หมวด ท่องเที่ยว - กิจกรรม
> เที่ยวทั่วไทย

ชมภูเขาไฟฟูจิ อิงตำนานพญาช้าง-นางผมหอมแห่งภูหอ ที่ภูป่าเปาะ เมืองเลย

(1/6) > >>

ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก):

ชมภูเขาไฟฟูจิ อิงตำนานพญาช้าง-นางผมหอมแห่งภูหอ ที่ภูป่าเปาะ เมืองเลย(6 ธันวาคม 2559)



--- อ้างจาก: แหล่งท่องเที่ยวใกล้กัน ---- ไปชม "สวนหินผางาม คุนหมิงเมืองเลย" อ.หนองหิน จ.เลย
- ชมภูเขาไฟฟูจิ อิงตำนานพญาช้าง-นางผมหอมแห่งภูหอ ที่ภูป่าเปาะ เมืองเลย
- ชมความงามสายธาร "น้ำตกเพียงดิน" ใกล้สวนหินผางาม อ.หนองหิน จ.เลย
--- ปิดอ้างถึง ---






ภูป่าเปาะ จุดชมที่1 พิกัด GPS = 17.040956, 101.712531


ก่อนจะไปชมภาพ จะขอสาธยายจุดภูป่าเปาะ และภูหอที่มองเห็นเป็นภูเขาฟูจิอันสวยงามแบบฉบับไทยๆ ว่ามันระยะมันห่างกันยังไง ก็ไม่มีอะไรตามภาพนั้นเลย ระยะทางตรงห่างกันประมาณ 9.5 กม. ระยะกำลังสวย ใกล้ไปดูไม่คือ ไกลไปดูมัวอึมครึม เพราะหมอก/ควัน/เปลวแดดสารพัดทำให้ทัศนวิสัยมองไกลไม่สวย แต่ภูป่าเปาะมันดันมาอยู่ในระยะที่เหมาะเจาะพอดีอะไรขนาดนี้





1. นี่ครับภาพยืนยันว่าห่างกันแค่ 9.5 กม. ทราบคร่าวๆ จากแหล่งที่มาแต่ไม่อยากอ้างอิงว่า ที่ภูหอมีแนวคิดทำทางเดินป่าขึ้นเป็นเรื่องเป็นราว หรือทำกระเช้าขึ้น อันนี้ได้ข่าวแต่ไม่ยืนยันของคนในพื้นที่นะครับ






2.1 วัดให้ดูชัดๆครับ







2.2 แผนที่เพื่อดูว่ามีแหล่งท่องเที่ยวใดอยู่บริเวณเดียวกัน







2.3 แผนที่เพื่อดูว่ามีแหล่งท่องเที่ยวใดอยู่บริเวณเดียวกัน

 - ไปชม "สวนหินผางาม คุนหมิงเมืองเลย" อ.หนองหิน จ.เลย
 - ชมภูเขาไฟฟูจิ อิงตำนานพญาช้าง-นางผมหอมแห่งภูหอ ที่ภูป่าเปาะ เมืองเลย
 - ชมความงามสายธาร "น้ำตกเพียงดิน" คู่จิ้น "สวนหินผางาม" อ.หนองหิน จ.เลย



ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก):
ตำนานพญาช้าง นางผมหอม

ตำนานพญาช้าง นางผมหอม

ตำนานนี้ได้เค้าโครงมาจากนิทานชาดก มีคนเฒ่าคนแก่เล่าขานกันในท้องถิ่นอำเภอภูหลวง จังหวัดเลย สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันประกอบกับมีหลักฐาน ซึ่งสันนิษฐานว่าตำนานพญาช้าง-นางผมหอม เกิดขึ้นในท้องถิ่นนี้จริง ดังนี้


ในตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย มีหญิงสาวคนหนึ่งหน้าตาสวยงามเป็นที่เลื่องลือในละแวกนี้ ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ๆ กับภูหอ มาวันหนึ่งนางไปเที่ยวป่าบริเวณภูหอกับเพื่อนหลายคน นางได้เพลิดเพลินกับการเที่ยวป่าจนเกิดหลงป่า และรู้สึกเมื่อยล้าอ่อนแรงหิวน้ำ นางก็เลยได้ไปดื่มน้ำรอยเท้าช้างซึ่งมีน้ำปัสสาวะ+น้ำเชื้อของช้างอยู่ด้วย ต่อมานางได้ตั้งท้องคนคลอดลูกออกมาเป็นผู้หญิงสวยงามมาก และที่สำคัญผมของเธอจะมีกลิ่นหอม จึงตั้งชื่อว่านางผมหอม ต่อมานางได้ออกไปเที่ยวป่าอีก ก็เกิดพลัดหลงป่าอีก และได้กินน้ำในรอยเท้าของวัวป่าที่มีน้ำเชื้อวัวป่ารวมอยู่ด้วย เกิดตั้งท้องขึ้นอีกและคลอดลูกออกมาเป็นคนที่สอง ตั้งชื่อว่า นางลุน (ภาษาท้องถิ่นว่า ทีหลัง) วันเดือนปีผ่านไปหลายปี นางผมหอมและนางลุนเติบโตเป็นสาว นางทั้งสองอยากออกไปเที่ยวป่า อยากพบพ่อ ซึ่งเข้าใจว่าอาศัยอยู่ในป่าภูหอแห่งนั้น ก่อนไปนางผมหอมได้ตั้งจิตอธิษฐานก่อนหลับนอนว่า หากตนเป็นลูกสาวของพญาช้างจริง ก็ขอให้นิมิตเห็นพญาช้าง ในคืนนั้นนางผมหอม ก็ได้นิมิตเห็นพญาช้างดังที่ได้อธิษฐานจิต เช้าตื่นมาได้เล่าให้แม่ฟัง และอยากไปเที่ยวพา จึงขออนุญาตแม่ ทั้งสองก็เดินทางไปเที่ยวป่าหาพ่อ ได้พบพญาช้างผู้เป็นพ่อจริง รูปร่างใหญ่โต งายาว พญาช้างเห็นก็วิ่งเข้าใส่นางทั้งสอง นางทั้งสองกลัวจึงยกมือไหว้ขอชีวิตและได้เล่าเรื่องให้พญาช้างฟัง พญาช้างได้ฟังก็ใจอ่อน และเกิดสงสัยว่าเป็นลูกของตนจริงหรือไม่ จึงตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้านางทั้งสองเป็นลูกของตนจริงก็ขอให้ปีนขึ้นเหยียบงาของตนและได้ขึ้นบนหลังได้ นางทั้งสองก็ยกมือไหว้พญาช้าง แล้วทำการปีนป่ายขึ้นหลังพญาช้าง ปรากฏว่านางผมหอมปีนขึ้นได้ ส่วนนางลุนปีนขึ้นไม่ได้ เพราะว่าเป็นลูกวัวป่า เมื่อรู้ว่านางลุนไม่ใช่ลูกของตนก็รู้สึกโกรธ และยกเท้าขึ้นกระทืบนางลุนตาย นางผมหอมร้องขอก็ไม่ทันการ ทำให้นางเศร้าโศกเสียใจมาก พญาช้างปลอบประโลมนางอยู่ตั้งนานและขอให้ขึ้นไปอยู่กับตนในป่าภูหอ ในที่สุดนางผมหอมก็ยอมไป พญาช้างพานางขึ้นไปบนภูหอ แล้วเกณฑ์บรรดาช้างบริวารมาช่วยกันทำปราสาทให้กับนางผมหอมอย่างสวยงามและเลี้ยงดูนางอย่างดี

วันเวลาล่วงมาหลายปี นางผมหอมเติบโตเป็นสาวอย่างเต็มตัว นางผมหอมชอบลงไปอาบน้ำในหนองบัว (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่บ้านหนองบัว ต.ภูหอ อ.ภูหลวง จ.เลย) และลำธารปากห้วยหอม (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านห้วยหอม ต.หนองคัน อ.ภูหลวง จ.เลย) วันหนึ่งในขณะอาบน้ำ นางได้รำลึกถึงความรักตามประสาคนหนุ่มสาว นางจึงเอาเส้นผมสามเส้นใส่ในผอบทองพร้อมเขียนสารรักลอยน้ำไปตามแม่น้ำเลย (ต้นกำเนิดแม่น้ำเลยอยู่ในพื้นที่ อำเภอภูหลวง)

กล่าวถึงหนุ่มรูปงาม นามว่า ท้าว วรจิตร เป็นลูกชายของเจ้าฟ้าฮ่มขาว เมืองเซไล (ปัจจุบัน บ้านทรายขาว ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย) ลงไปอาบน้ำพร้อมข้าทาสบริวาร ที่ท่าน้ำแม่น้ำเลย ในขณะอาบน้ำมองเห็นผอบทองลอยน้ำวนไปวนมา ท้าววรจิตรก็เอาผอบทองมาเปิดดูเส้นผมพร้อมสารรักของนางผมหอม เมื่ออ่านดูแล้วทำให้จิตใจหวั่นไหว และคิดถึงเจ้าของสารรักยิ่งนัก จากนั้นก็ได้เขียนสารรักตอบลงในผอบทอง ก่อนจะส่งสาร ได้อธิษฐานจิตว่า หากเจ้าของเส้นผมและสารรักอยู่ในแห่งหนใด ก็ขอให้สารรักนี้ลอยน้ำไปในที่แห่งนั้น ปรากฏว่าผอบทองลอยน้ำทวนน้ำขึ้นไปยังต้นน้ำ ณ ที่ปากห้วยหอม ท้าววรจิตรจึงกลาบลาพ่อแม่ เพื่อออกเดินป่า ตามหานางผมหอมที่ผอบลอยทวนน้ำขึ้นไป พอถึงวันเจ็ดวันถ้วน นางผมหอมก็ได้ลงมาอาบน้ำตรงปากน้ำห้วยหอมอีก นางผมหอมเห็นผอบทองก็เปิดอ่านดู ต่อมาท้าววรจิตรได้พบนางผมหอม ได้เกิดความรักขึ้น ท้าววรจิตรจึงได้ครองรักกับนางผมหอมบนปราสาทนั้นหลายสิบปี จนมีบุตรชายด้วยกัน ต่อมาพญาช้างทราบข่าวรู้สึกเสียใจและโกรธ จึงได้ใช้งาแทงและงัดภูเขาให้ทลายลงมาจนหินบนภูเขาเกลื่อนกลาดดังเป็นรูปภูหอ ที่ปรากฏปัจจุบัน พญาช้างเสียใจน้ำตาไหลนองจนเป็นที่มาของหนองน้ำแห่งหนึ่งในภูหอ ชื่อหนองน้ำตาช้าง นางผมหอมทราบข่าวก็มาหาพ่อและปลอบใจพ่อ พ่อก็ได้สั่งเสียว่า ถ้าพ่อตายไป ก็ให้เอางาและกระดูกของพ่อมาทำเป็นเรือแล้วนำพาลูกและสามีกลับเมือง จากนั้นพญาช้างก็ได้สินลมปราณลงตรง เดิ่น (ลาน) ช้างตาย (ปัจจุบันเป็นลานกว้างใหญ่อยู่เชิงภูหอ)

เมื่อเก็บศพพ่อเสร็จก็ได้เอางาและกระดูกทำตามที่พ่อสั่งเสียกลับเมืองเซไล และต่อมาท้าววรจิตรได้ขึ้นครองเมืองเซไลแทนบิดาซึ่งถึงแก่อนิจกรรมปกครองเมืองด้วยความผาสุกตลอดอายุขัย

อำเภอภูหลวง โดยความรร่วมมือของทุกภาคส่วน ได้ร่วมใจกันจัดงานสืบสารประเพณีพญาช้างนางผมหอมขึ้นเป็นประจำในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ณ สนามที่ว่าการอำเภอภูหลวง

ศาลพญาช้าง-นางผมหอมแห่งนี้ ได้ก่อสร้างขึ้นในปี 2543 (นายเนตร บัวโทน นายอำเภอภูหลวง) และได้รับการก่อสร้างปรับปรุงตัวศาลใหม่ในปี 2551 (นายโสภณ สุวรรณรัตน์ นายอำเภอภูหลวง)

ผู้ให้ข้อมูลตำนาน
อ.ทองหล่อ ศรีหนารถ, นายประพนธ์ พลอยพุ่ม, นายทองแดง ธรรมกุล, นายหรุ่น พิมพ์เสนา, นายวิเชียร เดชวงศิลป์, สมุนพญาช้างนางผมหอมหมู่บ้านวัฒนธรรมหนองบัว


ที่มา...ขอบคุณ
 - https://mangfulpopaew.wordpress.com/2014/04/11/ตำนานพญาช้าง-นางผมหอม
 - www.pantip.com/topic/32657084

** หมายเหตุ **
คำว่า +น้ำเชื้อ และ ที่มีน้ำเชื้อวัวป่ารวมอยู่ด้วย
ทางเว็บจีพีเอสเที่ยวไทยทำการสอดแทรกลงไปตามคำบอกเล่าของชาวพื้นเมืองที่ได้บอกเล่ากับเรามา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2559





พิกัดทางเข้าภูหอ ที่บ้านหนองบัว (หน่วยพิทักษ์ป่าภูหอ ต.ภูหอ อ.ภูหลวง จ.เลย)  N17.134988 E101.642317
ภูหอ เป็นส่วนหนึ่งของ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง
(ท่านใดเดินทางในเส้นทางจาก อ.หล่มสัก ไป อ.วังสะพุง ยังไงก็ผ่านจุดนี้ครับ )






วัดโนนสว่าง บ้านหนองบัว  พิกัดจีพีเอส = N17.132852 E101.641835
แวะสักการะศาลเจ้าแม่ผมหอม และศาลพญาช้าง รวมทั้งอ่านเรื่องราว  "ตำนานนางผมหอม"






ตัวที่ทำการหน่วยพิทักษ์ป่าภูหอ (เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง) N17.118815 E101.641222







ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก):
ประวัติของ ภูป่าเปาะ

--- อ้างจาก: ถอดเทปคำพูด จากไกด์ น้องกุ้ง ---    "ภูป่าเปาะ แห่งนี้ ท่านผู้ใหญ่บ้านบุญลือ พรมหาลา อายุ 50 กว่าๆ เป็นผู้ริเริ่มหาทุน ท่านไปของบจากหน่วยงานต่างๆแล้วไม่ได้รับการสนับสนุน เพราะอ้างว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ ท่านจึงดิ้นรนต่อไปโดยไปเล่นดนตรีเปิดหมวกตามสถานที่ต่างๆ เพื่อรวบรวมเงินทุกบาททุกสตางค์ และนำพาลูกบ้านของท่าน ช่วยกันทำถนนบุกเบิกขึ้นเนินภูเขาที่เป็นป่าไผ่ (ไผ่ที่เราเอามาทำกระบอกข้าวหลาม ) ทำเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ใช้กับหมู่บ้านและชุมชนของท่าน โดยที่ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย และตั้งชื่อให้เป็น ภูป่าเปาะ ป่าเปาะ หรือ ป่าไผ่ และบริหารจัดการโดยชาวบ้านล้วนๆ ค่ะ... "

“ภูป่าเปาะ” บ้านผาหวาย ต.ปวนพุ อ.หนองหิน ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ-ภูกระแต ห่างจากสวนหินผางามหรือคุนหมิงเมืองไทยแค่ 7 กิโลเมตร
--- ปิดอ้างถึง ---




--- อ้างจาก: manager.co.th ---ภูป่าเปาะ
     สำหรับ “ภูป่าเปาะ” นั้น ถือเป็นจุดชมวิวที่เพิ่งค้นพบได้ไม่นาน โดยนายบุญลือ พรมหาลา ผู้ใหญ่บ้านหนองหิน เล่าให้ฟังถึงสาเหตุของการเปิดภูป่าเปาะให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวว่า “จริงๆ แล้วเห็นพื้นที่ตรงนี้มานานแล้ว แต่ที่เห็นเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาจริงๆ ก็เมื่อวันที่ 15 กันยายนปีที่แล้ว เมื่อก่อนมีชาวบ้านบุกรุกป่าทำไร่เลื่อนลอย ก็เลยไปคุยกับหัวหน้าป่าไม้ว่าจะมีวิธีไหนที่จะไม่ให้ชาวบ้านบุกรุกต่อ เลยคิดหาวิธีให้ชาวบ้านมีรายได้ ก็เลยคิดหาวิธีว่าจะทำจุดชมวิวดีไหม ทำที่ตรงนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวไปเลย เพราะตรงนี้ก็มีวิวสวยงาม”

      “ในตอนแรกนั้นยังไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ เลยไปของบจาก อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล) ให้เขาช่วยเข้ามาดูว่าที่ตรงนี้สามารถทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้ชาวบ้านผมได้ไหม เพื่อเป็นการป้องกันการบุกรุกป่า เขาบอกว่าที่นี่เป็นแหล่งท่องเที่ยวไม่ได้หรอก ยังไงก็เกิดไม่ได้ แต่ทีนี้ชาวบ้านบอกว่ามันเป็นได้ เพราะวิวมันสวย ผมก็เลยตัดสินใจว่าลุยกับชาวบ้านไป ทำมาเรื่อยๆ ตอนทำจุดชมวิวแรกกับจุดชมวิวที่สองก็หาเงินทุนโดยการเปิดหมวกตามที่ท่องเที่ยว มีคุณหมิงบ้าง เชียงคานบ้าง ภูเรือบ้าง ก็มีคนติดต่อให้ไปเปิดที่ไกลๆ แต่ผมคงไปไม่ได้ เพราะถ้าไปก็มีค่าใช้จ่ายเรื่องน้ำมันเข้ามาอีก พอเปิดหมวกได้เงินมาก็เอามาสร้างเป็นจุดชมวิวขึ้นทีละจุด” ผู้ใหญ่บ้านกล่าวปิดท้าย


ที่มา...
http://www.manager.co.th/travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000138339
( ASTVผู้จัดการออนไลน์   6 พฤศจิกายน 2556 16:59 น.)
--- ปิดอ้างถึง ---




--- อ้างจาก: เฟซบุ้คของ สมาคมคนเหนือ ---ภูป่าเปาะ ฟูจิเมืองไทย ในสายลมหนาว

หากพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับการขนานนามใหเป็น ฟูจิเมืองไทย แน่นอนว่าคุณคงต้องนึกถึง ภูป่าเปาะ อีกหนึ่งจุดชมวิวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเลย 1 ใน 12 เมืองต้องห้ามพลาด ซึ่งแน่นอนว่าคุณต้องหาโอกาสมาเยือนด้วยตัวเองาสักครั้ง โดยภูป่าเปาะตั้งอยู่ใน เขตพื้นที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ-ภูกระแต บ้านผาหวาย ตำบลปวนพุ อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย และอยู่ห่างจากสวนผาหินงามหรือคุนหมิงเมืองไทยเพียง 7 กิโลเมตร เท่านั้นเอง ภูป่าเปาะ หรือ ฟูจิเมืองไทย แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของเมืองเลยที่ได้รับความนิยมมากในช่วงฤดูหนาว สำหรับจุดเด่นที่น่าสนใจของภูป่าเปาะก็คือ บรรยากาศที่สวยงามบนจุดชมวิวที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 900 เมตร สามารถมองเห็น "ภูหอ " ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาสูง เป็นภูเขายอดตัด หรือภูเขายอดราบ โดยเฉพาะช่วงที่มีทะเลหมอกปกคลุมซึ่งมีความคล้ายคลึงกับภูเขาไฟฟูจิยามาในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้แล้ว ภูป่าเปาะ ยังมีจุดชมวิว 4 จุด แต่ละจุดห่างกันประมาณ 200 เมตร โดยจุดสูงสุดของภูป่าเปราะนั้นสามารถมองเห็นภูเขาได้รอบทิศ ชมพระอาทิตย์ขึ้นและตก ได้ที่จุดเดียวกัน นอกจากนี้ยังสามารถมองเห็น อุทยานแห่งชาติภูผาม่าน อำเภอภูผาม่านจังหวัดขอนแก่น อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ วนอุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม อำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี และ ถ้ำเอราวัณ อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู ขึ้นภูเดียวเห็น 4 จังหวัดหากต้องการ

