ข้ า พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า    ~    ก ลุ่ ม เ ว็ บ จี พี เ อ ส เ ที่ ย ว ไ ท ย ด อ ท ค อ ม   (กลุ่มเว็บลูกหลานชาวพิจิตร)

fillgoods.co ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ theterraceview-khaokho เว็บทรีโอแมส Welcome to JustUsers.net
วิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย-เยอรมัน สระบุรี แนชเชอรัล รีสอร์ต (Nat's Resort) พิจิตร เม็ดบัวอบกรอบ มาย ฟีเกอ มีจําหน่ายที่ supermarket & 7-Eleven ทุกสาขา (10/12/60) เว็บ justusers.net
ลิ้ ง ค์ ก า ร พ นั น ..!!     แ บ น เ น อ ร์ ก า ร พ นั น ..!!     ไ ม่ ต้ อ ง พ ย า ย า ม ติ ด ต่ อ ม า     ไ ม่ ต้ อ น รั บ ..??

....:::: ::::....         แล้งน้ำ, น้ำท่วม, ลดโลกร้อน เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวในเรื่องดังกล่าว ทางเว็บขอร่วมรณรงค์ให้พี่น้องช่วยกันปลูกป่าทั่วแผ่นดินเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวตามพระราชดำริของพ่อ เช่น ท่านที่อยู่ต้นน้ำตามภูเขาที่ลาดชัน หรือตามท้องไร่ท้องนาหัวคันนา ปลูกเท่าที่ทำได้ ทำตอนนี้ลูกหลานเราจะได้ไม่เดือดร้อน ...             เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม     "เว็บท่องเที่ยว-ถ่ายภาพ และพิกัดGPS"       ....:::: ::::....

  สังคมแห่งการแบ่งปันนี้จะไม่มีสิ่งที่เพื่อนต้องการ    เมื่อเพื่อนๆ มาแวะเยี่ยมแล้วไม่ฝากสิ่งใดไว้..!!     กลุ่มเว็บนี้..   ดำรงไว้ซึ่ง คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม จรรยาบรรณ ไม่เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ตักตวงผลประโยชน์เข้าตน..  


ผู้เขียน หัวข้อ: อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (Khao Yai)  (อ่าน 9767 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก)

  • ผู้ใหญ่บ้าน..น๊ะจ๊ะ
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 52
  • -จึงได้รับ: 33
  • กระทู้: 5786
  • กำลังใจ : +266/-0
  • Tel/Line 0818462316 (วทพ.24, HS6LPZ)
  • กลุ่มพิเศษ.. กลุ่มผู้ดูแลเว็บ
    • http://www.gpsteawthai.com
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (Khao Yai)
« เมื่อ: 24 เมษายน 2557, เวลา 08:21:26 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...                                 

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (Khao Yai)
พิกัดGPS อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ N14.439184 E101.372209

    อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นับเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย และได้รับสมญานามว่าเป็น อุทยานมรดกของกลุ่มประเทศอาเซียน ตลอดจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปว่า เป็นอุทยานแห่งชาติที่สำคัญของโลก โดยได้รับความร่วมมือและช่วยเหลือจาก Dr. George C. Ruhle ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอุทยานแห่งชาติของสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ธรรมชาติ และทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งได้ดำเนินการประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินบริเวณป่าเขาใหญ่ ในท้องที่ตำบลป่าขะ ตำบลบ้านพร้าว อำเภอบ้านนา ตำบลหนองแสง ตำบลนาหินลาด อำเภอปากพลี ตำบลสาริกา ตำบลหินตั้ง ตำบลพรหมมณี อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ตำบลประจันตคาม อำเภอประจันตคาม ตำบลสัมพันตา ตำบลทุ่งโพธิ์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และตำบลมวกเหล็ก ตำบลซำผักแพว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2502 ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 79 ตอนที่ 86 ลงวันที่ 18 กันยายน 2505 รวมเนื้อที่ 1,355,468.75 ไร่ หรือ 2,168.75 ตารางกิโลเมตร

    ต่อมากองทัพอากาศได้มีหนังสือที่ กศ 0379/15739 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2519 ถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอกันพื้นที่ก่อสร้างสถานีเรดาร์ และสถานีถ่ายทอดโทรคมนาคม ออกจากพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้มีมติในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2520 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2520 เห็นชอบให้กันพื้นที่ส่วนดังกล่าวได้ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกา เพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าเขาใหญ่บางส่วน ในท้องที่ตำบลหินตั้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก พ.ศ. 2521 ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 95 ตอนที่ 99 ลงวันที่ 21 กันยายน 2521 เป็นเนื้อที่ประมาณ 71 ไร่ 3 งาน 16 ตารางวา หรือ 0.1149 ตารางกิโลเมตร และกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอใช้พื้นที่บางส่วนในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในท้องที่อำเภอปากพลี และ อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เนื้อที่ 1,925 ไร่ 1 งาน 73 ตารางวา หรือ 3.0807 ตารางกิโลเมตร เพื่อก่อสร้างโครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อประโยชน์ในการจัดแหล่งเก็บกักน้ำใช้เพื่อการอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการเพาะปลูก รวมทั้งช่วยบรรเทาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในเขตจังหวัดนครนายกเป็นประจำทุกปี คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ทำการก่อสร้างโครงการเขื่อนคลองท่าด่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งได้มีพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนอุทยานแห่งชาติป่าเขาใหญ่บางส่วนในท้องที่ตำบลหินลาด อำเภอปากพลี และตำบลหินตั้ง อำเภอเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 119ก ลงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2542 จึงเป็นผลให้ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 1,353,471.53 ไร่ คิดเป็น 2,165.55 ตาราง

ขนาดพื้นที่
1353471.50 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.1 (ด่านตรวจศาลเจ้าพ่อ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.2 (ผากระดาษ)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.3 (ตะเคียนงาม)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.4 (คลองปลากั้ง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.5 (กม.80)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.6 (บุพราหมณ์ใน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.7 (ลำพระยาธาร)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.8 (ว่านเหลือง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.9 (ใสใหญ่)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.10 (ประจันตคาม)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.11 (คลองเพกา)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.12 (เนินหอม)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.13 (นางรอง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.14 (วังรี)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.15 (ชะอม)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.16 (มวกเหล็กใน)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.17 (กลางดง)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.18 (เจ็ดคต)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.19 (ผากล้วยไม้)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.20 (น้ำตกเหวนรก)
หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ขญ.21 (เขื่อนคลองท่าด่าน)

ลักษณะภูมิประเทศ
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประกอบด้วย เทือกเขาสลับซับซ้อนกัน ได้แก่ เขาร่ม ซึ่งเป็นยอดเขาสูง 1,351 เมตรจากระดับน้ำทะเล รองลงมาได้แก่ เขาแหลม 1,326 เมตร , เขาเขียว 1,292 เมตร , เขาสามยอด 1,142 เมตร และเขาฟ้าผ่า 1,078 เมตร ด้านทิศเหนือและตะวันออกพื้นที่จะลาดลง ทิศใต้และตะวันตกเป็นที่สูงชัน อันเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญ 5 สาย ดังนี้

- แม่น้ำปราจีน และแม่น้ำนครนายก อยู่ทางทิศใต้ของพื้นที่ มีความสำคัญต่อเกษตรกรรมและระบบทางเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคนี้ แม่น้ำทั้งสองจะมาบรรจบกันเป็นแม่น้ำบางปะกง

- ลำตะคอง และลำพระเพลิง อยู่ทางทิศเหนือไหลไปหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรมของที่ราบสูงโคราช ไปบรรจบกันเป็นแม่น้ำบางปะกง

- ห้วยมวกเหล็ก อยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร โดยเฉพาะการปศุสัตว์ของภูมิภาคนี้ ไหลลงสู่แม่น้ำป่าสักที่อำเภอมวกเหล็ก

ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีสภาพป่าที่รกทึบ และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทำให้เกิดฝนตกชุกตามฤดูกาล อากาศไม่ร้อนจัด และหนาวจัดจนเกินไป เหมาะแก่การท่องเที่ยวและประกอบกิจกรรมนันทนาการชนิดต่างๆ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ประมาณ 28 องศาเซลเซียส ในเืดือนธันวาคมและเดือนมกราคม มีอุณหภูมิประมาณ 17 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เท่ากับ 66 เปอร์เซ็นต์

- ฤดูร้อน : แม้ว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวกว่าในที่อื่น แต่ที่เขาสูงบนเขาใหญ่อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน

- ฤดูฝน : เป็นช่วงที่สภาพธรรมชาติ ป่าไม้ และทุ่งหญ้าเขียวขจี สวยงาม น้ำตกต่างๆจะมีสายน้ำที่ไหลหลากและเชี่ยวกราก

- ฤดูหนาว : ช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นฤดูที่นักท่องเที่ยวมากที่สุด อากาศค่อนข้างเย็น โดยเฉพาะบริเวณเขาสูง

ปริมาณน้ำฝน
ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วัดได้ 2,270 มิลลิเมตร ที่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พื้นที่ที่ได้รับปริมาณน้ำฝนมากที่สุดอยู่บริเวณลุ่มน้ำคลองท่าด่าน ซึ่งเป็นบริเวณด้านทิศใต้ของเขาเขียวและเขาร่ม โดยวัดปริมาณน้ำฝนได้ถึง 3,000 มิลลิเมตรต่อปี ส่วนบริเวณที่รับน้ำฝนน้อยที่สุดคือ พื้นที่ด้านล่างสุดของทิศตะวันตกเฉียงใต้และทิศใต้ โดยมีฝนตกเฉลี่ยต่อปี 1,600 มิลลิเมตร หรือน้อยกว่า โดยปกติฝนจะตกมากที่สุดระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ส่วนช่วงที่ปริมาณน้ำฝนน้อยที่สุด คือ ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม โดยมีปริมาณฝนตกเฉลี่ยประมาณเดือนละ 15 มิลลิเมตร

พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
ป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,229,789.63 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 91.47 ของพื้นที่ มีพันธุ์ไม้จำนวนมากถึง 2,000 - 3,000 ชนิด ทั้งนี้เพราะพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีขนาดใหญ่ เป็นจุดรวมการแพร่กระจายพันธุ์ของพืชต่างๆ
มีความหลากหลายของชนิดพรรณพิชดังนี้
- พรรณไม้ จำนวน 209 ชนิด
- กล้วยไม้ จำนวน 120 ชนิด
- ไลเคน จำนวน 108 ชนิด

- ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest)
อยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป พบที่บริเวณเขาเขียว วึ่งอยู่ตอนกลางของอุทยาน มีพื้นที่ประมาณ 21,938.71 ไร่ หรือร้อยละ 1.63 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ไม้ที่พบเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น พญาไม้ มะขามป้อมดง ขุนไม้ และสนสามพันปี มีไม้จำพวกก่อขึ้นอยู่ด้วย ได้แก่ ก่อน้ำ และก่อด่าง ตามสันเขายังพบพรรณไม้พวกกำลังเสือโคร่ง
ไม้ชั้นรองของป่าดิบเขาประกอบด้วย เก็ดส้าน ส้มแปะ แกนมอ เพลาจังหัน และหว้า พืชชั้นล่างเป็นพวกไม้พุ่มชนิดต่างๆ เช่น กาลังกาสาตัวผู้ นอกจากนี้ยังมีกูด และกล้วยไม้ดินหลายชนิด ตามลำต้นและกิ่งก้านของต้นไม้ป่าดิบเขา จะถูกปกคลุมด้วย กล้วยไม้ และตะไคร่น้ำต่างๆ

- ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest)
อยู่ในระดับความสูง 400 - 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดของอุทยาน คือ 892,162.48 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 66.36 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ริมลำธารจะมีหวายและเฟิร์นขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม สูงขึ้นไปจะมีไม้ยาง และไม้ชั้นบน เช่น เคี่ยมคะนอง ปรก บรมือ ไม้ชั้นรอง ได้แก่ ก่อต่างๆ

- ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)
อยู่ในระดับความสูง 200 - 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีพื้นที่ประมาณ 1,192.88 ไร่ หรือร้อยละ 0.9 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ไม้ชั้นบน ได้แก่ ยางนา พันจำ เคี่ยมคะนอง ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะแบกใหญ่ สมพง สองสลึง ปออีเก้ง เป็นต้น ไม้ยืนต้นชั้นรอง เช่น กะเบากลัก กัดลิ้น พืชจำพวกปาล์ม เช่น หมากลิง และลาน พืชชั้นล่างประกอบด้วย มะพร้าว นกคุ้ม พวกขิง ข่า และเตย เป็นต้น

- ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)
พบในระดับความสูงประมาณ 400 - 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีพื้นที่โดยประมาณ 185,275.91 ไร่ หรือร้อยละ 13.78 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ปรากฏส่วนใหญ่ในทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยไม้ยืนต้นผลัดใบ เช่น มะค่าโมง ประดู่ ตะแบก ตะเคียนหนู แดง เป็นต้น พืชชั้นล่างมี ไม้ไผ่ และหญ้าต่างๆ ตามพื้นป่าจะมีหินปูนผลุดขึ้นทั่วๆไป ในฤดูแล้งป่าชนิดนี้จะมีไฟไหม้ลุกลามอยู่เสมอ จะสังเกตได้จากมีไผ่ป่า เป็นปริมาณมากตามลาดเขาและกล้วยป่าขึ้นหนาแน่นตามหุบห้วย

- ป่าเต็งรัง
ขึ้นอยู่บนเขาสมอปูน ที่มีลักษณะเป็นที่ราบบนสันเขาผสมพลาญหิน พรรณพืชที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง และยางกราด

- ทุ่งหญ้าและป่ารุ่นสอง
มีพื้นที่ประมาณ 70.15 ไร่ และ 129,219.65 ไร่ ตามลำดับ สภาพป่าเช่นนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำไร่เลื่อนลอยในอดีต เพราะก่อนหน้าที่จะมีการประกาศพื้นที่นี้เป็นอุทยานแห่งชาติ ได้มีประชาชนอพยพขึ้นไปอาศัยอยู่ จึงได้เกิดสภาพป่าเช่นนี้ขึ้น ตามทุ่งหญ้านั้นพืชส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา มีหญ้าแขม หญ้ากง หญ้าผลตาช้าง และหญ้าโขมงขึ้นแทรก นอกจากนี้ก็มีผีกกูดบางชนิดที่ชอบขึ้นตามบริเวณที่ถูกไฟไหม้เป็นประจำ เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากที่ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติมาได้เป็นเวลากว่า 10 ปีนั้น ทุ่งหญ้าบางแห่งที่ได้ป้องกันไม่ให้ไฟลามเข้ามาไหม้นั้น ได้กลับฟื้นขึ้นมาเป็นสภาพป่าละเมาะ ซึ่งในกาลต่อไปย่อมจะฟื้นกลับขึ้นเป็นป่าได้ดังเดิม สำหรับตามสองข้างถนนนั้น เนื่องจากไม่มีการก่อสร้างขยายวงออกไป จึงได้มีพันธุ์ไม้โตเร็วชนิดต่างๆ ขึ้นปกคลุม เช่น ไม้ตองแตม และปอหู เป็นต้น

ส่วนในด้านของสังคมสัตว์ ด้วยสภาพป่าที่มีความหลากหลาย เป็นแหล่งพักพิงอาศัย และแหล่งอาหาร อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ดังนี้

- สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
มีประมาณ 71 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบเห็นได้บ่อยและเป็นที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวาง เป็นต้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ และเป็นชนิดที่สำคัญขอลอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้แก่ ช้างป่า เสือโคร่ง เสือลายเมฆ กระทิง ชะนีมือขาว และชะนีมงกุฎ เป็นต้น
ช้างป่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สำคัญมากชนิดหนึ่งของเขาใหญ่ และเป็นที่สนใจของบรรดานักท่องเที่ยวผู้มาเยือนเป็นอย่างมาก มักพบอยู่เป็นโขลง โขลงละ 5-7 ตัว บางครั้งอาจพบถึง 30 ตัว โดยมีจ่าโขลงเป็นช้างพัง ส่วนช้างพลายชอบอาศัยและออกหากินตามลำพัง ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์ โขลงช้างมักมีการเคลื่อนย้ายเพื่อออกหาอาหารเป็นระยะทางไกลๆ และมีอาณาเขตกว้างขวางมาก อาหารที่ช้างโปรดปราน ได้แก่ ไผ่ ขิง กล้วยป่า หญ้า เป็นต้น ทางเดินของช้างมีประโยชน์ช่วยทำให้เกิดทางเดินธรรมชาติที่สานต่อกันเป็นโครงข่ายคล้ายร่างแห สามารถใช้ประโยชน์ในการลาดตระเวนของพนักงานพิทักษ์ป่า เป็นทางเดินสำหรับนักท่องเที่ยว จำนวนช้างป่าในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เชื่อกันว่ามีอยู่ราวๆ 140 - 200 ตัว
สัตวืกีบ ที่พบโดยทั่วไปในอุทยาน ได้แก่ กวางป่า เก้ง กระทิง หมูป่า และเลียงผา ในจำนวนสัตว์กีบเหล่านี้ กวางป่า นับว่าเป็นจุดสนใจมากสำหรับนักท่องเที่ยว ในตอนเย็นจนถึงหัวค่ำ กวางและเก้งมักจะออกมาเล็มหญ้าบริเวณทุ่งหญ้าริมถนน ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และใช้สปอร์ตไลท์ส่องจากรถในเวลากลางคืน ส่วนหมูป่าและกระทิง มักจะอาศัยอยู่ในป่าลึก หากินในบริเวณทุ่งหญ้าเก่า กระทิงในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีอยู่กระจัดกระจายทั่วพื้นที่ แต่มีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ และไม่มีผู้ใดทราบจำนวนที่แน่นอน
สัตว์จำพวกลิงและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ที่พบในอุทยาน ได้แก่ ชะนีมือขาว และชะนีมงกุฎ ปกติชะนีทั้งสองชนิดนี้จะแยกกันอยู่ โดยมีอาณาเขตเป็นอิสระต่อกัน แต่ในพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อาจพบอยู่รวมกัน มีคณะผู้สำรวจพบชะนีมือขาวอาสัยอยู่ในป่าบริเวณใกล้ที่ทำการอุทยานฯ และศูนย์ฝึกอบรมที่ 2 (เขาใหญ่) เป็นจำนวนมากถึง 4 ฝูงต่อตารางกิโลเมตร เฉลี่ยฝูงหนึ่งมี 4 ตัว ประกอบด้วย พ่อ แม่ และลูก โดยทั่วไปสามารถพบเห็นได้ตามชายป่า และจากทางเท้าในป่า จากการร้องประสานเสียงประกอบกับการปีนป่ายห้อยโหน ลิงกัง สามารถพบเห็นทั่วไปในป่าอยู่เป็นฝูงอาจมีจำนวนมาก 90 ตัว และมักพบในบริเวณป่าที่ติดกับถนน นางอาย แม้ว่าจะมีอยู่ทั่วไป แต่มักต้องใช้ไฟส่องและมีสายตาที่ไวมากจึงจะมองเห็นได้
สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ได้แก่ กระรอก (รวมทั้งพญากระรอกดำ) และชะมดชนิดต่างๆ ชะมดพบเห็นได้ง่ายตามข้างถนนในยามค่ำคืน หมีขอ บางครั้งพบกำลังนอนหลับบนยอดไม้สูงในตอนกลางวัน แมวลายและแมวลายหินอ่อน ซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก นานๆครั้งจะเห็นวิ่งข้ามถนนในเวลากลางคืน นอกจากนั้นยังพบว่ามี หมีควาย และ หมาใน แต่จะปรากฏตัวให้เห็นเฉพาะบางครั้งเท่านั้น

- สัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) มีประมาณ 48 ชนิด ที่พบเห็นโดยทั่วไปได้แก่ กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนหลากหลาย และงูเขียวหางไหม้ ส่วนงูเห่า และงูจงอาง มีปรากฏให้เห็นบ้างในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณพุ่มไม้ชั้นล่าง

- สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibian) ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพวก กบ ชนิดต่างๆ เช่น กบนา กบหนอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบสัตว์ในกลุ่มอึ่งจิ๋ว เช่น อึ่งขาดำ อึ่งจิ๋ว เป็นต้น

- นก
มีไม่ต่ำกว่า 340 ชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ นกเงือกกรามช้าง นกกก นกเงือกสีน้ำตาล นกแก๊ก นอกจากนี้ยังมี นกโกโรโกโส นกพญาไฟ นกแต้วแล้วสีน้ำเงิน นกขุนแผน ฯลฯ


สถานที่ท่องเที่ยว

น้ำตกเหวนรก

ข้อมูลทั่วไป...
เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มี 3 ชั้น ชั้นแรกสูงประมาณ 60 เมตร น้ำจะไหลผ่านหน้าผาชั้นนี้พุ่งลงสู่ชั้นที่ 2 และ 3 ที่อยู่ถัดลงไปใกล้ๆ กันทางแนวดิ่ง 90 องศา สูงไม่ต่ำว่า 150 เมตร

น้ำตกผากล้วยไม้

ข้อมูลทั่วไป...

แก่งหินเพลิง

ข้อมูลทั่วไป...
แก่งหินเพิง เป็นแก่งหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำใสใหญ่ในเขต อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี แก่งหินเพิงจะสวยงามมากที่สุดในยามน้ำหลาก ราวเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน ฤดูฝนจึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดสำหรับการท่องเที่ยวแก่งหินเพิง มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเล่นน้ำตามแก่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก สำหรับผู้ชื่นชอบความตื่นเต้นเร้าใจ ยังนิยมนำการล่องแก่งแพยางจากแก่งหินเพิงลงมายังหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.9 อีกด้วย

การเดินทางไปแก่งหินเพิง เริ่มจากตัวเมืองปราจีนบุรีใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3452 (ปราจีนบุรี–ประจันตคาม) ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร จะมาตัดกับทางหลวงหมายเลข 33 แล้วเลี้ยวขวาตรงไปทางอำเภอกบินทร์บุรี ก่อนถึงอำเภอกบินทร์บุรีจะมีทางสามแยก ให้ตรงไปอีกเล็กน้อยจะเห็นโรงเรียนวัดสระดู่ มีถนนเล็กๆ ติดกับโรงเรียน เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 200 เมตร จะมีป้ายบอกตลอดเส้นทาง

เส้นทางเดินป่าประเภทท่องไพร
ข้อมูลทั่วไป...
เส้นทางเดินป่าประเภทท่องไพร เป็นเส้นทางที่ต้องมีการพักแรมในป่า โดยมากเป็นเส้นทางที่อยู่รอบอุทยานแห่งชาติ ใช้เวลาค้างคืน ผู้สนใจสามารถติดต่อเดินป่าได้ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติใกล้เคียงและที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เช่น

