
พ.ร.บ. คืออะไร? มีไว้แค่ติดหน้ารถป้องกันตำรวจแค่นั้นจริงหรือ มีประโยชน์อะไรอีก.. มาดูกันครับ 😉
ขอบคุณเฟซบุ๊ค
www.facebook.com/สถานีตำรวจภูธรน้ำยืน-จวอุบลราชธานี-351089761725946พ.ร.บ. คือ การประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งกฏหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำประกัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เป็นกฎหมายบังคับให้รถยนต์ทุกคันที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกต้องทำ เพื่อความคุ้มครองกับตัวบุคคลที่ได้รับจากอุบัติเหตุได้อย่างทันท่วงที โดยไม่คำนึงว่าบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุเหล่านั้นเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งกฎหมายให้ความคุ้มครองคู่กรณีและผู้เอาประกันภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุในรูปแบบของเงินชดเชย
ความสำคัญของ พ.ร.บ. ให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับบุคคลเท่านั้น ความหมายก็คือ ให้ความคุ้มครอง “คน” ไม่ใช่ “รถ”
👉 วงเงินคุ้มครองจะจ่าย #ค่าเสียหายเบื้องต้น โดยไม่รอผลพิสูจน์ความรับผิด เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถ และรถคันที่เกิดอุบัติเหตุมีประกันภัย พ.ร.บ. บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน ภายใน 7 วัน สำหรับวงเงินคุ้มครอง มีดังนี้
📌 1. ค่ารักษาพยาบาล ไม่เกิน 30,000 บาท
📌 2. ค่าทุพพลภาพ / สูญเสียอวัยวะหรือค่าปลงศพตาม
📌 1, 2 รวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทในชั้นต้น 35,000 บาท
👉 #ค่าสินไหมทดแทนสูงสุด (รวมค่าเสียหายเบื้องต้น) หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนสำหรับความเสียหายต่อชีวิต – ร่างกายของผู้ประสบภัยจากรถที่บริษัทประกันภัยต้องจ่ายเมื่ออุบัติเหตุจากรถนั้นเป็นความผิดของผู้ขับขี่รถที่เอาประกันภัย
🚑 กรณีบาดเจ็บ จ่ายค่ารักษาพยาบาล สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาท/คน
🚑 กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร จ่าย 300,000 บาท/คน
🚑 กรณีสูญเสียอวัยวะ (เป็นไปตามเงื่อนไขตามอัตราที่กำหนด) จ่าย 200,000 – 300,000 บาท/คน
🚑 กรณีนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) จ่ายค่าชดเชย 200 บาท / วัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน
หมายเหตุ : ผู้ขับขี่ที่เป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด จะได้รับความคุ้มครอง เฉพาะค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น (ที่มา : บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด)
❌ #หากไม่ทำ พ.ร.บ. ก็จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ และมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท