คำแนะนำการใช้ GPS สำหรับมือใหม่ ที่จะไม่พาท่านเข้าป่า ลงคลอง ทางตัน ฯลฯ
(1/1)
ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก):
คำแนะนำการใช้ GPS สำหรับมือใหม่ ที่จะไม่พาท่านเข้าป่า ลงคลอง ทางตัน ฯลฯ
การใช้GPS ในการเดินทางของมือใหม่ และมือเก่าบางคน ที่เจ้าเครื่องจีพีเอสมันพาเข้าป่า พาลงคลอง พาไปทางตัน พาลงเขา ต่างๆสารพัด นั่นเป็นสาเหตุที่ท่านยังไม่ได้ศึกษาระบบทำงานเครื่องนำทางดีพอ จึงเกิดเหตุดังที่ว่ารายวัน
ก่อนอื่นที่ท่านซื้อเครื่องจีพีเอสมาครั้งแรก ท่านควรศึกษาอ่านคู่มือ ทดสอบการจำลองให้มันนำทางในรูปแบบเส้นทางหลากหลาย การทดสอบการนำทาง ท่านจะต้องปิดการรับสัญญาณดาวเทียมก่อน เพื่อเป็นโหมดออฟไลน์ โหมดที่ว่านี้ท่านจะต้องอ่านคู่มือเองนะครับ ว่าแต่ละเครื่องอยู่ตรงไหน จากนั้นไปดูการตั้งค่าเครื่อง เช่น ท่านใช้พาหนะอะไรในการเดินทาง ท่านเลือกใช้เส้นทางแบบไหน มีเส้นทางอะไรที่ต้องหลีกเลี่ยง
ดังนั้นเครื่องนำทางจีพีเอสแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ และปัจจัยราคาของเครื่อง มีส่วนสำคัญของการมีตัวเลือกค่าต่างๆ มากน้อยไม่เท่ากัน ตัวเลือกต่างๆดูตามด้านล่าง
ตัวเลือก พาหนะที่ท่านใช้
1. รถยนต์
2. รถบรรทุก
3. รถมอเตอร์ไซด์
4. จักรยาน
5. เดินเท้า
6. เครื่องบิน
ตัวเลือกนี้ จีพีเอสบางรุ่น บางยี่ห้อที่ราคาสูง จะมีตัวเลือกข้อ 1-6 นี้แทบหมด จะทำให้การเดินทางแม่นยำมากขึ้นไปอีก เช่น
- ท่านเลือกรถบรรทุก เครื่องนำทางมันจะพาท่านไปถนนเลนเยอะๆ หรือทางหลวงหลักๆ และทางหลวงอำเภอ ตำบลไล่ลงมาแบบนี้ครับ
- หรือถ้าท่านเลือกเครื่องบิน ระบบนำทางมันก็จะพาท่านเดินทางแบบเส้นตรงเลยนะ
- หรือท่านเลือกเดินทางแบบมอเตอร์ไซด์ อันนี้เครื่องนำทางจะพาท่านไปแทบทุกสภาวะทางที่มองว่าเป็นเส้นทาง
ตัวเลือก เส้นทาง
1. เวลาที่เร็วกว่า
2. ทางลัด
3. เส้นตรง
4. กำหนดเอง
ตัวเลือกนี้ จีพีเอสบางรุ่น บางยี่ห้อ
- ถ้าเลือกเวลาที่เร็วกว่ามันก็จะพาท่านไปในเส้นทางหลักๆ เลนเยอะๆ แน่นอนครับมันต้องอ้อมแน่นอน
- ถ้าเลือกทางลัดมันก็จะพาท่านไปลัดจริงๆ พึงระวังข้อนี้ให้ดีเชียว
ไม่ว่าจะเลือกเส้นทางแบบไหนเครื่องนำทางมันจะโชว์เส้นทางให้ท่านดูก่อน ว่าเส้นทางเร็วกว่า เส้นทางลัด เส้นทางที่กำหนดเอง ระยะทางถึงปลายทางแต่ละแบบกี่กิโลเมตร
ยิ่งถ้าเป็นเส้นทางที่เราไม่ชินหรือไม่เคยไป กรุณาเลือกเส้นทางที่มีระยะทางกลางๆ หรือระยะทางที่อ้อมกว่า อันนี้เราจะถึงปลายทางชัวร์และแน่นอนกว่า
ตัวเลือก หลีกเลี่ยงเส้นทาง
1. กลับรถ
2. มอเตอร์เวย์
3. ทางด่วน
4. ท่าเรือ / แม่น้ำ ลำคลอง
5. เลนรถร่วม
6. ถนนลูกรัง