เดินทางไปเที่ยวภูป่าเปาะ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่
 - นายธนเดช กล่อมใจ เลขานุการชมรมผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวสวนหินผางาม โทร...086-2218924
 - นายบุญลือ พรมหาลา ผู้ใหญ่บ้าน บ้านผาหวาย หมู่ 3 โทร...089-7646829
 - การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเลย 042-812812


ที่มา...
https://th-th.facebook.com/permalink.php?story_fbid=769956479748822&id=134776203266856
(5 มกราคม 2015)
--- ปิดอ้างถึง ---











3. หลังจากที่ไปแวะชมสวนหินผางาม น้ำตกเพียงดินที่อยู่ไม่ไกลจากตรงนี้ ผมก็ขับรถมาภูป่าเปาะโดยขับรถเรื่อยๆไปก่อนเพื่อดูลู่ทาง ว่ามีกฏระเบียบข้อบังคับในการขึ้นไปชมอย่างไร พอถึงทางแยกเข้าสายตาก็เห็นป้ายที่ห้ามรถทุกชนิดขึ้น และให้ไปใช้บริการรถอีแต็กของชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการ ที่จุดบริการนักท่องเที่ยว เราก็เลี้ยวกลับไปทันที นี่แหละสิ่งที่ต้องการครับ ใช้บริการชุมชนดีกว่า อุดหนุนชาวบ้านให้มีรายได้ ดีกว่าไปหางานทำไกลบ้าน อันนี้แหละที่ทางเว็บหนับหนุน เราเลี้ยวมาจอดที่ลานจอดครับ จากนั้นก็มีน้องไกด์เดินมาสอบถามด้วยอัธยาศัยไมตรีดียิ่ง..



ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวภูป่าเปาะ พิกัด  17.034113, 101.721588










4. ภาพแผนที่ อธิบายจุดต่างๆ
  A = คือศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ภูป่าเปาะ และที่จอดรถ รถทุกคันห้ามขึ้นเด็ดขาด
  B = จุดชมวิวภูป่าเปาะ จุดที่1  (และจุดจอดรถ)
  C = จุดชมวิวภูป่าเปาะ จุดที่2  (และจุดจอดรถ)
  D = จุดชมวิวภูป่าเปาะ จุดที่3  (และจุดจอดรถ)
  E = จุดชมวิวภูป่าเปาะ จุดที่4 ด้านบน ต้องเดินเท้าขึ้นไปอีกประมาณ 200 เมตร เป็นจุดสูงสุด

 - ระยะทางจากจุดจอดรถศูนย์บริการนักท่องเที่ยวภูป่าเปาะ ไปถึงจุดชมวิวจุดที่ 3 ระยะทางประมาณ 2.5 กม.
 - ระยะทาง จุดชมวิวที่1 ถึงจุดที่ 4  ระยะทาง 800 เมตร


อัตราค่าบริการต่างๆ
 - ค่ารถอีแต๊กขึ้นยอดภูป่าเปาะ ถ้าจำไม่ผิด คนละ 60 บาท (ไม่แพงจร่ะ ลองคิดดูอีแต๊กต้องรอรับเรากลับลงมาด้วย)
 - ค่าไกด์ หนึ่งหมู่คณะ ต้องมีไกด์หนึ่งคน อันนี้ท่านไปจ่ายให้น้องๆที่เป็นไกด์เองตามสายธารน้ำใจ


หมายเหตุ
 - ด้านบนไม่มีห้องน้ำบริการ ทำธุระจัดการเสียแต่ด้านล่าง จริงๆแล้วมีห้องน้ำฉุกเฉินด้านบน
 - เตรียมน้ำดื่มไปด้วย ด้านบนไม่มีร้านอาหารทุกชนิด






--- อ้างจาก: คำแนะนำ ---  ** ฝากข้อคิดถึงผู้บริหาร "ภูป่าเปาะ" เรื่องการไม่มีห้องน้ำด้านบน สถานที่ท่องเที่ยวควรมีห้องน้ำบริการครับ จะบอกว่าตัดปัญหาไม่ถูกต้องครับ **

   เพราะประสบการตรงๆของผมเกือบสิบปีแล้ว ไปพบนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไปชมสวนนกชัยนาทด้านในสุดที่เป็นส่วนของกรงนกตาข่ายขนาดใหญ่ แกเกิดปวดท้องหาห้องน้ำแถวนั้นไม่มี แกเลยนั่งอึริมทางเดิน เป็นที่อุจาดตามาก ผมเลยถามเจ้าหน้าที่แถวนั้น เจ้าหน้าที่บอกว่ามี แต่อยู่ด้านนอกตรงที่ขายตั๋วระยะทางเดินเกือบ 500 เมตร งามละทีนี้ และที่สวนนกแห่งนี้ปัจจุบันไม่รู้ได้แก้ไขตรงนี้หรือยัง และสถานที่ท่องเที่ยวอื่นที่มีลักษณะนี้ควรกะระยะจุดควรมีห้องน้ำแล้วสร้างเถอะครับ เช่น ถ้ำน้ำลอดหรือถ้ำผีแมน อ.ปางมะผ้า ก็ควรมีด้านในด้วย ส่วนภูชี้ฟ้าในส่วนที่เดินขึ้นยอด ลองเดินแวะเข้าป่าข้างทางตลอดทาง ขึ้น/ลง ไปดูให้ได้เลยมีให้ดูแบบสมเพชครับ..
--- ปิดอ้างถึง ---




ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก):


5.1 เราเข้าไปติดต่อจุดบริการนักท่องเที่ยว ค่าบริการ/คน รวมค่ารถอีแต๊ก ผมลืมราคาไปแร๊ะ แต่น่าจะ 60 บาท/คนนะครับ ส่วนค่าไกด์ทางศูนย์ให้เราจ่ายโดยตรงตามความพึงพอใจครับ หลังจากเสร็จเรียบร้อบ พร้อมน้องไกด์รูปร่างน่ารักสมบูรณ์ระหงส์นามว่าน้องกุ้ง เราก็ได้นั่งรถอีแต๊กคาราบาวตามคิวคือคันนี้







5.2 นี่ครับ น้องกุ้ง น้องไกด์รูปร่างน่ารักสมบูรณ์ระหงส์ อัธยาศัยดีเยี่ยม ข้อมูลแน่นๆ ทางเว็บขอขอบคุณน้องมากครับ

ข้อมูลที่ผมไม่เคยทราบ ก็ได้จากน้องเค้านี่แหละ เพราะดันมองและคิดไกลไปหน่อย เรื่องการเพาะดอกบัวตองให้งอก น้องบอกว่างอกยากค่ะ ต้องใช้กิ่งเสียบเท่านั้น โห..ใช่เลย ผมลืมไปเสียสนิท จำได้ว่าต้นชะอม (และหลากหลายพืช)ใช้วิธีนี้ ตอนเป็นเด็กเห็นแม่ตัดชะอมมาเสียบๆๆ เป็นรั้วบ้าน ไม่กี่สัปดาห์มันก็แตกกิ่งแตกยอดให้เราเอาไปชุบไข่ทอด ลืมสนิทเลย..555

เรื่องดอกบัวตองนี่ผมชอบมาก ดอกมันเหลืองสวยสด ไปดอยแม่อู่คอ อ.ขุนยวมทีไร ต้องเก็บดอกแห้งๆใส่ถุงขนาดย่อมกลับมาบ้าน เพื่อมาเพาะให้งอกแล้วปลูก แต่พอทราบจากน้องกุ้งขำไม่ออกดิ ...555 เขิลหว่ะ...ฮา ดันไปปล่อยเป็ดฝูงบะเริ่ม..ฮา

ความรู้อีกอันนึงที่ได้จากน้องกุ้ง คือดอกบัวตองที่ภูป่าเปาะ กับที่อื่น เช่นทุ่งบัวตองดอยแม่อู่คอ ดอกจะใหญ่ไม่เท่ากัน ผมก็ถามว่าไมมันไม่เท่ากัน น้องแกตอบผมว่าที่ภูป่าเปาะ เราจะตัดต้นแก่และกลุ่มกอที่แน่นออกเพื่อให้มันโปร่ง และไม่แย่งอาหารกัน ดอกจะได้ใหญ่และสวยงาม โห... เป็นการคิดที่ชาญฉลาดมากครับ ชุมชนชาวบ้านเค้าเข้าลึกถึงรายละเอียดกันขนาดนี้ผมว่าไม่ใช่เรื่องปกติแล้วครับ เค้ามีวิธีการจัดการให้แหล่งท่องเที่ยวเค้ายั่งยืนเลยครับ

