:: GPStt.com ::

หมวด ข่าวสาร อุปกรณ์ท่องเที่ยว
=> แหล่งท่องเที่ยวใน โครงการหลวงฯ, อุทยานแห่งชาติ => ข้อความที่เริ่มโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557, เวลา 22:26:01 น.

หัวข้อ: ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์
เริ่มหัวข้อโดย: ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก) ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2557, เวลา 22:26:01 น.
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/img-royalproject/logo.png) (http://www.thairoyalprojecttour.com/?cat=7)

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์
(38 เส้นทางความสุข ,38 โครงการหลวง)

[attach=1]


พ.ศ.2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรชาวเขาในเขตหมู่บ้านวัดจันทร์ ทรงทราบถึงความทุกข์ยากของชาวเขาในพื้นที่ ตลอดจนเส้นทางคมนาคมก็ไม่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต จึงมีพระราชดำริให้มีการพัฒนาบ้านวัดจันทร์และหมู่บ้านใกล้เคียง จัดตั้งศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ขึ้นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของราษฎรในพื้นที่ ส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมปลูกพืชผักและผลไม้เมืองหนาว

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ มีพื้นที่รับผิดชอบ 153,592 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 19 หมู่บ้าน และพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2 หมู่บ้าน ประชากรในพื้นที่เป็นชาวเขาเผ่าปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) จำนวน 1,823 ครัวเรือน ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ป่าสนและป่าเต็งรังขนาดใหญ่ที่อุดมสมบูรณ์ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 960 เมตร

กิจกรรมการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร

(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  ชมแปลงสาธิตผักและผลไม้เมืองหนาว เช่น บ๊วย พลับ พลัม สาลี่ ฯลฯ
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  ชมแปลงสาธิตผักและผลไม้ของชาวกะเหรี่ยง
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  ชมแปลงผักเกษตรพืชผักหลากหลายสีภายในศูนย์ฯ  เช่น แรดิชชิโอ สวิสชาร์ด อาติโช๊ค ฟักทองมินิ กระเทียมต้น ฯลฯ
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  ชมงานส่งเสริมปศุสัตว์บนพื้นที่สูง เช่น กระต่าย กวาง ไก่หลากหลายสายพันธุ์ แพะ ฯลฯ

การท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  ชมความงามของป่าสนอายุกว่าร้อยปี ถือเป็นป่าสนเขาธรรมชาติผืนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีทั้งสนสองใบและสนสามใบ ซึ่งมีเส้นทางศึกษาธรรมชาติ 2 เส้นทาง คือ เส้นทางที่ 1 ชมป่าสนสองใบ เป็นป่าสนธรรมชาติ มีกล้วยไม้ป่าและนกประจำถิ่นหลายชนิดอยู่ห่างจากศูนย์ฯ 3 กิโลเมตร (เส้นทางรถประมาณ 1 กิโลเมตร จากนั้นเดินเท้าอีก 2 กิโลเมตร) เส้นทางที่ 2 ชมป่าสนสามใบ มีพรรณไม้ป่าและนกหายากหลายชนิด เป็นทางเดินเท้าห่างจากศูนย์ฯประมาณ 1 กิโลเมตร
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  ชมนาป่าสนมนต์เสน่ห์อย่างหนึ่งของวัดจันทร์
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  ชมแปลงดอกไม้ภายในศูนย์ เช่น ดอกไฮเดรนเยีย และดอกกระเจียว
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  จุดชมวิวทะเลหมอก อยู่ช่วงต่อระหว่างบ้านเด่น อำเภอกัลยานิวัฒนา กับบ้านห้วยตอง อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  น้ำตกห้วยฮ่อม เป็นน้ำตกที่เป็นกิ่วน้ำ (ตาน้ำ) ของลำน้ำแม่แจ่ม และลำน้ำปาย มีทิวทัศน์ร่มรื่น เต็มไปด้วยเฟิน
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  ชมต้น “หยาดน้ำค้าง”  ซึ่งเป็นพืชที่กินแมลงและมีต้นที่สวยงาม
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  อ่างเก็บน้ำห้วยอ้อ เป็นอ่างเก็บน้ำของกรมชลประทาน มีภูมิทัศน์โดยรอบเป็นป่าสนสวยงาม

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  ชมวิถีชีวิตชาวปกาเกอญอ ซึ่งจะนิยมแต่งกายในชุดชนเผ่าในวันเช่นตย์และวันพระ ชมการทอผ้ากี่เอว และเครื่องดนตรีของชาวกะเหรี่ยง
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  ประเพณีการเลี้ยงผี ซึ่งมีความเชื่อว่าเป็นการขอขมา และขอพรจากผีเจ้าบ้านเจ้าเมืองให้ทำกิจการงานสำเร็จ
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  พิธีมัดมือ เป็นพิธีทำบุญเรียกขวัญแก๊สมาชิกในหมู่บ้าน จัดขึ้นปีละ 1-2 ครั้ง
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  พิธีเลี้ยงแก้บน จัดขึ้นเพื่อปัดเป่าทุกข์ให้แก่ผู้ป่วย
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  พิธีต้อนรับแขกจากชาสูตรเฉพาะ โดยผสมเกลือลงในน้ำชาเล็กน้อย
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  ชมโบสถ์เรย์แบนที่มีลักษณะแปลกตา ตั้งอยู่ในเขตวัดจันทร์
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  พระธาตุจอมแจ้ง พระธาตุเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีอายุมากว่า 300 ปี และที่นี่ยังสามารถชมวิวของหมู่บ้านได้อีกด้วย

