:: GPStt.com ::

หมวด บอร์ดทั่วไป
=> สารพันความรู้ - เทคโนโลยี => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 01 ตุลาคม 2566, เวลา 19:59:28 น.

หัวข้อ: การเลือกใช้สวิทช์แสงแดด หรือ สวิทช์ปิด/เปิดแสงสว่างตามดวงอาทิตย์ (Photo Electric Switch)
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 01 ตุลาคม 2566, เวลา 19:59:28 น.
[attach=1] (http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_001-2.JPG)

การเลือกใช้สวิทช์แสงแดด หรือ สวิทช์ปิด/เปิดแสงสว่างตามดวงอาทิตย์  (Photo Electric Switch)


การเลือกใช้สวิทช์แสงแดด หรือ สวิทช์ปิด/เปิดแสงสว่างตามดวงอาทิตย์
   เชื่อว่าหลายคน รู้จักหรือเคยใช้สวิทช์แสงแดดเพื่อปิดเปิดแสงไฟตามแสงแดดกันแทบทุกคน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า สวิทช์แสงแดดมันมี 2 ประเภท ที่รูปร่างภายนอกเหมือนกัน







1. แบบไบเมทัล
     คือสวิทช์ปิดเปิดแสงสว่างแบบเก่าแบบยุคแรก ที่ใช้อุปกรณ์วงจรประมาณ 3 ชิ้น คือ
     1.1  LDR คือตัวต้านทานปรับค่าได้เมื่อตัวมันโดนแสง ค่าที่วัดได้โดยประมาณเมื่อได้รับแสงหรือไม่มีแสง 80 Ω - 1.3 MΩ
     1.2  รีซีสเตอร์ 42 KΩ 1Watt  เมื่อรับแรงดันไฟฟ้ามาตกคร่อม จะทำให้ตัวมันเอง อุ่น+ร้อน
     1.3  ชุดแผ่นไบเมทัล ทำหน้าที่ตัด/ต่อไฟฟ้า

(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_002.JPG)


(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_003.JPG)


(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_004.JPG)


(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_006.JPG)


   เมื่อเอา 3 ชิ้นมารวมกันทำงาน ก็คือ LDR เมื่อได้รับแสงจ้าหรือมืด จะปล่อยแรงดันไฟฟ้ามากหรือน้อย ไปหารีซีสเตอร์ที่พันบนเหล็กไบเมทัลเพื่อให้อุ่น/ร้อน ทำให้แผ่นไบเมทัลแอ่นตัวไปดันกระเดื่องเพื่อปิด/เปิดไฟฟ้า
   ชุดปิดเปิดแสว่างชุดลักษณ์นี้ทนทายาท เพราะมันไม่มีอะไรซับซ้อน เสียก็ซ่อมได้ เปลี่ยนอะไหล่เอง ที่เสียตามกาลเวลาคือ LDR และ R ที่พันบนแผ่นไบเมทัล มีแค่นี้ เห็นปร่ะว่ามันซ่อมง่ายๆ


(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_007.JPG)


(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-7676/pt-sw_008.JPG)


ข้อสังเกตุในเบื้องต้นถ้าสั่งซื้อทางออนไล์ และโอกาสได้สินค้าผิดพลาดน้อย ก็ยี่ห้อด้านบนครับ






2. แบบใช้วงจรอีเล็คทรอนิคส์

[attach=2]

แบบอีเล็คทรอนิคส์
    รูปร่างด้านนอกเหมือนกัน แต่ภายในเป็นระบบอีเล็คทรอนิคส์ ในวงจรมี ไอซี  รีซีสเตอร์ ทรานซิสเตอร์ คอนเดนเซอร์ ไดโอด และรีเลย์ ชุดปิดเปิดแสงสว่างแบบที่สองนี้ไม่ทน อย่าหาซื้อเข้าบ้านนะครับ บอกไว้ก่อน เพราะอะไรก็ตามถ้ามี ไอซี ทรานซิสเตอร์ หรือ..อุปกรณ์พวกสารกึ่งตัวนำไปประกอบให้วงจรทำงาน แน่นอนครับอุปกรณ์พวกนี้ไม่สามารถทนแรงดันที่ไม่นิ่งได้นาน เช่น ฟ้าผ่า ฟ้าแลบ ไฟกระชาก จะทำให้ไฟเกินในวงจรแวบนึงและวงจรนั้นก็เสียหายทันที
    อุปกรณ์ตัว/รุ่นนี้ใช้กันมากกับระบบปิด/เปิดไฟแสงสว่างถนน โดยที่ตัวนี้อยู่ในกล่องพลาสติคสีฟ้าหรือน้ำเงิน ครอบลงกระบอกสแตนเลส ติดตามเสาไฟฟ้าแหละ ใช้แบบนี้ทั้งนั้น เสียง่ายๆ หน่วยงานดูแลถนนเค้าชอบใช้ เบิกจ่ายงบ/เงินทอนกันง่ายดี มีบางหน่วยงานมาจ้างผมซ่อม ผมก็เอาชุดตามข้อ1 ยัดใส่ลงไป ผลคือ ทนทายาท และไม่จ้างผมซ่อมอีกเลย.....ฮา เพราะขัดผลประโยชน์กับรายได้เงินทอนเค้า พอมันเสียน้อยหรือไม่เสียเลย ค่าเหล้าค่าเบียร์หายหมด ใครจะมาจ้างเราซ่อม.....กำ
แบบนี้อย่าเอาเข้าบ้านครับ มันไม่ทน ไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชาก ฟ้าแล่บ ฟ้าผ่า อุปมาว่า...หมาเยี่ยวรถเสาไฟฟ้าจังหวัดอื่นมาพังถึงจังหวัดเรา






 
อ้างถึง
เราจะทราบได้ไงว่าอุปกรณ์ที่เราไปซื้อ มันใช้ตามที่เราต้องการไหม แน่นอนครับ งานนี้เวลาผมไปซื้อ จะพกไขควงเช็คไฟไปแกะดูเลย คนขายมันจะว่าไงไม่สนครับ ผมอ้างว่าผม...ต้องการสวิทช์แสงแดดแบบนี้ ถ้าไม่แกะภายในผมจะทราบได้ไง เพพาะที่ขายกันอยู่แทบทุกร้านมันเป็นแบบที่2 คือแบบที่มีอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำอยู่ในนั้น
  ฉะนั้นเมื่อผมต้องการใช้ ต้องเดินทางไปร้าน ไควัสดุ, อเมริกาโฮม, ดุ่ยโฮม สารพัด เลยต้องทำตามที่อธิบาย เซลล์มันบอกห้ามแกะผมไม่สนหรอกครับ ในเมื่อคุณขาย คุณไม่ถ่ายภาพด้านในประกอบการขาย ผมก็ต้องแกะครับ ฉะนั้นมันจะเป็นรูปแบบด้านล่างครับ ที่มันทนอิ๋บอ๋าย
  ที่ต้องไปเอง ไปเอาเจ้าตัวนี้มาทำสื่อบทความให้ท่านดู/อ่าน จะได้เข้าใจ เพราะจะเขียนบทความนี้นานแล้ว แต่ลืมทุกครั้ง วันนี้เลยตั้งใจไปจัดหามาแกะถ่ายภาพ พร้อมอธิบายให้ท่านทราบ จะได้ตาสว่างกัน ไม่ให้คนขายหรือทางร้านหลอกแดก "ว่ามันก็เหมือนกันแหละ " ผมละเกลียดวลีคำพูดแบบนี้ของคนขายจังเลย ไม่รู้ก็น่าจะรับฟังเหตุผลคนใช้งานก่อน ถ้าเค้าไม่รู้ เค้าคงไม่ขอแกะหรอกครับ
  จริงๆเราแอบแกะตอนคนขายยืนอยู่ไกลๆ จะได้ไม่เรื่องเยอะ หรือ ไม่ต้องมาเจือกกะเรื่องของตรู ตรูเลือกเอง ซื้อเอง ใช้เอง จบ...