บ่อเกลือสินเธาว์ภูเขา แห่งเดียวในโลก (8/12/56)
I AM PHUM:
บ่อเกลือสินเธาว์ภูเขา แห่งเดียวในโลก
บ่อเกลือภูเขา
บ่อเกลือ ตั้งอยู่ในอำเภอบ่อเกลือ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดน่าน เดิมเรียกว่า "เมืองบ่อ" ซึ่งหมายถึง เมืองที่มีบ่อเกลือสินเธาว์ ที่มีอยู่ในพื้นที่ซึ่งเดิมมีอยู่ในจำนวน 7 บ่อ คือ บ่อหลวง บ่อหยวก บ่อเวร บ่อน่าน บ่อกิน บ่อแคะ และบ่อเจ้า
บ่อเกลือมีอยู่สองบ่อ คือ บ่อเกลือเหนือ และ บ่อเกลือใต้ โดยบ่อเกลือเหนือมีขนาดใหญ่ มีโรงต้มเกลืออยู่หลายโรง ส่วนบ่อเกลือใต้ มีโรงต้มเกลือน้อยกว่า ทั้งสองบ่อชาวบ้านยังใช้วิธีการต้มเกลือแบบโบราณในโรงเกลือที่ปิดมิดชิด ภายในมีเตาขนาดใหญ่ขึ้นรูปจากดินเหนียวสำหรับวางกะทะใบเขื่อง หรือกระทะแขวนตะกร้าไม้ไผ่สานใบเล็กๆ เพื่อใช้สำหรับบ่อเกลือ ชาวบ้านที่บ้านบ่อหลวง ทำการต้มเกลือสินเธาว์มาตั้งแต่โบราณหลายร้อยปีมาแล้ว จากหลักฐานทางธรณีวิทยาระบุว่า เมื่อหลายแสนปีก่อน บริเวณนี้เคยเป็นทะเล
ประวัติชาติพันธุ์บ่อเกลือ
จากคำบอกเล่าของผู้อาวุโสประจำหมู่บ้านที่จดจำจาก "ปั๊บปิน" เป็นเอกสารใบลานซึ่งเขียนเป็นอักษรธรรมล้านนาไว้และได้สูญหายไปจากวัดบ่อหลวงราว 40-70 ปี มาแล้ว แต่มีผู้จดจำเรื่องราวในเอกสารนั้นเป็นอย่างดีคือ อดีตกำนันนนท์ถี เขื่อนเมือง และเป็นผู้เดียวที่จดจำเรื่องราวเหล่านี้ได้
บรรพบุรุษเล่าว่า...เป็นกลุ่มคนที่อพยพมาจากมองโกเลียออกมาทางแม่น้ำเหลืองทางหัวพันห้าทั้งหก เมื่อล่องแม่น้ำโขงมาถึงลาว จึงมาหยุดอยู่ที่เมืองหลวงน้ำทาแต่พวกลาวไม่ให้อยู่ จึงข้ามมาอยู่ที่เชียงแสนเจ้าหลวงภูคาจึงไปบอกให้มาหักล้างถางพงอยู่บริเวณนี้มีแม่น้ำลำธารดี ให้มาทำเกลือโดยที่เจ้าหลวงภูคาไปขอเจ้าหลวงน่าน เ้จ้าหลวงน่านไปขอพญาเม็งรายเพื่อขอคนเชียงแสนที่อพยพให้มาอยู่ที่นี่ ราว พ.ศ.2323-2327 ในสมัยล้านนาเป็นเมืองขึ้นพม่า
ด้วยเหตุผลที่บ่อเกลือ หรือ เมืองบ่อ เป็นชุมชนขนาดใหญ่ และเหตุผลที่เกลือเป็นทรัพยากรที่สำคัญและมีบทบาทต่อชุมชนคนเมืองน่านและบ้านเมืองชุมชนร่วมสมัยที่อยู่รอบๆ เมืองน่าน ทั้งรัฐสุโขทัย ล้านช้าง(ลาว) และล้านนา(เชียงใหม่) เป็นสาเหตุที่ทำให้พระเจ้าติโลกราชแห่งเมืองเชียงใหม่(ล้านนา) เสด็จยกทัพมาตีเมืองน่านราว พ.ศ. 1993 และเอาเมืองน่านเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของล้านนา และมีควาำมสำัคัญสืบเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์
มีเรื่องราวสืบต่อกันมาอีกว่า เจ้าหลวงน่าน จะต้องให้คนส่งเกลือไปถวายที่เมืองน่านเป็นการส่งส่วย เกลือ 5 ล้าน 5 แสน 5 หมื่น 5 พัน (ประมาณ 7,395 กิโลกรัมต่อปี) โดยใช้คนที่ไม่ได้ต้มเกลือนำไปส่งเช่นคนบ่อเกลือเหนือ ซึ่งส่วนมากจะเป็นชาวลั๊วะ การส่งเกลือไปถวายพระเจ้าน่านจะมีคนมารับที่นาปางถิ่น (สนามบินน่านในปัจจุบัน) โดยมีหัวหน้าเป็นชาวบ่อหลวงเป็นผู้ควบคุมไป การส่งส่วยเหล่านี้เริ่มเมื่อใดไม่ปรากฎหลักฐานแต่กระทำเรื่อยมาจนถึงเจ้ามหาพรหมสุรธาดา (พ.ศ.2461-2474) เป็นเจ้าผู้ครองนคร และถูกยกเลิกไปในช่วงเวลานั้นเมื่อระบบรวมอำนาจสู่ศูนย์กลางของกรุงเทพมหานครสามารถใช้ได้เต็มที่