(http://www.gpsteawthai.com/Themes/img-royalproject/k30_02.jpg) (http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/watchan-1.jpg) (http://www.gpsteawthai.com/Themes/img-royalproject/k30_03.jpg) (http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/watchan-2.jpg) (http://www.gpsteawthai.com/Themes/img-royalproject/k30_04.jpg) (http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/watchan-3.jpg) (http://www.gpsteawthai.com/Themes/img-royalproject/k30_05.jpg) (http://www.thairoyalprojecttour.com/wp-content/uploads/2011/12/watchan-4.jpg)

ของฝากของที่ระลึก

(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  งานหัตถกรรมชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง เช่น ผ้าทอ ผ้าปัก เครื่องจักสาน ฯลฯ
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  พืช ผัก ผลไม้เมืองหนาวตามฤดูกาล

ที่พัก

(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  บ้านพักรับรองภายในศูนย์ฯ จำนวน 4 หลัง พื้นที่กางเต็นท์ใต้ร่มเงาต้นสน บริการเช่าเต็นท์และถุงนอน กรณีนำเต็นท์มาเองคิดค่าบำรุงพื้นที่ สอบถามข้อมูล โทร 053-318-325, 084-365-5465
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  โฮมสเตย์ จำนวน 2 หลัง
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/Yabb_SE_Next_Gen_SMF2/images/sp/dot2.png)  ที่พักขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (ออป.) ติดต่อจองที่พัก โทร 053-249349 หรือสอบถามข้อมูล โทร 053-317-606, 086-181-3388

ร้านอาหาร

ภายในศูนย์ฯ ไม่มีร้านอาหารบริการ แต่สามารถสั่งรายการอาหารล่วงหน้าสำหรับหมู่คณะ นักท่องเที่ยวสามารถประกอบอาหารเองได้ โดยสั่งวัตถุดิบทั้งผักและเนื้อสัตว์จากศูนย์ฯ นอกจากนี้บริเวณหมู่บ้านยังมีบริการร้านอาหารไว้คอยให้บริการ

การเดินทาง

เส้นทางที่ 1  จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางสายเชียงใหม่ไปอำเภอแม่ริม เลี้ยวซ้ายที่อำเภอแม่ริม ต่อไปอำเภอสะเมิง ต่อเนื่องสายสะเมิง-วัดจันทร์ อีกประมาณ 93 กิโลเมตร ระยะทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ถึงศูนย์ฯ 154 กิโลเมตร สภาพเส้นทางเป็นดินลูกรังบางช่วง เส้นทางนี้มีบริการรถโดยสารประจำทางต้นทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ขึ้นที่ตลาดวโรรส
เส้นทางที่ 2 จากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้เส้นทางสายเชียงใหม่-แม่แตง ก่อนถึงตลาดแม่มาลัย-อ.ปาย ประมาณ 2-3 กิโลเมตร จะมีเส้นทางเลี่ยงเมืองตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1095  หรือจะไปเลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้น 1095 ได้ที่ตลาดแม่มาลัยต่อไปอำเภอปายก็ได้เช่นกัน ก่อนถึง อ.ปาย 12 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางไปวัดจันทร์ให้เลี้ยวซ้าย เข้าสู่เส้น 1265 ไปจนสุดทางแล้วเลี้ยวซ้ายอีกครั้งเข้าสู่ถนน 1349 ขับตรงไปเรื่อยๆจะเห็นป่าสนศูนย์จะอยู่ทางด้านขวามือ สภาพเส้นทางจะดีกว่าเส้นทางแรก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม

•    ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์ บ้านเด่น หมู่ 3 ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ 58130 โทร 053-318-325, 084-365-5465
•    วัดจันทร์ แกลเลอรี หัตถกรรมชุมชน ของที่ระลึกจากปกาเกอญอ โทร 083-321-0302

วัดบ้านจันทร์ เป็นวัดที่สันนิฐานว่ามีอายุเก่าแก่ สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยละว้า (ลั๊วะ) ที่อพยพมาจากเชียงใหม่ เมื่อ 300 ปี ก่อน ต่อมาได้รับการค้นพบและบูรณะครั้งแรกในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยธุดงค์ผ่านมาในบริเวณวัดจันทร์ในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อก่อนนี้เป็นป่าขึ้นรกร้างจึงได้แรงศรัทธาจากชาวบ้านช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุใหม่ โดยการสร้างซ่อมแซมหุ้มทับพระธาตุองค์เดิม เป็นวัดที่สำคัญของชุมชนชาวกะเหรี่ยงพุทธซึ่งประดิษฐานพระสิงห์


GPS ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงวัดจันทร์  N19.068445 E98.292038
http://maps.google.co.th/maps?um=1&hl=th&client=firefox-a&rls=org.mozilla:th:official&biw=1280&bih=631&q=19.068445,98.292038 (http://maps.google.co.th/maps?um=1&hl=th&client=firefox-a&rls=org.mozilla:th:official&biw=1280&bih=631&q=19.068445,98.292038)


แผนที่
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/img-royalproject/map-38-royal.gif)

หน้าที่หลักของแต่ละศูนย์
(http://www.gpsteawthai.com/Themes/img-royalproject/k-overview-map.png)



อ้างจาก: ที่มาข้อมูล..
ด้วยความขอบคุณ...  เว็บโครงการหลวง  [url]http://www.thairoyalprojecttour.com/?p=1003[/url] ([url]http://www.thairoyalprojecttour.com/?p=1003[/url])
เป็นที่มาของ...  ข้อความทั้งหมด ภาพทั้งหมด เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด