:: GPStt.com ::

หมวด บอร์ดทั่วไป
=> สารพันความรู้ - เทคโนโลยี => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 18 พฤษภาคม 2558, เวลา 08:49:37 น.

หัวข้อ: การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 18 พฤษภาคม 2558, เวลา 08:49:37 น.
[attach=1]

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ (http://www.trustmarkthai.com/ecm/public/home.html#)




1. การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

1.1 การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (http://www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form001.pdf)
พระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์  พ.ศ. 2499 (http://www.dbd.go.th/download/PDF_law/register2499_total.pdf) และ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2553 (http://www.dbd.go.th/download/data_srevice/1_3.pdf)  ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ดังต่อไปนี้
1.การซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. การบริการอินเทอร์เน็ต
3. การให้เช่าพื้นที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย
4. การบริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

    บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลต้องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์กรุงเทพมหานคร   เมืองพัทยา  เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล ที่สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดเฉพาะในท้องที่นอกเขตเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
    โดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้ถ่ายโอนอำนาจจดทะเบียนพาณิชย์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว

     ทั้งนี้ ผู้ประกอบพาณิชยกิจดังกล่าวไม่จดทะเบียนพาณิชย์  แสดงรายการเท็จ หรือไม่มาให้นายทะเบียนพาณิชย์สอบสวน ไม่ยอมให้ถ้อยคำ หรือไม่ยอมให้ทะเบียนพาณิชย์ตรวจสอบมีความผิด เป็นไปตามกฎหมาย

ประโยชน์ของการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. สร้างความน่าเชื่อถือ ความมีตัวตนของผู้ประกอบการ
2. ผู้ประกอบการสามารถขอรับเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียน DBD Registered จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ดูรายละเอียดการออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์) (http://www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form008.pdf)  และเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified ซึ่งได้รับการตรวจประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ดูรายละเอียดการออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ) (http://www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form012.pdf)
3. ได้รับสิทธิ์ในการเข้ารับการพัฒนาตามหลักสูตรที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด

หมายเหตุ
- ข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครืองหมาย DBD Registered (http://www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form010.pdf)
- ข้อบังคับว่าด้วยการใช้เครืองหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified (http://www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form015.pdf)


1.2 สถานที่จดทะเบียน และ เอกสารที่ใช้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

สถานที่จดทะเบียนพาณิชย์
1. สำนักงานแห่งใหญ่ของสถานประกอบการตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ  ให้ยื่น  ณ  สำนักงานเขตที่สำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่
2. สำนักงานแห่งใหญ่ของสถานประกอบการตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค  ให้ยื่น  ณ  สำนักงานทะเบียนพาณิชย์เมืองพัทยา  เทศบาล หรือองค์การบริการส่วนตำบลที่สำนักงานใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่
3. ถ้าสำนักงานแห่งใหญ่ของผู้ประกอบพาณิชยกิจตั้งอยู่ในต่างประเทศ และมาตั้งสำนักงานสาขาเพื่อประกอบพาณิชยกิจในประเทศไทย สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งในเขตท้องที่ใดก็ให้จดทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์ในเขตท้องที่นั้น

เอกสารที่ใช้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ประกอบพาณิชยกิจ
2. แบบคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) (http://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp.pdf)  (ตัวอย่างการกรอก แบบ ทพ.) (https://drive.google.com/file/d/0B76yJeKddP3QWEFvQUNWV09LVTA/view)
3. รายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์  (เอกสารแนบ แบบ ทพ.) (http://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp_website01.pdf)  กรอก 1 ใบ ต่อ 1 เว็บไซต์ (ตัวอย่างการกรอก เอกสารแนบ แบบ ทพ.) (http://www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form007.pdf) 
4. เอกสารการจดโดเมนเนม (กรณีที่มีเว็บไซต์  และชื่อผู้จดทะเบียนโดเมนเนม ต้องเป็นชื่อผู้ประกอบการที่จดทะเบียนพาณิชย์)
5. Print หน้าแรกของเว็บไซต์ , สินค้า/บริการที่ประกอบพาณิชยกิจ และวิธีการสั่งซื้อสินค้า/บริการ วิธีการชำระเงิน วิธีการส่งสินค้า
6. แผนที่ตั้งการประกอบพาณิชยกิจ
7. หนังสือรับรองการจดทะเบียนของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท (กรณีจดในนามนิติบุคคล)
8. หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ 10 บาท และสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ) (http://www.dbd.go.th/download/downloads/01_tp/form_tp_power.pdf)

กรณีผู้ประกอบพาณิชยกิจมิได้เจ้าบ้าน (เอกสารเพิ่มเติม)
1. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ (http://www.dbd.go.th/download/data_srevice/9_4.pdf) หรือ สัญญาเช่า
2. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของสถานที่ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน หรือ เอกสารสิทธิ์ที่แสดงว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์

กรณีนิติบุคคลต่างประเทศ เข้ามาตั้งสาขาดำเนินกิจการในประเทศไทย ให้แนบเอกสารเพิ่มเติม
1. สำเนาเอกสารแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล
2. หนังสือแต่งตั้งผู้ดำเนินกิจการในประเทศไทย
    2.1 ใบอนุญาตทำงาน (กรณีผู้ดำเนินกิจการเป็นคนต่างด้าว) 
    2.2 ใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว หรือหนังสือรับรองการใช้สิทธิ (ถ้ามี)

*** อธิบายรายละเอียดเอกสารประกอบคําขอการจดทะเบียนพาณิชย์ กรณีตั้งใหม่ เปลี่ยนแปลง และยกเลิก  (คลิกที่นี่)

แนวปฏิบัติการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. การยื่นคำขอจดทะเบียนพาณิชย์ 1 คำขอต่อ 1 เว็บไซต์ หรือ ร้านค้าออนไลน์
2. ต้องมีร้านค้าออนไลน์แล้ว โดยมิใช่มีแต่ชื่อเว็บไซต์ หรือ ชื่อร้านค้า
3. เป็นร้านค้าหรือประกอบพาณิชยกิจพาณิชยอิเล็กทรอนิกส์ 4 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด
4. ไม่ใช่เว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ หรือให้ข้อมูลเท่านั้น โดยไม่สามารถซื้อขายผ่านทางเว็บไซต์หรือสื่อออนไลน์นั้น ๆ
5. การซื้อขายสินค้า/บริการผ่านทางเว็บไซต์หรือ Social Media เช่น Facebook  ที่เป็นการทำการค้าโดยปกติ  ถือเป็นการซื้อขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ และนำเลขทะเบียนแสดงบนหน้าร้านค้าออนไลน์ 
6. กรมฯ จะอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง DBD Registered เฉพาะร้านค้าออนไลน์ที่เป็นเว็บไซต์และมีโดเมนเนมเป็นของตนเอง ไม่รวมสื่อออนไลน์อื่น

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์  ดังนี้
- ตั้งใหม่ 50 บาท
- เปลี่ยนแปลงรายการ ครั้งละ 20 บาท
- เลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท

หมายเหตุ
-   ตัวอย่างใบทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (http://www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form016.pdf)





2. การออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียน  (http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-2770/baaner-DBD-regis.png)

2.1 การออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียน DBD Registered

การออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียน DBD Registered
การออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  DBD Registered (http://www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form008.pdf)
การออกเครื่องหมาย DBD Registered เป็นเครื่องหมายที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่จดทะเบียนพาณิชย์และประสงค์จะได้รับเครื่องหมาย DBD Registered  เพื่อรับรองความมีตัวตนและการจดทะเบียนพาณิชย์ ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภคระดับหนึ่ง

เกณฑ์การให้เครื่องหมาย DBD Registered (http://www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form009en.pdf)
1. ผู้ขอใช้เครื่องหมาย จะต้องเป็นเจ้าของเว็บไซต์และ/หรือมีโดเมนเมนเป็นของตนเอง
2. เว็บไซต์จะต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ถูกต้องตามกฎหมาย
3. เว็บไซต์จะต้องแสดงข้อมูล รายละเอียดเจ้าของเว็บไซต์ ที่ตั้งสำนักงาน หมายเลขโทรศัพท์และโทรศัพท์มือถือ พร้อมช่องทางร้องเรียนการซื้อขายและส่งมอบสินค้า/บริการ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ หรือเมนู Contact Us
4. สินค้า/บริการที่จะนำขึ้นขายบนช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
5. สินค้าหรือบริการ จะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
6. การนำเสนอสินค้าหรือบริการ จะต้องมีความชัดเจน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น ชนิดของสินค้า ราคา วิธีการชำระค่าสินค้าหรือบริการ เป็นต้น
7. จะต้องมีนโยบายดูแล/บริการลูกค้าหลังการขาย ที่แสดงไว้บนหน้าเว็บไซต์อย่างชัดเจน

สถานที่การขอเครื่องหมาย DBD Registered
กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 02 547 5960  หรือที่เว็บไซต์ www.trustmarkthai.com (http://www.trustmarkthai.com) หรือส่งเอกสารมาที่อีเมล์ e-commerce@dbd.go.th (http://e-commerce@dbd.go.th)   หรือ โทรสาร 02 547 5973

