ข้ า พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า    ~    ก ลุ่ ม เ ว็ บ จี พี เ อ ส เ ที่ ย ว ไ ท ย ด อ ท ค อ ม   (กลุ่มเว็บลูกหลานชาวพิจิตร)

fillgoods.co ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ theterraceview-khaokho เว็บทรีโอแมส Welcome to JustUsers.net
วิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย-เยอรมัน สระบุรี แนชเชอรัล รีสอร์ต (Nat's Resort) พิจิตร เม็ดบัวอบกรอบ มาย ฟีเกอ มีจําหน่ายที่ supermarket & 7-Eleven ทุกสาขา (10/12/60) เว็บ justusers.net
ลิ้ ง ค์ ก า ร พ นั น ..!!     แ บ น เ น อ ร์ ก า ร พ นั น ..!!     ไ ม่ ต้ อ ง พ ย า ย า ม ติ ด ต่ อ ม า     ไ ม่ ต้ อ น รั บ ..??

....:::: ::::....         แล้งน้ำ, น้ำท่วม, ลดโลกร้อน เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวในเรื่องดังกล่าว ทางเว็บขอร่วมรณรงค์ให้พี่น้องช่วยกันปลูกป่าทั่วแผ่นดินเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวตามพระราชดำริของพ่อ เช่น ท่านที่อยู่ต้นน้ำตามภูเขาที่ลาดชัน หรือตามท้องไร่ท้องนาหัวคันนา ปลูกเท่าที่ทำได้ ทำตอนนี้ลูกหลานเราจะได้ไม่เดือดร้อน ...             เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม     "เว็บท่องเที่ยว-ถ่ายภาพ และพิกัดGPS"       ....:::: ::::....

  สังคมแห่งการแบ่งปันนี้จะไม่มีสิ่งที่เพื่อนต้องการ    เมื่อเพื่อนๆ มาแวะเยี่ยมแล้วไม่ฝากสิ่งใดไว้..!!     กลุ่มเว็บนี้..   ดำรงไว้ซึ่ง คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม จรรยาบรรณ ไม่เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ตักตวงผลประโยชน์เข้าตน..  


กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้

หน้า: 1 ... 4 5 6 7 [8] 9 10
71
ขั้นตอนการทำหนังสือเดินทาง วิธีทำพาสปอร์ต ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

เครดิตข้อมูลและภาพ : https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/92425


หนังสือเดินทาง (Passport) คือ?
หนังสือเดินทางหรือ Passport เป็นเอกสารสำคัญที่หน่วยราชการของแต่ละประเทศออกให้เพื่อใช้รับรองสัญชาติและยืนยันตัวตนของผู้ถือ ซึ่งเป็นเอกสารจำเป็นที่ต้องพกติดตัวสำหรับผู้ที่มีความประสงค์เดินทางไปต่างประเทศ

ประเภทของหนังสือเดินทาง
หนังสือเดินทางประเทศมี 4 ประเภท ดังนี้

1. หนังสือเดินทางธรรมดา (Ordinary Passport) ปกสีน้ำตาล ออกให้ประชาชนทั่วไป ปัจจุบันหนังสือเดินทางมีทั้งอายุไม่เกิน 5 ปี และ 10 ปี เมื่อหมดอายุแล้วไม่สามารถต่อเพิ่มได้ ต้องทำเล่มใหม่เท่านั้น

2. หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport) ปกสีน้ำเงินเข้ม มีอายุไม่เกิน 5 ปี ออกให้เฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ และผู้ที่เดินทางไปปฏิบัติภารกิจทางราชการตามที่กระทรวงต่างประเทศอนุมัติเท่านั้น ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถใช้ในการเดินทางส่วนตัวได้

3. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic Passport) ปกสีแดงสด มีอายุไม่เกิน 5 ปี ต่ออายุเพิ่มไม่ได้ ออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้
   3.1. พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
   3.2. พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
   3.3. พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
   3.4. ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
   3.5. นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
   3.6. ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
   3.7. ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
   3.8. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
   3.9. อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
   3.10. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
   3.11. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
   3.12. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
   3.13. คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 3.2-3.8
   3.14. บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย

4. หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) ปกสีเขียว

และยังมีหนังสือเดินทางอีก 2 ประเภทพิเศษ คือ
1. หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม
2. หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น

นอกจากนี้ยังมี Certificate of Identity (C.I.) เป็นเอกสารสำคัญประจำตัวเพื่อใช้แทนหนังสือเดินทาง ที่ออกให้ในกรณีฉุกเฉินสำหรับผู้ที่ต้องเดินทางแต่หนังสือเดินทางหมดอายุหรือสูญหาย และไม่สามารถทำเล่มใหม่ได้ทันตามกำหนดที่ต้องเดินทางกลับประเทศไทย ซึ่ง C.I. จะใช้เดินทางกลับประเทศไทยได้เพียงอย่างเดียว มีอายุใช้งาน 30 วัน หรือตามระยะเวลาที่ผู้กำหนดออกให้ แลผู้ถือ C.I. ต้องได้รับการพิสูจน์สัญชาติไทยจากกองตรวจเข้าเมือง (ตม.) เมื่อเดินทางถึงประเทศไทย





เอกสารที่ต้องเตรียมในการทำหนังสือเดินทาง (Passport)
สำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป
1. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง
2. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุล (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่ตรงกับบัตรประชาชน)
3. กรณีมีหนังสือเดินทางอยู่แล้วหากหมดอายุหรือใกล้หมดอายุแล้วให้นำหนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี) ไปด้วย
4. กรณีหนังสือเดินทางเล่มเดิมสูญหาย ให้นำใบแจ้งความฉบับจริงไปด้วย

สำหรับผู้ที่อายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์
1. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง (เฉพาะอายุ 7 ปีขึ้นไป)
2. สูติบัตรฉบับจริง ในกรณีที่อายุไม่ถึง 15 ปี
3. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง (กรณีชาวต่างชาติให้ใช้หนังสือเดินทางตัวจริง)
4. หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)
5. เอกสารแสดงความเกี่ยวพันกัน และอำนาจปกครองบุตร

เอกสารเพิ่มเติมกรณีบิดามารดาหย่าร้าง หรือบุคคลที่ 3 เป็นผู้ปกครอง หรือเป็นบุตรบุญธรรม
1. ทะเบียนหย่าและบันทึกการหย่าที่ระบุว่าผู้ใดมีอำนาจปกครองบุตร
2. หนังสือรับรองการใช้อำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (กรณีมารดาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตร)
3. คำสั่งศาลให้บิดามีอำนาจปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (กรณีบิดาเป็นผู้เลี้ยงดูบุตร)
4. คำสั่งศาลให้ผู้ปกครองมีอำนาจปกครองเด็กแทนบิดามารดา (กรณีบุคคลที่ 3 เป็นผู้ปกครอง)
5. ใบเปลี่ยนชื่อสกุล (หากมี), ทะเบียนรับบุตรบุญธรรมฉบับจริง (กรณีจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม)

สำหรับข้าราชการ พนักงานของรัฐ และผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติภารกิจของทางราชการ
1. บัตรประชาชน
2. บัตรประจำตัวข้าราชการ
3. หนังสือนำจากต้นสังกัดถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอทำหนังสือเดินทางราชการ
3. สำเนาบันทึกอนุมัติให้เดินทางไปราชการในต่างประเทศ
4. เอกสารอื่นๆ เช่น สัญญาจ้างงาน

สำหรับพระภิกษุและสามเณร
1. บัตรประชาชนฉบับจริงที่ระบุสถานะปัจจุบัน (หากมี)
2. หนังสือสุทธิสำหรับพระภิกษุและสามเณรฉบับจริง
3. ทะเบียนบ้าน/วัดที่มีชื่อยู่ในปัจจุบัน
4. ใบตราตั้งสมณศักดิ์ (หากประสงค์ให้ระบุสมณศักดิ์ในหนังสือเดินทาง)
5. มติเถรสมาคม (กรณีหนังสือเดินทางราชการสำหรับพระธรรมทูต)
6. ใบ ศ.ต.ภ. (กรณีหนังสือเดินทางบุคคลธรรมดา 5 ปี)
7. หนังสือรับรองความประพฤติและให้ความยินยอมจากเจ้าอาวาสและประทับตราของวัด (กรณีสามเณร)
8. หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)





ขั้นตอนการทำหนังสือเดินทาง (Passport)
1. รับบัตรคิว (สามารถลงทะเบียนจองคิวผ่านระบบออนไลน์ได้)
2. แสดงบัตรประชาชนพร้อมเอกสารหลักฐานอื่นๆ ที่ต้องใช้
3. วัดส่วนสูง
4. เก็บลายนิ้วมือ
5. ถ่ายรูปหน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นตา
6. ชำระค่าธรรมเนียม และแจ้งว่าจะมารับเองหรือให้จัดส่งทางไปรษณีย์

ค่าธรรมเนียมในการทำหนังสือเดินทาง (Passport)
ธรรมดา : เล่ม 5 ปี 1,000 บาท, เล่ม 10 ปี 1,500 บาท ยื่นขอทำได้ทุกสำนักงาน รับเล่มทางไปรษณีย์ กรุงเทพฯและปริมณฑลจัดส่ง 2-3 วันทำการ ต่างจังหวัดจัดส่ง 3-5 วันทำการ ค่าธรรมเนียมจัดส่ง EMS 40 บาท
ด่วนพิเศษ (รับเล่มในวันเดียวกันที่ยื่นทำ) : เล่ม 5 ปี 3,000 บาท เล่ม 10 ปี 3,500 บาท ยื่นขอทำได้ทุกสำนักงาน (ก่อน 11.00 น.) และรับเล่มได้ที่กรมการกงสุล

เอกสารที่ใช้ในการรับเล่มหนังสือเดินทางด้วยตนเอง (เฉพาะที่กรมการกงสุล)
1. ใบรับเล่มหนังสือเดินทางฉบับจริง
2. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริง

กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นมารับแทน
1. ใบรับเล่มหนังสือเดินทางฉบับจริง ซึ่งระบุการมอบอำนาจ
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจพร้อมลงนามรับรองเอกสาร
3. บัตรประจำตัวประชาชนฉบับจริงของผู้รับมอบอำนาจ

ขั้นตอนการจองคิวทำหนังสือเดินทาง (Passport) ผ่านระบบออนไลน์
1. เข้าเว็บไซต์ https://www.qpassport.in.th
2. เข้าสู่ระบบ หรือหายังไม่ได้ลงทะเบียนสมาชิกให้ลงทะเบียนสมัครสมาชิกใหม่ (กรอกข้อมูลส่วนตัว)
3. เลือกพื้นที่ที่ต้องการเข้ารับบริการ
4. เลือกประเภทการเข้ารับบริการ
5. เลือกสำนักงานหนังสือเดินทางที่ต้องการเข้ารับบริการ
6. เลือกวันที่ต้องการเข้ารับบริการ (จองล่วงหน้าได้ไม่เกิน 30 วัน)
7. เลือกเวลาที่ต้องการเข้ารับบริการ
8. เลือกวิธีรับเล่มหนังสือเดินทาง 

 


แหล่งอ้างอิง:
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (Department of Consular Affairs, หนังสือเดินทาง, สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2565 จากเว็บไซต์: https://consular.mfa.go.th/th/index
Royal Thai Embassy, Doha, Passport, สืบค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2565 จากเว็บไซต์: https://doha.thaiembassy.org/en/index







72

ขั้นตอนการทำหนังสือเดินทางของประเทศไทยต้องทำอย่างไร ทำที่ไหน ใช้เอกสารอะไรบ้าง ได้รวบรวมข้อมูลรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับหนังสือเดินทางไว้ดังนี้

อัปเดต สถานที่ทำพาสปอร์ต กรุงเทพ (ปริมณฑล) และต่างจังหวัด ทำพาสปอร์ตที่ไหนได้บ้าง


เครดิตข้อมูล: www.trueplookpanya.com/knowledge/content/92430
เครดิตภาพ: https://travel.trueid.net/detail/aLxl8aa7xmbL


•    ขั้นตอนการทำหนังสือเดินทาง วิธีทำพาสปอร์ต ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง





กรุงเทพฯ ปริมณฑล ทำพาสปอร์ตที่ไหนได้บ้าง?
ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีสถานที่เปิดให้บริการทำหนังสือเดินทาง (Passport) ทั้งหมด 9 แห่ง เดินทางง่าย ใกล้บ้าน ดังนี้


กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :          08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :          123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ :    Call Center 02 572 8442 หรือ 02 203 5000 กด 1 เพื่อติดต่อกรมการกงสุล
แผนที่ :       https://goo.gl/maps/3go6Q7ooiDhyDYjU6     

สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
(รับทำเฉพาะหนังสือเดินทางราชการเท่านั้น)
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :           ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (อาคารบี ประตูฝั่งทิศตะวันออก) ชั้น 7 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210
โทรศัพท์ :     02 143 7680
แผนที่ :         https://goo.gl/maps/KSB4ZTeMck3aemNu8       

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา - ศรีนครินทร์
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :           ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์ ชั้น 1 โซน C
โทรศัพท์ :     02 136 3800, 02 136 3802 และ 093 -0105246
แผนที่ :        https://goo.gl/maps/oVxYx2cUZdTeKFYE9       

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สายใต้ใหม่ - ตลิ่งชัน
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :            อาคาร SC Plaza สถานีขนส่งกรุงเทพ (สายใต่ใหม่) ถนนบรมราชชนนี
โทรศัพท์ :      02 422 3431
โทรสาร :       02 422 3432
แผนที่ :        https://goo.gl/maps/jAbq3YiDcRRXgpym6       

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว มีนบุรี
วันทำการ :      เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :             08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :             ศูนย์การค้าบิ๊กซี สาขาสุวินทวงศ์ 29 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม. 10510
โทรศัพท์ :       02 024 8362-64
แผนที่ :          https://goo.gl/maps/dCSqUvyqen3njtkb7       

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว MRT คลองเตย
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :           สถานีรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) คลองเตย ถนนพระราม 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม. 10110
โทรศัพท์ :     02-024-8896, 093-010-5247
แผนที่ :        https://goo.gl/maps/CJHt88z5Q9W7UFKC6       

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปทุมวัน
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - อาทิตย์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ และเสาร์ - อาทิตย์ที่เป็นวันหยุดยาว)
เวลา :           10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.)
ที่อยู่ :            ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ (MBK CENTER)ชั้น 5 โซน A ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ
โทรศัพท์ :      02 126 7612
แผนที่ :         https://goo.gl/maps/u8D4Qu4h2yivNHHUA         

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ธัญบุรี
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           10.00 - 18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30น.)
ที่อยู่ :            ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ชั้น 3 ถนนพหลโยธิน ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี
โทรศัพท์ :      02-150-9002
แผนที่ :         https://goo.gl/maps/KVZC9aGY6PnCX5KaA       

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางใหญ่
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - อาทิตย์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ และเสาร์ - อาทิตย์ที่เป็นวันหยุดยาว)
เวลา :           10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.)
ที่อยู่ :            ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เวสต์เกต ชั้น G ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ นนทบุรี
โทรศัพท์ :      02-194-2643
แผนที่ :         https://goo.gl/maps/sNEx44ZpjeeBZB3u5       

 

 

แหล่งที่มา:
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (Department of Consular Affairs), สถานที่ให้บริการหนังสือเดินทาง, สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2565 จากเว็ปไซต์: https://consular.mfa.go.th/th/index








ต่างจังหวัด ทำพาสปอร์ตที่ไหนได้บ้าง
อัปเดต 18 สถานที่ทำพาสปอร์ต สะดวกโดยไม่ต้องเข้ากรุงเทพ


ต่างจังหวัด ทำพาสปอร์ตที่ไหนได้บ้าง? ในต่างจังหวัดมีสถานที่ทำหนังสือเดินทางเปิดให้บริการ 18 แห่ง สามารถเข้ารับบริการได้อย่างสะดวกโดยไม่ต้องเข้ากรุงเทพฯ ดังนี้


ภาคเหนือ
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงใหม่
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :            ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา (อาคาร SMEs2) เลขที่ 456 หมู่ 1 ถนนเลียบคลองชลประทาน ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
โทรศัพท์ :      053-112-2912 หรือ 088-874-0251
แผนที่ :         https://goo.gl/maps/vL1cLA6UJrmqGyNEA

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงราย
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :           อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หลังใหม่ ถนนศูนย์ราชการ ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
โทรศัพท์ :    053-175-375
แผนที่ :       https://goo.gl/maps/aJqMDUtAW8git9ZPA

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พิษณุโลก
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           10.00 - 18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30น.)
ที่อยู่ :            ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก ชั้น G เลขที่ 9/99 หมู่ 5 ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
โทรศัพท์ :      055-338-426 และ 055-338-427
แผนที่ :         https://goo.gl/maps/1GSr9rHDDZvL32ej9


สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครสวรรค์
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           10.00 - 18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30น.)
ที่อยู่ :            ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขา 2 ชั้น 2 ถนนมาตุลี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
โทรศัพท์ :      056-370-800 และ 056-370-802
แผนที่ :         https://goo.gl/maps/rjZuLRQFiRJcKngt8

 

ภาคอิสาน
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุดรธานี
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           10.00 - 18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30น.)
ที่อยู่ :            ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา อุดรธานี ชั้น 3 ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
โทรศัพท์ :      042-212-827, 042-212-318 และ 042-222-861
แผนที่ :         https://goo.gl/maps/6umPRbStzEmF2Uz66

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ขอนแก่น
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :           ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น (หลังเก่า) ชั้น 1 ถนนศูนย์ราชการ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
โทรศัพท์ :     043 242 655 และ 043 242 707
แผนที่ :        https://goo.gl/maps/k64NmvWd3HvFV2bR6

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุบลราชธานี
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :           อาคารศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ชั้น 1 ด้านหลังผั่งทิศตะวันตก จังหวัดอุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ :     045 344 581 และ 045 344 582
แผนที่ :        https://goo.gl/maps/XzsSzFsMtZjMnCDA6

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครราชสีมา
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           10.00 - 18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30น.)
ที่อยู่ :            ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา ชั้น 3 เลขที่ 990,998 ถนนมิตรภาพ-หนองคาย  ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
โทรศัพท์ :      044 243 132, 044 243 133
แผนที่ :         https://goo.gl/maps/gUqc9ML9ZqewmRjd7

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บุรีรัมย์
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :           โครงการบุรีรัมย์ คาสเซิล (Buriram Castle) เลขที่ 444/8 หมู่ 15 ตำบลอิสาณ  อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์
โทรศัพท์ :     044-666-496
แผนที่ :        https://goo.gl/maps/LnBmuka5JAMnJwtb9

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว หนองคาย
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :           สำนักงานออกหนังสือผ่านแดนชั้น 2 ศูนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
โทรศัพท์ :    042-414-508
แผนที่ :       https://goo.gl/maps/xhypwvxURfFZZMio7

 

ภาคตะวันออก/ตะวันตก
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พัทยา
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :           ศูนย์การค้าพัทยาอเวนิว ชั้น 1 ถนนพัทยาสาย 2 เลขที่ 399/9 หมู่ 10 ถนนพัทยาสาย 2 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20150
โทรศัพท์ :     038-422438
แผนที่ :        https://goo.gl/maps/yZbBT5cBtHUTHatK7

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จันทบุรี
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :            อาคารลานค้าชุมชน ถ.เลียบเนิน ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000
โทรศัพท์ :     039-301-706-9
แผนที่ :        https://goo.gl/maps/xi3VTeDXzv6QnHPH6

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เพชรบุรี
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           10.00 - 18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30น.)
ที่อยู่ :            ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เพชรบุรี ชั้น 2 เลขที่ 162 หมู่ 1 ตำบลสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
โทรศัพท์ :      032-491-827
แผนที่ :        https://goo.gl/maps/FDQAWCXLDSPN8U5z5

 

ภาคใต้
สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สุราษฎร์ธานี
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           10.00 - 18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30น.)
ที่อยู่ :            ห้างสหไทย การ์เด้นพลาซา ชั้น 3 ถนนตลาดใหม่ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ :      077-274-940,077-274942 ถึง 3
แผนที่ :         https://goo.gl/maps/jSJWCayG8HV9eDkx8

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ภูเก็ต
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           10.00 - 18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30น.)
ที่อยู่ :            ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เฟสติวัล ชั้น B ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
โทรศัพท์ :      076-222-080, 076-222-081, 076-222-083
แผนที่ :         https://goo.gl/maps/oofdR65gZZXbZCX87

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สงขลา
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :           อาคารโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 5 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ (ใกล้ท่าแพขนานยนต์)  อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา
โทรศัพท์ :     074-326-510,074-326-511
แผนที่ :        https://goo.gl/maps/g3DQhKJ7PCukQWwN8

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ยะลา
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           08.30 - 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.)
ที่อยู่ :           ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000
โทรศัพท์ :     073-274-526, 073-274-036, 073-274-037
แผนที่ :        https://goo.gl/maps/SLMewQMihm7J6oYN6

 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครศรีธรรมราช
วันทำการ :    เปิดบริการวันจันทร์ - ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
เวลา :           10.00 - 18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30น.)
ที่อยู่ :            ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ชั้น 3 หมู่ 7 ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช
โทรศัพท์ :      075-392-872
แผนที่ :         https://goo.gl/maps/jKqfTRsb9oJNiRU66

 

แหล่งที่มา:
กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (Department of Consular Affairs), สถานที่ให้บริการหนังสือเดินทาง, สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2565 จากเว็ปไซต์: https://consular.mfa.go.th/th/index












73
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ ถ้ามีภาพขนาดใหญ่ รบกวนส่งให้ผมผ่านเมล์ sing2068@gmail.com หรือส่งผ่านไลน์ id : 0818462316 ก็ได้ครับ

เพื่อจะเอาไปฝากบนเซิร์ฟเวอร์ของเว็บ แล้วดึงภาพไปวางตำแหน่งเดิมให้ครับ ภาพจะได้ชัด ใหญ่โต ดูชัดเจน


อ่าผมตามลิ้งค์เข้าไปดูแล้ว เราดึงลิ้งค์ภาพมาวางได้เลยครับ
http://decem.co.th/download/ThaiHamAntennaRotator.png


แต่เคสนี้ผมเอาไปฝากที่เซิร์ฟเวอร์แล้วดึงลงมาแทน ภาพจะได้อยู่คู่เว็บตลอดไปครับ
74
นักวิทยุสมัครเล่นที่ใช้สายอากาศทิศทางที่มุ่งจะทดสอบสัญญาณกับต่างจังหวัด ทุกคนจะมีคำถามเสมอ ว่าต้องหันสายอากาศไปทางไหน กี่องศา จึงจะตรงจังหวัดคู่สถานีที่สุด ผมเป็นคนหนึ่งที่เคยมีคำถามนี้ และด้วยความที่มีพื้นฐานเดิมในการพัฒนาระบบวาดแผนที่มาก่อน จึงนำข้อมูลตำแหน่งอำเภอเมืองของทุกจังหวัดที่มีอยู่มาคำนวณเป็นองศาระหว่างแต่ละจังหวัด เพื่อให้เป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับนักวิทยุสมัครเล่น ตลอดไปจนผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับคลื่นวิทยุและสายอากาศทิศทางทุกท่าน ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่สำรวจในช่วงปี 2545 ซึ่งเท่าที่ตรวจสอบได้จนถึงปัจจุบัน ยังเพียงพอกับการใช้งาน โดยสามารถโหลดรูปที่ความละเอียดสูงขึ้นได้จาก http://decem.co.th/download/ThaiHamAntennaRotator.png

ข้อมูลในตารางคือทิศทางเป็นองศาระหว่างจังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยใช้ตำแหน่งอำเภอเมืองเป็นหลัก จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้นักวิทยุสมัครเล่นการปรับตั้ง Rotator หรือผู้มีอาชีพเกี่ยวกับสายอากาศในการหันทิศทางสายอากาศไปยังจังหวัดต่าง ๆ ขอให้สนุกกับคลื่นวิทยุครับ

