:: GPStt.com ::

หมวด ข่าวสาร อุปกรณ์ท่องเที่ยว
=> แหล่งท่องเที่ยวใน โครงการหลวงฯ, อุทยานแห่งชาติ => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557, เวลา 13:38:29 น.

หัวข้อ: ข้อมูลชนเผ่า "ลีซู (Lishu) หรือ ลีซอ"
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557, เวลา 13:38:29 น.
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/img-royalproject/logo.png) (http://www.thairoyalprojecttour.com/?cat=18)


ข้อมูลชนเผ่า   "ลีซู (Lishu) หรือ ลีซอ"


[attach=1] (http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2012/01/Lishu-2.jpg)

ประวัติความเป็นมา
ลีซู หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต เดิมอาศัยอยู่ที่ต้นแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศจีน และเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 ถูกกดดันทางการเมือง การปกครอง และขาดแคลนที่ดินทำกินในพม่า ชาวลีซอจึงได้อพยพเข้ามาในประเทศไทย ทางจังหวัดเชียงราย และกระจายไปตามจังหวด  อาศัยอยู่ใน จังหวัดเชียงใหม่  แม่ฮ่องสอน ตาก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร ลำปาง สุโขทัย พะเยา และแพร่ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง รักความอิสระ

ภาษา
ลีซอ  อยู่กลุ่มเดียวกับ  มูเซอ  และอาข่า เรียกว่าโลโล  กลุ่มโลโลมีความสัมพันธ์กับภาษาพม่ามีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า  30% เป็นภาษาจีนฮ่อ  ไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับ ลีซูอที่นับถือเป็นคริสเตียน ได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่า
การตั้งชื่อ นับตามลำดับเลขที่ 1 – 2 – 3 ผู้ชาย ลงท้ายด้วย ยะ เช่น อะเบยะ ผู้หญิง ลงท้ายด้วย มะ

ลักษณะบ้านเรือน
ชาวลีซออาศัยอยู่บนเนินเขา ความสูงไม่น้อยกว่า 800 เมตร มีน้ำใช้สะดวกและมีธารน้ำไหลผ่าน  สูงสุดของหมู่บ้านจะเป็นที่ตั้งของศาลผีประจำหมู่บ้าน ผีปู่ตา ผีผู้เฒ่า  ปลูกบ้านคร่อมบนดินเพราะป้องกันความหนาวได้ดี การจัดที่ในบ้าน ทำเป็นสัดส่วน กั้นเป็นห้องนอน เป็นที่เก็บเครื่องมือการเกษตร และมีชั้นไม้ใผ่ สำหรับวางเครื่องครัว

[attach=2] (http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2012/01/Lishu-9.jpg)

การแต่งกาย
ผู้หญิงลีซอ  ทุกวัยแต่งกายด้วยผ้าสีสดใส สวมใส่เป็นเสื้อตัวหลวม แขนกระบอก  ส่วนหน้าของเสื้อยาวถึงเข่าส่วนหลังยาวถึงนิยมสีน้ำเงิน เขียว ฟ้า และม่วง คอเป็นผ้าสีดำ ตกแต่งลวดลายสวยงาม โดยนำผ้าแถบผ้าสีต่างๆเช่น ม่วง ฟ้า ชมพู เขียว ดำ ขาว ส้ม แดง มาเย็บต่อกันเป็นริ้ว สวมเสื้อกั๊กที่ตกแต่งด้วยกระดุมเงิน  สวมกางเกงหลวมๆสีดำ ในตัวเสื้อ  ใช้ผ้าสีดำพันรอบเอว คล้ายเข็มขัด  สวมปลอกขาเพื่อป้องกัน  แมลง  กิ่งไม้ หรือกันหนาว ผู้หญิงสูงวัยโพกหัวด้วยผ้าสีดำยาวพันหัวหลายๆรอบ แล้วเก็บชาย  หญิงสาวจะสวมหมวกโดยประดับประดาด้วยลูกปัดหลากสี
ผู้ชายลีซอ  ทุกวัยแต่งกายเหมือนกัน โดยสวมใส่กางเกงที่มีความยาวเลยเข่าเล็กน้อย  เป้ากว้างมาก สีน้ำเงิน สีเขียว ฟ้า เสื้อสีดำ แขนยาว คอป้ายตกแต่งกระดุมเงิน ติดรังดุมสีน้ำเงินที่ส่วนบนของตัวเสื้อ สวมปลอกขาสีดำ

[attach=3] (http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2012/01/Lishu-15.jpg)   [attach=4] (http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2012/01/Lishu-13.jpg)   [attach=5] (http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2012/01/Lishu-12.jpg)

ศาสนาและความเชื่อ และพิธีกรรม
ชาวลีซอส่วนใหญ่นับถือผี (เหน่) ควยคู่กับ ศาสนาคริสต์ หรือศาสนาพุทธ  ผีที่สำคัญมากคือ ผีปู่ ตา ย่า ยาย ผีที่นับถือหรือเกรงกลัวคือ ผีที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น ผีดอย ผีดิน ผีน้ำ ผีไร่
การเรียกขวัญ เป็นความเชื่อด้วยด้านจิต วิญญาณ  เพื่อความสุขสบายกาย ใจ ทำต่อเมื่อคนในครอบครัวเจ็บป่วยบาดเจ็บ
การทำนายโชค การเลี้ยงผีลีซอ เซ่นไหว้จะใช้กระดูกไก่ทำนายโชคชะตาของเจ้าภาพและครอบครัว

วัฒนธรรมประเพณี
ค่อนข้างหลากหลาย เช่น  ประเพณี การฉลองปีใหม่  การฉลองพืชผล (กินข้าวโพดใหม่)  การกินข้าวใหม่ การไหว้ผีหลวง การไหว้ผีไร่ผีนา การไหว้ผีบรรพบุรุษ
ดนตรีเพลงชนเผ่า และการเต้นรำ เครื่องดนตรีชนเผ่ามีไม่มากชิ้น ได้แก่ แคนน้ำเต้า และซึงใช้เล่นประกอบการเต้นรำในงานต่างๆ เพลงลีซอมีหลายประเภท เพลงที่นิยมคือเพลงเกี้ยวสาว ซึ่งชาย-หญิงร้องโต้ตอบกัน

[attach=6] (http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2012/01/Lishu-14.jpg)

ชาวลีซอที่อาศัยในพื้นที่ปฏิบัติงานโครงการหลวง
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหมอกจ๋าม   อำเภอแม่อาย  จังหวัดเชียงใหม่
- ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่ปูนหลวง  อำเภอเวียงป่าเป้า  จังหวัด  เชียงราย



อ้างจาก: ที่มาข้อมูล..
ด้วยความขอบคุณ...  เว็บโครงการหลวง  [url]http://www.thairoyalprojecttour.com/?p=1426[/url] ([url]http://www.thairoyalprojecttour.com/?p=1426[/url])
เป็นที่มาของ...  ข้อความทั้งหมด ภาพทั้งหมด เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด