:: GPStt.com ::

หมวด ข่าวสาร อุปกรณ์ท่องเที่ยว
=> แหล่งท่องเที่ยวใน โครงการหลวงฯ, อุทยานแห่งชาติ => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557, เวลา 12:32:09 น.

หัวข้อ: ข้อมูลชนเผ่า "ม้ง"
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557, เวลา 12:32:09 น.
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/img-royalproject/logo.png) (http://www.thairoyalprojecttour.com/?cat=18)


ข้อมูลชนเผ่า   "ม้ง"


[attach=1]


ประวัติความเป็นมา
ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ และตอนเหนือของประเทศไทย บริเวณ ประมาณ พ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ประชากรของม้งในประเทศไทย มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากกะเหรี่ยง

ภาษา
ภาษาม้งจัดอยู่ในสาขาเมี้ยว-เย้าจองตระกูลจีน-ธิเบตไม่มีภาษาเขียนแต่ยืมตัวอักษรภาษาโรมัน มาใช้

ลักษณะบ้านเรือน
ชนเผ่าม้ง นิยมสร้างบ้านอยู่บนภูเขาสูง สร้างบ้านคร่อมพื้น โดยใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน ฝาบ้านเป็นไม้แผ่น มุงด้วยคา มีห้องนอน กับห้องครัวในบ้าน บ้านจะมีขนาดใหญ่ เพราะอยู่อาศัยในลักษณะครอบครัวขยาย ม้ง ถือผู้อาวุโสเป็นหัวหน้าครอบครัว

[attach=2]

การแต่งกาย
ม้งน้ำเงิน
ผู้ชาย  สวมเสื้อสีดำ หรือน้ำเงิน ตัวสั้น ตัวป้าย ปักลวดลาย แขนยาว ขลิบขอบแขนเสื้อด้วยสีฟ้า ส่วนกางเกงใช้สีเดียวกัน เป้ากางเกงจะกว้างและหย่อนต่ำลงมาถึงหัวเข่า ปลายขาแคบมีผ้าสีแดงคาดเอวเอาไว้ ชายผ้าทั้งสองข้างปักลวดลาย  ห้อยลงมา
ผู้หญิง   สวมเสื้อสีดำ หรือสีน้ำเงินเข้ม มีลวดลายที่หน้าอก แขนยาวขลิบที่ปลายแขนด้วยสีฟ้า ปกเสื้อห้อยพับไปด้านหลัง ปักลวดลาย สวมกระโปรงจีบ  รอบตัว ลวดลาย จากการเขียนด้วยขี้ผึ้งแล้วนำย้อมสีน้ำเงิน มีผ้าผืนยาวปักลวดลาย หัอยชายปิดกระโปรง ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว   จะใช้ผ้าพื้นเรียบ ขลิบชายด้วยผ้าสี มีผ้าแดงปักลวดลายที่ชายทั้งสองข้าง และปล่อยเป็นพู่ห้อยลงมา คาดด้วยเข็มขัดเงินทับ  พันแข้งด้วยผ้าสีน้ำเงินหรือดำ มวยผมไว้ที่กลางกระหม่อมมีช้องผมมวย พันเสริมให้ใหญ่ขึ้น แล้วใช้ผ้าโพกทับมวยผม ประดับเครื่องเงิน และเหรียญเงิน

ม้งขาว
ผู้ชาย แต่งกายคล้ายกันกับม้งน้ำเงิน แต่มีการประดับลวดลายน้อยกว่า ที่คอสวมห่วงเงินรอบคอหลายห่วง
ผู้หญิง ส่วนใหญ่จะแต่งตัวคล้ายกันกับม้งน้ำเงิน เดิมนิยมสวมกระโปรงสีขาวล้วนไม่มีลวดลายใดๆ มีผ้าผืนยาวที่ปิดทับด้านหน้ากระโปรงปักลวดลาย พร้อมทั้งมีผ้าแถบสีแดงคาดเอว ปล่อยชายเป็นหางไว้ด้านหลัง ปัจจุบันนุ่งกางเกงทรงจีนสีน้ำเงินเข้มแทนกระโปรง พันมวยผม และกันเชิงผมด้านหน้าให้ดูมีหน้าผากกว้างขึ้น

[attach=3]

วัฒนธรรม และประเพณี
ชาวเขาเผ่าม้งหรือม้งมีประเพณีและวัฒนธรรมตลอดทั้งความเชื่อ เป็นของตนเองสืบมาแต่บรรพบุรุษ เช่น  ประเพณีฉลองปีใหม่
เรียกว่า “ น่อเป๊โจ่วซ์” แปลว่ากินสามสิบ โดยถือเอาวันสุดท้ายคือ ๓๐ ค่ำ ของเดือน ๑๒ ในทุกปีเป็นวันส่งท้ายปีเก่า  อยู่ในราวปลายเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม ชาวม้งจะประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ทุกคนจะสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ ประดับเครื่องเงินสวยงาม เด็ก ๆ จับกลุ่มกันเล่นลูกข่าง และร้องรำทำเพลง หนุ่มสาวจะจับคู่กันโยนลูกช่วง พูดคุยกัน

ประเพณีแต่งงาน
ชาวม้ง จะไม่เกี้ยวพาราสี หรือแต่งงานกับคนแซ่หรือตระกูลเดียวกันเพราะถือเป็นพี่น้องกัน ชาวม้งนิยมแต่งงาน ในระหว่างอายุ ๑๕ – ๑๘ ปี เมื่อแต่งงานกันแล้วฝ่ายหญิงจะย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านของฝ่ายชาย ซึ่งนับเป็นการเพิ่มสมาชิกในครอบครัวชายชาวม้งอาจมีภรรยาได้มากกว่าหนึ่งคน อยู่รวมกันในบ้านของฝ่ายสามี

ศาสนา ความเชื่อ และพิธีกรรม
ชาวม้งมีการนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม  ที่อยู่บนฟ้า ในลำน้ำ ประจำต้นไม้ ภูเขา ไร่นา ฯลฯ  ชาวม้งจะต้องเซ่นสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ปีละครั้ง

[attach=4]

ชนเผ่าม้งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน โครงการหลวง ได้แก่
1.    สถานีเกษตรหลวงอินทนนท์  อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
2.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองหอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
3.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยลึก อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
4.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยแล้ง อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย
5.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยส้มป่อย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
6.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยเสี้ยว อ.หางดง จ.เชียงใหม่
7.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง  อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย
8.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
9.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่
10.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเริง อ.หางดง  จ.เชียงใหม่
11.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งหลวง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่
12.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงปางอู๋ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
13.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงม่อนเงาะ อ.แม่แตง  จ.เชียงใหม่
14.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
15.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
16.    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่แฮ อ.แม่วาง  จ.เชียงใหม่



อ้างจาก: ที่มาข้อมูล..
ด้วยความขอบคุณ...  เว็บโครงการหลวง  [url]http://www.thairoyalprojecttour.com/?p=1438[/url] ([url]http://www.thairoyalprojecttour.com/?p=1438[/url])
เป็นที่มาของ...  ข้อความทั้งหมด ภาพทั้งหมด เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด