:: GPStt.com ::

หมวด บอร์ดทั่วไป
=> สารพันความรู้ - เทคโนโลยี => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 21 มิถุนายน 2565, เวลา 21:11:24 น.

หัวข้อ: ผู้พิพากษา” กางข้อกฎหมายไม่จ่าย “ค่าปรับใบสั่งจราจร” เจอ “ออกหมายจับ” ?? (แชร์บนโลกโซเชียล ผิด/ถูก ผมแอดมินไม่สามารถยืนยันได้)
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 21 มิถุนายน 2565, เวลา 21:11:24 น.
ผู้พิพากษา” กางข้อกฎหมายไม่จ่าย “ค่าปรับใบสั่งจราจร” เจอ “ออกหมายจับ” ??
 (แชร์บนโลกโซเชียล ผิด/ถูก ผมแอดมินไม่สามารถยืนยันได้)

อ้างจาก: ก็อปมาให้อ่าน จริงเท็จผมแอดมินไม่สามารถยืนยันได้
ผู้พิพากษา” กางข้อกฎหมายไม่จ่าย “ค่าปรับใบสั่งจราจร” เจอ “ออกหมายจับ” ??

🖋นายสันติ ผิวทองคำ ผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดระยอง เผยแพร่บทความในประเด็นนี้โดยระบุว่าคดีความผิดตามใบสั่ง กฎหมายถือเป็นคดีความผิดลหุโทษ มีอายุความเพียง 1 ปี ส่วนการดำเนินคดี ในกรณีที่ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเป็นผู้ฝ่าฝืนกฎจราจรตามภาพถ่ายจากกล้องวงจรปิด หรือ กล้อง CCTV หรือไม่ ตำรวจต้องให้โอกาสเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองโต้แย้งตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140 ถึง มาตรา 141/1 ก่อน จะขออนุมัติศาลออกหมายจับทันทีนั้นไม่ได้

❗️“เนื่องจากคดีประเภทนี้เป็นความผิดเล็กน้อย และหากเป็นกรณีที่ตำรวจพบการกระทำความผิดผ่าน กล้องวงจรปิด ซึ่งไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้า เบื้องต้นตำรวจย่อมมีข้อมูลเพียงอย่างเดียวคือ หมายเลขทะเบียนรถ ที่กระทำผิดกฎหมายจราจร กรณีไม่แน่ชัดว่าผู้มีรายชื่อถือกรรมสิทธิ์รถหรือผู้มีรายชื่อเป็นผู้ครอบครองรถนั้นเป็นผู้ขับขี่ฝ่าฝืนหรือกระทำผิด พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ ในข้อหาที่กล้องวงจรปิดหรือ กล้อง CCTV บันทึกไว้ได้หรือไม่ กฎหมายจราจรจึงกำหนด ขั้นตอนให้โอกาสแก่บุคคลผู้มีรายชื่อเป็นเจ้าของรถหรือมีรายชื่อเป็นผู้ครอบครองได้โต้แย้งข้อหาที่กล้องบันทึกไว้ก่อนที่จะส่งเรื่องไปให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดี ตำรวจยังไม่สามารถกล่าวโทษหรือกล่าวหาอันนำไปสู่การออกหมายเรียกหรือออกหมายจับผู้มีรายชื่อเป็นเจ้าของรถหรือผู้มีรายชื่อเป็นผู้ครอบครอง ได้ทันทีแต่ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140 ถึง มาตรา 141/1”❗️

🖋กรณีต้องการขอหมายจับต้องเข้า “กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน” และพนักงานสอบสวนต้องรวบรวมพยานหลักฐาน และออกหมายเรียกเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองให้มาพบอย่างน้อย 2 ครั้ง

🖋ซึ่งการส่งหมายเรียกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ป.วิ.อาญา และต้องมั่นใจว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองได้รับหมายเรียกแล้ว “จงใจไม่ยอมไปพบพนักงานสอบสวน” ตามที่กำหนด และพยานหลักฐานต้องเพียงพอเชื่อได้ว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองเป็นผู้ขับขี่รถในวันเกิดเหตุ และจงใจไม่ยอมไปพบพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกถึง 2 ครั้ง นอกจากนี้คดีต้องไม่ขาดอายุความ  “ศาลจึงจะพิจารณาอนุมัติหมายจับ” เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองตามที่ร้องขอ

❗️“กรณีหาอาจอนุมัติหมายจับตามใจเจ้าพนักงานตำรวจไม่ เพราะศาลเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชนในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาแก่สังคม”❗️

🖋ถึงแม้ศาลอนุมัติหมายจับให้แต่ตำรวจก็ต้องติดตามตัวเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองมาแจ้งข้อหาให้ได้ภายใน 1 ปี  นับตั้งแต่วันเกิดเหตุ และแม้จะพบตัวเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถตามหมายจับ ก็ไม่อาจควบคุมตัวหรือควบคุมขังเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองได้เพราะเป็นเพียงคดีความผิดเล็กน้อย หรือ ลหุโทษ คงได้แต่ เพียงสอบถามชื่อนามสกุล และ แจ้งข้อหาให้ทราบแล้วต้องปล่อยตัวไปเท่านั้น

🖋จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการขออนุมัติศาลออกหมายจับในคดีความผิดตามใบสั่งไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะกฎหมายมองว่าเป็นเพียงคดีความผิดที่มีโทษเพียงเล็กน้อยและเป็นคดีลหุโทษ จึงกำหนดเงื่อนไขไว้ค่อนข้างเคร่งครัด

🖋นอกจากนี้แม้ศาลอนุมัติหมายจับแล้วในคดีความผิดลหุโทษหรือความผิดตามใบสั่งตำรวจจะต้องทำสำนวนสอบสวน และส่งเรื่องให้พนักงานอัยการ พิจารณา และต้องฟ้องเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองต่อศาลภายใน 1 ปี มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความ ก็ไม่สามารถดำเนินคดีกับเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองได้อีกเช่นกัน

🖋จากขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดเพื่อควบคุมการใช้อำนาจของตำรวจ ประกอบกับการออกหมายจับหรือไม่เป็นดุลพินิจโดยแท้ของศาล ที่กฎหมายให้อำนาจศาลถ่วงดุลการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจ และพนักงานสอบสวนอีกส่วนหนึ่ง และระยะเวลาการดำเนินคดีที่สั้น ประกอบกับตำรวจหรือพนักงานสอบสวนไม่มีอำนาจควบคุมตัวผู้กระทำผิดในคดีลหุโทษหรือคดีความผิดตามใบสั่ง

❗️ผู้ใช้รถใช้ถนนหรือเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถ จึงไม่ควรกังวลกับข่าวที่แพร่ออกทางสื่อสารมวลชนดังกล่าวมากจนเกินไป เพราะการอนุมัติหมายจับเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถในคดีความผิดตามใบสั่ง #เป็นดุลพินิจของศาล_หาใช่เป็นดุลพินิจของตำรวจไม่❗️

ที่มา : ขั้นตอนการขออนุมัติหมายจับในคดีความผิดตามใบสั่ง By ท่านติ