ข้ า พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า    ~    ก ลุ่ ม เ ว็ บ จี พี เ อ ส เ ที่ ย ว ไ ท ย ด อ ท ค อ ม   (กลุ่มเว็บลูกหลานชาวพิจิตร)

fillgoods.co ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ theterraceview-khaokho เว็บทรีโอแมส Welcome to JustUsers.net
วิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย-เยอรมัน สระบุรี แนชเชอรัล รีสอร์ต (Nat's Resort) พิจิตร เม็ดบัวอบกรอบ มาย ฟีเกอ มีจําหน่ายที่ supermarket & 7-Eleven ทุกสาขา (10/12/60) เว็บ justusers.net
ลิ้ ง ค์ ก า ร พ นั น ..!!     แ บ น เ น อ ร์ ก า ร พ นั น ..!!     ไ ม่ ต้ อ ง พ ย า ย า ม ติ ด ต่ อ ม า     ไ ม่ ต้ อ น รั บ ..??

....:::: ::::....         แล้งน้ำ, น้ำท่วม, ลดโลกร้อน เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวในเรื่องดังกล่าว ทางเว็บขอร่วมรณรงค์ให้พี่น้องช่วยกันปลูกป่าทั่วแผ่นดินเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวตามพระราชดำริของพ่อ เช่น ท่านที่อยู่ต้นน้ำตามภูเขาที่ลาดชัน หรือตามท้องไร่ท้องนาหัวคันนา ปลูกเท่าที่ทำได้ ทำตอนนี้ลูกหลานเราจะได้ไม่เดือดร้อน ...             เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม     "เว็บท่องเที่ยว-ถ่ายภาพ และพิกัดGPS"       ....:::: ::::....

  สังคมแห่งการแบ่งปันนี้จะไม่มีสิ่งที่เพื่อนต้องการ    เมื่อเพื่อนๆ มาแวะเยี่ยมแล้วไม่ฝากสิ่งใดไว้..!!     กลุ่มเว็บนี้..   ดำรงไว้ซึ่ง คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม จรรยาบรรณ ไม่เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ตักตวงผลประโยชน์เข้าตน..  


ผู้เขียน หัวข้อ: อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า (Phu Hin Rong Kla)  (อ่าน 10646 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ pim

  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • Webmaster
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 0
  • -จึงได้รับ: 15
  • กระทู้: 510
  • กำลังใจ : +8/-0
  • กลุ่มพิเศษ.. กลุ่มผู้ดูแลเว็บ
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 23
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า (Phu Hin Rong Kla)
« เมื่อ: 02 พฤษภาคม 2557, เวลา 22:32:31 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...                                 
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า (Phu Hin Rong Kla)
พิกัดGPS อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า  N16.89347 E101.09907

อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า มีพื้นที่ครอบคลุมรอยต่อสองจังหวัด คือ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก ภูหินร่องกล้าเป็นแหล่งกำเนิดของประวัติศาสตร์การ สู้รบอันยาวนานเป็นวีรกรรมของนักรบไทย ความขัดแย้งของลัทธิและแนวความคิดที่นำไปสู่ความสูญเสียเลือด ชีวิตและน้ำตา ภาพประวัติศาสตร์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ ที่แห่งนี้ ตลอดจนสภาพสิ่งก่อสร้างในอดีตจะถูกบันทึกเก็บรักษาไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาถึงผลของการใช้กำลังเข้าประหัตประหาร ทำให้เกิดความสูญเสียที่ประเมินค่ามิได้ อันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองความแตกแยก ความสามัคคีของคนในชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 191,875 ไร่ หรือ 307 ตารางกิโลเมตร

ในปี พ.ศ. 2511-2525 เทือกเขาหินร่องกล้านี้เคยเป็นฐานที่มั่นใหญ่ในการเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นผลเกิดปัญหาความมั่นคงทางการเมืองขึ้น ในกลางปี พ.ศ. 2515 ทางราชการทหารจึงได้เปิดยุทธการภูขวาง โดยจัดกองพลผสมจากกองทัพภาคที่ 1, 2, 3 กรมการบินศูนย์สงครามพิเศษทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน เข้าปฏิบัติเพื่อยึดภูหินร่องกล้า ทว่าไม่สำเร็จเพราะสภาพพื้นที่ไม่อำนวยเนื่องจากภูหินร่องกล้าตั้งอยู่กลางเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อนเป็นป่ารกทึบ

ต่อมากองบัญชาการทหารบก ได้เปลี่ยนแผนยุทธการในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยใช้นโยบายที่ 66/2523 และคำสั่งที่ 65/2525 กองทัพภาคที่ 3 และทหารหน่วยผสม พลเรือน ตำรวจ ทหารที่ 3 (พตท. 33) ซึ่งนำโดย พันเอกไพโรจน์ จันทร์อุไร ผู้อำนวยการ พตท.33 ได้นำนโยบายใหม่นี้เข้าปฏิบัติการจนประสบความสำเร็จได้รับชัยชนะ โดยไม่เสียเลือดเนื้อแม้แต่น้อย บรรดาชาวบ้านและมวลชนของ ผกค. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเขา เผ่าม้ง (แม้ว) ได้กลับใจไม่ให้ความร่วมมือกับ ผกค. และเข้ามอบตัวกับทางราชการส่วนแกนนำได้ละทิ้งฐานที่มั่นไป จากนั้น พตท. 33 จึงได้เริ่มพัฒนาพื้นที่แห่งนี้โดยการตัดถนนผ่านใจกลางภูหินร่องกล้า ต่อมา พตท. 33 ได้มีหนังสือ ด่วนมาก ที่ สร 4001(301)/324 ลงวันที่ 10 มกราคม 2526 ให้กองทัพภาคที่ 3 และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 3 พิจารณาร่วมและประสานกับกรมป่าไม้เพื่อพิจารณา จัดตั้งบริเวณภูหินร่องกล้าเป็นอุทยานแห่งชาติเป็นพื้นที่ๆ สภาพภูมิประเทศและทิวทัศน์สวยงาม เป็นป่าต้นน้ำลำธารและมีลักษณะทางธรรมชาติ ที่เป็นจุดเด่นหลายแห่ง เช่น ลานหินแตก ลานหินปุ่ม ประกอบกับเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ของการสู้รบระหว่างกองทัพแห่งชาติกับคอมมิวนิสต์ มีความเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เป็นผลให้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1 /2526 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2526 เห็น สมควรให้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ป่าภูหินร่องกล้าให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนด บริเวณป่าภูหินร่องกล้าท้องที่ตำบลบ่อโพธิ์ ตำบลเนินเพิ่ม ตำบลบ้านแยง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก และตำบลกกสะท้อน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 101 ตอนที่ 96 ลงวันที่ 26 กรกฎาคม 2527 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 48 ของประเทศ

ขนาดพื้นที่
191875.00 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภรก. 1 (น้ำไซ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภรก. 2 (ทับเบิก)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภรก. 3 (หมากแข้ง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภรก. 4 (โคกกลาง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภรก. 5 (แก่งลาด)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภรก. 6 (ตูบค้อ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ภรก. 7 (หมันแดง)

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ประกอบด้วยยอดภูเขาที่สำคัญคือ ภูหมันขาว ภูแผงม้า ภูขี้เถ้า ภูลมโล ภูหินร่องกล้า โดยมีภูหมันขาวเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงประมาณ 1 ,820 เมตรจากระดับน้ำทะเล รองลงมาคือภูลมโล โดยสูงประมาณ 1,664 เมตร จากระดับน้ำทะเล เทือกเขาเหล่านี้จะมีความสูงลดหลั่นลงไปจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก และ เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น ห้วยลำน้ำไซ ห้วยน้ำขมึน ห้วยออมสิงห์ ห้วยเหมือดโดน และห้วยหลวงใหญ่

ลักษณะภูมิอากาศ
ภูหินร่องกล้ามีสภาพภูมิอากาศคล้ายภูกระดึงและภูหลวงเนื่องจากมีความสูงไล่เลี่ยกันอากาศจะหนาวเย็นเกือบตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูหนาวอุณหภูมิจะต่ำมากประมาณ 0-4 องศาเซลเซียส มีหมอกคลุมทั่วบริเวณ ส่วนฤดูร้อนอากาศจะเย็นสบายฝนตกชุกในฤดูฝน อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี ประมาณ 18-25 องศาเซลเซียส

พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ปกคลุมไปด้วยป่าไม้ 3 ชนิด คือ ป่าเต็งรัง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา
ป่าเต็งรัง เป็นป่าที่ขึ้นในพื้นที่ระดับต่ำบริเวณเชิงเขา พื้นที่เป็นดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์และค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พยอม เหียง ตะคร้อ พลวง ฯลฯ

ป่าดิบเขา จะขึ้นในบริเวณเขาสูง ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนค่อนข้างมาก อากาศชื้น เป็นป่ารกทึบ พันธุ์ไม้ที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ก่อเดือย ก่อหัวหมู อบเชย ทะโล้ ฯลฯ ส่วนพืชพื้นล่าง ได้แก่ หวาย ปาล์มชนิดต่างๆ

ป่าสนเขา เป็นป่าบนที่ราบหลังภู มีสนสองใบและสนสามใบขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นสนสองใบ บางแห่งอยู่รวมกันเป็นป่าสนกว้างใหญ่

นอกจากนี้ยังพบกล้วยไม้ป่าดอกไม้ป่าหลายชนิดขึ้นอยู่ตามลานหิน เช่น ม้าวิ่ง เอื้องตาหิน เอื้องคำหิน เอื้องสายสามสี ช้องนางคลี่ เหง้าน้ำทิพย์ กุหลาบขาว กุหลาบแดง ฟองหิน รวมทั้งมอส เฟิน ไลเคนล์ และตะไคร่ชนิดต่างๆ ซึ่งในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาวดอกไม้ป่าเหล่านี้จะออกดอกบานสะพรั่งมีสีสันงดงาม

ในอดีตภูหินร่องกล้า เคยมีสัตว์ป่าหลายชนิด เช่น เสือ กวางป่า เก้ง กระจง นกชนิดต่าง ๆ ครั้นต่อมาเมื่อกลายเป็นแหล่งอาศัยของคนจำนวนมาก และยังเคยเป็นสมรภูมิแห่งการสู้รบมาก่อน สัตว์ป่าต่างๆ จึงถูกล่าเป็นอาหาร ในปัจจุบันเหตุการณ์ต่าง ๆ สงบลง จึงมีสัตว์ป่าขนาดใหญ่ เช่น เสือ เก้ง กระจง หมี และนกหลายชนิดเข้ามาอาศัยอยู่มากขึ้น

สถานที่ท่องเที่ยว

จุดชมวิวภูหมันขาว
ข้อมูลทั่วไป...
จุดชมวิวภูหมันขาวตั้งอยู่ริมทางหลวง หมายเลข 2331 ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ไปตามเส้นทางสู่อำเภอหล่มเก่า ประมาณ 32 กิโลเมตร เป็นจุดที่สูงที่สุดของอุทยานฯ ระดับความสูง 1,820 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในฤดูฝนจึงปกคลุมด้วยเมฆหมอก และมีลมแรงจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จุดชมวิวธารพายุ รอบบริเวณเป็นป่าดิบเขาผืนเล็กๆที่ยังหลงเหลืออยู่

