ข้ า พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า    ~    ก ลุ่ ม เ ว็ บ จี พี เ อ ส เ ที่ ย ว ไ ท ย ด อ ท ค อ ม   (กลุ่มเว็บลูกหลานชาวพิจิตร)

fillgoods.co ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ theterraceview-khaokho เว็บทรีโอแมส Welcome to JustUsers.net
วิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย-เยอรมัน สระบุรี แนชเชอรัล รีสอร์ต (Nat's Resort) พิจิตร เม็ดบัวอบกรอบ มาย ฟีเกอ มีจําหน่ายที่ supermarket & 7-Eleven ทุกสาขา (10/12/60) เว็บ justusers.net
ลิ้ ง ค์ ก า ร พ นั น ..!!     แ บ น เ น อ ร์ ก า ร พ นั น ..!!     ไ ม่ ต้ อ ง พ ย า ย า ม ติ ด ต่ อ ม า     ไ ม่ ต้ อ น รั บ ..??

....:::: ::::....         แล้งน้ำ, น้ำท่วม, ลดโลกร้อน เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวในเรื่องดังกล่าว ทางเว็บขอร่วมรณรงค์ให้พี่น้องช่วยกันปลูกป่าทั่วแผ่นดินเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวตามพระราชดำริของพ่อ เช่น ท่านที่อยู่ต้นน้ำตามภูเขาที่ลาดชัน หรือตามท้องไร่ท้องนาหัวคันนา ปลูกเท่าที่ทำได้ ทำตอนนี้ลูกหลานเราจะได้ไม่เดือดร้อน ...             เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม     "เว็บท่องเที่ยว-ถ่ายภาพ และพิกัดGPS"       ....:::: ::::....

  สังคมแห่งการแบ่งปันนี้จะไม่มีสิ่งที่เพื่อนต้องการ    เมื่อเพื่อนๆ มาแวะเยี่ยมแล้วไม่ฝากสิ่งใดไว้..!!     กลุ่มเว็บนี้..   ดำรงไว้ซึ่ง คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม จรรยาบรรณ ไม่เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ตักตวงผลประโยชน์เข้าตน..  


ผู้เขียน หัวข้อ: อุทยานแห่งชาติเขาแหลม (Khao Laem)  (อ่าน 8783 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ pim

  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • Webmaster
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 0
  • -จึงได้รับ: 15
  • กระทู้: 510
  • กำลังใจ : +8/-0
  • ระบบปฏิบัติการ:
  • Windows 7/Server 2008 R2 Windows 7/Server 2008 R2
  • เบราเซอร์:
  • Chrome 35.0.1916.114 Chrome 35.0.1916.114
  • กลุ่มพิเศษ.. กลุ่มผู้ดูแลเว็บ
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 23
อุทยานแห่งชาติเขาแหลม (Khao Laem)
« เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2557, เวลา 15:13:28 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...                                 

อุทยานแห่งชาติเขาแหลม (Khao Laem)
พิกัดGPS อุทยานแห่งชาติเขาแหลม  N15.02009 E98.58127

อุทยานแห่งชาติเขาแหลม มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอสังขละบุรีและอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีสภาพป่าที่สมบูรณ์โดยรอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม ประกอบด้วยสัตว์ป่านานาชนิด สถานที่สวยงามเหมาะแก่การท่องเที่ยวศึกษาหาความรู้ และเป็นอุทยานแห่งชาติ 1 ใน 5 แห่ง ของโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ เพื่อการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2530 มีเนื้อที่ประมาณ 1,497 ตารางกิโลเมตร หรือ 935,625 ไร่

ความเป็นมา : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดโครงการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ ภาคละ 1 แห่ง รวม 5 แห่ง เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 5 ธันวาคม 2530 กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้เสนอกำหนดพื้นที่บริเวณป่าเหนือเขื่อนวชิราลงกรณ์ (เขื่อนเขาแหลม) จังหวัดกาญจนบุรี ต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2529 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2529 มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการจัดตั้งพื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติเพื่อเฉลิมพระเกียรติต่อไป

