:: GPStt.com ::

หมวด ข่าวสาร อุปกรณ์ท่องเที่ยว
=> แหล่งท่องเที่ยวใน โครงการหลวงฯ, อุทยานแห่งชาติ => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557, เวลา 15:00:13 น.

หัวข้อ: ข้อมูลชนเผ่า "ลั๊วะ"
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557, เวลา 15:00:13 น.
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/img-royalproject/logo.png) (http://www.thairoyalprojecttour.com/?cat=18)


ข้อมูลชนเผ่า   "ลั๊วะ"


[attach=1] (http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/Lua-5.jpg)

ประวัติความเป็นมา

ประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว  ก่อนที่พวกมอญจะนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่เขตลุ่มน้ำปิง  บรรพบุรุษของละว้า ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่แล้ว  ละว้าหรือที่คนไทยภาคเหนือเรียกว่า “ลั๊วะ”  นั้น  เป็นกลุ่มชนออสโตรนีเซียน และเรียกตัวเองว่า“ละเวียะ”  ถิ่นกำเนิดที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด  แต่เป็นที่เชื่อกันว่าอพยพมาจากทางตอนใต้ของไทย  มลายา  หรือ เขมร  เมื่อประมาณ 2,000  ปีมาแล้ว  บางคนเชื่อว่า พวกลั๊วะ  เป็นเชื้อสายเดียวกับพวกว้าที่อยู่ทางภาคเหนือของเมียนมาร์และตอนใต้ของมณฑลยูนนานในประเทศจีน  เพราะมีความคล้ายคลึงกันทางด้านภาษา  ลักษณะรูปร่างและการแต่งกาย

พวกลั๊วะได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมืองเชียงใหม่  เมื่อประมาณ 900 ปีมาแล้ว  พวกมอญจากลพบุรีซึ่งเป็นผู้สร้างเมืองลำพูนและลำปาง  ได้รุกรานพวกลั๊วะจนต้องหนีไปอยู่บนภูเขากลายเป็นชาวเขาไป  ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ 18  ชนชาติไทยได้อพยพเข้าสู่ดินแดนแถบนี้  และตีพวกมอบแตกพ่ายไปและมีสัมพันธไมตรีกับพวกลั๊วะ

พวกลั๊วะเองก็เชื่อว่า บรรพบุรุษของเขาเคยอาศายอยู่ในเชียงใหม่  และเป็นผู้สร้างวัดเจดีย์หลวงก่อนที่ไทยจะเข้าสู่ดินแดนแถบนี้  ลั๊วะมีกษัตริย์ของตนเอง และองค์สุดท้ายคือขุนหลวงวิลังก๊ะ  ซึ่งถูกพระนางจามเทวี กษัตริย์มอบแห่งนครหริกุญชัย (ลำพูน) ตีแตกพ่ายไปอยู่บนป่าเขา

มีลั๊วะบางส่วนที่อาศัยอยู่พื้นราบ  แต่พวกนี้รับวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ จากคนไทยจนสูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเองไปเกือบหมดแล้ว

ภาษา

ภาษาของลั๊วะจัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตร-เอเซียนติด  และได้รับอิทธิพลจากภาษาของพวกมอญ – เขมรด้วย  ภาษาของลั๊วะมีแตกต่างกันหลายกลุ่ม แต่แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้  2 กลุ่ม  คือกลุ่ม วาวู  ใช้พูดกันในหมู่ลั๊วะ  เขตลุ่มน้ำปิง  เช่น บ้านบ่อหลวง  อีกกลุ่มหนึ่งคือ  กลุ่มอังกา  ใช้พูดกันในเขตตะวันตก  เขตอำเภอแม่สะเรียง  จังหวัดแม่ฮ่องสอน  ความแตกต่างกันของภาษานี้  จะต่างกันไปตามหมู่บ้านที่อยู่ห่างกัน  แต่สามารถเข้าใจกันได้  นอกจากนี้ยังนำคำในภาษาไทยพื้นเมืองทางเหนือไปใช้เป็นจำนวนมาก  ทั้งยังสามารถพูดภาษาไทยได้ด้วย

ประชากร

ประชากรลั๊วะในประเทศมี 65  หมู่บ้าน  4,178  หลังคาเรือน  ประชากร 21,794  คน  คิดเป็นร้อยละ 2.38 ของประชากรชาวเขาทั้งหมดในประเทศไทย  โดยกระจายตัวกันอยู่ตามจังหวัดต่างๆ 6 จังหวัด คือ เชียงใหม่  แม่ฮ่องสอน  อุทัยธานี  สุพรรณบุรี  เชียงราย  และลำปาง
การตั้งถิ่นฐาน

หมู่บ้านลั๊วะปัจจุบันส่วนมากยังอยู่ในเขตภูเขาที่ห่างไกลจากชาชนคนไทยหมู่บ้าน หนึ่งๆ จะประกอบด้วยครัวเรือนประมาณ 20 – 100 หลังคาเรือน  โดยสร้างบ้านเรียงรายอยู่ตามแนวสันเขา  ลักษณะบ้านยกพื้นสูงคล้ายบ้านกะเหรี่ยง  แต่ลักษณะหลังคาจะมีกาแลเป็นสลักไขว้กันสองอันเป็นหน้าจั่ว หลังคาบ้านซึ่งมุงด้วยหญ้าคาหรือตองตึง จะสูงชันคลุมลงเกือบจรดพื้นดิน รอบๆ หมู่บ้านจะเป็นพื้นที่สำหรับเพาะปลูก และระหว่างพื้นที่ทำไร่กับหมู่บ้านจะมีแนวป่าซึ่งเป็นป่าแก่สงวนไว้สำหรับเป็นแนวกันไฟเวลาเผาไร่ของหมู่บ้าน