เส้นทางเขาสมอปูน ซึ่งเป็นภูเขาหินปูนที่สูง 805 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง บนสันเขาเป็นที่ราบสลับกับป่าโปร่ง ช่วงปลายฝนต้นหนาว ราวเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ดอกไม้ป่า เช่น หงอนไก่ กระดุมเงิน หญ้าข้าวก่ำ จะพร้อมใจกันบานอวดดอกสวยสะพรั่ง เริ่มต้นที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.12 (เนินหอม) เดินไต่ระดับความสูงแล้วลัดเลาไปตามหน้าผา ผ่านลานสุริยัน ทุ่งพรหมจรรย์ น้ำตกหินดาด น้ำตกบังเอิญ น้ำตกเหวอีอ่ำ และสิ้นสุดที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.10 (ประจันตคาม) ใช้เวลาเดินทาง 4 วัน 3 คืน เส้นทางเขาสมอปูน มีกำหนดปิดการท่องเที่ยวประจำปีระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน ของทุกปี

เส้นทางคลองปลากั้ง-น้ำตกวังเหว-รอยเท้าไดโนเสาร์-แก่งหินเพิง เริ่มต้นที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ.4 (คลองปลากั้ง) ไต่ระดับความสูงขึ้นสันกำแพง จะพบพื้นที่ราบบนหลังแปที่มีทุ่งหญ้าขนาดใหญ่แซมด้วยดอกไม้ป่า กล้วยไม้ป่า ต่อจากนี้ก็จะพบน้ำตกวังเหว ไปตามลำธารประมาณ 2 กิโลเมตร จะพบรอยเท้าไดโนเสาร์พันธุ์กินเนื้อที่ชัดเจนบนโขดหินริมธาร ผ่านป่าดงดิบลัดเลาไปตามสันเขาไปข้ามลำน้ำที่แก่งกลีบสมุทร วันสุดท้ายออกจากป่าดงดิบถึงแก่งหินเพิง ซึ่งสามารถล่องแก่งในระยะ 3 กิโลเมตร มาขึ้นฝั่งที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ. 9 (ใสใหญ่) ใช้เวลา 4 วัน 3 คืน เส้นทางคลองสะท้อน-แก่งยาว ระยะทาง 15 กิโลเมตร สามารถใช้เวลาแบบเดินทางแบบเช้าไป-เย็นกลับ หรือพักแรม 1 คืนก็ได้ เส้นทางโป่งตาลอง-น้ำตกผาด่านช้าง-น้ำตกผามะนาวยักษ์-น้ำตกไทรคู่-น้ำตกผากระชาย ระยะทาง 15 กิโลเมตร ใช้เวลา 2 วัน 1 คืน เส้นทางกลุ่มน้ำตกในตำบลบุฝ้าย อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ระยะทางประมาณ 20 กิโลเมตร ใช้เวลา 3 วัน 2 คืน นอกจากนี้ ยังมีเส้นทางเดินป่าระยะไกลที่น่าสนใจ คือ เส้นทางน้ำตกนางรอง-ศูนย์ฝึกอบรมการป่าไม้เขาใหญ่ เส้นทางบ้านคลองเดื่อ-เขาแหลม-เหวสุวัต และเส้นทางซับใต้-เหวกระถิน-เขาสามยอด

จุดชมทิวทัศน์ กม.30

ข้อมูลทั่วไป...
กิโลเมตรที่ 30 ถนนธนะรัชต์ สามารถชมทิวทัศน์ด้านทิศเหนือของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้เป็นบริเวณกว้างและสวยงาม

จุดชมทิวทัศน์เขาเขียว

ข้อมูลทั่วไป...
จุดชมทิวทัศน์เขาเขียว (ผาเดียวดาย) นับเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่สวยงามน่าชม มีลักษณะคล้ายผานกเค้าที่ภูกระดึง จะมองเห็นภูเขาร่มขวางอยู่เป็นแนวยาวและทิวทัศน์ที่สวยงามด้านจังหวัดปราจีนบุรี ตอนเช้าตรู่จะเห็นพระอาทิตย์ขึ้นยามเช้าเป็นดวงกลมสีแดงเหนือสันเขาร่มที่สวยงาม

เส้นทางถึงยอดเขาเขียวมีระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร บริเวณช่วงกิโลเมตรที่ 9 มีเส้นทางลงสู่จุดชมทิวทัศน์ผาเดียวดาย ผ่านป่าดิบเขาที่ชุ่มชื้นและอากาศเย็นตลอดปี ตามต้นไม้และโขดหินมีมอสและตะไคร่ขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วไป บริเวณนี้จะพบนกบนที่สูงหลายชนิด เช่น นกปรอดดำ นกเปล้าหางพลั่ว นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก เป็นต้น

น้ำตกกองแก้ว

ข้อมูลทั่วไป...
เป็นน้ำตกเตี้ยๆ ที่เกิดจากห้วยลำตะคอง ในฤดูฝนจะดูสวยงามมากเหมาะสำหรับการเล่นน้ำ ใกล้บริเวณน้ำตกจะมีสะพานแขวนลำห้วยถึง 2 สะพาน ห้วยลำตะคอง เป็นแนวแบ่งเขต 2 จังหวัด คือ จังหวัดนครนายกและจังหวัดนครราชสีมา น้ำตกแห่งนี้อยู่ห่างจากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ ประมาณ 100 เมตร

