[attach=1]
อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ (Thong Pha Phum)
พิกัดGPS อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ N14.69256 E98.40493
www.park.dnp.go.th/9126-อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ (http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=9126)
ด้วยสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ส่งเรื่องแผนการป้องกันอนุรักษ์และพัฒนาป่าอนุรักษ์ภาคตะวันตก ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้ เสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพัฒนา พิจารณาเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณา ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2534 คณะกรรมการการกลั่นกรองฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ เสนอความเห็นชอบ การคุ้มครองพื้นที่เขตแดนพม่าให้เป็นป่าผืนใหญ่ผืนเดียวกัน เพื่ออนุรักษ์ให้เป็นระบบนิเวศที่มั่นคงและเป็นแหล่งทรัพยากรพันธุกรรมพืชและสัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศตลอดไป ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2534 ลงมติเห็นชอบตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ โดยกรมป่าไม้ได้ดำเนินการตามแผนการป้องกันอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้อนุรักษ์ภาคตะวันตก ในรูปแบบอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าห้วยเขย่งและป่าเขาช้างเผือก ในเขตท้องที่อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี เป็นพื้นที่ป่าที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 700,000 ไร่ หรือ 1,120 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อดังนี้ ทิศเหนือจดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ทิศใต้จดอุทยานแห่งชาติไทรโยค ทิศตะวันออกจดอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ทิศตะวันตกจดเขตแดนไทย-พม่า ส่วนอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2543 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้
ขนาดพื้นที่
772214.25 ไร่
หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.2 (ไม้ยักษ์)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.3 (โป่งพุร้อน)
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.4 (ผาอ้น)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.5 (บ้านไร่)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.6 (โป่งช้าง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติฯ ที่ ทภ.7 (เวียคะดี้)
ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน แนวเขาวางตัวในแนวทิศเหนือ-ใต้ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี มีพื้นที่ราบลุ่มเป็นจำนวนน้อย ความสูงของพื้นที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-1,249 เมตร มีเขาช้างเผือกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของพื้นที่เป็นยอดเขาสูงสุด สูง 1,249 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ยอดเขาที่สำคัญ ได้แก่ เขาช้างเผือก เขานิซา เขาพุถ่อง เขาด่าง เขาปาก ประตู เขาเลาะโล เขาประหนองโทคี เขาชะโลง ฯลฯ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลำห้วยต่างๆ เช่น ห้วยมาลัย ห้วยกบ ห้วยซ่าน ห้วยองค์พระ ห้วยปีคี ห้วยปากคอก ห้วยเจ็ดมิตร ฯลฯ โดยไหลลงสู่ที่ราบทิศตะวันออก ลงสู่เขื่อนเขาแหลม และลำน้ำอีกส่วนไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อย
ลักษณะภูมิอากาศ
เป็นแบบมรสุมเมืองร้อน จึงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม
พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของผืนป่าตะวันตกที่คงความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ สามารถจำแนกประเภทแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ได้แก่
1) ป่าดิบชื้น มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ตะเคียน ยางขาว ยางยูง ไก่เขียว เคี่ยม กันเกรา จำปาป่า มะหาด เนียง พืชพื้นล่างมีพวก หวาย เฟิน เตย และปาล์ม
2) ป่าดิบแล้ง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ยางขาว ยางแดง ตะเคียน ยมหอม จำปีป่า กระบาก มะม่วงป่า มะแฟน แดงดง มะไฟป่า สมพง พืชพื้นล่างมีพวก ปาล์ม ข่า และเฟินต่างๆ ฯลฯ
3) ป่าดิบเขา มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ก่อชนิดต่างๆ กำลังเสือโคร่ง มณฑาป่า พระเจ้าห้าพระองค์ กำยาน อบเชย ทะโล้ พืชพื้นล่างได้แก่ มอส เฟินต่างๆ
4) ป่าเบญจพรรณ พบมากที่สุด มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ ประดู่ แดง ตะแบก เสลา ส้าน มะค่าโมง อินทนิล ตุ้มเต๋น ตะคร้อ ตะคร่ำ กระพี้เขาควาย ขะเจ๊าะ มะเกลือ กาสามปีก สมอพิเภก กระบก มะกอก พืชพื้นล่างมีพวก ไผ่ไร่ ไผ่ซาง ไผ่บง ไผ่ข้าวหลาม ไผ่รวก และพืชพวกไม้หนาม เป็นต้น
อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเป็นจำนวนมาก เนื่องจากป่าเป็นผืนเดียวกันกับประเทศพม่า จึงมีการย้ายถิ่นฐานไปมาอยู่เป็นประจำ และเนื่องจากไม่มีราษฎรอยู่ในพื้นที่ป่ามากนักจึงทำให้สัตว์ป่าไม่ถูกรบกวน ที่พบเห็นเป็นประจำได้แก่ ช้างป่า เลียงผา กวาง เก้ง กระจง หมูป่า หมี ลิง ค่าง บ่าง ชะนี อีเห็น ชะมด เสือปลา เสือลายเมฆ เสือโคร่ง หมีคน หมีควาย กระรอกบิน กระแต หนูหริ่ง พังพอน ค้างคาว กระต่ายป่า แมวป่า หมาไน เม่น นกเงือก นกนางแอ่น เหยี่ยว นกกระสา นกอินทรีย์ นกฮูก นกปรอด นกแขวก นกเค้าแมว นกแสก นกกระปูด นกเอี้ยง นกกางเขน นกขมิ้น นกกระทาดง นกกวัก นกขุนทอง นกแซงแซว นกหัวขวาน นกดุเหว่า อีกา ไก่ป่า ตะกวด ตุ๊กแกป่า กิ้งก่าบิน จิ้งเหลน แย้ ตะขาบ แมงป่อง กิ้งกือ ทาก ปลิง ตะพาบน้ำ กบ เขียด คางคก อึ่งอ่าง ปลาเวียน ปลาซิว ปลาก้าง ปลาช่อน ปลาไหล ปลากระทิง ปลาตะเพียน ปลาหมอ ปลาแขยง และปลาชะโด เป็นต้น
ภาพทิวทัศน์
(http://park.dnp.go.th/dnp/ptascenethumb/9126scene280611_114659.jpg) (http://park.dnp.go.th/dnp/ptascene/9126scene280611_114659.jpg)
จุดชมทะเลหมอก เป็นสถานที่สำหรับกางเต็นท์พักแรม บริเวณพื้นที่เนินกูดดอย - เนินช้างเผือก รอบๆบริเวณจะอุดมไปด้วยไม้ประจำถิ่นประเภทไม้ก่อต่างๆ ทะโล้ ไม้ไผ่ และไม้หายากอีกหลายชนิด
(http://park.dnp.go.th/dnp/ptascenethumb/9126scene280611_114801.jpg) (http://park.dnp.go.th/dnp/ptascene/9126scene280611_114801.jpg)
เขาช้างเผือก จัดเป็นหนึ่งในกิจกรรมเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะไกล มีระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร และต้องพักแรมบนเขา เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวในการเดินศึกษาธรรมชาติ เพื่อพิชิตยอดเขาช้างเผือก และเป็นจุดชมวิวทิวทัศน์ที่สวยที่สุดในภาคตะวันตก