กองอุทยานแห่งชาติ ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กษ 0713/4940 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2529 เสนอกรมป่าไม้ และกรมปาไม้ได้มีคำสั่งที่ 2090/2529 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2529 ให้นายอาคม เวทย์สุภาสุข นักวิชาการป่าไม้ 5 ไปทำการสำรวจและจัดตั้งพื้นที่บริเวณป่าเหนือเขื่อนเขาแหลม จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอุทยานแห่งชาติ และสำนักงานป่าไม้เขตบ้านโป่งได้มีหนังสือ ที่ กษ 0714 (บป)/188 ลงวันที่ 16 มกราคม 2530 เสนอจัดตั้งบริเวณดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติเช่นกัน ตามรายงานการสำรวจของนายศรศักดิ์ วิริยะเอกกูล เจ้าพนักงานป่าไม้ 3 และนายประพันธ์ นิลยาภรณ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 2 สำนักงานป่าไม้เขตบ้านโป่ง ซึ่งอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713(ปข)/3 ลงวันที่ 26 มกราคม 2530 และ ที่ กษ 0713(ปข)/21 ลงวันที่ 28 เมษายน 2530 รายงานผลการสำรวจบริเวณดังกล่าว ปรากฏว่า ประกอบด้วยส่วนที่เป็นพื้นดินอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเขาพระฤาษี ป่าเขาบ่อแร่ และป่าห้วยเขย่ง ป่าเขาช้างเผือก และส่วนที่เป็นพื้นน้ำเหนือเขื่อนเขาแหลม มีลักษณะภูมิประเทศและทิวทัศน์ที่สวยงามเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

อุทยานแห่งชาติเขาแหลมได้รับการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอนที่ 195 ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2534 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 67 ของประเทศ

เนื่องจากศูนย์ฝึกอบรมอาชีพทหารผ่านศึกทองผาภูมิ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก มีความจำเป็นขอใช้พื้นที่บางส่วน จึงได้เพิกถอนพื้นที่ จำนวน 27 ไร่ 92 ตารางวา ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 119 ตอนที่ 55 ก วันที่ 11 มิถุนายน 2545

ต่อมา กองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหม มีความจำเป็นขอใช้พื้นที่บางส่วน เพื่อจัดตั้งสถานีเรดาร์ ตามโครงการระบบควบคุมและแจ้งเตือนการป้องกันทางอากาศและใช้เป็นสถานีถ่ายทอดข้อมูลจราจรทางอากาศให้กับบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จึงได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติ ป่าเขาช้างเผือก ป่าเขาพระฤๅษี ป่าเขาบ่อแร่ และป่าห้วยเขยง บางส่วน ในท้องที่ตำบลปังเผล อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี พ.ศ. 2552 เนื้อที่ประมาณ 14 ไร่ 32 ตารางวา ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับฎีกาเล่ม 126 ตอนที่ 53 ก วันที่ 14 สิงหาคม 2552 ปัจจุบันคงเหลือพื้นที่ 935,583.69 ไร่

ขนาดพื้นที่
935583.69 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาแหลมที่ ปข. 1 (เกริงกระเวีย)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาแหลมที่ ปข. 2 (แม่น้ำรันตี)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาแหลมที่ ปข. 3 (โปตาน่า)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาแหลมที่ ปข. 4 (ห้วยเขย่ง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาแหลมที่ ปข. 5 (ลิเจีย)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาแหลมที่ ปข. 7 (ห้วยองค์พระ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาแหลมที่ ปข. 9 (โบอ่อง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาแหลมที่ ปข. 11 (ผาผึ้ง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาแหลมที่ ปข. 12 (หนองกุ่ม)
จุดตรวจเกริงกระเวีย
จุดตรวจแพบิคี่
ที่ทำการ

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติเขาแหลม เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของแนวเทือกเขาตะนาวศรีที่มีเทือกเขาสลับซับซ้อน ทอดตัวตามแนวเหนือใต้ มีความสูงประมาณ 100-1,700 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ส่วนใหญ่จะเป็นหินปูน หินทราย และหินดินดาน ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ เขาใหญ่ มีความสูงประมาณ 1,767 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากสภาพที่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนก่อให้เกิดลำน้ำที่สำคัญหลายสายที่ไหลลงสู่แม่น้ำแควน้อยและอ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลม ได้แก่ แม่น้ำรันตี ห้วยป้อมปี่ใน แม่น้ำบิคี่ใหญ่ ห้วยองค์พระ ห้วยเกรียงไกร ห้วยปิล๊อก ห้วยประจำไม้ ห้วยลึก ห้วยน้ำซับ ห้วยแก่งคะยือ ห้วยป่าตอง ห้วยซองกะเลีย ห้วยติพิ ห้วยทิม่องทะ ห้วยวังขยาย ห้วยช่องแคบ ห้วยท่ามะเดื่อ ห้วยน้ำมุด ห้วยเกริงกะเวีย เป็นต้น ส่วนที่เป็นพื้นน้ำของอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนเขาแหลมซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้สร้างขึ้นในปี 2522 และได้กักเก็บน้ำเป็นครั้งแรกในปี 2527 โดยกกเก็บน้ำในระดับปกติ 155 เมตร และสูงสุด 160.5 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง คิดเป็นพื้นที่ผิวน้ำ ประมาณ 388 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 25.92 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลม

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศอยู่ในเขตโซนร้อนที่มีอิทธิพลของลมตะวันออกเฉียงใต้ และลมจากทะเลอันดามัน แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูฝน ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ปริมาณฝนรายปีเฉลี่ยจะอยู่ในช่วงประมาณ 1,600-2,200 มิลลิเมตร โดยมีปริมาณฝนมากที่สุดในบริเวณด้านเหนือสุดของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 14 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม-กลางเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 37-38 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนเมษายน

พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
สภาพโดยทั่วไปของป่าบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาแหลม มีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณ มีไม้ชนิดต่างๆ ขึ้นอย่างหนาแน่น มีเรือนยอดทึบ บางบริเวณพื้นที่มีความชื้นสูง เช่น บริเวณริมลำห้วยหรือตามร่องห้วย จะมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นเป็นพิเศษ มีสภาพคล้ายป่าดงดิบ พื้นที่ป่าส่วนมากอยู่บริเวณทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของอุทยานแห่งชาติ ชนิดไม้ที่พบ ได้แก่ อินทรชิต แคยอดดำ แดง สมอพิเภก สะทิบ กาสามปีก เปล้าใหญ่ ลาย หว้า ลูกดิ่ง พืชพื้นล่างได้แก่ ลูกไม้ของไม้ชั้นบน เต่าร้าง เข็มป่า ชะอม เหมือดโลด เป็นต้น นอกจากพื้นที่ป่าเบญจพรรณแล้ว ยังมีพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมซึ่งจะรวมถึงพื้นที่ที่ถูกบุกรุกทำลายเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม พื้นที่ดังกล่าวอยู่รอบๆ อ่างเก็บน้ำ ทางตะวันออกของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และบริเวณแนวเขตทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติ พื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเป็นพื้นที่ที่ถูกราษฎรบุกรุกแผ้วถาง ภายหลังปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้าง มีหญ้า ลูกไม้ต่างๆ และไผ่ขึ้นทดแทน ชนิดไม้ที่พบ เช่น เปล้าใหญ่ หว้า อุโลก คอแลน เป็นต้น

สัตว์ป่าที่อาศัยร่วมกันในเขตอุทยานแห่งชาติเขาแหลมมีไม่น้อยกว่า 268 ชนิด พบโดยทั่วไป ได้แก่ เก้ง ชะนีมือขาว อีเห็นธรรมดา นากเล็กเล็บสั้น พญากระรอกดำ กระรอกปลายหางดำ กระจ้อน ค้างคาวขอบหูขาวกลาง ค้างคาวหน้ายาวใหญ่ ค้างคาวเล็บกุด นกจาบดินอกลาย นกกะรางหัวหงอก นกเสือแมลงหัวขาว นกปรอดเหลืองหัวจุก นกปรอดคอลาย นกปรอดดำ นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง นกหัวขวานเขียวป่าไผ่ นกหัวขวานแคระจุดรูปหัวใจ เหยี่ยวแมลงปอขาแดง นกบั้งรอกแดง นกขุนแผนหัวแดง นกโพระดกคางแดง จิ้งเหลนหลากหลาย จิ้งเหลนภูเขาเกล็ดเรียบ กิ้งก่าบินปีกสีส้ม กิ้งก่าหัวแดง กิ้งก่าแก้ว ตุ๊กแกบ้าน งูสามเหลี่ยม งูลายสาบคอแดง เขียดจิก กบอ่อง กบหนอง ปาดจิ๋วลายเลอะ ปาดตีนเหลือง ปาดจิ๋วลายแถบ คางคกบ้าน อึ่งอ่างบ้าน อึ่งข้างดำ อึ่งหลังจุด และอึ่งน้ำเต้า เป็นต้น ในบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนเขาแหลมและลำธารต่างๆ มีปลาน้ำจืดอาศัยอยู่หลากชนิด เช่น ปลาสลาด ปลาแปบขาว ปลาซิวหางกรรไกร ปลาสร้อยขาว ปลาไส้ตันตาแดง ปลากระทุงเหว ปลาชะโด ปลาตะเพียนสมพงษ์ ปลาจิ้งจอก ปลาค้อ ปลาอาด ปลาแขยงหิน และปลากด เป็นต้น

