:: GPStt.com ::

หมวด บอร์ดทั่วไป
=> สารพันความรู้ - เทคโนโลยี => ข้อความที่เริ่มโดย: Pitsanu ที่ 14 กันยายน 2562, เวลา 20:31:51 น.

หัวข้อ: รถประเภทไหนที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องต่อทะเบียน
เริ่มหัวข้อโดย: Pitsanu ที่ 14 กันยายน 2562, เวลา 20:31:51 น.
รถประเภทไหนที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องต่อทะเบียน



[attach=1]

รถยนต์ของหลวงที่กฏหมายยกเว้น อธิบายชัดๆ ตามภาพบรรทัดแรก คือ

1. เสียค่าธรรมเนียมขอแผ่นป้ายในครั้งแรกเท่านั้น เพื่อเอาแผ่นป้ายทะเบียนมาติดให้ทราบว่ารถคันนี้ทะเบียนอะไร

2. จากนั้น ปีต่อๆไป ไม่ต้องไปต่อทะเบียน (จึงไม่มีป้ายวงกลมครับ)

3. ข้อ 1-9 ในภาพ คือรถที่ได้รับการยกเว้นครับ



อ้างถึง
[url]http://envilaw.onep.go.th/content.aspx?u=./docs%5Claw%5Claw_3581.html[/url]

พระราชบัญญัติ
รถยนตร์ (ฉบับที่ ๔)
พ.ศ. ๒๕๒๗
----------------------------
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗
เป็นปีที่ ๓๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้

มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติรถยนตร์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๗"
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๖ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่ยังมิได้จดทะเบียน
ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่รถที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในราชอาณาจักรชั่วคราวโดยที่ผู้นำเข้าไม่มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแต่ต้องปฏิบัติตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลของประเทศที่ผู้นำเข้ามีสัญชาติ"
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

"มาตรา ๙ รถดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ

(๑) รถดับเพลิง

(๒) รถพยาบาลที่มิใช่เป็นรถสำหรับรับจ้าง

(๓) รถของกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และราชการส่วนท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น ทั้งนี้ เฉพาะรถที่มิได้ใช้ในทางการค้าหรือหากำไร

(๔) รถบดถนนของรัฐวิสาหกิจ

(๕) รถแทรกเตอร์ของรัฐวิสาหกิจ

(๖) รถของสภากาชาดไทย

(๗) รถของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต คณะผู้แทนทางกงสุลองค์การระหว่างประเทศ หรือทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย

(๘) รถใช้งานเกษตรกรรมตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง"

มาตรา ๕ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๔๑ เงินภาษีประจำปีรวมทั้งเงินเพิ่มและค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ ที่จัดเก็บได้ในกรุงเทพมหานครให้ตกเป็นรายได้ของกรุงเทพมหานคร ส่วนในจังหวัดอื่นให้ตกเป็นรายได้ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลสุขาภิบาลในจังหวัดนั้น เมืองพัทยา และราชการส่วนท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น โดยให้กระทรวงมหาดไทยจัดสรรตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง"

มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๕๙ แห่งพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๕๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท"

มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๐ แห่งพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๖๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖ วรรคสองและวรรคสาม มาตรา ๑๑ มาตรา ๑๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๖ วรรคหนึ่ง มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่งและวรรคสอง มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๐ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง มาตรา ๕๖ หรือมาตรา ๕๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท"

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ป. ติณสูลานนท์
นายกรัฐมนตรี
(๑๐๑ ร.จ. ๕ ตอนที่ ๑๑๒ (ฉบับพิเศษ) ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๒๗)
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติรถยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ บัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถ เว้นแต่รถนั้นเป็นรถที่จดทะเบียนและเสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นครบถ้วนถูกต้องแล้ว หากผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาทตามมาตรา ๕๙ โดยมิได้แยกประเภทความผิดกรณีการใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปีสำหรับรถนั้นให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลาที่กำหนด ทำให้ผู้ใช้รถในกรณีที่ยังมิได้เสียภาษีประจำปีต้องได้รับโทษในอัตราเดียวกันกับกรณีการใช้รถที่ยังมิได้จดทะเบียนตามมาตรา ๕๙ ซึ่งเป็นความผิดที่เปรียบเทียบไม่ได้ สมควรกำหนดแยกประเภทความผิดเกี่ยวกับการใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปีออกจากความผิดเกี่ยวกับการใช้รถที่ยังมิได้จดทะเบียน โดยให้มีอัตราโทษแตกต่างกันและมีอัตราโทษเหมาะสมแก่กรณีด้วย โดยกำหนดโทษสำหรับความผิดกรณีการใช้รถที่จดทะเบียนแล้ว แต่ยังมิได้เสียภาษีประจำปี เป็นความผิดที่เปรียบเทียบได้ นอกจากนั้น เนื่องจากได้มีการกำหนดให้รถใช้งานเกษตรกรรมเป็น "รถ" ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์ ซึ่งจะต้องมีการจดทะเบียนและผ่านการตรวจสอบสภาพรถ และเพื่อเป็นการส่งเสริมเกษตรกรรมของประเทศ สมควรกำหนดให้รถดังกล่าวได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมตามกฎหมายว่าด้วยรถยนตร์ และโดยที่สมควรกำหนดให้เงินที่เป็นค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถได้นำมาใช้เป็นทุนหมุนเวียน เพื่อการผลิตแผ่นป้ายสำหรับยานพาหนะต่อไป โดยไม่ต้องจัดสรรให้แก่ราชการส่วนท้องถิ่น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


