หมวด ท่องเที่ยว - กิจกรรม
> เที่ยวทั่วไทย

สถานี & อุโมงค์รถไฟขุนตาน ตอน ห่วงทางสะดวก

<< < (9/11) > >>

I AM PHUM:

I AM PHUM:
ภาพแรก จนท.รถไฟจะนำห่วงทางสะดวกไปเสียบไว้บนหลักที่ปลายสถานี เพื่อให้รถไฟรับห่วงทางสะดวกแล้วไปคืนที่สถานีถัดไป ในที่นี้คือสถานีแม่ตานน้อย

หรือถ้าเห็น จนท.รถไฟนำห่วงไปเสียบที่หลัก ก็ให้แสดงว่ารถไฟกำลังจะมานะครับ และตอนนี้ขบวนรถล่องเข้ากรุงเทพ กำลังจะออกจากสถานีทาชมพูมุ่งหน้าสถานีขุนตาน แต่จะไม่จอดนะครับ ขอให้สังเกตุการคืนห่วงทางสะดวก และรับห่วงทางสะดวก



ห่วงทางสะดวก
   การเดินรถไฟในบ้านเรานั้นในท้องที่ที่ห่างไกลจากกรุงเทพยังใช้ระบบรางเดี่ยวอยู่ คือรถวิ่งไป-กลับบนรางเดียวกัน ดังนั้นจึงต้องมีการป้องกันไม่ให้มีขบวนรถสองขบวนวิ่งสวนทางกันบนรางเดียวกัน ระบบที่บ้านเราใช้คือการใช้ "ห่วงตราทางสะดวก" หรือ "เครื่องทางสะดวก" หรือ "ห่วงทางสะดวก"

   "ห่วงทางสะดวก" เป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่รถไฟที่จะวิ่งในรางระหว่างสถานี ก และสถานี ข ต้องมี ถ้ารถไฟขบวนที่หนึ่งวิ่งมาถึงสถานี ก เพื่อไปยังสถานี ข และได้รับห่วงทางสะดวกที่สถานี ก รถไฟขบวนนี้ก็จะวิ่งไปยังสถานี ข ได้ ในขณะเดียวกันถ้ามีรถไฟขบวนที่สองวิ่งจากสถานี ค มายังสถานี ข เพื่อจะไปยังสถานี ก รถไฟขบวนที่สองนี้ก็จะนำห่วงทางสะดวก(สำหรับช่วงระหว่างสถานี ข และสถานี ค) ที่รับมาจากสถานี ค มาส่งให้ที่สถานี ข แต่จะออกจากสถานี ข ไปยังสถานี ก ไม่ได้ เพราะไม่มีห่วงทางสะดวกสำหรับช่วงระหว่างสถานี ข และสถานี ก เพราะห่วงทางสะดวกสำหรับช่วงนี้มันมีอยู่ชิ้นเดียวและอยู่ในขบวนรถขบวนที่หนึ่งที่กำลังวิ่งจากสถานี ก มายังสถานี ข ดังนั้นรถไฟขบวนที่สองจึงต้องหยุดรอที่สถานี ข ก่อน ที่เรียกกันทั่วไปว่ารอหลีก

   พอรถไฟขบวนที่หนึ่งวิ่งเข้ามาถึงสถานี ข รถไฟขบวนนี้ก็จะนำเอาห่วงทางสะดวกที่รับมาจากสถานี ก มาคล้องที่เสารับห่วงทางสะดวก เสานี้จะมีอยู่สองต้น อยู่คนละปลายของชานชลาสถานีรถไฟ พอรถไฟขบวนที่หนึ่งวิ่งจะพ้นจากสถานีรถไฟ พนักงานประจำรถก็จะคว้าเอาห่วงทางสะดวกอีกห่วงหนึ่ง (สำหรับใช้ระหว่างสถานี ข และสถานี ค ที่อยู่ถัดไป) ที่นายสถานีรับมาจากรถไฟขบวนที่สองที่จอรอหลีกอยู่ และเอาไปติดเอาไว้ที่เสาอีกต้นหนึ่งที่อยู่ที่อีกปลายด้านหนึ่งของชานชลา

   ถ้าเกิดกรณีที่พนักงานที่ประจำหัวรถจักรรับห่วงพลาด ก็จะเกิดเหตุการณ์ที่ขบวนรถไฟต้องหยุด และอาจมีการวิ่งถอยหลังมารับห่วงทางสะดวกจากนายสถานี หรือไม่นายสถานีก็จะปั่นจักรยานเอาไปส่งให้กับพนักงานประจำรถไฟ เหตุการณ์ดังกล่าวตอนเด็ก ๆ ที่ผมต้องนั่งรถไฟไปเยี่ยมญาติต่างจังหวัดก็เจออยู่หลายครั้ง แต่ปัจจุบันหลาย ๆ สถานี โดยเฉพาะในเขตรอบ ๆ กรุงเทพมหานครและเส้นทางที่สร้างใหม่ (เช่นเส้นทางสายตะวันออกไปท่าเรือน้ำลึกที่แหลมฉบังและที่มาบตาพุด) ก็ไม่มีการใช้ระบบนี้แล้ว ดูเหมือนจะใช้ระบบ track circuit แทนกันแล้ว

ข้อมูลจาก:
http://tamagozzilla.blogspot.com/2012/04/mo-memoir-tuesday-24-april-2555.html


I AM PHUM:

I AM PHUM:

I AM PHUM:
มาแล้วครับ ขอให้ดูการคืนห่วงทางสะดวกนะครับ
การคืนห่วงทางสะดวก ทำได้หลายแบบแล้วแต่คนคืนจะคืนแบบไหน
1. คืนห่วงโดยคล้องไว้ที่หลักห่วงทางสะดวก แต่วิธีนี้ถ้ารถไฟวิ่งมาเร็ว โอกาสคล้องพอดีมียาก หรือห่วงทางสะดวกสะบัดมาฟาดคนคล้องเองก็มี
2. คืนแบบโยนไปเลย ลงตรงไหนก็ได้ ที่คิดว่าโยนไปแล้วไม่ถูกคนข้างทาง และต้องโยนหรือคืนก่อนที่รับห่วงทางสะดวกไปคืนสถานีต่อไป

ภาพถัดจากภาพนี้ ให้สังเกตุภาพที่2 ที่คนขับรถไฟถือห่วงทางสะดวกแนบกับตัวรถไฟเพื่อเตรียมโยนคืนให้ และภาพที่3 นั่นคือโยนมาแล้ว จะเห็นว่าห่วงอยู่เหนือหัวนายสถานี ตามภาพความเป็นจริงจะอยู่ห่างกันมากกับนายสถานีเป็นสิบๆเมตร และคนขับรถไฟเตรียมตัวไปรับห่วงทางสะดวกที่คล้องเสารอไว้แล้วที่ปลายสถานี



นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ไปที่เวอร์ชันเต็ม
Powered by SMFPacks Social Login Mod