อันที่จริงข้อมูลตอนนี้มีระดับอำเภอ(900 หย่อนๆ) นะครับ หรือจะทำถึงระดับตำบล(6 เกือบ 7000)-หรือหมู่บ้าน(70000 กว่า)ก็เป็นไปได้ หมายความว่าสามารถเขียนโปรแกรมให้ป้อนชื่ออำเภอบางส่วน (free text search) เช่น บ้านโฮ่ง กงไกรลาศ แล้วให้โปรแกรมคิดทิศการหันสายอากาศจากอำเภอบ้านโฮ่ง จังหัดลำพูนไปหาอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัยได้ทันที ซึ่งได้ทำเสร็จไปแล้ว

และที่ได้ปรับปรุงให้ขยายขอบเขตการใช้งานขึ้นไปอีก คือให้อ่านค่าตำแหน่งพร้อมทั้ง heading คือทิศทางที่เรือ เครื่องบินหรือยานพาหนะกำลังมุ่งหน้าไปจาก GPS แล้วนำมาคำนวณรวมทั้ง compensate ทิศทางการหันสายอากาศให้เดี๋ยวนั้นทันที อันนี้ก็ทำไปแล้ว สนใจติดต่อที่ facebook Pat Jojo Sadavongvivad ได้ครับ  :huh:





75
จีนแอบบ่น! ไทยเจรจายากสุด ปัดกู้จีนจ่ายเงินสร้างรถไฟความเร็วสูงเอง ไทยได้อะไรจากการถ่ายทอดเทคโนโลยี?

เห็นจีนสร้างให้ลาวไหมหล่ะ มีที่ไหนภาษาที่ติดตามป้ายบอกต่างๆมีแค่ภาษาจีน+ลาว เท่านั้น ไม่มีภาษาสากลเลย ควายเท่านั้นที่คิดแบบนี้ และลาวก็ไร้สมองไม่เคยติติงเลย สมแล้วที่เป็นมณฑลนึงของจีน


76
สะเทือนใจกับคนรุ่นใหม่ที่ถูกครอบงำไม่รู้ดีชั่ว จากการเมืองชั่วๆ+ข้าราชการชั่วๆ




ขออนุญาตนำบทสัมภาษณ์ของพระองค์ท่านมาเผยแพร่บนเว็บแห่งนี้



อ้างถึง
พระเทพฯ ทรงกล่าวให้สัมภาษณ์

1. จากนี้ไปประเทศไทยของเราจะไม่มีวันเหมือนเดิมอีก อาจมีหลายสิ่งเปลี่ยนไป รอยต่อของคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่อาจชัดเจนขึ้น มันคือการเปลี่ยนผ่านในวันที่พ่อไม่อยู่ ทุกคนมีสิทธิ์เสียใจ และควรเสียใจ ทุกคนมีสิทธิ์กลัว และควรกลัว แต่จงตระหนัก เตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้วยสติปัญญา

2. พ่อคือตัวแทนของความพอเพียง เป็นต้นฉบับของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในวันที่ประเทศไทยกำลังถูกปั่นด้วยกระแสความโลภ จงหยิบภูมิปัญญาของท่านมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จดจำหลอดยาสีฟันของท่านไว้ จดจำการแต่งกายที่เรียบง่ายของท่านไว้ อะไรที่ประหยัดได้จงประหยัด อะไรที่พึ่งพาตนเองได้จงพึ่งพา อะไรที่แบ่งปันได้จงแบ่งปัน เมื่อยืนด้วยลำแข้งตัวเองได้แล้ว เราจะพึ่งพาผู้อื่นน้อยลง

3. พ่อเป็นผู้มีความเพียรดุจพระมหาชนก ท่านเป็นผู้ว่ายน้ำข้ามมหาสมุทรโดยไม่เคยถามว่าเมื่อไหร่จะถึงฝั่ง ความคิดเช่นนี้ทำให้ท่านทำงานที่ยิ่งใหญ่ได้ ฝากถึงคนไทย อย่าทำงานด้วยตัณหา อย่าขับเคลื่อนชีวิตด้วยความอยากมี อยากได้ อยากเป็น อย่าให้อำนาจวัตถุบังตาจนไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี จงขับเคลื่อนชีวิตและการงานด้วยฉันทะ ความรัก ความเมตตา ด้วยประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เหมือนที่พ่อเคยทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง

4. พ่อยืนเคียงข้างคนยากจนเสมอ คนจนอยู่ที่ไหนท่านก็อยู่ที่นั้น ท่านเดินทางบุกป่าฝ่าดงไปเยี่ยมพวกเขาถึงบ้าน เป็นพระราชาผู้อยู่ง่าย กินง่าย ไม่ยึดติดความหรูหรา เมื่อพ่อไม่อยู่แล้ว เราอย่าหลงลืมปณิธานข้อนี้ อย่าทอดทิ้งคนยากจน จงหยิบยื่นโอกาสให้ผู้ด้อยกว่า อย่าใช้ช่องว่างกฎหมายซ้ำเติมและเอาเปรียบผู้อื่น

5. ไม่มีท่าน เราจะมานั่งทะเลาะกันเหมือนในอดีตไม่ได้ เพราะไม่มีใครที่จะมาห้ามเราได้ ไม่มีใครอีกแล้วที่เราจะเกรงใจ รับฟังเหมือนที่เคยรับฟังท่าน ถ้าทุกฝ่ายไม่คิดถึงข้อนี้ให้มาก ถ้ายังเอาแต่ความคิดตนเป็นใหญ่ ประเทศไทยที่เรารัก ย่อมตกอยู่ในฐานะอันตราย เมื่อพ่อไม่อยู่แล้ว จงรักและถนอมน้ำใจกันให้มากกว่าที่ผ่านมา