น้ำตกเหวประทุน

ข้อมูลทั่วไป...
น้ำตกเหวประทุนเป็นน้ำตกที่อยู่ในห้วยลำตะคองอีกแห่งเหมือนกัน อยู่ถัดจากน้ำตกเหวไทรประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ สามารถเดินทางจากน้ำตกเหวสุวัตไปก็ได้ หรือจะเดินจากบริเวณศูนย์บริการนักท่องเที่ยวเขาใหญ่ไปก็ได้ เดินตามเส้นทางเดินเท้าเส้นกองแก้ว-เหวสุวัต ระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร ตามเส้นทางสามารถพนร่องรอยของสัตว์ป่าได้ง่าย เช่น รอยหมูป่า ด่านช้าง น้ำตกนี้มีลักษณะเป็นหน้าผา กว้างและสูงสวยงามมาก

น้ำตกเหวสุวัต

ข้อมูลทั่วไป...
น้ำตกเหวสุวัตเป็นน้ำตกที่มีชื่อเสียงมากเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วๆ ไป น้ำตกเหวสุวัตนี้อยู่สุดถนนธนะรัชต์ หรือจะเดินเท้าต่อจากน้ำตกผากล้วยไม้ไปก็ได้ ประมาณ 3 กิโลเมตร น้ำตกนี้มีลักษณะเป็นสายน้ำตกลงมาจากหน้าผาสูงประมาณ 20 เมตรเศษ บริเวณด้านล่างของน้ำตกเป็นแอ่งน้ำและลำธารเหมาะที่จะลงเล่นน้ำ แต่สำหรับฤดูฝนน้ำจะมากและไหลแรงน้ำค่อนข้างเย็นจัด

น้ำตกธารรัตนา

ข้อมูลทั่วไป...
น้ำตกธารรัตนา อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ขญ.12 (เนินหอม)ประมาณ 10 กม. และเดินเข้าไปที่น้ำตกเพียง 50 ม.จากถนน

น้ำตกส้มป่อย

ข้อมูลทั่วไป...
เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่สวยงามอยู่ใกล้กับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ ที่ ขญ.10 (ประจันตคาม) เหมาะสำหรับพักผ่อนเล่นน้ำ ทุกวันจะมีนักท่องเที่ยวในท้องถิ่นและใกล้เคียงไปเที่ยวชมและเล่นน้ำตกนี้ โดยเฉพาะในวันหยุดสุดสัปดาห์จะมีนักท่องเที่ยวจากถิ่นอื่นไปเที่ยวชมมากเช่นกัน

น้ำตกผามะนาวยักษ์

ข้อมูลทั่วไป...
เป็นน้ำตกขนาดกลางที่เกิดจากห้วยโกรกเด้ ลักษณะไหลลาดไปตามผาหินที่สูงชัน เหมาะสำหรับผู้ชอบผจญภัยค้างแรมในป่า อยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ ขญ. 3 (ตะเคียนงาม) ประมาณ 5 กิโลเมตร

น้ำตกสาริกา

ข้อมูลทั่วไป...
น้ำตกสาริกา ตั้งอยู่ที่ตำบลสาริกา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก เป็นน้ำตกขนาดใหญ่สายน้ำไหลตกจากหน้าผาเป็นทอดๆ ถึง 9 ชั้น ผาที่สูงที่สุดประมาณ 100 เมตร แต่ละชั้นมีอ่างรับน้ำขนาดย่อม เหมาะแก่การลงเล่นน้ำ บริเวณน้ำตกชั้นล่างมีแอ่งน้ำให้เล่นน้ำได้ และมีทางเดินต่อไปตามธารน้ำที่ไหลตกลงมาเป็นชั้นๆ จนไปถึงแอ่งน้ำกว้างและโขดหินก้อนใหญ่ มองขึ้นไปจะเห็นน้ำตกสาริกาชั้นสูงที่สุด น้ำตกสาริกามีน้ำไหลเกือบตลอดปี และในฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำมาก

น้ำตกสาริกาอยู่ห่างจากตัวเมืองนครนายกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เดินทางจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 3049 เป็นระยะทาง 12 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 3050 อีก 3 กิโลเมตร เป็นทางลาดยางตลอดสาย จากตัวเมืองนครนายกมีรถโดยสารสายนครนายก - สาริกา วิ่งวันละหลายเที่ยว หากขับรถมาเองจะมีป้ายบอกตลอดทาง