(http://park.dnp.go.th/dnp/ptascenethumb/9126scene280611_114848.jpg) (http://park.dnp.go.th/dnp/ptascene/9126scene280611_114848.jpg)
น้ำตกจ๊อกกระดิ่น ต้นน้ำแห่งนี้ได้ไหลผ่านหมู่บ้านอีปู่ถึงน้ำตกจ๊อกกระดิ่น มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ในยามหน้าฝนสายน้ำจะไหลพรั่งพรู สวยงามมาก ยามหน้าแล้งสายน้ำก็ยังคงไหลอยู่ตลอดเวลา เพราะแหล่งต้นน้ำเกิดจากเขาอีปู่ในของเหมืองทังสเตน เป็นน้ำผุดขึ้นจากเหมืองแห่งนี้
(http://park.dnp.go.th/dnp/ptascenethumb/9126scene280611_115827.jpg) (http://park.dnp.go.th/dnp/ptascene/9126scene280611_115827.jpg)
ดอยต่องปะแล เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงาม สามารถมองเห็นน้ำตกจ๊อกกระดิ่น ชายแดนไทย – สหภาพพม่า หมู่บ้านอีต่อง ที่สำคัญเป็นจุดชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าในยามเย็นที่สวยงาม
(http://park.dnp.go.th/dnp/ptascenethumb/9126scene150113_135815.jpg) (http://park.dnp.go.th/dnp/ptascene/9126scene150113_135815.jpg)
น้ำตกจ๊อกกระดิ่นใหญ่ เป็นน้ำตกชั้นเดียว มีความสูงประมาณ 50 เมตร ไหลจากหน้าผาลงสู่แอ่งน้ำกว้าง บริเวณน้ำตกสามารถเล่นน้ำได้ เหมาะสำหรับผู้ที่รักธรรมชาติและเดินทางไกล
(http://park.dnp.go.th/dnp/ptascenethumb/9126scene150113_140313.jpg) (http://park.dnp.go.th/dnp/ptascene/9126scene150113_140313.jpg)
บึงน้ำทิพย์ มีลักษณะเป็นหลุมยุบขนาดใหญ่อยู่กลางหุบเขาบนเทือกเขาหินปูน ความใสของน้ำยามมองจากบนที่สูงเมื่อน้ำสะท้อนกับหน้าผาและต้นไม้จะมองเห็นได้ชัดเจน เสมือนดังภาพวาดของจิตรกรขนาดใหญ่ที่ประดับไว้กลางป่าอย่างสวยงาม
(http://park.dnp.go.th/dnp/ptascenethumb/9126scene150113_140615.jpg) (http://park.dnp.go.th/dnp/ptascene/9126scene150113_140615.jpg)
ต้นไม้ยักษ์ ต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่กลางหุบเขา เป็นต้นขมิ้นดำหรือไข่เขียว อยู่กลางหมู่ไม้ยืนต้นหลายชนิด
(http://park.dnp.go.th/dnp/ptascenethumb/9126scene150113_141229.jpg) (http://park.dnp.go.th/dnp/ptascene/9126scene150113_141229.jpg)
น้ำตกโป่งกระดังงา เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงาม สายน้ำตกจะไหลลดหลั่นลงมาเกิดเป็นชั้นต่างๆ อีก 4 ชั้น ในแต่ละชั้นก็จะมีความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกจ๊อกกระดิ่น
ข้อมูลทั่วไป...
คำว่า “จ๊อกกระดิ่น” หรือ “ก๊อกกระด่าน” เป็นภาษาพม่า - ทวาย (ซึ่งคำว่า “จ๊อกหรือก๊อก”แปลว่า หิน” คำว่า “กระด่าน”แปลว่า “น้ำตก”) เมื่อคนไทยเรียกจึงเพี้ยนไปเป็นน้ำตกจ๊อกกระดิ่น โดยจากต้นน้ำแห่งนี้ได้ไหลผ่านหมู่บ้านอีปู่ถึงน้ำตกจ๊อกกระดิ่น มีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ในยามหน้าฝนสายน้ำจะไหลพรั่งพรู สวยงามมาก ยามหน้าแล้งสายน้ำก็ยังคงไหลอยู่ตลอดเวลา เพราะแหล่งต้นน้ำเกิดจากเขาอีปู่ในของเหมืองทังสเตน เป็นน้ำผุดขึ้นจากเหมืองแห่งนี้ ซึ่งสมัยก่อนแหล่งน้ำแห่งนี้เป็นพุน้ำร้อน เมื่อมีการทำเหมืองแร่เกิดขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบันน้ำไม่ร้อนแล้ว
ดอยต่องปะแล
ข้อมูลทั่วไป...
เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ อยู่ห่างจากบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ ประมาณ 1,200 เมตร เมื่อได้ขึ้นไปถึงจะมองเห็นน้ำตกจ๊อกกระดิ่น ชายแดนไทย – สหภาพพม่า หมู่บ้านอีต่อง ที่สำคัญเป็นจุดชมพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าในยามเย็นที่สวยงามและได้บรรยากาศที่สุด
น้ำตกสัตตมิตร
ข้อมูลทั่วไป...
ชื่อสถานที่มาจากหุ้นส่วนของการทำเหมืองแร่(เหมืองสัตตมิตร)จำนวนเจ็ดคนมานั่งรวมกันเพื่อรับประทานอาหารบริเวณนี้ จึงตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่บุคคลทั้งเจ็ด น้ำตกสัตตมิตรมีทั้งหมด 4 ชั้น ชั้นที่สูงที่สุดอยู่ที่ชั้นที่ 4 สูงประมาณ 80 – 100 เมตร แหล่งต้นน้ำไหลมาจากเขาแดน ซึ่งเป็นป่าที่อยู่ในเขตประเทศพม่า ซึ่งในป่าดังกล่าวไม่มีพันธุ์ไม้พื้นล่าง ทำให้สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล สำหรับลำห้วยเดิมนั้นจะไหลกลับเข้าพม่า จนเมื่อมีการทำเหมืองแร่ก็ได้กั้นทางน้ำเข้ามาในประเทศไทย เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการทำเหมืองแร่ จนเป็นน้ำตกสัตตมิตรในปัจจุบัน
ที่ตั้งและแผนที่
สถานที่ติดต่อ : ตู้ ปณ.18 อ. ทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรี 71180
โทรศัพท์ : 08 1382 0359, 034-532114
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายเจริญ ใจชน
การเดินทาง
รถยนต์
ออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงตัวเมืองกาญจนบุรี ระยะทางประมาณ 123 กิโลเมตร จากตัวเมืองกาญจนบุรี ใช้ทางหลวงหมายเลข 323 สายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ ถึงตลาดอำเภอทองผาภูมิระยะทางประมาณ 141 กิโลเมตร จากตัวอำเภอทองผาภูมิ ใช้เส้นทางหมายเลข 3272 สายทองผาภูมิ – บ้านไร่-ปิล๊อก ถึงสามแยกบ้านไร่เลี้ยวซ้ายไปตาม เส้นทางคดเคี้ยวบนเขา ที่ทำการอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิซึ่งจะตั้งอยู่ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 21 - 22 เป็นเส้นทางลาดยางตลอดสาย
รถโดยสารประจำทาง
ขึ้นรถจากสถานีขนส่งสายใต้ลงที่สถานีขนส่งจังหวัดกาญจนบุรีและต่อรถประจำทางสายกาญจนบุรี – ทองผาภูมิ ลงที่ตลาดอำเภอทองผาภูมิ จากนั้นต่อรถประจำทางสายทองผาภูมิ – บ้านอีต่อง
ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ
(http://park.dnp.go.th/dnp/ptamap/9126map040209_103452.jpg)
พิกัดGPS อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ N14.69256 E98.40493
http://maps.google.co.th/maps?um=1&hl=th&client=firefox-a&rls=org.mozilla:th:official&biw=1280&bih=631&q=N14.69256 E98.40493 (http://maps.google.co.th/maps?um=1&hl=th&client=firefox-a&rls=org.mozilla:th:official&biw=1280&bih=631&q=N14.69256 E98.40493)
(http://park.dnp.go.th/dnp/ptamap/9126map240713_100749.jpg)
ที่มาข้อมูล...ขอบคุณ
www.park.dnp.go.th/9126-อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ (http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=9126)