6. สิ่งที่พ่อทิ้งไว้ ไม่ใช่เพียงอิฐ หิน ปูน ทราย แต่เป็นความรู้ขั้นปรีชาญาณ เราอาจรักษาร่างกายท่านไว้ไม่ได้ เพราะนั่นคือกฎธรรมชาติ แต่เราสามารถรักษาภูมิปัญญาของท่านไว้ได้ จงค้นคว้าข้อมูลทางเทคนิคต่างๆ ฝนเทียมเกิดได้อย่างไร กังหันน้ำชัยพัฒนาคืออะไร มันมีความน่าทึ่งยังไงในมิติทางวิศวกรรม การเพาะปลูกโดยไม่พึ่งสารเคมีทำได้อย่างไร การพัฒนาดิน รักษาน้ำ ชุบชีวิตป่าเป็นอย่างไร ทำไมท่านไม่สนับสนุนให้ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำไมท่านจึงส่งเสริมให้ชาวบ้านรู้จักการห่มดิน ท่านเคยสร้างรากฐานอันใดไว้ให้วงการเกษตรกรรมของชาติ สิ่งเหล่านี้ควรสนับสนุนให้มีการร่ำเรียนกันเป็นระบบ ในโรงเรียน มหาวิทยาลัย ถ้าเราทำเช่นนี้ได้ภูมิปัญญาที่ท่านคิดค้นมาหลายสิบปีจะไม่สูญหายไปจากสังคมไทย

7. จากนี้ไปจะมีคนอีกมาก ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง อาจมีคนที่ไม่เข้าใจท่านออกมาพูดในสิ่งที่เราไม่ชอบ จงใช้สติ อดทน ไม่โต้ตอบ เหมือนที่ท่านได้กระทำมาชั่วชีวิต พระพุทธเจ้าตรัสไว้เสมอ ไม่เคยมีสันติภาพใด เกิดจากความรุนแรงและคำด่าทอ

8. พ่อเป็นผู้ค้ำชูศาสนาโดยแท้จริง ไม่ใช่ด้วยคำพูด หรือแค่เม็ดเงินบริจาค แต่ท่านคือผู้พิสูจน์ธรรมะด้วยกายใจ ในฐานะผู้ปฏิบัติธรรม ท่านคือนักภาวนาที่หาตัวจับยาก เป็นผู้มีอานาปานสติเป็นวิหารธรรม ทำไมพ่อทำงานหนัก แต่ยังมีเวลาภาวนา ทำไมเราทำงานน้อยกว่าท่าน แต่เรากลับอ้างว่าเราไม่มีเวลา สิ่งนี้ต้องคิดให้มาก เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเอง

9. พ่อคือครูผู้ยิ่งใหญ่ที่สอนด้วยชีวิตและการกระทำ ชีวิตคือธรรมะ และธรรมะก็คือชีวิตที่ตั้งอยู่ในความธรรมดาที่เกิดขึ้นกับเราทุกคน พ่อกำลังบอกเราว่า จงดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท ทำให้ดีที่สุดในวันนี้ จะไม่ต้องติดค้างเสียใจในภายหลัง

10. แม้วันนี้พ่อจะไม่อยู่ แต่ขอให้ชาวไทยจงวางใจว่า สถานที่ที่ท่านเดินทางไปนั้น น่าอยู่และงดงามกว่านี้หลายเท่า ท่านคือพระโพธิสัตว์ผู้ผ่านมาสร้างแสงสว่าง การเกิดของท่านในชาตินี้เป็นการเกิดที่สมศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ และเราทั้งหลายควรภูมิใจไปกับท่าน ท่านคงไม่อยากให้เราคนไทยถูกทับถมด้วยทะเลแห่งความเศร้า อย่าทิ้งหน้าที่ อย่าทิ้งการงาน และสิ่งต่างๆ ที่รับผิดชอบอยู่ จงตั้งสติให้มั่นคง เป็นกำลังสมาธิ เป็นความสว่างเบิกบาน เพื่อน้อมส่งท่านสู่สวรรค์คาลัย ด้วยหัวใจแห่งความรักของเราชาวไทยทุกคน…

 อ่านจบ อดไม่ได้ที่จะแชร์ต่อ เพราะเป็นประโยชน์มากๆ ควรจดจำให้ขึ้นใจ..ทิ้งไม่ได้แม้แต่ข้อเดียว..เลยคัดลอกมาให้ทุกท่านได้อ่านด้วยกัน..






77

ทะเล่อทะล่า “บินโดรน” ถอดบทเรียน “จับ - ปรับ - ขังคุก”

เครดิต: www.mgronline.com/daily/ผู้จัดการสุดสัปดาห์

ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - ในขณะที่ “โดรน” (Drone) ได้รับความนิยมมาขึ้น โดยเฉพาะการถ่ายภาพจากมุมสูง เรื่องเล่าอุทาหรณ์ “บินโดรน” เพราะคิดน้อย ละเลยกฎหมาย คิดเพียงว่าบินโดรนเก็บภาพมสูงแค่ “แป๊บเดียว คงไม่เป็นไร” แต่ผลลัพธ์รุนแรง เพราะเมืองไทยมีกฎหมายคุมการบินโดรนบังคับใช้อย่างเข้มข้น

เรื่องราวของช่างภาพรายหนึ่ง โพสต์เรื่องราวของผ่านเฟซบุ๊ก  “อำพล ทองเมืองหลวง” หลังโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจจับเนื่องจากการขึ้นบินโดรนไม่ขออนุญาต เพราะเจ้าตัวคิดว่า  “แป๊บเดียว ไม่เป็นไร”  โดยเจตนาของช่างภาพหนุ่มเพียงต้องการเก็บภาพภาพมุมสูง โดยขึ้นบินโดรนไม่ถึง 5 นาที ซึ่งเจ้าตัวยอมรับว่า  “คิดน้อย”

กล่าวคือเจ้าตัวทราบถึงกฎหมายการบินโดรน ต้องมีใบอนุญาต ทั้งพื้นที่ห้ามบินโดรน ฯลฯ แต่ละเลยคิดว่าไม่เป็นไร งานนี้จึงเป็นเรื่องราวใหญ่โต จึงนำเรื่องราวของตัวเองแชร์เพื่อเป็นอุทาหรณ์