ลักษณะทางสังคม

ลั๊วะมีระบบการแต่งงานแบบผัวเดียวเมียเดียว โดยฝ่ายหญิงจะเข้าไปอยู่ฝ่ายชายและนับถือผีบรรพบุรุษฝ่ายชาย  บุตรที่เกิดมาอยู่ในสวยเครือญาติของฝ่ายพ่อในครัวเรือนหนึ่งๆ โดยทั่วไปประกอบด้วยสามี  ภรรยา บุตร  บุตรชายคนโตต้องไปสร้างใหม่เมื่อแต่งงาน  บุตรชายคนสุดท้ายจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับมรดกและเลี้ยงดูพ่อแม่ตลอดชีวิต

หน้าที่ในครัวเรือนจะแบ่งออกตามอายุและเพศ  กล่าวคือ  ผู้หญิงมีหน้าที่รับผิดชอบหาฟืน  ตักน้ำ  ตำข้าว  ทำอาหาร  และทอผ้า  ผู้ชายมีหน้าที่ซ่อมแซมบ้าน  ทำรั้ว  ไถนา  และล่าสัตว์  วนงานในไร่เป็นหน้าที่ของทั้งสองฝ่าย  ต้องช่วยกันทำ  รวมทั้งสมาชิกวัยแรงงานทุกคนในครอบครัวด้วย  งานด้านพิธีกรรมถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้ชายเกือบทั้งหมด

การปกครอง

สังคมลั๊วะ  ไม่มีตำแหน่งเฉพาะทางการปกครอง  ไม่มีการตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย  ตัดสินกรณีพิพาก  และรักษากฎระเบียบของหมู่บ้านโดยตรง  แต่ให้ความเคารพเชื่อถือหัวหน้าทางความเชื่อถือของหมู่บ้านที่เรียก “สมัง”  ให้เป็นผู้มีหน้าที่กระทำพิธีการต่าง ๆ ในนามของหมู่บ้าน  ตั้งแต่การเลือกที่ดิน
ทำไร่ของหมู่บ้านว่าดีหรือไม่ก่อนที่จะตกลงตัดไม้  การตัดสินกรณีแก่งแย่งที่ดิน ฯลฯ  โดยพิธีเหล่านี้สมัง  จะทำร่วมกับ “ลำ”  หรือผู้นำทางด้านพิธีกรรมของแต่ละกลุ่มในหมู่บ้าน  นอกจากนั้นก็มีผู้ช่วย ลำ  ซึ่งเป็นผู้ที่อายุมากในกลุ่มรองจาก ลำ  เมื่อลำ  คนเดิมเสียชีวิตลง  ผู้ช่วยก็จะเป็นผู้ได้รับตำแหน่ง ลำ คนต่อไป

เศรษฐกิจ

ลั๊วะมีเศรษฐกิจแบบยังชีพ  ขึ้นอยู่กับการทำไร่เลื่อนลอยแบบหมุนเวียนโดยจะปลูกข้าวเจ้าเป็นพืชหลัก  ลั๊วะนิยมบริโภคข้าวเจ้ามากกว่าข้าวเหนียว  และนิยมดื่มเหล้าที่ทำจากข้าวเจ้าอีกด้วย  พืชอื่น ๆ ที่ปลูกแซมในไร่ข้าวสำหรับไว้เป็นอาหารและใช้สอยได้แก่  ข้าวโพด  ถั่ว  แตงกวา  พริก  ฝ้าย  ผักต่าง ๆ

ส่วนสัตว์เลี้ยงได้แก่  วัว  ควาย  หมู  ไก่  สุนัข  เป็นต้น  ซึ่งสัตว์เลี้ยงเหล่านี้บางชนิดก็ฆ่าสำหรับใช้เลี้ยงผี  ผลิตผลทางเศรษฐกิจของลั๊วะ  มีประมาณเพียงพอสำหรับบริโภคและขายในหมู่บ้านใกล้เคียงได้บ้าง  เศรษฐกิจมีลักษณะพอมีพอกินเลี้ยงตนเองได้ไม่เดือดร้อน

มาตรฐานการครองชีพของลั๊วะ  อยู่ในระดับปานกลาง  ในอดีตปลูกข้าวเป็นรายได้  เช่น ปลูกท้อ  เสาวรส  ผักกาด กล่ำปลี  มะเขือเทศ  ถั่วแดง  ถั่วลันเตา  ทำให้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้นกว่าเดิม  บ้านที่เคยมุ่ง
หลังคาด้วยหญ้าคาหรือใบตองตึง ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็นมุงด้วยกระเบื้องหรือสังกะสีกันมากแล้ว  ส่วนสัตว์เลี้ยงก็ยังคงเลี้ยงไว้เพื่อใช้ในพิธีกรรมโดยการฆ่าแล้วนำไปเซ่นไหว้ผี  เช่น  พิธีด้านการเกษตร  พิธีแต่งงาน พิธีไหว้ผีต่าง ๆ เป็นต้น  ดังนั้นจึงทำให้ลั๊วะไม่มีสัตว์เลี้ยงเหลือสำหรับขาย

ที่มา : http://www.mhsdc.org/interest1.htm (http://www.mhsdc.org/interest1.htm)




อ้างจาก: ที่มาข้อมูล..
ด้วยความขอบคุณ...  เว็บโครงการหลวง  [url]http://www.thairoyalprojecttour.com/?p=316[/url] ([url]http://www.thairoyalprojecttour.com/?p=316[/url])
เป็นที่มาของ...  ข้อความทั้งหมด ภาพทั้งหมด เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด