หมวด บอร์ดทั่วไป
> สารพันความรู้ - เทคโนโลยี

ตู้เชื่อม Co2 แบบฟลักซ์คอร์ ในการแก้ปัญหาแบบเทพๆ กับเรื่องบ้าๆ บอๆ คอแตก ของหัวเชื่อมตัน ลวดไม่ออก เชื่อมติดๆ ขัดๆ

(1/1)

ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก):
ตู้เชื่อม Co2 แบบฟลักซ์คอร์
ในการแก้ปัญหาแบบเทพๆ กับเรื่อง บ้าๆ บอๆ คอแตก
ของหัวเชื่อมตัน ลวดไม่ออก เชื่อมติดๆ ขัดๆ



     ตามจั่วหัวเลยครับ สำหรับตู้เชื่อม Co2 แบบใช้ลวดเชื่อมฟลักคอร์ (คือลวดเชื่อมที่มีน้ำยาอยู่ใส้ในของลวด) เวลาเชื่อมจะได้ไม่ต้องใช้ก๊าซคาร์บอน (Co2) มาช่วย

     บทความที่ผมจะเขียนต่อไปนี้จากประสบการของผมล้วนๆ ที่ไม่ใช้ก๊าซ Co2 มาช่วยในการเชื่อม มีปัญหามากจริงๆ ถ้าท่านใดที่ใช้ Co2 เชื่อมแล้วไม่มีปัญหาแบบผมก็ช่วยมาบอกกันหน่อย

     กลับมาเข้าเรื่อง ทุกอย่างมันดีงามตามทฤษฎีที่ว่าไว้ทุกอย่างสำหรับงานเชื่อมแบบใช้ลวดฟลักคอร์ แต่ในทางปฏิบัติงานการใช้จริงๆ มันกลับมีปัญหาที่ต้องแก้ไข โดยมีการโมฯ ทดลองสารพัด
     เพราะตลอดเวลาในการเชื่อม ลวดมันชอบติดครับ การส่งลวดเข้าสนามรบเพื่ออาร์คมันไม่สม่ำเสมอ ทำให้การเชื่อมเป็นไปด้วยความหงุดหงิด เมื่อเกิดปัญหาก็มาหาทางแก้ไขไปจนงานเชื่อมเสร็จ (เสร็จแบบคาใจ..หว่ะ..)




     ก็เลยเป็นที่มาของการโมฯ สิครับ




1. ผมใช้ยี่ห้อนี้ สภาพเดิมๆ ตามภาพนี้
     และของแถมได้ตามภาพ






2. ภาพชัดๆ ชุดสายหัวเชื่อมสำหรับงานเชื่อบแบบ Co2 ที่แถมติดมากับเครื่องจะเป็นแบบนี้
     สายที่แถมมากับเครื่องจะยาวแค่ 3.5 เมตร สั้นครับ เลยสั่งแบบยาว 5 เมตร มาใหม่ มีคนถามว่าทำไมไม่เอายาวๆมาเลย เช่น 10 เมตร ผมก็เลยตอบไปว่า ตู้เชื่อมแบบนี้มันมีระบบส่งลวดมาจากตัวเครื่อง ถ้าสายเชื่อมยาวมากเกินไปวางสายคดเคี้ยวมากไป จะทำให้ระบบส่งลวดไม่มีแรงพอที่จะดันลวดมาโผล่ที่หัวเชื่อมไหว เลยเอาแค่ 5 เมตรพอแล้ว






3. พอใช้งานไประยะนึง บ๊ะ..ปัญหาเยอะหว่ะ เยอะอิ๋บอ๋าย
    3.1 สเก็ดเม็ดเหล็กกระเด็นไปติดปลายหัวเชื่อม ทำให้ลวดเดินไม่สะดวก
    3.2 พอลวดเดินไม่สะดวก ลวดเชื่อมดันไปอาร์คตัวเองติดหัวเชื่อม (ช่วงปลายๆ) อ้าวหนักเข้าไปอีก
    3.2 บางครั้งสายเชื่อมวางคดมากไป (ลืมหันกลับมาส่อง) จะทำให้การส่งลวดมาจะไม่สม่ำเสมอ  แก้แล้วก็ไม่รอด
    3.3 เปลี่ยนลูกกลิ้ง กด/ส่ง เส้นลวดเป็นแบบฟันเฟือง เพื่อให้การส่งลวดดีขึ้น เปลี่ยนแล้วก็ไม่รอด
    3.4 สุดท้าย โมฯ โดยการเพิ่มคาปาซิเตอร์ขนานเข้าไปอีก 8 ตัว ไม่ได้จำว่าเพิ่มได้กี่ไมโครฟารัด แต่สิ่งที่ได้มาชัดๆคือกระแสเชื่อมกรณีปรับไปโหมดเชื่อมลวดธูป เชื่อมได้ดีมาก ลากลวกเชื่อมได้เนียนๆ ไม่ต้องมาเขี่ยๆๆๆๆ ก่อนเชื่อม คือจิ้มได้ก็ลากเลย






4. ภาพการโมฯครับ
     ลูกกลิ้งกดเพื่อส่งลวดเชื่อมที่วางกับพื้นตู้เชื่อมนั้นไม่ได้วางเฉยๆเด้อครับ มีแม่เหล็กติดอยู่ เอาไว้เป็นอะไหล่สับเปลี่ยน






5. ภาพการโมฯครับ  สุดท้าย ตู้เชื่อมตัวนี้ทำเอาไว้ใช้เชื่อม Co2 อย่างเดียว ไม่สลับไปเชื่อมธูป เพราะผมมีตู้เชื่อมแทบทุกประเภท เลยใช้แยกงานกันไปซ๊ะ ฉะนั้นตัวนี้จึงไม่มีสายที่ติดเครื่องมาด้านหน้าเพื่อสลับไปโหมดเชื่อมธูป
     ที่เห็นม้วนลวด เป็นแบบ 5 กก. นะครับ ผมไม่ชอบอะไรที่ใส่ทีละโลฯ (ม้วนเล็ก) เวลาเชื่อมๆไป ลวดหมดม้วน รำคาญครับ และที่สำคัญม้วนเล็กบวกลบคูณหารแล้วแพงกว่าม้วนใหญ่ เลยต้องเลือกตู้เชื่อม ยี่ห้อ/รุ่นนี้
     ถ้ารุ่นที่ใช้ลวดม้วน 1กก. ลวดจะวางอยู่ด้านบนของตู้เชื่อม ทำให้ตู้เชื่อมเล็กลงไปอีกนิด






6. ชุดสายเชื่อมแบบ 200แอมป์ ที่มากับเครื่อง






7. จากนั้นมาเปลี่ยนชุดปลายสาย จากแบบ 200 แอมป์ มาเป็นแบบ พานา 350 แอมป์
     คือ เข้าใจว่าตัวเชื่อมแบบ 200A. จุดกระแสที่ผ่านไปลวดมันอาจส่งผ่านกระแสได้ไม่ดี และของติดระบบมาดูมันก๊องแก๊ง (คิดไปเอง)






8. ชื่อเรียก ส่วนประกอบของหัวเชื่อม พานา 350 แอมป์
    เปลี่ยนเพราะเข้าใจว่ามันน่าจะส่งผ่านกระแสได้ดีกว่า (คิดไปเอง)






9. ส่วนประกอบของหัวเชื่อม พานา 350 แอมป์






10. เวลาลงสนามต้องพกชิ้นส่วนไปแบบที่เห็น
     ปลายหัวเชื่อมในภาพ ผมถอดฝาครอบ (Nozzle) ที่ปลายออกครับ จึงเห็นหัวเชื่อม หรือ คอนแทคทิป เพราะก่อนหน้านั้น สะเก็ดเม็ดเหล็กมันชอบกระเด็นเข้าไปอุดระหว่างปลายหัวเชื่อม กับฝาครอบ ทำให้การอาร์คไม่สม่ำเสมอ จึงต้องเอาชุดปลายหัวเชื่อมมาจุ่มน้ำเป็นระยะ แล้วเอาเหล็กแหลมๆ แหย่เข้าไปแคะเอาเม็ดเหล็กออก
     อย่าทะลึ่งซื้อครีม/น้ำยาล้างหัวเชื่อมที่มีขายมาใช้เชียว เพราะมันจะทำให้เม็ดสเก็ดเหล็กติดและแคะแงะออกยาก ผมซื้อน้ำยาบ้านั้นมาใช้2-3 ยี่ห้อ สรุปไม่ตอบโจทย์ จึงจุ่มน้ำและแคะแงะ จบ ง่ายกว่า






11. ดูเอาอะไหล่ที่ตุน






12. อะไหล่ที่ตุน






13. Contact Tip หรือปลายหัวเชื่อม ที่เสียหายจากการติดๆ ขัดๆ ตัน อาร์คด้านใน






14. Contact Tip หรือปลายหัวเชื่อม กับการแก้ปัญหาขั้นเทพ ที่กล่าวไว้ตอนจั่วหัวมันอยู่ที่ขั้นตอนนี้ครับ
     คือหัวเชื่อมที่เสียหาย ส่วนมากจะมาจาก
     14.1 สะเก็ดโลหะร้อนกระเด็นมาติดปลายเชื่อมทำให้ลวดเดินไม่สะดวก
     14.2 หรือชุดสายเชื่อมอยู่ในตำแหน่ง คดมากไป ไม่มีวงโค้ง ทำให้การส่งลวดมาในสายเดินไม่สะดวก ทำให้เกิดการอาร์คภายในหัวเชื่อม
     14.3 การตันของหัวเชื่อมจากสาเหตุอื่น

     ทำให้ปลายหัวเชื่อหรือคอนแท็กทิปเสีย ต้องถอดทิ้งเป็นกอง (ราคาตัวนึงประมาณ 15-20 บาท) จะทำงานเชื่อมอะไรงานนึงต้องตุนหัวเชื่อมเป็นแพ็ก มันโหดไป
     ผมเลยมานั่งหาทางแก้ไขดัดแปลง และมานั่งผ่าหัวเชื่อมดู ได้ข้อสรุปว่า มันจะชอบมีปัญหาตรงด้านปลายแทบทุกตัว มาระยะหลังเลยทดสอบโดยการเจียร หรือเอาใบขัดกระดาษทรายติดเครื่องเจียร มาเจียรหรือขัดที่ปลายหัวเชื่อม ก็จะได้หัวเชื่อมกลับมาใช้งานโดยไม่ต้องซื้อใหม่
     การเจียร ก็สามารถทำได้จนถึงครึ่งก็โยนทิ้งได้แล้วครับ
     อย่าสับสนว่าเจียรปลายหัวเชื่อมออกจนเหลือน้อยแล้วกระแสจะส่งผ่านไปหาลวดเพื่อไปอาร์ค มันจะพอหรือ ให้อ่านข้อต่อไป ตาท่านจะได้สว่างครับ






15. ให้ดูท่อสปริง เพื่อส่งลวดไปสนามรบ
    ท่านเห็นสปริง (ท่อส่งลวด) ไหมครับ มันยาวตลอดตั้งแต่ตัวเครื่องยันปลายหัวเชื่อม นั่นแหละครับคือตัวนำไฟฟ้าไปหาเส้นลวดเชื่อม เข้าใจแล้วนะจะได้ไม่ต้องมาค้าน มันยาวขนาดนั้นแน่นอนมันต้องส่งต่อกระแสไปหาเส้นลวดได้ดีมาก และที่สำคัญลดการอาร์คด้านในได้ด้วย
https://maps.app.goo.gl/jDgnowMR52N6wCLw7
     ก็ในเมื่อเราไม่ได้ใช้ก๊าซคาร์บอน (Co2) ในการช่วยเชื่อม เพราะเราใช้ลวดแบบฟลั๊กซ์คอร์ แล้วท่านจะเอามันไว้ให้สร้างปัญหาทำไมครับ ก็ถอดเก็บไว้ซ๊ะ
     เอาไว้ตามภาพที่เห็นนั่นแหละ มันจะทำให้การเชื่อมแจ๋มแจ๋วสะเแด่วเแห้วไม่ติดขัดกวนใจ การเชื่อมสารพัดแนวงามตระการตา การเชื่อมที่ยุ่งยาก เช่น เอาเหล็กกลมมาแป่ะข้างเหล็กกล่องแล้วเชื่อม จะทำให้การเชื่อมเคสนี้หมูไปเลย
     เพราะถ้าไม่มีฝาครอบ เราจะเห็นการอาร์คของเส้นลวดตลอดเวลา ทำให้การบังคับแนวลวดเป็นไปด้วยดี การเสียหายจากหัวคอนแท็กทิปก็แทบจะไม่มี






16. การเชื่อมแบบเทพๆ ก็ด้วยวิธีถอดฝาครอบ (Nozzle) ไปเลยไม่ต้องใช้
     ก็ในเมื่อเราไม่ได้ใช้ก๊าซคาร์บอน (Co2) ในการช่วยเชื่อม เพราะเราใช้ลวดแบบฟลักซ์คอร์ แล้วท่านจะเอามันไว้ให้สร้างปัญหาทำไมครับ ก็ถอดเก็บไว้ซ๊ะ
     เอาไว้ตามภาพที่เห็นนั่นแหละ มันจะทำให้การเชื่อมแจ๋มแจ๋วสะเแด่วเแห้วไม่ติดขัดกวนใจ การเชื่อมสารพัดแนวงามตระการตา การเชื่อมที่ยุ่งยาก เช่น เอาเหล็กกลมมาแป่ะข้างเหล็กกล่องแล้วเชื่อม จะทำให้การเชื่อมเคสนี้หมูไปเลย
     เพราะถ้าไม่มีฝาครอบ เราจะเห็นการอาร์คของเส้นลวดตลอดเวลา ทำให้การบังคับแนวลวดเป็นไปด้วยดี การเสียหายจากหัวคอนแท็กทิปก็แทบจะไม่มี






17. การเชื่อมลักษณะนี้ต้องพกแปลงทองเหลือง
     ใช่แล้ว แปลงทองเหลืองมีด้ามตามภาพ ต้องมีคู่กัน เพราะเอาไว้ขัดถูหลังจากเชื่อมเสร็จ เพื่อทำความสะอาด





ชี้ทางสว่างให้ขนาดนี้แล้ว ใครไม่เคยลองไปลองดูครับ ได้ความว่าไงมาบอกกันมั่ง         
จบข่าว....



นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

ไปที่เวอร์ชันเต็ม
Powered by SMFPacks Social Login Mod