะไรก็ตามถ้ามี ไอซี ทรานซิสเตอร์ หรือ..อุปกรณ์พวกสารกึ่งตัวนำไปประกอบให้วงจรทำงาน แน่นอนครับอุปกรณ์พวกนี้ไม่สามารถทนแรงดันที่ไม่นิ่งได้นาน เช่น ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ไฟกระชาก จะทำให้ไฟเกินในวงจรแวบนึงและวงจรนั้นก็เสียหายทันที
    อุปกรณ์ตัว/รุ่นนี้ใช้กันมากกับระบบปิด/เปิดไฟแสงสว่างถนน โดยที่ตัวนี้อยู่ในกล่องพลาสติคสีฟ้าหรือน้ำเงิน ครอบลงกระบอกสแตนเลส ติดตามเสาไฟฟ้าแหละ ใช้แบบนี้ทั้งนั้น เสียง่ายๆ หน่วยงานดูแลถนนเค้าชอบใช้ เบิกจ่ายงบ/เงินทอนกันง่ายดี มีบางหน่วยงานมาจ้างผมซ่อม ผมก็เอาชุดตามข้อ1 ยัดใส่ลงไป ผลคือ ทนทายาท และไม่จ้างผมซ่อมอีกเลย.....ฮา เพราะขัดผลประโยชน์กับรายได้เงินทอนเค้า พอมันเสียน้อยหรือไม่เสียเลย ค่าเหล้าค่าเบียร์หายหมด ใครจะมาจ้างเราซ่อม.....กำ





  เราจะทราบได้ไงว่าอุปกรณ์ที่เราไปซื้อ มันใช้ตามที่เราต้องการไหม แน่นอนครับ งานนี้เวลาผมไปซื้อ จะพกไขควงเช็คไฟไปแกะดูเลย คนขายมันจะว่าไงไม่สนครับ ผมอ้างว่าผม...ต้องการสวิทช์แสงแดดแบบนี้ ถ้าไม่แกะภายในผมจะทราบได้ไง เพพาะที่ขายกันอยู่แทบทุกร้านมันเป็นแบบที่2 คือแบบที่มีอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอยู่ในนั้น
  ฉะนั้นเมื่อผมต้องการใช้ ต้องเดินทางไปร้าน ไควัสดุ, อเมริกาโฮม, ดุ่ยโฮม สารพัด เลยต้องทำตามที่อธิบาย เซลล์มันบอกห้ามแกะผมไม่สนหรอกครับ ในเมื่อคุณขาย คุณไม่ถ่ายภาพด้านในประกอบการขาย ผมก็ต้องแกะครับ ฉะนั้นมันจะเป็นรูปแบบด้านล่างครับ ที่มันทนอิ๋บอ๋าย
  ที่ต้องไปเอง ไปเอาเจ้าตัวนี้มาทำสื่อบทความให้ท่านดู/อ่าน จะได้เข้าใจ เพราะจะเขียนบทความนี้นานแล้ว แต่ลืมทุกครั้ง วันนี้เลยตั้งใจไปจัดหามาแกะถ่ายภาพ พร้อมอธิบายให้ท่านทราบ จะได้ตาสว่างกัน ไม่ให้คนขายหรือทางร้านหลอกแดก "ว่ามันก็เหมือนกันแหละ " ผมละเกลียดวลีคำพูดแบบนี้ของคนขายจังเลย ไม่รู้ก็น่าจะรับฟังเหตุผลคนใช้งานก่อน ถ้าเค้าไม่รู้ เค้าคงไม่ขอแกะหรอกครับ
  จริงๆเราแอบแกะตอนคนขายยืนอยู่ไกลๆ จะได้ไม่เรื่องเยอะ หรือ ไม่ต้องมาเจือกกะเรื่องของตรู ตรูเลือกเอง ซื้อเอง ใช้เอง จบ...