:: GPStt.com ::

หมวด บอร์ดทั่วไป
=> สารพันความรู้ - เทคโนโลยี => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 14 พฤศจิกายน 2565, เวลา 17:27:08 น.

หัวข้อ: อาคารนำร่อง/อาคารประภาคาร กลางทะเลอ่าวไทย (อาคาร Bangkok Bar Pilot Station Lighthouse)
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 14 พฤศจิกายน 2565, เวลา 17:27:08 น.
[attach=1]

อาคารนำร่อง/อาคารประภาคาร กลางทะเลอ่าวไทย
(อาคาร Bangkok Bar Pilot Station Lighthouse)

ขอบคุณ เครดิต:    www.siamfishing.com/15369 (http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=15369&onlyuserid=0&begin=0)
                         www.lightphotos.net/photos/displayimage.php?pos=-116 (https://www.lightphotos.net/photos/displayimage.php?pos=-116)
                         http://wikimapia.org/40420467/Bangkok-Bar-Pilot-Station (http://wikimapia.org/40420467/Bangkok-Bar-Pilot-Station)




พิกัด GPS   13.378611, 100.598889

หรือกดลิ้งค์นี้  https://goo.gl/maps/qwHUTrpimfWdGoEP8 (https://goo.gl/maps/qwHUTrpimfWdGoEP8)


http://maps.google.co.th/maps?um=1&hl=th&client=firefox-a&rls=org.mozilla:th:official&biw=1280&bih=631&q=13.378611, 100.598889 (http://maps.google.co.th/maps?um=1&hl=th&client=firefox-a&rls=org.mozilla:th:official&biw=1280&bih=631&q=13.378611, 100.598889)




   สถานีนำร่องแห่งนี้เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละ ๒๔ เมตร อาคารทาสีขาวสลับแดง ตัวอาคารตั้งอยู่บนตอม่อขนาดใหญ่สี่ต้น ฝังดินในบริเวณน้ำลึกประมาณ ๑๒ เมตร มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ส่วนดาดฟ้าบนหลังคาของชั้น ๓ ติดตั้งเสาอากาศวิทยุ และเครื่องมือตรวจวัดข้อมูลทางอุตุนิยม รวมทั้งเป็นที่ตั้งของประภาคารสูง ๑๖.๓๖ เมตร บนยอดประภาคารติดตั้งไฟสัญญาณรอบทิศ ลักษณะเป็นไฟวาบสีขาวประมาณ ๒ วินาที และจะวาบทุก ๆ ๑๐ วินาที มองเห็นได้ไกลในระยะ ๒๐ ไมล์ทะเล ช่วยให้เรือสินค้าสามารถเดินทางเข้ามาใกล้สถานีเพื่อรับเจ้าพนักงานนำร่อง

    "หลายคนอาจไม่รู้ว่าเจ้าพนักงานนำร่องคือใคร ทว่ากัปตันเรือเดินสมุทรนานาชาติ ย่อมทราบดีว่า แม้พวกเขานำเรือแล่นผ่านทะเลเปิดข้ามซีกโลกมาได้ แต่ยามจะนำเรือเข้าเทียบท่าภายในประเทศ ซึ่งต้องผ่านร่องน้ำคับแคบที่ไม่คุ้นเคย อาจมีภูมิประเทศคับขัน หรือมีสภาพการจราจรทางน้ำพลุกพล่านสับสน เขาจำเป็นต้องใช้ผู้นำร่องท้องถิ่นเป็นผู้นำเรือเข้าออกร่องน้ำ เพื่อความปลอดภัย
    นานาประเทศจึงมีเขตนำร่องบังคับ (compulsory pilotage) ระบุให้เรือที่เข้าสู่ร่องน้ำนั้นต้องใช้ผู้นำร่องท้องถิ่น สำหรับประเทศไทย ร่องน้ำซึ่งบังคับให้เป็นเขตเดินเรือโดยมีผู้นำร่อง ซึ่งต้องเป็นเจ้าพนักงานนำร่องสังกัดกรมเจ้าท่าเท่านั้น มีอยู่หกเขต ได้แก่ เขตท่าเรือกรุงเทพฯ ท่าเรือศรีราชาและแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ ท่าเรือมาบตาพุด ท่าเรือสงขลา และท่าเรือภูเก็ต ในจำนวนนี้ ร่องน้ำเจ้าพระยา ได้ชื่อว่าเป็นร่องน้ำที่อันตรายต่อการเดินเรือใหญ่มากที่สุด เพราะมีระยะทางยาวกว่าร่องน้ำอื่น ทั้งคับแคบ คดเคี้ยว เต็มไปด้วยเรือเล็กเรือน้อยฉวัดเฉวียน
    ปัจจุบันเจ้าพนักงานนำร่องสังกัดกรมเจ้าท่าจำนวนทั้ง ๗๗ คน ต้องทำหน้าที่นำร่องเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่เข้าและออกประเทศไทยปีละไม่ต่ำกว่า ๒ หมื่นเที่ยว ในจำนวนนี้เป็นเรือบรรทุกสินค้าที่ขนส่งสินค้ามูลค่าปีละนับล้านล้านบาท
    เมื่อเจ้าพนักงานนำร่องขึ้นปฏิบัติหน้าที่บนสะพานเดินเรือ เขาจึงต้องแบกรับภาระอันหนักหน่วง เรือเดินสมุทรลำหนึ่งมูลค่านับร้อยล้านบาท สินค้าบนเรือยังมีมูลค่ามหาศาล อุบัติเหตุจากเรือลำมหึมาในร่องน้ำ เช่นเรือชนกัน เรือติดตื้นขอบร่องน้ำ หรือเรือจมขวางร่องน้ำ อาจเป็นเหตุให้เรือลำอื่นไม่สามารถผ่านเข้าออกร่องน้ำได้นับเดือน การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศต้องชะงักงัน เศรษฐกิจของประเทศเสียหายใหญ่หลวง และอาจมีผู้เสียชีวิต เจ้าพนักงานนำร่องบางคนจึงกล่าวว่า งานของพวกเขาเปรียบเสมือนการปิดทองหลังพระ"......มาอ่านต่อการปฏิบัติหน้าที่และความสำคัญของการนำร่องเรือเดินสุทรได้ที่นี่ครับ
  http://sarakadee.net/feature/2001/06/compulsory_piloting.htm (http://sarakadee.net/feature/2001/06/compulsory_piloting.htm)







[attach=2]




[attach=3]




[attach=4]




[attach=5]

หมุดแดงในทะเล คือจุดที่ตั้งอาคารนำร่องในทะเลนะครับ