:: GPStt.com ::

หมวด บอร์ดทั่วไป
=> วิทยุสื่อสาร, สายอากาศ, โปรแกรม => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 27 มกราคม 2559, เวลา 09:40:54 น.

หัวข้อ: ความเข้าใจผิดๆ กับการเอาคอยล์ขดลวดของสายอากาศ-เสาอากาศ ไปชุบเงิน หรือชุบทอง
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 27 มกราคม 2559, เวลา 09:40:54 น.
[attach=1]

ความเข้าใจผิดๆ กับการเอาคอยล์ขดลวดของสายอากาศ-เสาอากาศ ไปชุบเงิน หรือชุบทอง


    อยากจะเขียนเรื่องนี้ให้ชัดเจนเห็นแจ้งมาหลายครั้งแล้ว แต่เกรงว่าบรรดาท่านสาวกนักวิทยุสมัครเล่นจะรับไม่ได้ เวลาเนิ่นนานผ่านไป ผู้คนก็เริ่มให้ความสนใจเอาคอยล์ไปชุบเงิบชุบทองกันมากมาย ร้านค้าก็โหมกระหน่ำคุณภาพกันเอาเป็นเอาตาย

    ก่อนจะเขียนต่อ ผมจะแนะนำตนเองคร่าวๆก่อนนะครับ ตัวผมเองและเพื่อนๆ ที่ก่อตั้งกลุ่มเว็บนี้ทำงานด้านโทรคมระดับปฏิบัติการที่วางระบบสื่อสารให้ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านมากว่า 30 ปี (ไม่ขอแจ้งต้นสังกัด) จึงแจ้งข้อมูลไว้พอสังเขตถ้าเผื่อมีใครจะมาทักท้วง

    ต่อนะครับ ถ้าท่านที่จบทางสายช่างมา ไม่ว่าจะช่างสาขาอะไรก็แล้วแต่อย่างน้อย 1 เทอมในระดับ ปวช.1 ท่านจะต้องเรียนไฟฟ้าเบื้องต้นมาแน่นอน และในคอร์สไฟฟ้านี้จะต้องเรียนเรื่องการนำไฟฟ้าของวัสดุต่างๆ แน่นอนครับ โลหะเงิน โลหะทอง ก็ไม่พลาดที่จะนำมาบอกกล่าวในห้องเรียนว่าโลหะพวกนี้นำไฟฟ้าดีระดับไหน แต่นั่นคือในห้องเรียนครับ แล้วท่านก็จำประติดประต่อมาจนปัจจุบัน ว่าเงินและทองนำไฟฟ้าได้ดีกว่า

   และนำความคิดแค่ที่มี มาสู่ระบบสายอากาศ/เสาอากาศ ว่าคอยล์จะต้องชุบดังว่าเพื่อไปเร่งปฎิกิริยาทางไฟฟ้าให้เดินทางได้เร็ว ผมอ่านแล้วต้องร้องว๊า..!!

ผมจะเปรียบเทียบง่ายๆ จะได้เห็นภาพ
ท่านลองดูขบวนรถไฟ 1 ขบวนยาวเป็นกิโลฯ แต่มีหัวรถจักรที่ลากถึง 3 หัวอยู่ในขบวนนั้น

1. หัวรถจักรท้ายขบวน เปรียบเทียบ เป็นสายนำสัญญาณ
    ล็อกความเร็วไว้ที่ 80 กม./ชม.
    ก็หมายถึงค่าการนำไฟฟ้ามันมีค่าเท่านี้ เร็วกว่านี้ไม่ได้แล้ว

2. หัวรถจักรกลางขบวน เปรียบเทียบ เป็นคอยล์ขดลวด ที่เอาไปชุบเงินชุบทอง
    พยายามเร่งความเร็วให้ถึง 120 กม./ชม. เร่งให้ตายรถไฟก็วิ่งได้แค่ 80 กม./ชม. เพราะหัวกับหางมันกดไว้
    แต่ความรู้สึกคุณ ว่ามันได้ความเร็วมากขึ้น

3. หัวรถจักรหัวขบวน เปรียบเทียบ เป็นปลายสายอากาศสแตนเลส
    ล็อกความเร็วไว้ที่ 80 กม./ชม.
    ก็หมายถึงค่าการนำไฟฟ้ามันมีค่าเท่านี้ เร็วกว่านี้ไม่ได้แล้ว

    คราวนี้คุณลองมองภาพรวมของข้อ1-3 สิครับ ว่าเจ้าหัวขบวน กับท้ายขบวนมันถูกล็อกความเร็วไว้ แต่คุณไปเร่งเครื่องยนต์ที่กลางขบวน ถามว่าขบวนรถไฟมันจะทำความเร็วเกินกว่า  80 กม./ชม. ได้หรือไม่ ลองไปคิดเองนะ ผมยกตัวอย่างไว้แค่นี้

และที่สำคัญไปกว่านั้น ระบบไฟฟ้ามันทำงานต้องครบวงจรของมัน ไม่เช่นนั้นการทำงานจะไม่สมบูรณ์หรือไม่สามารถทำงานต่อไปได้ คุณไปเร่งอีเล็คตรอนกลางทางให้หนีต้นทาง แล้วไปดันปลายทาง แค่นี้คุณก็เข้าใจผิดแล้ว เพราะอีเล็คตรอนมันจะเกาะกันเป็นลูกโซ่ไปตลอดทั้งวงจร ไม่สามารถทำให้มันหลุดจากกันได้

เอาคร่าวๆแค่นี้คงพอนะ ถ้าเขียนยาวสงสัยคงต้องใช้ศัพท์เทคนิคแน่นอน ไม่งั้นอธิบายยาวแน่ๆ ถ้าใช้ศัพท์เทคนิคมากไป คนทั่วไปก็อ่านไม่เข้าใจอีก หวังว่าข้อความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับหลายท่านที่คิดแบบนั้น จะได้ล้มเลิกความคิดผิดๆ ที่ส่งต่อกันมาด้วยความรู้สึกว่ามันต้องดีอย่างโน้น ดีอย่างนี้ เล่นเอาความรู้สึกมาตัดสินกันล้วนๆ ขาดหลักการมีแต่หลักกรู...




อ้างถึง
สรุปคือ เอาขดลวดไปชุบเงิน/ชุบทอง เข้าใจไปเองว่าคลื่นจะได้เคลื่อนที่เร็ว
1. แต่ๆๆๆ สายนำสัญญาณต้นทางยาว 80% เป็นแกนทองแดงไม่ชุบ
2. ทะลึ่งไปชุบตรงคอยล์ที่ยาวแค่ 5%
3. และชุดปลายสายอากาศ 15% ไม่ชุบอีกตะหาก

แบบนี้ไม่เรียกกระบือ จะให้เรียกอะไรครับ