สถานที่ท่องเที่ยว

น้ำตกเกริงกระเวีย


เจดีย์โบอ่อง


เมืองบาดาล


น้ำตกไดช่องถ่อง


บึงเกริงกระเวีย


เกาะมะพร้าวกะทิ

น้ำตกกระเต็งเจ็ง


จุดชมทิวทัศน์ป้อมปี่

ข้อมูลทั่วไป...
อยู่ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาแหลม ประมาณ 2 กิโลเมตร ลักษณะทั่วไป เป็นพื้นที่อยู่ริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ สามารถมองเห็นทัศนียภาพที่สวยงามเหนืออ่างเก็บน้ำเขื่อนวชิราลงกรณ ทั้งยังเป็นจุดชมวิวที่สามารถชมความงามของพระอาทิตย์ตกในยามเย็นได้อีกด้วย และมีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยวจำนวน 4 หลัง และจุดกางเต็นท์บนสนามหญ้าอันอ่อนนุ่ม นอกจากนี้ยังจะพบเห็นนกบางชนิด เช่น นกเหงือก นกกระเต็นอกขาว เขียวก้านตองปีกฟ้า ฯลฯ เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ กางเต็นท์พักแรม สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบกิจกรรมทางน้ำ สามารถเล่นน้ำ พายเรือ นั่งเรือชื่นชมความสวยงามของอ่างเก็บน้ำได้ การเดินทางเข้าถึง จาก จังหวัดกาญจนบุรี เดินทางตามถนนหลวงหมายเลข 323 กาญจนบุรี-ทองผาภูมิ-สังขละบุรี บริเวณกิโลเมตรที่ 40 - 41 มีทางแยกเลี้ยวซ้าย มีป้ายบอกหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติป้อมปี่ เข้าไปอีกประมาณ 1.3 กิโลเมตร

ที่ตั้งและแผนที่
ตู้ ปณ.15 ปท.ทองผาภูมิ อ. ทองผาภูมิ จ. กาญจนบุรี 71180
โทรศัพท์ : 0 3454 6802 (VoIP), 0 3453 2099
โทรสาร : 0 3453 2099
อีเมล : khaolaem_np@hotmail.com
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายวิโรจน์ โรจนจินดา

สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และสถานที่กางเต็นท์
ที่พัก - บ้านพัก
ที่พัก - บ้านเขาแหลม 302
ที่พัก - บ้านเขาแหลม 301
ที่พัก - บ้านเขาแหลม 202
ที่พัก - บ้านเขาแหลม 201
ที่พัก - ลานกางเต็นท์
ที่พัก - เต็นท์
ที่พัก - บ้านเขาแหลม 303
ร้านค้า - ร้านค้าสวัสดิการ
ห้องน้ำ - ห้องน้ำห้องอาบน้ำแยก ชาย - หญิง
ถังขยะ - ถังขยะ

การเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ถึงอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ระยะทางประมาณ 130 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที เดินทางออกจากกรุงเทพฯ โดยใช้เส้นทางถนนเพชรเกษมหรือถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ผ่านจังหวัดนครปฐม - บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จนถึงอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี แล้วเริ่มเดินทางต่อสู่อำเภอทองผาภูมิ ตามทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 323 จากอำเภอทองผาภูมิ แยกขวาขึ้นสู่ตัวอำเภอสังขละบุรี บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 39 - 40 จะเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาแหลม

รถไฟ
การรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดขบวนรถไฟเดินทางจากสถานีรถไฟบางกอกน้อย วันละ 2 เที่ยว เที่ยวแรกเวลา 07.45 น. เที่ยวที่สองเวลา 13.45 น. แวะจอดที่สถานีรถไฟจังหวัดกาญจนบุรี สะพานข้ามแม่น้ำแคว ท่ากิเลน สุดท้ายที่สถานีน้ำตก (บริเวณน้ำตกไทรโยคน้อย) อัตราค่าโดยสารคนละ 39 บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.0-2411-3102 จากนั้นเดินทางต่อโดยใช้รถประจำทางสีส้ม

ในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ การรถไฟแห่งประเทศไทยจัดนำเที่ยวไปกลับในวันเดียว อัตราค่าบริการตู้แอร์คนละ 200.- บาท พัดลมคนละ 100.- บาท รถไฟออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง เวลา 06.30 น. และเดินทางกลับเวลา 14.00 น. รายละเอียดติดต่อสอบถามได้ที่ โทร.0 - 2223 - 7010 , 0 - 2225 - 6964 หรือ 0 - 3456 - 1052

รถโดยสารประจำทาง
เส้นทางกรุงเทพฯ - กาญจนบุรี เดินทางโดยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ชั้นหนึ่ง (ปอ.1) ของบริษัทกาญจนบุรีทัวร์ รถออกจากสถานีขนส่งสายใต้ใหม่ทุกๆ 15 นาที ตั้งแต่เวลา 05.00-22.30 น. อัตราค่าโดยสารคนละ 79.- บาท หรือรถปรับอากาศชั้นสอง (ปอ.2) ออกทุกๆ 20 นาที ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักงานสายใต้ใหม่ โทร. 0-2435-1199, 0-2884-6249 สำนักงานกาญจนบุรี โทร. 0-3451-1552

เส้นทางกาญจนบุรี - ทองผาภูมิ - สังขละบุรี เดินทางโดยรถตู้ปรับอากาศ (11 ที่นั่ง) ของบริษัทเอเชียไทรโยค จำกัด เปิดให้บริการวันละ 6 เที่ยว โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 07.30 น.,10.30 น.,11.30 น.,12.30 น.,14.30 น.และ 16.30 น. อัตราค่าโดยสารคนละ 118 บาท ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3-4 ชั่วโมง


แผนที่แหล่งท่องเที่ยว


แผนที่การเดินทาง


แผนที่อุทยานแห่งชาติใกล้เคียง




พิกัดGPS อุทยานแห่งชาติเขาแหลม  N15.02009 E98.58127



ที่มาข้อมูล...ขอบคุณ
www.park.dnp.go.th/1067-อุทยานแห่งชาติเขาแหลม



 

                             
GPStt.com จะแสดงผลถูกต้อง ฟ้อนต์สวยงาม เข้าเว็บได้เร็ว เมื่อท่านใช้เบราเซอร์ Chrome และ Firefox เท่านั้น ไม่รองรับ Internet Explorer  

กลุ่มท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ. แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ | แหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ (สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว)
การเดินทาง, เครื่องนำทาง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ฟรี.. แผนที่GPS ลาว กัมพูชา พม่า (ทั่วโลก) แบบเทพๆ | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 1 | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 2
ลิ้งค์ที่น่าสนใจทั่วไป.. ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | บอร์ดนักวิทยุสมัครเล่น | ตรวจสอบการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นจากชื่อหรือนามเรียกขาน |ตรวจสอบนามเรียกขานที่ถูกยกเลิก | กสทช.กิจการวิทยุสมัครเล่น (เค้าอัพเดทแล้วนะ 31/1/60) | Checkdomain.com | ดาวน์โหลดวีดีโอจากเฟซบุ๊ค | ร้านซ่อมดอทคอม | แปลงไฟล์ออนไลน์ youtube เป็น mp3 ลิ้งค์1, ลิ้งค์2, ลิ้งค์3 | convert PDF to JPG | ตระกูลแปลงไฟล์ | แปลงไฟล์ ภาพ webp เป็น jpg | หมากรุกออนไลน์ | ทีวีออนไลน์ | แปลงไฟล์เสียงออนไลน์ | ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย | หมากรุกออนไลน์ | เว็บแปลงค่า-1 | เว็บแปลงค่า-2 | ค้นหาและแบ่งปันหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก | แปลงลิ้งค์ URL ให้สั้นลง | โปรแกรม PhotoRoom ลบฉากหลังของภาพออนไลน์ | เช็คคีย์บอร์ดออนไลน์ ก่อนเสียเงินซื้อใหม่ |