ที่ตั้งและแผนที่
ที่อยู่ : ตู้ปณ. 9 ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง
จังหวัดนครราชสีมา 30130
โทรศัพท์ : 086-0926527, 086-0926529, 086-0926531
โทรสาร : 037-356037
อีเมล: ky_kynp@hotmail.com
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายกฤษฎา หอมสุด


สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และสถานที่กางเต็นท์
- เขาใหญ่ 101-106 บ้านพักเดี่ยว โซนกองแก้ว ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
- เขาใหญ่ 107-109 บ้านพักเดี่ยว โซนกองแก้ว ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
- เขาใหญ่ 911-912 ค่ายเยาวชน (ค่ายบุญส่ง) โซนกองแก้ว ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
- เขาใหญ่ 201-203   บ้านพักเดี่ยว โซนทิวทัศน์ อยู่บนเนินเขา
- เขาใหญ่ 204-206   บ้านพักเดี่ยว โซนทิวทัศน์ อยู่บนเนินเขา
- เขาใหญ่ 301/1-5   บ้านพักเรือนแถว (บ้านเยาวชน) โซนค่ายสุรัสวดี


การเดินทาง
สำหรับการเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง คือ

- เส้นทางที่ 1
จากกรุงเทพฯ ถนนพหลโยธิน ผ่านรังสิต ประตูน้ำพระอินทร์ สระบุรี เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2 หรือถนนมิตรภาพ ก่อนถึงอำเภอปากช่อง บริเวณ กม. 56 ชิดซ้ายขึ้นสะพานลอยไปตามถนนธนะรัชต์ทางหลวงหมายเลข 2090 ถึง กม. 23 จะพบด่านศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ เดินทางต่อไปอีก 15 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ รวมระยะทางประมาณ 205 กิโลเมตร

- เส้นทางที่ 2
จากกรุงเทพฯ ถนนพหลโยธิน เลี้ยวขวาบริเวณรังสิต เข้าทางหลวงหมายเลข 305 สู่ตัวเมืองนครนายก แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 33 (ถนนสุวรรณศร) ถึงสี่แยกศาลนเรศวรเลี้ยวซ้ายตามเส้นทางปราจีนบุรี - เขาใหญ่ ผ่านด่านตรวจค่าธรรมเนียมบริเวณเชิงเขาแล้วเดินทางต่อ จนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ 190 กิโลเมตร






พิกัดGPS อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ N14.439184 E101.372209







ที่มาข้อมูล...ขอบคุณ
www.park.dnp.go.th/1001-เขาใหญ่


ข  อ  เ  ป็  น  ข้  า  ร  อ  ง  บ  า  ท  ทุ  ก  ช  า  ติ  ไ  ป

พิจิตรบ้านเรา ดอทคอม   "เว็บบ้านเรา เพื่อคนบ้านเรา"
จีพีเอสเที่ยวไทย ดอทคอม  เว็บท่องเที่ยว-ถ่ายภาพ และพิกัดGPS
และอีกมากเว็บ ...!?

 

                             
GPStt.com จะแสดงผลถูกต้อง ฟ้อนต์สวยงาม เข้าเว็บได้เร็ว เมื่อท่านใช้เบราเซอร์ Chrome และ Firefox เท่านั้น ไม่รองรับ Internet Explorer  

กลุ่มท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ. แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ | แหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ (สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว)
การเดินทาง, เครื่องนำทาง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ฟรี.. แผนที่GPS ลาว กัมพูชา พม่า (ทั่วโลก) แบบเทพๆ | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 1 | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 2
ลิ้งค์ที่น่าสนใจทั่วไป.. ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | บอร์ดนักวิทยุสมัครเล่น | ตรวจสอบการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นจากชื่อหรือนามเรียกขาน |ตรวจสอบนามเรียกขานที่ถูกยกเลิก | กสทช.กิจการวิทยุสมัครเล่น (เค้าอัพเดทแล้วนะ 31/1/60) | Checkdomain.com | ดาวน์โหลดวีดีโอจากเฟซบุ๊ค | ร้านซ่อมดอทคอม | แปลงไฟล์ออนไลน์ youtube เป็น mp3 ลิ้งค์1, ลิ้งค์2, ลิ้งค์3 | convert PDF to JPG | ตระกูลแปลงไฟล์ | แปลงไฟล์ ภาพ webp เป็น jpg | หมากรุกออนไลน์ | ทีวีออนไลน์ | แปลงไฟล์เสียงออนไลน์ | ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย | หมากรุกออนไลน์ | เว็บแปลงค่า-1 | เว็บแปลงค่า-2 | ค้นหาและแบ่งปันหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก | แปลงลิ้งค์ URL ให้สั้นลง | โปรแกรม PhotoRoom ลบฉากหลังของภาพออนไลน์ | เช็คคีย์บอร์ดออนไลน์ ก่อนเสียเงินซื้อใหม่ |