:: GPStt.com ::

หมวด ท่องเที่ยว - กิจกรรม
=> เที่ยวทั่วไทย => ข้อความที่เริ่มโดย: ลฺุงเปี๊ยก อ.สากเหล็ก ที่ 02 พฤศจิกายน 2555, เวลา 22:48:19 น.

หัวข้อ: น้ำพุร้อนฝาง อช.ดอยผ้าห่มปก
เริ่มหัวข้อโดย: ลฺุงเปี๊ยก อ.สากเหล็ก ที่ 02 พฤศจิกายน 2555, เวลา 22:48:19 น.
น้ำพุร้อนฝาง อช.ดอยผ้าห่มปก

น้ำพุร้อนฝาง (และที่ทำการ อช.ดอยผ้าห่มปก) N19.96592 E99.15528
ดูศรชี้สีเขียว
http://maps.google.co.th/maps?um=1&hl=th&client=firefox-a&rls=org.mozilla:th:official&biw=1280&bih=631&q=N19.96592%20E99.15528 (http://maps.google.co.th/maps?um=1&hl=th&client=firefox-a&rls=org.mozilla:th:official&biw=1280&bih=631&q=N19.96592%20E99.15528)


หัวข้อ: Re: น้ำพุร้อนฝาง อช.ดอยผ้าห่มปก
เริ่มหัวข้อโดย: ลฺุงเปี๊ยก อ.สากเหล็ก ที่ 02 พฤศจิกายน 2555, เวลา 22:51:07 น.
ยาวเลยนะครับ ไปมาหลายปีแล้ว หมดมุขพากย์ อิอิ
.....ตอนนี้น่าจะเปลี่ยนป้ายใหม่เป็น "อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก"
หัวข้อ: Re: น้ำพุร้อนฝาง อช.ดอยผ้าห่มปก
เริ่มหัวข้อโดย: ลฺุงเปี๊ยก อ.สากเหล็ก ที่ 02 พฤศจิกายน 2555, เวลา 22:51:54 น.
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพฝาง
ที่มา... http://teenet.cmu.ac.th/sci/fang_th.php (http://teenet.cmu.ac.th/sci/fang_th.php)


อ้างถึง
29 เม.ย. 2017
SMART ENERGY ([url]https://www.youtube.com/channel/UC3o4w5-tNZtLSsX6WRtZTrA[/url]) ตอน พลังความร้อนใต้พิภพที่ฝาง จ.เชียงใหม่



[attach=5]
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ ระบบ 2 วงจร

โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพฝาง ตั้งอยู่ที่ ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 150 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินสาย 107 และห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 10 กิโลเมตร อยู่ติดกับบ่อน้ำร้อนฝาง ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่พบอยู่ตามธรรมชาติ





1. ความเป็นมา
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) (http://www.egat.or.th/) ได้ร่วมกับคณะทำงานอันประกอบด้วย กรมทรัพยากรธรณี (http://www.dmr.go.th/) และ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (http://www.chiangmai.ac.th/) ดำเนินการสำรวจศักยภาพของการพัฒนาแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพในขั้นรายละเอียดของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ อำเภอสันกำแพง และอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2521 เป็นต้นมา และได้รับความร่วมมือจาก องค์การเพื่อการจัดการด้านพลังงานประเทศฝรั่งเศส (http://www.ademe.fr/anglais/vadefault.htm) ซึ่งให้ความช่วยเหลือในด้านวิชาการและผู้เชี่ยวชาญมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 ผลการสำรวจ สรุปได้ว่า น้ำร้อนจากหลุมเจาะระดับตื้นของแหล่งฝางมีความเหมาะสมต่อการนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยระบบ 2 วงจร ขนาดกำลังผลิต 300 กิโลวัตต์ ดังนั้นในปี พ.ศ.2531 กฟผ. จึงได้จัดหาเครื่องกำเนิดไฟฟ้าระบบ 2 วงจรขนาดกำลังผลิต 300 กิโลวัตต์ มาติดตั้งเป็นโรงไฟฟ้าสาธิตที่ใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นแห่งแรก และเพื่อวิเคราะห์ผลการใช้งานด้วย