เอกสารที่ใช้ขอเครื่องหมาย DBD Registered
1. สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค. 0403)
2. สำเนารายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์  (เอกสารแนบแบบ ทพ.)
3. สำเนาเอกสารการจดโดเมนเนม
4. เอกสารอื่น (ถ้ามี)
    -  ใบแสดงตัวแทนจำหน่าย
    -  ใบแสดงลิขสิทธิ์
    -  ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจนั้นๆ

ประโยชน์ของเครื่องหมาย DBD Registered
1. สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่เว็บไซต์เพื่อยืนยันการมีตัวตนของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2. สร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ เมื่อเห็นเครื่องหมาย DBD Registered
3. การได้รับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เช่น อบรม สัมมนา ออกบูธงานต่าง ๆ และ รับข่าวสารด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
4. สิทธิในการขอรับเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (DBD verified) ให้แก่เว็บไซต์ที่มีคุณภาพเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมฯ กำหนด

หมายเหตุ  เมื่อผ่านเกณฑ์การพิจาณา กรมฯ จะจัดส่ง Source Codeให้ผู้ประกอบการ ทางอีเมล์ ที่ระบุในการจดทะเบียนพาณิชย์ ทั้งนี้ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรอง ต้องแสดงเครื่องหมายรับรองไว้บนหน้าแรกของเว็บไซต์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นั้น


2.2 ขั้นตอนการขอรับเครื่องหมายรับรอง DBD Registered

https://drive.google.com/file/d/0B76yJeKddP3QQ3djX0Eza2RwMHc/view (https://drive.google.com/file/d/0B76yJeKddP3QQ3djX0Eza2RwMHc/view)

(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-2770/topic-2770.gif)





3. การออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ  (http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-2770/baaner-DBD-Verified.png)

3.1 การออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified

การออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified
การออกเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  DBD Verified (http://www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form012.pdf)
การออกเครื่องหมาย DBD Verified เป็นเครื่องหมายที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ประสงค์จะได้รับเครื่องหมาย DBD Verified โดยจดทะเบียนและมีคุณสมบัติ ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และแสดงว่าเว็บไซต์นั้น ๆ มีคุณภาพผ่านเกณฑ์ประเมินตามมาตรฐานคุณภาพธุรกิจ e-Commerce ของกรมฯ

คุณสมบัติของผู้ขอเครื่องหมาย DBD Verified
- เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย
- จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และได้รับเครื่องหมาย DBD Registered   มาไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาไม่น้อยกว่า 2 ปี
- เป็นเจ้าของโดเมนเนม
- ไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้เครื่องหมายรับรอง
- ไม่เคยถูกเพิกถอนการใช้เครื่องหมายรับรอง เว้นแต่ถูกเพิกถอนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (http://www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form013.pdf)
1. ด้านการเปิดเผยข้อมูล
2. ด้านวิธีการยกเลิกหรือคืนสินค้า และวิธีการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า
3. ด้านความปลอดภัย
4. ความเป็นส่วนตัว
5. การแก้ปัญหาข้อร้องเรียนและการระงับข้อพิพาท

*** สามารถดูรายละเอียดการประเมินธุรกิจตามเกณฑ์มาตรฐานได้ (คลิกที่นี่) (http://www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form014.pdf)

สถานที่การขอเครื่องหมาย DBD Verified 
ณ กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 02 547 5961 หรือที่เว็บไซต์ www.trustmarkthai.com (http://www.trustmarkthai.com) หรือติดต่อที่อีเมล์ dbd-verified@dbd.go.th (http://dbd-verified@dbd.go.th)

เอกสารที่ใช้ขอเครื่องหมาย DBD Verified 
- สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค. 0403)

ประโยชน์ของเครื่องหมาย DBD Verified
- ได้รับความน่าเชื่อถือว่าเป็นเว็บไซต์ที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานในการปฏิบัติงานและดำเนินธุรกิจที่ดี
- ส่งเสริมภาพลักษณ์และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ
- สร้างความน่าเชื่อถือให้กับสินค้า/บริการในการขยายโอกาสสู่ตลาดต่างประเทศ
- สร้างโอกาสทางการตลาด/การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ/ช่องทางต่าง ๆ ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
- มั่นใจได้ว่า ซื้อสินค้า/บริการจากเว็บไซต์ที่มีตัวตนเชื่อถือได้ และผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพธุรกิจ e-Commerce ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนด
- หากมีข้อพิพาท หรือประสบปัญหา สามารถติดต่อร้องเรียนมายังกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหานั้น

