ข้ า พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า
~
ก ลุ่ ม เ ว็ บ จี พี เ อ ส เ ที่ ย ว ไ ท ย ด อ ท ค อ ม
(กลุ่มเว็บลูกหลานชาวพิจิตร)
ค้นหาเร่งด่วน..
คลิ้ก
ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่เว็บด้วยชื่อ รหัสผ่าน และเลือกเวลาอยู่ในเว็บ
ข่าว ...
:
เว็บจีพีเอส
เที่ยวไทย
ดอทคอม
เว็บท่องเที่ยว-ถ่ายภาพ และพิกัดGPS
(กลุ่มเว็บ
G
P
S
tt.com
กลุ่มเว็บลูกหลานชาว อ.สากเหล็ก จ.พิจิตร)
ชี้แจง... หน้าเว็บไม่ค่อยอัพเดท
เพราะงานหลักของแอดมินมากมาย
สังคมแห่งการแบ่งปันนี้จะไม่มีสิ่งที่เพื่อนๆต้องการ เมื่อเพื่อนมาแวะเยี่ยมแล้วไม่ฝากสิ่งใดไว้..!!
หน้าแรก
เว็บบอร์ด
บอร์ด ชวนเที่ยว
บอร์ด เที่ยวทั่วไทย
ข่าวสารการท่องเที่ยว
มุม GPS และพิกัดต่างๆ
วิทยุสื่อสาร, โปรแกรม
ฝากบริการด้านการท่องเที่ยว...
สวนองุ่น...มือใหม่
กฏ-ระเบียบ
ปฏิทิน
เข้าสู่ระบบ
ลืมรหัสผ่าน
สมัครสมาชิก
:: GPStt.com ::
»
หมวด บอร์ดทั่วไป
»
ซื้อ-ขาย, ฝากประชาสัมพันธ์ทั่วไป
»
Copayment คืออะไร ทำไมต้องจ่ายร่วม
ลิ้ ง ค์ ก า ร พ นั น ..!!
แ บ น เ น อ ร์ ก า ร พ นั น ..!!
ไ ม่ ต้ อ ง พ ย า ย า ม ติ ด ต่ อ ม า ไ ม่ ต้ อ น รั บ ..??
....::::
::::....
แล้งน้ำ, น้ำท่วม, ลดโลกร้อน เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวในเรื่องดังกล่าว ทางเว็บขอร่วมรณรงค์ให้พี่น้องช่วยกันปลูกป่าทั่วแผ่นดินเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวตามพระราชดำริของพ่อ เช่น ท่านที่อยู่ต้นน้ำตามภูเขาที่ลาดชัน หรือตามท้องไร่ท้องนาหัวคันนา ปลูกเท่าที่ทำได้ ทำตอนนี้ลูกหลานเราจะได้ไม่เดือดร้อน ...
คำกล่าวของลุงตู่.........
" ท่าน..ไม่ชอบผมไม่เป็นไร แต่ท่านไม่ชอบประเทศของท่านไม่ควร อันศึกนอกศึกไกลผมไม่ห่วง แต่หวั่นทรวงศึกไกล้ไล่ข่มเหง หากคนไทยหันมาฆ่ากันเอง เราจะร้องเพลงชาติไทย ให้ใครฟัง..??!! "
เว็บจีพีเอส
เที่ยวไทย
ดอทคอม
"
เว็บท่องเที่ยว-ถ่ายภาพ และพิกัดGPS
"
....::::
::::....
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: Copayment คืออะไร ทำไมต้องจ่ายร่วม (อ่าน 457 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
febru
* ฝากประชาสัมพันธ์ *
กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
-มอบให้: 0
-จึงได้รับ: 2
กระทู้: 36
กำลังใจ : +2/-0
ระบบปฏิบัติการ:
Windows NT 10.0
เบราเซอร์:
Firefox 139.0
สมาชิกลำดับที่: 3839
Copayment คืออะไร ทำไมต้องจ่ายร่วม
«
เมื่อ:
23 มิถุนายน 2568, เวลา 15:11:38 น. »
Share:
นี่คือคำถามที่สร้างความสงสัยให้ใครหลายคนทันที โดยเฉพาะคนที่กำลังจะตัดสินใจทำประกันสุขภาพ หลังจากรู้ว่าสมาคมประกันชีวิตไทยได้กำหนดหลักเกณฑ์ ‘ส่วนจ่ายร่วม’ หรือ ‘Copayment’ ในปีต่อ เป็นเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันสุขภาพฉบับใหม่ที่เริ่มคุ้มครองตั้งแต่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป
เงื่อนไข Copayment 3 กรณีที่ต้องรู้
เราทุกคนต่างรู้กันดีว่า ความเจ็บป่วยและอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่ไม่อาจคาดเดาได้ การมีประกันสุขภาพที่คุ้มครองครอบคลุมจึงช่วยกระจายความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาพยาบาลไม่ให้เราต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเอง แต่ปัญหาที่ผ่านมา คนส่วนใหญ่มักเลือกแอดมิท (Admit) หรือนอนค้างคืนที่โรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในจากอาเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่งผลให้อัตราการเคลมค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นเกินกว่าความเป็นจริง
กรณี 1 : การเคลมค่ารักษาผู้ป่วยใน (IPD) จากการเจ็บป่วยเล็กน้อย (Simple Diseases)
หากเข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อนี้จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาพยาบาลในปีกรมธรรม์ถัดไป
จำนวนการเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้ง/ปีกรมธรรม์
อัตราเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 200% ของ
เบี้ยประกันสุขภาพ
อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย หมายถึง อาการที่ไม่จำเป็นต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล อาการไม่รุนแรง เพราะเป็นอาการเจ็บป่วยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน รักษาง่ายและหายได้เองรักษาได้ด้วยยาสามัญประจำบ้าน หรือสามารถฟื้นตัวจากอาการป่วยได้เองด้วยภูมิคุ้มกันของร่างกาย ไม่มีอาการภาวะแทรกซ้อน
กรณี 2 : การเคลมค่ารักษาผู้ป่วย (IPD) จากการเจ็บป่วยโรคทั่วไป (ไม่รวมโรคร้ายแรงและการผ่าตัดใหญ่)
หากเข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อนี้จะต้องร่วมจ่าย 30% ทุกค่ารักษาพยาบาลในปีกรมธรรม์ถัดไป
จำนวนการเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ครั้ง/ปีกรมธรรม์ อัตราเคลมมากกว่าหรือเท่ากับ 400% ของเบี้ยประกันสุขภาพ
การเคลมค่ารักษาพยาบาลอาการเจ็บป่วยโรคทั่วไป หมายถึง โรคใด ๆ ที่ไม่ใช่การผ่าตัดใหญ่ โรคร้ายแรง และไม่ใช่อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย (Simple Diseases) ให้นับรวมเป็นการเจ็บป่วยทั่วไปทั้งหมด
กรณี 3 : เข้าเงื่อนไขทั้งกรณี 1 และกรณี 2 จะต้องร่วมจ่าย 50%
ทุกค่ารักษาพยาบาลในปีกรมธรรม์ถัดไป
ถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยเพิ่มอีกว่า ถ้าหากเข้าเงื่อนไข Copayment แล้ว จะมีผลตลอดไปในทุกปีกรมธรรม์หรือไม่ ?
คำตอบคือ Copayment ไม่ใช่การจ่ายร่วมตั้งแต่บาทแรกและไม่ใช่เงื่อนไขถาวร จะขึ้นอยู่กับการเคลมค่ารักษาพยาบาลของผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพ โดยบริษัทประกันจะพิจารณาใหม่ในทุก ๆ รอบปีกรมธรรม์ หากปีกรมธรรม์ใดไม่เข้าเงื่อนไข Copayment ทุกกรณี ผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพก็ไม่ต้องจ่ายร่วมในปีกรมธรรม์ถัดไปนั่นเอง
จ่ายร่วมแต่มั่นคงระยะยาว
ขอย้ำอีกที หากเข้าใจเงื่อนไข Copayment อย่างครบถ้วน ก็ไม่มีอะไรน่ากลัวหรือน่ากังวล ถึงแม้ว่าจะเป็นหลักเกณฑ์ใหม่ที่ทำให้ผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลบางส่วน แต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคนทันที เพราะขึ้นอยู่กับการเคลมที่ต้องเข้าเงื่อนไขเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถบริหารจัดการได้ เพื่อไม่ให้การเคลมค่ารักษาพยาบาลเข้าเงื่อนไข Copayment
หลักเกณฑ์ ‘ส่วนจ่ายร่วม’ หรือ ‘Copayment’ นี้ ยังช่วยสร้างระบบประกันสุขภาพที่มั่นคง ซึ่งส่งผลดีกับทุกคนในระยะยาวทั้ง สร้างความตระหนักรู้ในการใช้บริการด้านการแพทย์ เพราะ Copayment ทำให้ผู้ถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพจะคิดไตร่ตรองมากขึ้นว่าอาการเจ็บป่วยที่กำลังเป็นอยู่นั้นรุนแรงมากพอที่จะต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลหรือไม่ และใช้บริการด้านการแพทย์ตามความจำเป็น พร้อมกับหันมาใส่ใจและดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงอยู่เสมอมากขึ้น
รวมถึง สร้างความยั่งยืนให้ระบบประกันสุขภาพ เพราะหนึ่งในปัญหาที่ทำให้คนจำนวนมากยกเลิกการต่อสัญญากรมธรรม์ประกันสุขภาพ คือ จ่ายเบี้ยประกันต่อไปไม่ไหว Copayment จึงช่วยลดความเสี่ยงและแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ เพราะในเมื่อ
บริษัทประกัน
ไม่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูงเกินจำเป็น ก็จะสามารถกำหนดเบี้ยประกันสุขภาพให้อยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล เพิ่มโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงประกันสุขภาพได้มากขึ้นด้วย
ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งสำคัญของเรื่องนี้ คือ การทำความเข้าใจเงื่อนไขต่าง ๆ อย่างละเอียด และเลือกแผนประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน เพราะจะทำให้ได้รับความคุ้มครองและผลประโยชน์จากประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตของตนเอง
อ้างอิง
สมาคมประกันชีวิตไทย. (มกราคม 2568). รู้ทันอย่างไม่ตระหนกกับ “ส่วนจ่ายร่วม (Copayment) ในเงื่อนไขการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ประกันภัย”. วารสารประกันชีวิต, 013/2568, 2-13.
เข้าสู่ระบบ
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
:: GPStt.com ::
»
หมวด บอร์ดทั่วไป
»
ซื้อ-ขาย, ฝากประชาสัมพันธ์ทั่วไป
»
Copayment คืออะไร ทำไมต้องจ่ายร่วม
ขึ้นบน
ลงล่าง
G
P
S
tt.com
จะแสดงผลถูกต้อง
ฟ้อนต์สวยงาม
เข้าเว็บได้เร็ว
เมื่อท่านใช้เบราเซอร์
Chrome
และ
Firefo
x
เท่านั้น
ไม่รองรับ
Internet Explorer
กลุ่มท่องเที่ยว
การท่องเที่ยว (ททท.)
|
ททท.ภาคกลาง
|
ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก
|
กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช
|
จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์
|
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
|
ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน
|
ศูนย์ศิลปาชีพ จ. แม่ฮ่องสอน
|
กระทรวงวัฒนธรรม
|
ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม)
|
สำนักอุทยานแห่งชาติ
|
เว็บโครงการหลวงฯ
|
แหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ (สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว)
การเดินทาง, เครื่องนำทาง
การบินไทย
|
โอเรี่ยนไทย
|
แอร์เอเชีย
|
Solar Air
|
บางกอกแอร์เวย์
|
บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.)
|
การรถไฟแห่งประเทศไทย
|
สมบัติทัวร์
|
สยามเฟิสท์ทัวร์
|
นครชัยแอร์
|
รถทัวร์ไทยดอทคอม
|
ฟรี.. แผนที่GPS ลาว กัมพูชา พม่า (ทั่วโลก) แบบเทพๆ
|
ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 1
|
ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 2
ลิ้งค์ที่น่าสนใจทั่วไป..
ติดตามการส่งพัสดุEMS
|
ตรวจผลสลาก..
|
speedtest.adslthailand.com
|
บอร์ดนักวิทยุสมัครเล่น
|
ตรวจสอบการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นจากชื่อหรือนามเรียกขาน
|
ตรวจสอบนามเรียกขานที่ถูกยกเลิก
|
กสทช.กิจการวิทยุสมัครเล่น (เค้าอัพเดทแล้วนะ 31/1/60)
|
Checkdomain.com
|
ดาวน์โหลดวีดีโอจากเฟซบุ๊ค
|
ร้านซ่อมดอทคอม
|
แปลงไฟล์ออนไลน์ youtube เป็น mp3
ลิ้งค์1
,
ลิ้งค์2
,
ลิ้งค์3
|
convert PDF to JPG
|
ตระกูลแปลงไฟล์
|
แปลงไฟล์ ภาพ webp เป็น jpg
|
หมากรุกออนไลน์
|
ทีวีออนไลน์
|
แปลงไฟล์เสียงออนไลน์
|
ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย
|
หมากรุกออนไลน์
|
เว็บแปลงค่า-1
|
เว็บแปลงค่า-2
|
ค้นหาและแบ่งปันหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก
|
แปลงลิ้งค์ URL ให้สั้นลง
|
โปรแกรม PhotoRoom ลบฉากหลังของภาพออนไลน์
|
เช็คคีย์บอร์ดออนไลน์ ก่อนเสียเงินซื้อใหม่
|
Powered by SMF
|
SMF © 2006–2011, Simple Machines LLC
SimplePortal 2.3.5 © 2008-2012, SimplePortal
|
Powered by SMFPacks Social Login Mod
|
SMF Thailand
XHTML
RSS
WAP2
ติดต่อเรา:
web.gpsteawthai@gmail.com
© สงวนลิขสิทธิ์ข้อมูลในเว็บนี้ตามกฎหมาย ท่านสามารถนำไปเผยแพร่ได้แต่ต้องทำลิ้งค์กลับมา
Server
&
Service
@
Thai Hotspot Network Co.,Ltd.
สำนักงาน/ที่ตั้งเว็บไซต์
84 หมู่ 5 บ้านสระบัว ต.ลาดตะเคียน อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี 25110 โทรศัพท์/Line: 0818462316
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.128 วินาที กับ 29 คำสั่ง