http://www.ce.mahidol.ac.th/web/ce_download/pr/2558/0402.pdf


อ้างถึง
[url]http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%C301/%C301-20-9999-update.htm[/url]

 

มาตรา ๙[๑๗]  รถดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ

(๑) รถดับเพลิง

(๒) รถพยาบาลที่มิใช่เป็นรถสำหรับรับจ้าง

(๓)[๑๘] รถของส่วนราชการ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กําหนดในกฎกระทรวง  ทั้งนี้ เฉพาะรถที่มิได้ใช้ในทางการค้าหรือหากําไร

(๔) รถบดถนนของรัฐวิสาหกิจ

(๕) รถแทรกเตอร์ของรัฐวิสาหกิจ

(๖) รถของสภากาชาดไทย

(๗) รถของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต คณะผู้แทนทางกงสุล องค์การระหว่างประเทศ หรือทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประจำอยู่ในประเทศไทย

(๘) รถใช้งานเกษตรกรรมตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

(๙)[๑๙] รถของสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลต่างประเทศ และรถของเจ้าหน้าที่สำนักงานดังกล่าว  ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามความตกลงนั้น







หัวข้อ: Re: รถประเภทไหนที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องต่อทะเบียน
เริ่มหัวข้อโดย: Pitsanu ที่ 15 กันยายน 2562, เวลา 18:55:43 น.
อ้างถึง
      ตำรวจจราจรมีอำนาจขับรถย้อนศรหรือไม่ จอดรถในที่ห้ามได้หรือไม่ หรือกระทำการฝ่าฝืนกฎจราจรได้แค่ไหนมาดูกัน  ซึ่งจริงๆ ว่าไปตามหลักกฎหมายมหาชนเจ้าหน้าที่ควบคุมจราจรมีอำนาจอยู่แล้ว แต่ไหนๆ ก็มีกฎหมายบัญญัติชัดเจนอยู่ก็ต้องว่าไปตามนั้น

           คำนิยาม ในพรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 ม.4(19) “รถฉุกเฉิน” หมายความว่า รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหาร ส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจาก ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียง สัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกําหนดให้
            “รถอื่นที่ได้รับอนุญาต”จาก ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียง สัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกําหนดให้

            ซึ่งเป็นไปตามข้อกําหนดสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เรื่อง กําหนดเงื่อนไขในการใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นและเครื่องหมายแสดงลักษณะของรถฉุกเฉิน พ.ศ.2546  ข้อ ๓ รถที่จะอนุญาตให้ใช้ไฟสัญญาณวับวาบ เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น จะต้องเป็นรถดังต่อไปนี้
            ๓.๑ รถในราชการทหารหรือตํารวจ 

            เฉพาะกรณีรถตำรวจ แยกองค์ประกอบได้ว่า
          1.ต้องเป็นรถใช้ในราชการตำรวจ กรณีมีตราโล่เป็นรถในราชการตำรวจแล้ว 
          2.ต้องเป็นรถตามข้อ1.ที่ได้รับอนุญาต”จาก ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียง สัญญาณอย่างอื่นตามที่จะกําหนดให้ เพียงแต่มีหนังสืออนุญาต และรถตำรวจที่ได้รับเบิกมาทุกคันติดตั้งไฟสัญญาณแสงวับวาบมาอยู่แล้วจึงผ่านการอนุญาตมาจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอยู่แล้ว จะเห็นได้ว่า ผบ.ตร.เพียงแค่อนุญาตให้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเท่านั้น ทำให้รถอยู่ในสถานะเป็น “รถฉุกเฉิน”  ทันที
 