หลังจากนั้น โดนเรียกตัวเข้าพบเจ้าหน้าตรวจเช็กใบอนุญาต เช็กใบลงทะเบียนโดรน ตรวจเส้นทางการบิน ความสูง แบบละเอียด และสอบเจตนา ถูกดำเนินคดี กระทำผิด พ.ร.บ.การเดินอากาศ พ.ศ.2497 มาตรา 24 โทษจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท และงานนี้เกือบนอนห้องขัง หากไม่มีเงินประกันตัว ต่อมาถูกส่งฟ้องศาล สั่งปรับ 3,000 บาท

สำหรับเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicl e: UAV) หรือ โดรน (Drone) ถูกนำมาใช้กิจการด้านต่างๆ ทั้งในเชิงพาณิชย์และส่วนบุคคลมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการที่นำมาใช้อย่างกว้างขวาง ย่อมเกิดข้อกังวลต่อความเสี่ยงด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น ทั้งด้านความมั่นคงต่อพื้นที่ และความเป็นส่วนตัวของประชาชน

ย้อนความเป็นมาของ “โดรน” แต่เดิมเป็นอุปกรณ์ทางการทหารที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับสอดแนมพื้นที่แนวรบ มีการติดตั้งกล้องเพื่อถ่ายภาพจากมุมสูง เก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ เป็นต้น ก่อนได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในการถ่ายภาพมุมสูง

นอกจากนี้ ผลการศึกษาจากวิทยานิพนธ์เรื่อง  “การกำหนดความรับผิดทางอาญาจากการละเมิดความเป็นส่วนตัวโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ” โดย  อังค์วรา วัฒนรุ่ง เกี่ยวกับปัญหาการบังคับใช้กฎหมายไทยกับการใช้อากาศยานไร้คนขับในการละเมิดความเป็นส่วนตัว ยังสะท้อนถึงความช่องว่างที่อาจทำให้โดรนถูกนำมาใช้ในทางไม่เหมาะสม

ระบุว่าโดรนเป็นสิ่งประดิษฐ์ชนิดใหม่ที่ถูกนำมาใช้ในงานกิจการด้านต่างๆ ทั้งในชีวิตประจำวันของมนุษย์ ในเรื่องที่เป็นงานอดิเรกเพื่อความบันเทิงส่วนตัว และถูกนำไปใช้ในทางธุรกิจการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และในงานราชการ รวมทั้งในกิจการทางทหาร ซึ่งเทคโนโลยีของโดรนได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถทำได้หลายอย่าง ส่วนใหญ่จะติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น กล้องถ่ายรูป หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อรวบรวมข้อมูล อีกทั้งยังมีขนาดเล็ก กะทัดรัด และราคาถูก หาซื้อได้ง่ายและใช้งานง่าย จึงมีการนำโดรนมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่นได้

ประเด็นที่น่าสนใจ คือ โดรนอาจถูกนำมาใช้ในการกระทำความผิด เช่น การใช้ในการถ้ำมอง (Voyeurism), การใช้ในการสอดแนม (Spying), ติดตามบุคคลอื่น (Stalking), การใช้ในการสำรวจรอบบ้านเพื่อทำการบุกรุกเข้าไปขโมยทรัพย์สินในบ้าน (Burglary), การใช้ลักลอบขนส่งสิ่งของผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด หรืออาวุธร้ายแรง หรือแม้กระทั่งการใช้เป็นอาวุธในการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล (Hacking) ตลอดจนการก่อการร้าย และการใช้บินเข้าไปในพื้นที่ต้องห้าม เป็นต้น

ดังนั้น ควรมีมาตรการทางกฎหมายโดยเฉพาะสำหรับโดรน เพื่อกำหนดขอบเขตว่ารูปแบบของการกระทำความผิดแบบใดบ้างที่จะต้องมีความรับผิดชอบเกิดขึ้น

ในส่วนของภาครัฐจึงมีการออกกฎหมายกำกับเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน เพื่อความเป็นระบบระเบียบ รวมถึงพัฒนาเงื่อนไขต่างๆ ให้เท่าทันยุคสมัยมากขึ้น

 สำหรับผู้ใช้โดรน ต้องขึ้นทะเบียนโดรนกับ 2 หน่วยงาน คือ 1. ขึ้นทะเบียนผู้ครอบครองโดรนที่ สำนักงาน กสทช. เสมือนการทำทะเบียนรถยนต์ และ 2. ขึ้นทะเบียนผู้บังคับโดรนที่ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เสมือนการทำใบขับขี่รถยนต์

โดยโดรนที่ต้องขึ้นทะเบียนกับ 2 หน่วยงาน คือ 1. โดรนทุกประเภท ต้องขึ้นทะเบียนผู้ครอบครองโดรนที่ สำนักงาน กสทช. (NBTC) และ 2. โดรนที่มีคุณสมบัติดังนี้ 2.1 ติดตั้งกล้องบันทึกภาพ ต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี .2 โดรนที่น้ำหนักเกิน 2 กก. แต่ไม่เกิน 25 กก. ต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี (โดรนที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 2 กิโลกรัม ไม่ต้องขึ้นทะเบียน) 2.3 โดรนที่น้ำหนักเกิน 25 กก. ขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี และต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังลือจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต้องขึ้นทะเบียนผู้บังคับโดรนที่ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT)

ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุด กสทช. ออกประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการอนุญาตโดรน หรืออากาศยานไร้คนขับ ระบุว่า ผู้ที่ครอบครองโดรนที่มีน้ำหนักไม่เกิน 250 กรัม ต้องมาขึ้นทะเบียนเหมือนกับโดรนทั่วไป เพื่อให้ใช้งานได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง

โดยกำหนดบทลงโทษ ตาม พ.ร.บ การเดินอากาศ และข้อบังคับการทำการบินอากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน หากใครกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ดังกล่าว เบื้องต้น มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยาน ซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ.2558 สาระสำคัญของการบินอากาศยานไร้คนขับในระหว่างทำการบินนั้นก็มีหลายข้อห้ามด้วยกัน

1. ห้ามมิให้ทำการบินในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และรบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น อีกทั้งยังห้ามทำการบินเข้าไปในบริเวณเขตห้าม เขตจำกัด และเขตอันตรายตามที่ประกาศในเอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย รวมทั้งสถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่

2. กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องสามารถมองเห็นอากาศยานได้ตลอดเวลาที่ทำการบิน และห้ามทำการบังคับอากาศยานโดยอาศัยชุดกล้องบนอากาศยานหรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง โดยจะต้องทำการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน ห้ามทำการบินเข้าใกล้หรือเข้าไปในเมฆ และห้ามทำการบินภายในระยะ 9 กิโลเมตรจากสนามบิน หรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต

3. ห้ามทำการบินโดยใช้ความสูงเกิน 90 เมตรเหนือพื้นดิน ห้ามทำการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่ ห้ามบังคับอากาศยานเข้าใกล้อากาศยานซึ่งมีนักบิน ห้ามทำการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น ห้ามทำการบินโดยก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรำคาญแก่ผู้อื่น ห้ามส่งหรือพาวัตถุอันตรายตามที่กำหนดในกฎกระทรวงหรืออุปกรณ์ปล่อยแสงเลเซอร์ติดไปกับอากาศยาน ห้ามทำการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรืออาคาร น้อยกว่า 30 เมตร

 มีการกำหนดสถานที่ห้ามบินโดยเด็ดขาด มีโทษปรับและจำคุก อาทิ เขตพระราชฐาน, สถานที่ราชการ ค่ายทหาร โรงพยาบาล อุทยานแห่งชาติ, ย่านชุมชน และสนามบินในะระยะ 9 กม. นอกจากนี้ ในพื้นที่กรุงเทพฯ ห้ามบินในพิกัด 19 กม. จากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบพื้นบินโดรน ได้ผ่านแอปพลิเคชั่น OpenSky

และอย่าคิดว่าแอบบินโดรนแป๊บเดียวไม่เป็นไร เพราะมีหน่วยงานกำกับดูแลตรวจสอบการขึ้นบินโดรนอย่างใกล้ชิด หากพบกระทำการละเมิดกฎหมายจะมีการดำเนินคดีอย่างแน่นอน

ดังนั้น จะเห็นว่าการควบคุมการบินโดรนมีรายละเอียบยิบย่อย ผู้ใช้โดรนต้องเรียนรู้ทำความเข้าใจอย่างรอบคอบ กล่าวโดยสรุปคือการครอบครองและการบินโดรน ต้องมีใบอนุญาต ต้องขึ้นทะเบียนผู้ครอบครองโดรน กับ กสทช. เสมือนการทำทะเบียนรถยนต์ และขึ้นทะเบียนผู้บังคับโดรนกับ กพท. เสมือนการทำใบขับขี่รถยนต์ รวมทั้ง ศึกษาเงื่อนไขการขึ้นบินโดรน อาทิ สถานที่ห้ามบิน ระดับความสูง ฯลฯ

 สุดท้ายการบินโดรนในเมืองไทยไม่ใช่เรื่องต้องห้าม เพียงแต่ต้องเรียนรู้และปฏิบัติตามกติกา.



78
คนทั่วโลกอยากมีนิสัยแบบคนไทย ต่างก็ส่งลูกมาเรียนที่ไทย

เป็นไงคนไทยรักประเทศตนเองมั่งมั๊ย ทำไมด้อยค่าประเทศตนเอง จ้องล้มล้างสถาบัน

ทุกวันนี้ อนาคตต่อไปนี้ ไทยจะกลืนโลกทั้งใบ โดยไม่ต้องไปทำสงครามเลย


79
ช่องความถี่ดาวเทียมนำทาง ดาวเทียมบอกตำแหน่ง (GPS)
ใช้ความถี่ตามด้านล่าง

GPS L1:   1,550 - 1,600 MHz.
GPS L2:   1,200 - 1,300 MHz.

80
คนโง่ชวนกันไปกราบไหว้พญานาค ยิ่งไหว้ยิ่งไกลห่างพระพุทธเจ้า หลวงปู่หา สุภโร





หลวงปู่ขาวเล่าถึงปู่ศรีสุทโธและเมืองบาดาล | EP.72 เรื่องเล่าพระธุดงค์ | หลวงปู่ขาว อนาลโย
หน้า: 1 ... 4 5 6 7 [8] 9 10
                             
GPStt.com จะแสดงผลถูกต้อง ฟ้อนต์สวยงาม เข้าเว็บได้เร็ว เมื่อท่านใช้เบราเซอร์ Chrome และ Firefox เท่านั้น ไม่รองรับ Internet Explorer  

กลุ่มท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ. แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ | แหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ (สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว)
การเดินทาง, เครื่องนำทาง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ฟรี.. แผนที่GPS ลาว กัมพูชา พม่า (ทั่วโลก) แบบเทพๆ | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 1 | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 2
ลิ้งค์ที่น่าสนใจทั่วไป.. ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | บอร์ดนักวิทยุสมัครเล่น | ตรวจสอบการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นจากชื่อหรือนามเรียกขาน |ตรวจสอบนามเรียกขานที่ถูกยกเลิก | กสทช.กิจการวิทยุสมัครเล่น (เค้าอัพเดทแล้วนะ 31/1/60) | Checkdomain.com | ดาวน์โหลดวีดีโอจากเฟซบุ๊ค | ร้านซ่อมดอทคอม | แปลงไฟล์ออนไลน์ youtube เป็น mp3 ลิ้งค์1, ลิ้งค์2, ลิ้งค์3 | convert PDF to JPG | ตระกูลแปลงไฟล์ | แปลงไฟล์ ภาพ webp เป็น jpg | หมากรุกออนไลน์ | ทีวีออนไลน์ | แปลงไฟล์เสียงออนไลน์ | ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย | หมากรุกออนไลน์ | เว็บแปลงค่า-1 | เว็บแปลงค่า-2 | ค้นหาและแบ่งปันหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก | แปลงลิ้งค์ URL ให้สั้นลง | โปรแกรม PhotoRoom ลบฉากหลังของภาพออนไลน์ | เช็คคีย์บอร์ดออนไลน์ ก่อนเสียเงินซื้อใหม่ |