น้ำตกผาลาดและน้ำตกตาดฟ้า

ข้อมูลทั่วไป...
น้ำตกผาลาดและน้ำตกตาดฟ้า ตั้งอยู่บริเวณเชิงภูหินร่องกล้าโดยแยกซ้ายจาก หมู่บ้านห้วยน้ำไซต่อไปประมาณ 2 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการพลังงานไฟฟ้าห้วยขมึน อันเป็นที่ตั้งของน้ำตกแก่งลาด ขึ้นเขาต่อไปประมาณ 3-4 กิโลเมตร มีทางเดินแยกซ้ายลงไปน้ำตกตาดฟ้าหรือน้ำตกด่านกอซองเป็นน้ำตกชั้นเดียวขนาดใหญ่ที่สวยงาม

น้ำตกร่มเกล้า-ภราดร

ข้อมูลทั่วไป...
น้ำตกร่มเกล้า-ภราดรเป็นน้ำตกฝาแฝด 2 แห่ง ที่อยู่ติด ๆ กัน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ บนถนนภูหินร่องกล้าประมาณ 4 กิโลเมตร ก่อนถึงโรงเรียนการเมืองการทหารประมาณ 1 กิโลเมตร จากถนนสายใหญ่ จะต้องเดินตัดลงไปบนทางเท้าที่พึ่งทำขึ้นใหม่เป็นระยะทางประมาณ 800 เมตร ตัวน้ำตกไม่สูงใหญ่นัก แต่สภาพแวดล้อมโดยรอบมีลักษณะเป็นป่าบริสุทธิ์อันงดงามมาก

น้ำตกศรีพัชรินทร์

ข้อมูลทั่วไป...
น้ำตกศรีพัชรินทร์ตั้งอยู่ก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติบริเวณเชิงเขาประมาณ 4-5 กิโลเมตร ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึง

น้ำตกหมันแดง

ข้อมูลทั่วไป...
น้ำตกหมันแดงเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มี 32 ชั้น และจากการสำรวจจากผู้เชี่ยวชาญจากประเทศฝรั่งเศสและนักธรณีวิทยาจากประเทศไทย พบว่าบริเวณแผ่นหินลานน้ำตกหมันแดง มีรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อ มากกว่า 20 รอย ปัจจุบันยังไม่มีทางรถเข้าถึง การเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวยังน้ำตกในขณะนี้ ทำได้โดยการเดินเท้าเท่านั้น

ผาชูธง

ข้อมูลทั่วไป...
ผาชูธงอยู่ห่างจากลานหินปุ่มประมาณ 600 เมตร เป็นหน้าผาสูงชันสามารถเห็นทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยเฉพาะภาพทิวทัศน์ดวงอาทิตย์ตกดินจะสวยงามไม่แพ้จุดชมทิวทัศน์อื่นๆ บริเวณนี้เคยเป็นสถานที่ที่ ผกค.จะขึ้นไปชูธงแดง (ฆ้อนเคียว) ทุกครั้งที่รบชนะทหารของรัฐบาล

ลานหินแตก

ข้อมูลทั่วไป...
ลานหินแตกอยู่ห่างจากฐานพัชรินทร์ ประมาณ 300 เมตร ลักษณะเป็นหินที่มีรอยแตกเป็นแนวเป็นร่องเหมือนแผ่นดินแยก รอยแตกนี้บางรอยก็มีขนาดแคบพอให้รากต้นหญ้าชอนไชไปได้เท่านั้น บางรอยกว้างพอคนก้าวข้ามได้ และบางรอยกว้างมากจนไม่สามารถกระโดดข้ามได้ ความลึกของร่องหินแตกเหล่านั้นไม่สามารถจะคะเนได้ ลักษณะเช่นนี้สันนิษฐานว่าอาจจะเกิดจากการโก่งตัวหรือเคลื่อนตัวของผิวโลกจึงทำให้พื้นหินนั้นแตกเป็นแนวนอกจากนี้บริเวณหินแตกยังปกคลุมไปด้วยมอส ไลเคนส์ ตะไคร่ เฟิน และกล้วยไม้ชนิดต่างๆ