         ผลของการปฏิบัติหน้าที่โดยใช้รถฉุกเฉิน
        ม.75 บัญญัติว่า ในขณะที่ผู้ขับขี่ขับรถฉุกเฉินไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้ขับขี่มีสิทธิดังนี้
           (๑) ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติกําหนดไว้
           (๒) หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด
           (๓) ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กําหนดไว้
          (๔) ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใด ๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควร
         (๕) ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถ ทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวรถที่กําหนดไว้
         ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี

         หลักการของม.75 จะเห็นได้ว่าผลในทางกฎหมายเริ่มให้อำนาจเจ้าหน้าที่ตำรวจเริ่มตั้งแต่ “ไปปฏิบัติหน้าที่จนถึงสิ้นสุดหน้าที่” แล้วนั่นหมายความ เมื่อ “ได้ไปปฎิบัติหน้าที่” ตามกฎหมาย กฎ คำสั่งผู้บังคับบัญชาย่อมมีอำนาจ ดังนี้
                   (1) ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติกําหนดไว้ คือรถหลวงตำรวจตราโล่ทุกคันที่มีการติดตั้งไฟวับวาน เสียงไซเรน ได้รับการอนุญาตจาก ผบ.ตร.ทุกคัน
                  (2) หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด เช่น รถตำรวจไปจอดรถอำนวยการจราจร สามารถไปจอดรถที่มีป้ายห้ามจอดได้  หรือไปจอดที่ขาวแดง หรือจอดบนทางเท้า เขตปลอดภัย ฯลฯ สรุปที่ห้ามจอดทั้งหมดสามารถจอดได้
                  (3) ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กําหนดไว้  เช่น หากไปปฏิบัติหน้าที่ดูการจราจร จะขับเกิน 90 อย่างไรก็ได้
                  (4) ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใด ๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควร  เช่น รถตำรวจสามารถฝ่าสัญญานไฟแดงได้ แต่มีเงื่อนไขคือลดความเร็วเท่านั้น
                  (5) ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถ ทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวรถที่กําหนดไว้ เช่นรถตำรวจจะขับคร่อมเลน จะสวนเลน จะย้อนศรยาวๆ  จะเลี้ยวหรือจะกลับรถในที่ห้ามก็ย่อมทำได้

                แต่ทั้งนี้ม.75 ได้บัญญัติวิธีการใช้อำนาจดังกล่าวไว้ว่าผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี นั้นคือภาระการระวังตกอยู่แก่เจ้าหน้าที่อยู่ เกิดไปชนผู้อื่นที่ขับรถมาตามปกติเจ้าหน้าที่จะตกเป็นผู้ผิดทันที เพราะหน้าที่ระมัดระวังยังตกอยู่แก่เขา  แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้รถหลวงไปปฏิบัติหน้าที่ และในการไปปฏิบัติหน้าที่นั้นได้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือเปิดเสียงสัญญาณไซเรนด้วย ผลจะเป็นตรงกันข้ามซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติในม.76 
 
             ซึ่งม.76 บัญญัติว่า มาตรา ๗๖ เมื่อคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์เห็นรถฉุกเฉินในขณะ ปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติกําหนดไว้ คนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อนโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้
              (๑) สําหรับคนเดินเท้าต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง หรือขึ้นไปบนทางเขต ปลอดภัย หรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด
              (๒) สําหรับผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย หรือในกรณีที่มี ช่องเดินรถประจําทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องเดินรถ ประจําทาง แต่ห้ามหยุดรถหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก
              (๓) สําหรับผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วม ทางแยก
     
        ในการปฏิบัติตาม (๒) และ (๓) ผู้ขับขี่และผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องรีบกระทําโดยเร็ว ที่สุดเท่าที่จะกระทําได้และต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี
           เห็นได้ว่าอนุม. (1)-(3)  เพียงแค่เห็นหรือได้ยินเห็น รถฉุกเฉินที่เปิดไฟวับวาบ หรือไซเรน   มีหน้าที่ต้องหลบให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อน ยิ่งคนขับรถต้องระวังเป็นอย่างมากตามม.76(2)+ววรคท้าย  หากรถฉุกเฉินย้อนศรและเปิดไซเรน รถทั่วไปต้องหลบให้ทัน ถ้าเกิดอุบัติเหตุเฉี่ยวชนมารถทั่วไปผิดสถานเดียวเพราะมีหน้าที่ “ต้องหลบ” และ  “ใช้ความระมัดระวัง”

          สรุป  1.รถหลวงมีเครื่องไฟวับวาบ(ยังไม่เปิดไฟ)= เป็นรถฉุกเฉิน+ปฏิบัติหน้าที่ = มีสิทธิตามม.75 แต่ต้องระมัดระวังชนมาผิดเอง
                   2.รถหลวงมีเครื่องไฟวับวาบ(เปิดไฟ)= เป็นรถฉุกเฉิน+ปฏิบัติหน้าที่ = มีสิทธิตามม.75+ผู้ใช้ทางมีหน้าที่ตามม.76 ต้องหลบและระวังรถเจ้าหน้าที่ตำรวจ  ชนมาตำรวจถูก
     นบท.59


อ้างถึง
     ตามที่มีชายได้เผยแพร่คลิปในโลกโซเชียล โดยกล่าวว่า “รถตำรวจทางหลวงทั่วประเทศขาดหมดครับ และรถกรมทางหลวงก็ขาดครับ พร้อมทั้งพูดว่าท่านบังคับให้ประชาชนต้องมีแผ่นป้ายวงกลม แต่รถตำรวจทางหลวงไม่มีแผ่นป้ายวงกลม (หมายถึงไม่ได้เสียภาษีประจำปี) ให้ประชาชนตรวจเลย”                                                           
    มีกฎหมายที่เกี่ยวของในกรณีของรถที่ไม่ต้องจดทะเบียนรถ และไม่ต้องยื่นต่อภาษีประจำปี  ดังนี้
๑.) พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ 
     มาตรา ๙  รถดังต่อไปนี้ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ
                     (๓) รถของส่วนราชการ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กําหนดในกฎกระทรวง  ทั้งนี้ เฉพาะรถที่มิได้ใช้ในทางการค้าหรือหากําไร
 ๒.) พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ๑๓) พ.ศ.๒๕๕๗ 
                มาตรา  ๘๘  รถที่ใช้ในการขนส่งส่วนบุคคลของส่วนราชการ  องค์กรตามรัฐธรรมนูญ  องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น  มหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ  องค์การมหาชน  หน่วยงานอื่นของรัฐ ตามที่กําหนดในกฎกระทรวง  วัด  มัสยิด  มิซซัง  มูลนิธิ  และสภากาชาดไทย  ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี”
         
         โดยเจตนารมย์ของกฎหมาย ให้รถที่ได้รับการยกเว้นการจดทะเบียน เป็นรถที่ไม่ได้ใช้เหมือนรถทั่วๆไป กล่าวคือ ไม่ได้เอามาใช้ขับขี่เพื่อขนส่งส่วนตัวและใช้รับจ้างใดๆ ทั้งสิ้น รถที่ไม่ต้องจดทะเบียนเหล่านี้จะเป็นรถที่ถูกใช้ในส่วนงานราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อประโยชน์ในการปฎิบัติงานราชการ จึงได้รับการยกเว้นการจด


อ้างถึง
ประเภทรถที่ไม่ต้องจดทะเบียนเหมือนรถทั่วไป
ประเภทรถที่ไม่ต้องจดทะเบียน
รถสำหรับเฉพาะพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน และรถของสำหนักพระราชวังที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายตามระเบียนที่เลขาธิการพระราชวังกำหนด
รถของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ
รถของกรมตำรวจที่จดทะเบียนและมีเครื่องหมายตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน
รถของกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด สุขาภิบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และราชการส่วนท้องถิ่นที่เรียกชื่ออย่างอื่น ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถมิได้ใช้ในทางการค้าหรือกำไร
รถแทร็คเตอร์ของรัฐวิสาหกิจ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม เว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ
รถของสภากาชาดไทย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ
รถพยาบาลที่มิใช่เป็นรถสำหรับรับจ้าง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ
รถดับเพลิง ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเว้นแต่ค่าธรรมเนียมแผ่นป้ายทะเบียนรถ
รถที่ผู้ผลิตหรือประกอบเพื่อจำหน่ายหรือที่ผู้นำเข้าเพื่อจำหน่าย ผลิต ประกอบหรือนำเข้า และยังมิได้จำหน่ายให้แก่ผู้อื่น
รถที่เจ้าของรถแจ้งการไม่ใช้รถ

อ้างถึง
รถยนต์ทางราชการของตำรวจทางหลวง เป็นรถของหน่วยงานกรมทางหลวงเป็นส่วนราชการ ตามพ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 9 (3) ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีประจำปี ตามมาตรา 30
ไม่ใช่ รถของสำนักงานตำรวชแห่งชาติ และ ไม่ใช่รถเช่าด้วย ต้องเข้าใจให้ถูกไม่ใช่อคติ สะใจ แต่ควรศึกษาข้อกฎหมายให้ดีก่อนมาด่าประจานเขา เดี๋ยวมีหน้าแหก???