[attach=6]
น้ำพุร้อนที่ได้ระหว่างการเจาะสำรวจ
[attach=7]
ท่อน้ำร้อนจากหลุมผลิต



2. การติดตั้ง
ติดตั้งระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2532 โดยได้รับความอนุเคราะห์ และสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจาก กรมวิชาการเกษตร กรมป่าไม้ กรมการพลังงานทหาร และ องค์การบริหารส่วนจังหวัดของเชียงใหม่



3. ลักษณะของโรงไฟฟ้า
โรงไฟฟ้าระบบ 2 วงจรโดยทั่วไปเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้กับแหล่งพลังงานความร้อนที่มีอุณหภูมิปานกลาง มีหลักการทำงาน คือนำน้ำร้อนไปถ่ายเทความร้อนให้กับของเหลวหรือสารทำงาน (Working Fluid) ที่มีจุดเดือดต่ำจนกระทั่งเดือดเป็นไอ แล้วนำไอนี้ไปหมุนกังหันเพื่อขับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าผลิตไฟฟ้าออกมา สำหรับโรงไฟฟ้าขนาดกำลังผลิต 300 กิโลวัตต์ที่ฝางนี้ใช้น้ำร้อนจากหลุมเจาะระดับตื้นที่มีอุณหภูมิ 130 องศาเซลเซียส มีปริมาณการไหล 16.5 ถึง 22 ลิตร/วินาที มาถ่ายเมความร้อนให้กับสารทำงานและใช้น้ำที่อุณหภูมิ 15-30 องศาเซลเซียส ปริมาณ 72 ถึง 94 ลิตร/วินาที เป็นตัวหล่อเย็น

[attach=8] (http://teenet.cmu.ac.th/sci/images/fang04.jpg)
โรงไฟฟ้าระบบ 2 วงจร ขนาด 300 กิโลวัตต์ (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่ )



4. การจ่ายไฟฟ้า
กระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ประมาณปีละ 1.2 ล้านหน่วย (กิโลวัตต์-ชั่วโมง) จะถูกส่งเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อจ่ายให้ผู้ใช้ไฟฟ้าต่อไป

[attach=9]
อาคารควบคุมและหม้อแปลงไฟฟ้า



5. ผลพลอยได้
น้ำร้อนที่นำไปใช้ในโรงไฟฟ้าเมื่อถ่ายเทความร้อนให้กับสารทำงานแล้ว อุณหภูมิจะลดลงเหลือ 77 องศาเซลเซียส ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการอบแห้ง และห้องเย็นสำหรับเก็บรักษาพืชผลทางการเกษตรได้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสถานีทดลองพืชฝาง กรมวิชาการเกษตร จึงได้ทำการวิจัยการใช้ประโยชน์ดังกล่าวโดยการสร้างห้องอบและห้องเย็นขึ้นใช้งาน

นอกจากนี้ กฟผ. ได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศระบบดูดละลายเพื่อใช้ประโยชน์จากน้ำร้อนที่ออกจากโรงไฟฟ้า ในการทำความเย็นสำหรับห้องเย็นเพื่อเก็บรักษาพืชผลทางการเกษตรและห้องทำงาน ส่วนน้ำที่เหลือใช้แล้วยังสามารถนำไปใช้ในกิจการเพื่อกายภาพบำบัดและการท่องเที่ยวได้อีก ซึ่งกรมป่าไม้มีโครงการที่จะนำมาใช้ต่อไป ท้ายที่สุดน้ำทั้งหมดซึ่งมีสภาพเป็นน้ำอุ่นจะถูกปล่อยลงไปผสมกับน้ำตามธรรมชาติในลำน้ำ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำให้กับเกษตรกรในฤดูแล้งได้อีกทางหนึ่ง ในแต่ละปีน้ำที่ปล่อยออกจากโรงไฟฟ้า อำเภอฝางนี้จะมีปริมาณ 5 แสนลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการอุปโภคและใช้ในการเกษตรได้ ทั้งหมดที่กล่าวมานับเป็นผลพลอยได้จากการผลิตไฟฟ้าซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันจัดทำเป็นโครงการอเนกประสงค์ขึ้น

[attach=10]
ห้องอบแห้งและห้องเย็น
สำหรับเก็บรักษาผลิตผลทางการเกษตร
[attach=11]
ห้องอาบน้ำแร่



6. วิเคราะห์และประเมินผล
เนื่องจากการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ ดังนั้นจึงได้มีการนำข้อมูลต่างๆ ไปวิเคราะห์และประเมินผลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาแหล่งพลังงานชนิดนี้ในประเทศต่อไป ซึ่งนอกเหนือจากการผลิตไฟฟ้าแล้วคาดว่าผลที่ได้รับจากโครงการอเนกประสงค์จะช่วยสนับสนุนให้สามารถขยายงานพัฒนาพลังงานชนิดนี้จนก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมได้



7. ลักษณะพิเศษชองโรงไฟฟ้า อ.ฝาง
เป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพแห่งแรกในประเทศไทยที่นำทรัพยากรธรรมชาติคือน้ำร้อนที่มีอยู่ใต้ดินมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพระบบ 2 วงจร แห่งแรกในเอเชียอาคเนย์ด้วย

[attach=12] (http://teenet.cmu.ac.th/sci/images/fang08.jpg)
แผนภาพแสดงการทำงานของโครงการอเนกประสงค์พลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง (คลิกเพื่อดูภาพใหญ่ )



8. แนวโน้มของการพัฒนาในอนาคต
กฟผ. ได้ตกลงร่วมมือกับองค์การเพื่อการจัดการด้านพลังงานประเทศฝรั่งเศส ในการที่จะสำรวจหาศักยภาพของแหล่งกักเก็บพลังานความร้อนใต้พิภพระดับลึกที่แหล่งฝางต่อไปเพื่อขยายกำลังผลิตเท่าที่จะเป็นไปได้ โครงการความร่วมมือนี้ใช้เวลาดำเนินการ 5 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ.2533-2538 สำหรับระยะเวลา 2 ปีแรกเป็นการสำรวจทางธรณีวิทยา ทางธรณีฟิสิกส์ รวมถึงการเจาะสำรวจระดับตื้น จากผลการสำรวจในขั้นตอนนี้จะสามารถบ่งบอกถึงศักยภาพของการสำรวจในระยะต่อไป ซึ่จะเป็นการเจาะสำรวจเพื่อพิสูจน์ทราบถึงศักยภาพของแหล่งกักเก็บที่แท้จริง ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญของการประเมินกำลังผลิตที่จะติดตั้งต่อไป



9. สรุป
โรงไฟฟ้าพลังความร้อนใต้พิภพ อำเภอฝาง เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาพลังงานทดแทนของ กฟผ. ที่ได้สนองนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติที่ยังไม่เคยใช้มาก่อนมาผลิตไฟฟ้าทดแทนน้ำมัน และถ่านหินเป็นที่หวังว่า หากพบแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่มีศักยภาพเพิ่มขึ้น ก็จะมีการขยายกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าชนิดนี้เพื่อสนองความต้องการทางไฟฟ้าของประเทศเท่าที่จะเป็นไปได้ในอนาคต


หัวข้อ: Re: น้ำพุร้อนฝาง อช.ดอยผ้าห่มปก
เริ่มหัวข้อโดย: ลฺุงเปี๊ยก อ.สากเหล็ก ที่ 02 พฤศจิกายน 2555, เวลา 22:52:42 น.
...
หัวข้อ: Re: น้ำพุร้อนฝาง อช.ดอยผ้าห่มปก
เริ่มหัวข้อโดย: ลฺุงเปี๊ยก อ.สากเหล็ก ที่ 02 พฤศจิกายน 2555, เวลา 22:53:22 น.
...
หัวข้อ: Re: น้ำพุร้อนฝาง อช.ดอยผ้าห่มปก
เริ่มหัวข้อโดย: ลฺุงเปี๊ยก อ.สากเหล็ก ที่ 02 พฤศจิกายน 2555, เวลา 22:53:58 น.
สองภาพสุดท้าย