ลานหินปุ่ม

ข้อมูลทั่วไป...
ลานหินปุ่มอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 4 กิโลเมตร อยู่ริมหน้าผาลักษณะเป็นลานหินผุดขึ้นเป็นปุ่มไล่เลี่ยกัน คาดว่าเกิดจากการสึกกร่อนตามธรรมชาติของหินทางเคมีและฟิสิกส์ ในอดีตบริเวณนี้ใช้เป็นที่พักฟื้นของคนไข้เนื่องจากอยู่บนหน้าผา จึงมีลมพัดเย็นสบายเหมาะแก่การนั่งพักผ่อน

กังหันน้ำ

ข้อมูลทั่วไป...
กังหันน้ำอยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนการเมืองการทหาร ใช้หล่อเลี้ยงคนหลายพันคนบนภูหินร่องกล้า ออกแบบและสร้างขึ้นโดยนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่หนีเข้าป่าภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 กังหันน้ำนี้ใช้พลังน้ำขับเคลื่อนกังหันเพื่อหมุนแกนครกกระเดื่องตำข้าวซึ่งเปรียบเสมือนโรงสีข้าวของ ผกค.

โรงพยาบาล
ข้อมูลทั่วไป...
โรงพยาบาลอยู่ห่างจากสำนักอำนาจรัฐ ประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นโรงพยาบาลกลางป่าที่มีอุปกรณ์ในการรักษาคนป่วยเกือบครบถ้วน มีห้องปรุงยา ห้องพักฟื้น และยาชนิดต่าง ๆ เป็นอันมาก

โรงเรียนการเมืองการทหาร

ข้อมูลทั่วไป...
โรงเรียนการเมืองการทหารอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 6 กิโลเมตร มีสภาพเป็นป่ารกทึบหนาแน่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่ ในอดีตเคยเป็นสถานที่สำหรับให้การศึกษาตามแนวทางของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในบริเวณโรงเรียนการเมืองการทหาร จะประกอบไปด้วยบ้านฝ่ายพลเรือน ฝ่ายพลาธิการ ฝ่ายสื่อสาร และสถานพยาบาล ส่วนเหล่านี้มีทั้งหมด 31 หลัง เป็นบ้านหลังเล็กๆ กระจายอยู่อย่างเป็นระเบียบ ภายในบ้านแต่ละหลังจะมีแคร่สำหรับนอน และโต๊ะสำหรับเขียนหนังสือทำด้วยไม้กระดานอย่างหยาบๆ เศษข้าวของกระจายอยู่เกลื่อน บางหลังเริ่มผุพังเพราะถูกปล่อยให้ร้างหลังจากมวลชนเข้ามอบตัวแล้ว นอกจากนี้บริเวณตอนกลางของโรงเรียนการเมืองการทหาร มีรถแทรกเตอร์จอดอยู่ 1 คัน ซึ่ง ผกค. ทำการยึดจากบริษัท พิฆเนตร แล้วเผาทิ้งไว้

สำนักอำนาจรัฐ

ข้อมูลทั่วไป...
สำนักอำนาจรัฐอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นสถานที่ดำเนินการปกครอง มีการพิจารณาและลงโทษผู้กระทำผิดหรือละเมิดต่อกฎลัทธิมีคุกสำหรับขังผู้กระทำความผิด มีสถานที่ทอผ้าและโรงซ่อมเครื่องจักรกล

หมู่บ้านมวลชน
ข้อมูลทั่วไป...
หมู่บ้านมวลชนเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มมวลชนมีอยู่หลายหมู่บ้าน เช่น หมู่บ้านดาวแดง หมู่บ้านดาวชัย แต่ละหมู่บ้านมีบ้านประมาณ 40-50 หลัง เรียงรายอยู่ในป่ารกริมทางที่ตัดมาจากอำเภอหล่มสักลักษณะบ้านเป็นบ้านไม้หลังเล็กๆ ไม่ยกพื้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องไม้บ้านแต่ละหลังจะมีหลุมหลบภัยทางอากาศอยู่ด้วย

บ้านม้งร่องกล้า

ข้อมูลทั่วไป...
เป็นหมู่บ้านที่เป็นมวลชนแนวร่วมพรรคคอมมิวนิสต์เก่า เป็นพื้นที่ที่ปลูกพืชผักและผลไม้เมืองหนาว มีประเพณีและวัฒนธรรม

สภาพภูมิประเทศ
มีความสูง 1500 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน

สภาพภูมิอากาศ
อุณหภูมิเฉลี่ย 0 - 20 องศา ทุกปีอุณหภูมิต่ำสุด -4 องศา ทุกปีจะเกิดแม่คนิ้ง ประมาณกลางเดือนธันวาคม - กลางเดือนมกราคม ของทุกปี

จุดชมวิวทับเบิก

ข้อมูลทั่วไป...
เป็นหน้าผาสูง เห็นวิวอำเภอหล่มเก่าและอำเภอหล่มสัก ตอนกลางคืนจะเห็นตัวเมืองเปิดไฟสว่างคล้ายกับดวงดาว ส่วนช่วงเช้าจะเห็นเป็นทะเลเมฆลอยอยู่ต่ำกว่าหน้าผา และมีร้านค้าชาวเขาเผ่าม้งมาขายพืชผักผลไม้เมืองหนาวเป็นของที่ระลึก และนั่งจิบกาแฟสดชมวิว

สภาพภูมิประเทศ
เป็นภูเขาสูง โดยมีความสูงประมาณ 1,775 เมตร จากระดับน้ำทะเล

สภาพภูมิอากาศ
อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี อุณหภูมิเฉลี่ย 5 - 20 องศา เนื่องจากมีลมพัดตลอดทั้งปี จึงไม่ค่อยเกิดเแม่คนิ้งเท่าไร

ที่ตั้งและแผนที่
สถานที่ติดต่อ: ตู้ ปณ. 3 อ. นครไทย จ. พิษณุโลก 65120
โทรศัพท์ : 0 5535 6607,081-5965977 โทรสาร : 0 5523 3527
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายสุวรรณ ภาณุนำภา

สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และสถานที่กางเต็นท์
- ร่องกล้า 103 (ไผ่ลาย)
- ร่องกล้า 104 (ทิวเขา)
ร้านอาหาร - ร้านอาหาร
ที่พัก - ร่องกล้า 935
ที่พัก - ร่องกล้า 932/3
ที่พัก - ร่องกล้า 932/2
ที่พัก - ร่องกล้า 932/1
ที่พัก - ร่องกล้า 931/5
ที่พัก - ร่องกล้า 931/4
ที่พัก - ร่องกล้า 931/3
ที่พัก - ร่องกล้า 931/2
ที่พัก - ร่องกล้า 931/1
ที่พัก - ร่องกล้า 932/4
ที่พัก - ร่องกล้า 932/5
ที่พัก - ลานกางเต็นท์
ที่พัก - เต็นท์ใหญ่
ที่พัก - เต็นท์เล็ก
ที่พัก - ห้องประชุม
ที่พัก - สายลม
ที่พัก - ร่องกล้า 936
ที่พัก - ร่องกล้า 934
ที่พัก - ร่องกล้า 933
ที่พัก - ร่องกล้า 206/2
ที่พัก - ร่องกล้า 206/1
ที่พัก - ร่องกล้า 101 (ร่องกล้า1)
ที่พัก - ร่องกล้า 110 (กล้าสู้)
ที่พัก - ร่องกล้า 109 (หมันแดง)
ที่พัก - ร่องกล้า 108/1-4 (เชิงดอย)
ที่พัก - ร่องกล้า 107 (ทะเลเมฆ)
ที่พัก - ร่องกล้า 106 (กลุ่มหมอก)
ที่พัก - ร่องกล้า 105 (ขอบฟ้า)
ที่พัก - ร่องกล้า 102 (ปีกไม้)
ที่พัก - ร่องกล้า 201/1
ที่พัก - ร่องกล้า 201/2
ที่พัก - ร่องกล้า 202/1
ที่พัก - ร่องกล้า 205/2
ที่พัก - ร่องกล้า 205/1
ที่พัก - ร่องกล้า 204/2
ที่พัก - ร่องกล้า 204/1
ที่พัก - ร่องกล้า 203/2
ที่พัก - ร่องกล้า 203/1
ที่พัก - ร่องกล้า 202/2
ที่พัก - ร่องกล้า 205/2
อื่นๆ - ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ร้านค้า - ร้านสวัสดิการอุทยานฯ
ห้องน้ำ - ห้องน้ำสาธารณะ
ถังขยะ - ร่องกล้า 111 (ภูหมันขาว)

การเดินทาง
รถยนต์
อุทยานแห่งชาติภุหินร่องกล้า ตั้งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศเหนือ ระยะทาง 500 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ ประมาณ 6 ชั่วโมง ห่างจากตัวเมืองพิษณุโลก 120 กิโลเมตร จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) แยกเข้าทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา, สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ จากนั้นแยกขวาเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 ระยะทาง 130 กิโลเมตร ถึงตัวเมืองพิษณุโลก จากตัวเมืองพิษณุโลก เส้นทางที่สะดวกที่สุด คือใช้ทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 12 สายพิษณุโลก - หล่มสัก จากนั้นแยกซ้ายเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2013 ไปทางอำเภอนครไทย ก่อนถึงตัวอำเภอนครไทย มีทางแยกขวามือตามทางหลวงหมายเลข 2331 มุ่งหน้าสู่อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า สภาพเส้นทางสูงชัน และคดเคี้ยวเป็นบางช่วง




พิกัดGPS อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า  N16.89347 E101.09907



ที่มาข้อมูล...ขอบคุณ
www.park.dnp.go.th/1048-อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า
ภาพสวยๆจาก ... www.ทัวร์รถตู้.com/อช.ภูหินร่องกล้า



 

                             
GPStt.com จะแสดงผลถูกต้อง ฟ้อนต์สวยงาม เข้าเว็บได้เร็ว เมื่อท่านใช้เบราเซอร์ Chrome และ Firefox เท่านั้น ไม่รองรับ Internet Explorer  

กลุ่มท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ. แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ | แหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ (สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว)
การเดินทาง, เครื่องนำทาง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ฟรี.. แผนที่GPS ลาว กัมพูชา พม่า (ทั่วโลก) แบบเทพๆ | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 1 | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 2
ลิ้งค์ที่น่าสนใจทั่วไป.. ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | บอร์ดนักวิทยุสมัครเล่น | ตรวจสอบการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นจากชื่อหรือนามเรียกขาน |ตรวจสอบนามเรียกขานที่ถูกยกเลิก | กสทช.กิจการวิทยุสมัครเล่น (เค้าอัพเดทแล้วนะ 31/1/60) | Checkdomain.com | ดาวน์โหลดวีดีโอจากเฟซบุ๊ค | ร้านซ่อมดอทคอม | แปลงไฟล์ออนไลน์ youtube เป็น mp3 ลิ้งค์1, ลิ้งค์2, ลิ้งค์3 | convert PDF to JPG | ตระกูลแปลงไฟล์ | แปลงไฟล์ ภาพ webp เป็น jpg | หมากรุกออนไลน์ | ทีวีออนไลน์ | แปลงไฟล์เสียงออนไลน์ | ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย | หมากรุกออนไลน์ | เว็บแปลงค่า-1 | เว็บแปลงค่า-2 | ค้นหาและแบ่งปันหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก | แปลงลิ้งค์ URL ให้สั้นลง | โปรแกรม PhotoRoom ลบฉากหลังของภาพออนไลน์ | เช็คคีย์บอร์ดออนไลน์ ก่อนเสียเงินซื้อใหม่ |