ในอดีต อำเภอบ่อเกลือขึ้นตรงกับอำเภอปัว มี 2 ตำบลคือ ตำบลบ่อเกลือเหนือ และตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือถูกปิดล้อมด้วยขุนเขาการเดินทางลำบาก การติดต่อสื่อสารทำได้โดยทางเท้าเท่านั้น ใช้เวลาเดินทาง 1-2 วัน กว่าจะถึงอำเภอปัว จึงถูกปิดล้อมด้วยกองกำลังติดอาวุธพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509 เป็นต้นมา เมื่อสงครามการใช้กำลังอาวุธยุติลง มีผู้เข้าร่วมพัฒนาชาติไทยเป็นจำนวนมาก ทางราชการจึงได้แยกตำบลบ่อเกลือเหนือ และตำบลบ่อเกลือใต้ออกจากอำเภอปัว จัดตั้งเป็นกิ่งอำเภอบ่อเกลือเมื่อวันที่ 15 กุมภาํพันธ์ พ.ศ.2531 และยกฐานะเป็นอำเภอบ่อเกลือในปี พ.ศ.2538
ที่มา : http://www.lannatouring.com/Nan/Interesting-article/BokluaSintoun-Nan.htm
พิกัด GPS N19.15027 E101.15500
สังเกตที่ลูกศรสีเขียว
I AM PHUM:
การค้นพบบ่อเกลือ
สำหรับการค้นพบบ่อเกลือที่บ้านบ่อหลวง มีการเล่าสืบต่อกันมาดังนี้ว่า แต่เดิมบริเวณพื้นที่เหล่านี้เป็นป่าดงพงไพร ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่ แต่มีหนองน้ำที่พวกสัตว์ต่างๆ ชอบมากินน้ำในหนองน้ำแห่งนี้ และยังมีนายพรานผู้หนึ่งมาล่าสัตว์ และเห็นว่าพวกเหล่าสัตว์ทั้งหลายมากินน้ำที่นี่เป็นประจำ
I AM PHUM:
เจ้าหลวงภูคา และเจ้าหลวงบ่อ จึงชวนกันมาดูน้ำเกลือ โดยทั้ง 2 พระองค์ขึ้นไปอยู่ที่บนยอดดอยภูจั๋น เพื่อแข่งขันกันพุ่งสะเดา(หอก) เจ้าหลวงภูคาพุ่งหอกไปตกทางตะวันตกของน้ำมาง ตรงที่ตั้งของหนอกในปัจจุบัน เจ้าหลวงบ่อ พุ่งหอกไปตกทางตะวันตกของน้ำมาง ข้ามน้ำมางตรงที่ตั้งของหอเจ้าพ่อหลวงในปัจจุบัน ชาวบ้านที่ชมดูการพุ่งหอก ไปนำเอาหินมาก่อเป็นที่สังเกตแล้วตั้งเป็นโรงหอ ทำพิธีเพื่อตอบแทนบุญคุณเจ้าทั้ง 2 พระองค์ ทุกปี ภายหลัง ทั้ง 2 พระองค์คิดกันว่า จะนำคนที่ไหนมาอยู่ เมื่อปรึกษากันแล้วจึงไปนำคนที่อยู่เชียงแสน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวบ่อหลวงมาหักล้างถางพงและทำเกลืออยู่ที่นี่
I AM PHUM:
บ่อเกลือที่เห็นในปัจจุบันนั้น ปากบ่อกรุด้วยไม้กั้นเป็นคอกอย่างดี อดีตกำนันนนท์ถี เขื่อนเมือง เล่าว่า เมื่อสมัยแม่ของตนยังเป็นเด็ก เจ้าผู้ครองเมืองส่งคนมาสร้างคอกไม้เป็นขอบบ่อ เพราะแต่เดิมเป็นเพียงบ่อดิน ใช้ไม้กลวงสวมตรงกลางคันดินถล่มเท่านั้น ในขณะนั้น แม่ได้ช่วยตักน้ำมาเลี้ยงผู้ที่มาทำการก่อสร้างนั้นด้วย
I AM PHUM:
อาชีพการทำเกลือสินเธาว์
ปัจจุบัน บ่อเกลือที่ชาวบ้านใช้ประโยชน์มีจำนวน 5 บ่อ คือ บ้านบ่อหลวง หมู่ที่ 1 ตำบลบ่อเกลือใต้ 2 บ่อ, บ้านบ่อหยวก หมู่ที่ 3 ตำบลบ่อเกลือเหนือ 2 บ่อ และบ้านนากิ๋น หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อเกลือเหนือ 1 บ่อ
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[#] หน้าถัดไป
ไปที่เวอร์ชันเต็ม