หมายเหตุ
1. เมื่อผ่านเกณฑ์การพิจาณา กรมฯ จะจัดส่ง Source Codeให้ผู้ประกอบการ ทางอีเมล์ ที่ระบุในการจดทะเบียนพาณิชย์ ทั้งนี้ ให้ผู้ที่ได้รับเครื่องหมาย ต้องแสดงหนังสืออนุญาตไว้ ณ สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ที่เห็นได้ง่าย และแสดงเครื่องหมายรับรองไว้บนหน้าแรกของเว็บไซต์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตลอดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต
2. เครื่องหมาย DBD Verified มีอายุ 1 ปี ซึ่งผู้ประกอบการที่ต้องการได้รับการรับรองมาตรฐาน จะต้องทำการขอต่ออายุทุกปี


3.2 ขั้นตอนติดตั้งเครื่องหมาย DBD Registered & DBD Verified บนหน้าแรกเว็บไซต์

www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form011en.pdf (http://www.trustmarkthai.com/ecm/forms/form011en.pdf)


1
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-2770/Page1.jpg)


2
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-2770/Page2.jpg)


3
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-2770/Page3.jpg)


4
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-2770/Page4.jpg)


5
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-2770/Page5.jpg)


6
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-2770/Page6.jpg)


7
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-2770/Page7.jpg)


8
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/image-topic/topic-2770/Page8.jpg)



3.3 สถิติการออกเครื่องหมายรับรอง DBD Registered และ DBD Verified ปี 2558

สถิติการออกเครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ DBD Registered และเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ DBD Verified   ปี 2558   (รายละเอียดตามเอกสารแนบ) (https://drive.google.com/file/d/0B76yJeKddP3QMUNodTQyR0M0bDg/view?usp=sharing)

        เครื่องหมาย DBD Registered เป็นเครื่องหมายที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่จดทะเบียนพาณิชย์และประสงค์จะได้รับเครื่องหมาย DBD Registered  เพื่อรับรองความมีตัวตนและการจดทะเบียนพาณิชย์ ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อผู้บริโภคระดับหนึ่ง

       เครื่องหมาย DBD Verified เป็นเครื่องหมายที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ออกให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ประสงค์จะได้รับเครื่องหมาย DBD Verified โดยจดทะเบียนและมีคุณสมบัติ ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และแสดงว่าเว็บไซต์นั้น ๆ มีคุณภาพผ่านเกณฑ์ประเมินตามมาตรฐานคุณภาพธุรกิจ e-Commerce ของกรมฯ

เอกสารแนบ
1.April_58.pdf    (http://www.trustmarkthai.com/ecm/public/newsletter/attachFile.html?id=2467)
 
หัวข้อ: Re: การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
เริ่มหัวข้อโดย: Nanthawat (Modฯ) ที่ 16 ตุลาคม 2558, เวลา 08:37:25 น.
15/10/15 ดำเนินการมาเรียบร้อย
เข้าไปทำที่ สำนักงานเขต คันนายาว ใช้เวลาประมาณ 1 ชม.
หลังจากยื่นเอกสารเสร็จ เจ้าหน้าที่ ออกเอกสารทะเบียนพาณิชย์ให้เลย

ขอบคุณข้อมูลดีๆ แบบนี้ด้วยครับ



นี่แหละ คือสิ่งที่ต้องการ
อย่างน้อย คนที่จดๆ จ้องๆ ลังเลว่าขั้นตอนยากมั๊ย มาอ่านจะได้เข้าใจ

ฝากถามต่ออีกนิด เท่าที่ผมเช็คโดเมน levis2u.com (http://www.levis2u.com)
โดเมนเว็บของท่าน ไม่ใช่เป็นชื่อท่านจดนี่ แต่เป็นของเว็บสำเร็จรูปจดให้ คือพูดง่ายๆว่า เราจ้างเค้าทั้งหมดนั่นแหละ

แล้วตอนที่เราไปแจ้ง คนรับแจ้งเค้าจะรู้ได้ยังไงว่าใครคือเจ้าของเว็บและโดเมนตัวจริง มีเอกสารการรับรองจากผู้ให้บริการเซิร์ฟเวอร์หรือปล่าว อันนี้แหละ ที่หลายคนสงสัย


อ่อ เห็นตามเอกสารจดโดเมนละ (กรอบสี่เหลี่ยมสีแดง) ต้องมีชื่อเจ้าของเว็บ ในรายการโดเมน
http://whois.domaintools.com/levis2u.com (http://whois.domaintools.com/levis2u.com) (เว็บเช็คโดเมนทูลส์)