ผมไม่ทราบว่าดอยแม่อู่คอทำแบบนี้หรือปล่าว ถ้าไม่ ก็คิดและทำเลยครับ เพราะที่นั่นต้นมันจะแน่น แห้งและตายไปตามธรรมชาติ ถ้ามีวิธีการจัดการแบบภูป่าเปาะ ผมว่าเยี่ยมครับ

คุยไปคุยมาถามเรื่อง "ยุง" ยุงจริงๆครับ ยุงจังหวัดเลยตัวใหญ่มาก ตัวบั่กเอ้บ มันต้อนรับเราตั้งแต่เชียงคาน ภูเรือ และที่นี่ ถามน้องกุ้งว่าชาวบ้านชาวช่องเค้ารู้กันปล่าวว่ามันใหญ่มาก ใหญ่กว่าที่อื่น น้องตอบว่าทราบค่ะ บอกว่าเราทำทุกวิถีทางเช่นพ่นยา พ่นยาแบบหมอกควัน พ่นจนมันดื้อยาไปแล้ว ตอนนี้หมดหนทางทำลายแหล่งมัน เลยปล่อยมันไปแบบนี้ อืม..... นั่นสิ ตัวมันใหญ่มาก กัด ดูดเลือดแบบยุงทั่วไป ผมเห็นแล้วขนลุก รำคาญมันมาก หมดยาทาเป็นขวดๆครับ อันนี้เรื่องจริง

อ่าเกือบลืมไป อันนี้สำคัญ ปกติมีแหล่งท่องเที่ยวที่ไหน จะมีร้านอาหาร หรือบริการที่กางเต็นท์ด้วย น้องกุ้ง บอกว่าที่นี่ก็มีเช่นกัน แต่มันมีนักท่องเที่ยวขยะบางคนไม่เคารพสิทธิ์ผู้อื่น และถืออภิสิทธิ์มากเกินไป กางเต็นท์ กินเหล้าส่งเสียงดัง สร้างความรำคาญ บางครั้งใช้บริการรถอีแต๊กขึ้นไปแล้ว กับกลายไปนั่งดื่มเหล้า(บนจุดชมวิวที่3 บนสุด) แล้วนั่งดื่มแบบนั้นไม่มีทีท่าว่าจะลงมา ทำให้รถอีแต๊กท่านนั้นขาดรายได้ไปเลย คือบริการคนกลุ่มนี้กลุ่มเดียวทั้งวัน

ทางผู้ดูแลจัดการเลยมีมติ ห้ามมีร้านค้า ห้ามกางเต็นท์ ห้ามดื่มเหล้าของมึนเมาด้านบนเด็ดขาด

นี่แหละครับนักท่องเที่ยวขยะแบบนี้ไปไหนมีแต่คนเอือมระอา รู้สึกตัวเองบ้างมั๊ย ว่าสิทธิ์ทุกคนมีเท่ากัน ควรเคารพสิทธิ์กติกาคนอื่นบ้าง สถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนเป็นของทุกคน ไม่ใช่เป็นของพวกเปลี่ยนที่กินเหล้าสร้างความรำคาญ

นี่คือความรู้บางส่วนที่ได้จากน้องเค้า ตามประสาคนชอบขุดคุ้ยแบบผมแหละ...ฮา







6. ลูกชายผมบอกเท่ห์... อิอิ

ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก):



7.1  เตรียมเลี้ยวขวาเข้าเส้นทางลูกรังครับ








7.2 ขอบคุณที่ให้ความร่วมมือตามป้าย








8. ทางโรยหิน








9. ทางโรยหินคลุกครับ เพราะภูป่าเปาะเกิดจากผู้นำชาวบ้านก่อร่างสร้างตัวขึ้นกันเอง และไม่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่น จึงเป็นแบบที่เห็น


นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ไปที่เวอร์ชันเต็ม
Powered by SMFPacks Social Login Mod