ตัวเลือกนี้ จีพีเอสบางรุ่น บางยี่ห้อ จะมีตัวเลือกให้ป้อนข้อมูลนี้ลงไปให้เครื่องนำทางรู้ ว่าเส้นทางแบบนี้จะไม่นำทางผ่าน
ตัวเลือก กำหนดพื้นที่หลีกเลี่ยง
1. กำหนดถนน ที่ห้ามผ่าน
2. กำหนดโซนพื้นที่ ที่ห้ามผ่าน
ในตัวเลือกนี้ ท่านจะต้องเข้าไปสร้างรูทพื้นที่เอง ว่าพื้นที่นี้เราจะไม่นำทางผ่าน เช่น แหล่งรถติด พื้นที่ส่วนบุคคล ต่างๆ
____________________________________________
จากตัวเลือกการตั้งค่าด้านบน ยังมีอีกเรื่องนึงที่หลายคนยังไม่รู้ คือไปโทษแผนที่กูเกิล เห็นหลายสื่อไปทะเลาะกับแผนที่กูเกิล หรือรถทำแผนที่เสมือนจริงของกูเกิลเข้าให้ นั่นเป็นการเข้าใจที่ผิดครับ เค้าไม่รู้เรื่องอะไรเลยกับการเดินทางของเรา เพียงแต่เราไปอ้างอิงเค้าในการเดินทาง มันอยู่ที่เราเขียนคำสั่งหรือซอฟท์แวร์ในเครื่องเราที่สั่งให้เดินไปบนเส้นทางเค้า เท่านี้เอง
และอย่าลืมว่าคนทำแผนที่เค้าไม่ได้เดินทางไปทุกตารางนิ้วเพื่อทำแผนที่ เค้าก็จะดูภาพถ่ายดาวเทียมที่มีความละเอียดสูงแต่ละค่าย (ไม่จำเป็นต้องของกูเกิล) ที่เค้าจ้างถ่าย หรือแผนที่บางแหล่ง (ไม่ขอเอ่ยนามนะครับ) จากภาพถ่ายดาวเทียมเค้าจะมาประเมินด้วยสายตาว่าเส้นทางที่เห็นเป็นเส้นทาง รถยนต์ เส้นทางเดิน เส้นทางลูกรัง คลอง ท่าเรือ เค้าก็จะบรรจุลงระบบแผนที่ วันเวลาผ่านไปเส้นทางบางเส้นเปลี่ยนไปไม่ใช้งานก็จะเลือนหายไปจากภาพถ่าย แต่ในแผนที่มันยังอยู่ พวกนี้แหละที่เครื่องมันยังคงพาท่านผ่านไป และการตรวจตาแผนที่ทางผู้ให้บริการเค้าก็ไม่ได้ดูทุกเดือนในทุกตารางนิ้วว่าจุดไหนเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ถ้าดูกันแบบนี้คนทำแผนที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่มหาศาลที่ไม่คุ้มค่าใช้จ่ายกับผลที่ได้
ถามว่าใครผิด ไม่มีใครผิดครับ เรานั่นแหละที่เป็นผู้ใช้ เราต้องช่วยผู้ให้บริการแผนที่เค้าปรับปรุงแก้ไขใหม่ว่าเส้นทางใดยกเลิก เค้าก็จะทำการแก้ไขแล้วเราดาวน์โหลดแผนที่มาคราวหน้าเส้นเจ้าปัญหาจะถูกยกเลิกไป ถ้าใครใช้ยี่ห้อการ์มินส่วนมากจะทราบเรื่องนี้เค้าก็จะแจ้งไปที่ต้นทางคือบริษัทอีเอสอาร์ไอ (ผมขออนุญาตเอ่ยนามนะครับ) เพราะแผนที่ที่ติดมาในรถยนต์แทบทุกยี่ห้อ ใช้แผนที่จ้าวนี้แทบทั้งนั้น ฉะนั้นท่านทั้งหลายไปพบอะไรที่ผิดพลาดก็ควรแจ้งบริษัทเค้าด้วย ไม่ใช่เราเป็นฝ่ายเสพอย่างเดียวเราต้องเป็นฝ่ายให้ด้วยครับ แผนที่จึงจะถูกต้องสมบูรณ์มากที่สุด
ฉะนั้นเรื่องเครื่องนำทางผิดพลาด มันอยู่ที่เราเข้าใจและศึกษาการทำงานของเครื่องมากน้อยแค่ไหน เค้าถูกเขียนคำสั่งมาให้ทำงานตามเงื่อนไขต่างๆที่เราเลือกตั้งค่า เค้าไม่มีสมองเหมือนเรา ไม่มีตาเหมือนเรา ที่จะไปมองแยกแยะได้เอง ว่าเส้นทางนั้นมันใช่หรือไม่ใช่..!?
Nanthawat (Modฯ):
ข้อสังเกตุในการใช้เครื่องนำทาง ถ้าเราเห็นสิ่งผิดปกติ เช่น ทางด้านหน้าที่ไปเริ่มแคบลง หรือเริ่มมีป่าปกคลุม นี่ก็เป็นเครื่องตัดสินใจได้ว่าเส้นทางนี้ยกเลิกไปแล้ว หรือเป็นเส้นทางของรถอีกชนิดนึงเช่น 4x4 ท่านก็ควรหาทางเปลี่ยนเส้นทางใหม่ ไม่ควรดันทุรังไป พอไปแล้วก็มาเอะอะ ผมว่ามันไม่ถูกเรื่อง
ที่ชัดที่สุด ถ้าเส้นทางนั้นท่านไม่ชินไม่เคยไป ง่ายๆเลยตั้งเครื่องให้มันพาไปในเส้นทางที่ไม่ใช่ทางลัด ควรเลือกเส้นทางที่ใช้เวลาได้ดีกว่า อ้อมบ้าง ดีกว่ามาหลงทางแบบนี้ เพราะยังไงมันก็ถึงปลายทางอยู่ดีนั่นแหละ
jammai:
ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ
Nanthawat (Modฯ):
ให้ชัวร์นะ อย่าให้มันนำทางยาวๆ เช่น กรุงเทพ-ดอยอินทนนท์ ทีเดียวเลย
ควรใส่พิกัดหรือสั่งให้มันเดินทางเป็นช่วง เช่น
- กรุงเทพ-นครสรรค์
- นครสวรรค์-เถิน
- เถิน-บ้านโฮ่ง
- บ้านโฮ่ง-ดอยอินทนน์
แบบนี้ครับ ไม่หลงแน่ ไปตามที่เราต้องการเลย หรือ เครื่องจีพีเอสรุ่นราคาแพงๆ มันจะสามารถสร้างเส้นทางการเดินทางได้ ว่า กรุงเทพ-ดอยอินทนนท์ให้ผ่านจุดไหนบ้าง เราก็ป้อนเป็นรูทเลย เเล้วสั่งให้มันเดินทางทีเดียว แบบนี้ก็ได้ ฉะนั้นการใช้จีพีเอสใช่ไม่เป็นอย่าโวยวาย ไม่ควรแสดงอะไรออกมาบนสื่อโซเชี่ยลในทำนองว่าอีกแร๊ะ พาหลงทางอีกแล้ว นี่แหละครับก็จะเจอแบบนี้
หรือก่อนเดินทางไกล ควรทำการบ้านไปก่อน โดยศึกษาเส้นทางจากแผนที่กูเกิลบนคอมพิวเตอร์ แล้วศึกษาการหาพิกัด ต่างๆ สารพัด ไม่ใช่ไปฝากความหวังไว้ที่เครื่องนำทางอย่างเดียว ก็แสดงว่าไม่ถูกต้อง อย่ามีเครื่องนำทางไว้เพื่อบอกเพื่อนว่ารถผมมีจีพีเอส
และสำคัญที่สุด ขอเถอะครับ การใช้มือถือโดยเปิดให้มันนำทางผ่านแอปต่างๆ เลิกได้ก็ควรเลิก เช่นแอปของค่ายมือถือต่างๆ เพราะแผนที่ที่มันดึงมาแสดง มันดึงมาแบบเรียลไทม์ หมายถึงท่านจะต้องต่อเน็ตไว้ด้วย เพื่อให้มันโหลดแผนที่มาแสดงต่อเนื่อง ถูกกินค่าเน็ตฟรีโดยที่เราไม่รู้ตัว แถมจุดที่ไม่มีสัญญาณเน็ต ท่านจะเดี้ยงเพราะแผนที่มันจะมาหาท่านได้ไง ครานี้เจ๊งสิครับไปไม่เป็นเลย
(แผนที่=ถูกดึงผ่านเน็ต, แต่พิกัดดาวเทียม=มันรับสัญญาณจากดาวเทียมบนฟ้า)
ฉะนั้น gps ก็ควรใช้ gps ไม่ควรใช้มือถือมาใช้ร่วมหรือใช้แทนประมาณว่าประหยัดมันได้ไม่คุ้มเสีย
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
ไปที่เวอร์ชันเต็ม